Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.ทิสโก้ : เศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ. ส่งสัญญาณชะลอลง

183

 

ECONOMICS : เศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ. ส่งสัญญาณชะลอลง จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงจากเดือนก่อนอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนพลิกหดตัว ส่วนภาคการผลิตยังอ่อนแอต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี อุปสงค์จากต่างประเทศเป็นหนึ่งในแรงส่งให้กับเศรษฐกิจไทยได้ในเดือน ก.พ.

 

• ยอดส่งออกเดือน ก.พ. เร่งตัวขึ้น 13.9% (vs. 12.9% เดือนก่อน) ขณะที่ยอดส่งออกสินค้าไม่รวมทองคำขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่ระดับ 13.5% ด้านยอดนำเข้าชะลอตัวลงเป็น 4.1% (vs. 7.5% เดือนก่อน) ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้าภายใต้ระบบดุลการชำระเงินที่ 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 0.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เดือนก่อน

• ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวทั้งในรูป YoY (-3.9%) และ MoM (-1.0%) โดยหากพิจารณารายละเอียด พบว่า การผลิตในหมวดยานยนต์ (-12.4% YoY), ปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง (-3.9%), แผงวงจรรวมและเซมิคอนดักเตอร์
(-2.7%), สิ่งทอและเครื่องแต่งกาย (-3.5%) และ Hard Disk Drive (-1.1%) ปรับแย่ลง อย่างไรก็ดี การผลิตในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า (2.4%), และยางกับพลาสติก (0.6%) ปรับดีขึ้น

• รายได้เกษตรกรชะลอตัวลงเป็น 2.8% (vs. 4.1% เดือนก่อน) โดยหลักจากการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าเกษตรที่ระดับ
-0.9% YoY (vs. 1.2% เดือนก่อน) อย่างไรก็ดี ผลผลิตภาคการเกษตรเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 3.7% YoY (vs. 2.8% เดือนก่อน)

• จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดือน ก.พ. ชะลอตัวลงเป็น 3.1 ล้านคน (vs. 3.7 ล้านคนเดือนก่อน) โดยหากขจัดผลของฤดูกาล จำนวนนักท่องเที่ยวจะปรับตัวลดลงแรงที่ระดับ -13.9% MoM, sa (vs. 6.2% เดือนก่อน) ด้านรายรับนักท่องเที่ยวในรูปค่าเงินบาทพลิกหดตัวสูงที่ระดับ -9.4% MoM, sa (vs. 2.5% เดือนก่อน)

• ด้านเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน (PII) พลิกหดตัวที่ระดับ -7.7% YoY (vs. 8.5% เดือนก่อน) และหากขจัดผลของฤดูกาล การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลง -1.9% MoM, sa โดยหากพิจารณารายละเอียด จะพบว่า เครื่องชี้ในหมวดยานยนต์นั่ง
(-10.1% YoY), เครื่องจักรและอุปกรณ์ (-6.7%), และก่อสร้าง (-8.5%) ต่างปรับตัวลดลง

• เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน (PCI) ในเดือน ในเดือน ก.พ. ขยายตัว 2.6% YoY (vs. 1.8% เดือนก่อน) โดยการใช้จ่ายในภาคบริการ (7.3% vs. 10.6% เดือนก่อน) และสินค้ากึ่งคงทน (0.2% vs. 1.0% เดือนก่อน) ชะลอตัวลงอย่างไรก็ดี การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทน (-2.4% vs. -0.9%) และสินค้าคงทน (-1.5% vs. -4.2%) ยังคงอยู่ในเกณฑ์หดตัว

Our view
• ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ. ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนจากทั้งภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชะลอตัวลง จากทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและรายได้จากการท่องเที่ยวลดลง และภาคการผลิตที่ชะลอลงโดยเฉพาะในภาคเคมีภัณฑ์และปิโตรเลียม ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอลงหลังจากเร่งตัวขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามการส่งออกสินค้ากลับเร่งตัวขึ้นในหลายหมวดหมู่ โดยเฉพาะยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และโลหะมีค่า ด้านการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัว โดยได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐยังคงอยู่ในแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายประจำและการใช้จ่ายลงทุนของรัฐบาล

• เราคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2025F จะขยายตัวที่ระดับ 2.8% ปรับลดลงจากประมาณการเดิมที่ 3.0% สะท้อนผลกระทบจากความเสี่ยงภายนอกที่มีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะประกาศมาตรการกำแพงภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับประเทศคู่ค้า ซึ่งหากมีการบังคับใช้จริงในช่วงเดือนเมษายน เราประเมินว่าจะมีผลกระทบเชิงลบต่อประมาณการ GDP ไทยราว 0.35-0.50ppt

• อีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ยังอ่อนแอกว่าคาด โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ยังคงชะลอตัว สะท้อนจากพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป เช่น เน้นท่องเที่ยวในประเทศหรือเลือกจุดหมายปลายทางระยะไกลมากขึ้น ซึ่งเราประเมินว่าความเสี่ยงด้านนี้อาจกดดัน GDP ไทยเพิ่มเติมอีกราว 0.20ppt ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะขยายตัวได้เพียง 2.1% ซึ่งต่ำกว่าปี 2024 ที่ขยายตัว 2.5%

• ในด้านนโยบายการเงิน เราประเมินว่ากนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.00% ตลอดทั้งปี 2025F หากเศรษฐกิจยังสามารถขยายตัวที่ระดับ 2.8% และความเสี่ยงด้านต่ำไม่รุนแรงมากนัก อย่างไรก็ตาม หากตัวชี้วัดเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะยานยนต์ เคมีภัณฑ์ และสิ่งทอ มีแนวโน้มแย่ลงอย่างต่อเนื่อง และการขาดสัญญาณของการฟื้นตัวของยอดการปล่อยสินเชื่อใหม่ในระบบ แม้ว่าภาวะการเงินโดยรวมจะผ่อนคลายลงจากเดิมก็ตาม กนง. อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีกราว 1–2 ครั้ง (สู่ระดับ 1.50–1.75%) ทั้งนี้ขึ้นกับทิศทางของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าว่าจะมี Negative Shock เข้ามาเพิ่มเติมหรือไม่ โดยเฉพาะมาตรการกำแพงภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ที่ระบุว่าจะสามารถเปิดเผยรายละเอียดที่ชัดเจนขึ้นในวันที่ 2 เม.ย. ที่จะถึงนี้

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

1200 แตก By: แม่มดน้อย

แม่ดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ และแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นไทย ก็แตก 1,200 จุด ด้วยพ่อใหญ่อย่าง DELTA แม่ใหญ่ AOT เป็นหัวหอก....

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้