Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

294

 

Highlights:

การกลับมาของโดนัลด์ ทรัมป์ พร้อมแนวโน้มลดบทบาทสหรัฐฯ ใน NATO ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อยุโรป ซึ่งเคยพึ่งพาสหรัฐฯ ด้านความมั่นคง ความไม่แน่นอนนี้เร่งให้ยุโรปหันมาเน้นการพึ่งพาตนเอง เสริมสร้างศักยภาพทางทหารและความมั่นคงในระยะยาว

ประเทศหลักในยุโรป เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร โปแลนด์ และกลุ่มบอลติก ต่างประกาศเพิ่มงบกลาโหมแตะระดับ 3–5% ของ GDP ซึ่งสูงกว่ามาตรฐาน NATO อย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน สหภาพยุโรปได้เผยแพร่ “เอกสารขาวด้านการป้องกันยุโรป” ตั้งเป้าเพิ่มงบกลาโหมเป็น 3.5% ของ GDP ภายในปี 2030 พร้อมเดินหน้าแผน “ReArm Europe” ด้วยเงินลงทุนกว่า 800,000 ล้านยูโรใน 4 ปี เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมกลาโหมในภูมิภาคและลดการพึ่งพาการนำเข้าจากภายนอก

การเดินหน้านโยบาย “Buy European” ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกจัดซื้ออาวุธอย่างน้อย 65% จากผู้ผลิตในภูมิภาค จะเป็นปัจจัยบวกต่อบริษัทชั้นนำอย่าง Rheinmetall, Thales, Leonardo, Dassault Aviation, Saab และ BAE Systems

อีกหนึ่งแรงผลักสำคัญคือความกังวลด้านความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทาน การเข้าถึงอะไหล่และบริการตลอดอายุการใช้งาน รวมถึงข้อจำกัดทางกฎหมายของสหรัฐฯ ที่อาจควบคุมหรือระงับการส่งออกอาวุธตามนโยบายต่างประเทศ

แนะนำกองทุน Global X Defense Tech ETF (SHLD) ที่กระจายลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีด้านกลาโหมทั่วโลก เป็นอีกทางเลือกเสริมจาก Invesco Aerospace & Defense ETF (PPA) ซึ่งเน้นสหรัฐฯ โดยแนะนำรอจังหวะพักฐานเพื่อทยอยสะสม

รายละเอียด:
เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา เราได้นำเสนอธีมเมกะเทรนด์สำคัญปี 2025 หนึ่งในนั้นคือ “ยุคโลกหลายขั้ว” (Multipolar World) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่หลายประเทศเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับงบประมาณด้านการป้องกันประเทศมากขึ้น และในรายงานฉบับนี้ เราขออัปเดตความคืบหน้าว่า ตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา สถานการณ์ยังคงเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกับที่เราเคยมองไว้

จุดเปลี่ยนสำคัญเริ่มชัดเจนขึ้นหลังการกลับมาของโดนัลด์ ทรัมป์ ในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยเขาแสดงจุดยืนชัดเจนว่าจะลดบทบาทของสหรัฐฯ ใน NATO และผลักภาระด้านความมั่นคงให้ยุโรปรับผิดชอบมากขึ้น ส่งผลให้ยุโรปที่เคยพึ่งพาสหรัฐฯ เป็นหลักต้องเร่งปรับยุทธศาสตร์ความมั่นคงครั้งใหญ่ ขณะเดียวกัน ภัยคุกคามจากสงครามรัสเซียก็ยิ่งตอกย้ำว่า การพึ่งพาความมั่นคงจากภายนอกไม่ใช่ทางเลือกที่ยั่งยืนอีกต่อไป

ความตื่นตัวของชาติยุโรป ส่งผลให้งบประมาณกลาโหมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เดิมที NATO กำหนดให้ชาติสมาชิกใช้งบประมาณกลาโหมขั้นต่ำ 2% ของ GDP แต่ในความเป็นจริง มีเพียง 11 จาก 31 ประเทศที่ทำได้ตามข้อกำหนดนี้ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปีนี้มา เราเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง โดยสหภาพยุโรปตั้งเป้าเพิ่มงบกลาโหมเป็น 3.5% ของ GDP ภายในปี 2030 พร้อมระดมทุน 8 แสนล้านยูโรภายใต้แผน ReArm Europe ส่วนในแต่ละประเทศก็เห็นพัฒนาการไปในทิศทางเดียวกัน โดยเยอรมนีกำลังเปลี่ยนกฎควบคุมหนี้ หรือ Debt Break เพื่อเปิดทางใช้งบกว่า 5 แสนล้านยูโร เพื่อการพัฒนากองทัพ ส่วนอังกฤษและฝรั่งเศสตั้งเป้าดันงบกลาโหมให้ทะลุ 3% ของ GDP ขณะที่โปแลนด์และกลุ่มประเทศบอลติก เช่น เอสโตเนียและลิทัวเนีย ต่างเร่งขึ้นงบสู่ระดับ 4-6% ของ GDP ภายในไม่กี่ปีข้างหน้า

ในด้านการจัดซื้ออาวุธ ยุโรปก็ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เช่นกัน โดยหันมาเน้นการจัดซื้อจากบริษัทผู้ผลิตอาวุธภายในภูมิภาคมากขึ้น แทนที่จะพึ่งพาการจัดซื้อจากสหรัฐฯ มีการออกนโยบาย “Buy European” ซึ่งบังคับให้จัดซื้ออาวุธอย่างน้อย 65% จากบริษัทในยุโรป เหตุผลหลักก็เพราะ ถ้ายังซื้ออาวุธจากผู้ผลิตสหรัฐฯ ก็จะทำให้มีความเสี่ยงในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการหาอะไหล่ การซ่อมบำรุง รวมถึงการอัพเกรด Software ต่างๆ รวมถึงมีข้อกำหนดทางกฎหมายซึ่งให้อำนาจรัฐบาลในการควบคุมการส่งออกอาวุธและเทคโนโลยีทางทหาร (เช่นกฎหมาย Arms Export Control Act (AECA) และ International Traffic in Arms Regulations (ITAR) ตัวอย่างที่เห็นชัด เช่นกรณีโปรตุเกสและเดนมาร์ก ที่เริ่มทบทวนการสั่งซื้อ F-35 จาก Lockheed Martin เพราะกังวลว่านโยบายของทรัมป์อาจส่งผลต่อการส่งมอบในอนาคต โดยเฉพาะหากเกิดความขัดแย้งทางการเมือง

จากสัญญาณที่กล่าวมาข้างต้น ส่งผลให้ราคาหุ้นกลุ่มอาวุธยุโรปปรับขึ้นแรง โดย 6 บริษัทชั้นนำปรับตัวเฉลี่ยกว่า 72% ตั้งแต่ต้นปี สะท้อนมุมมองบวกของตลาดต่อการเสริมศักยภาพกลาโหมในภูมิภาค

เราแนะนำ กองทุน Global X Defense Tech ETF (SHLD) ที่มีสัดส่วนลงทุนในบริษัทนอกสหรัฐฯ สูงถึง 46% ซึ่งจะได้ประโยชน์โดยตรงจากยุโรป ถือเป็นอีกทางเลือกเสริมจากกองทุน Invesco Aerospace & Defense ETF (PPA) ที่เน้นลงทุนในบริษัทสหรัฐฯ ตามที่เราเคยแนะนำก่อนหน้า
อย่างไรก็ตาม ราคาของ SHLD ETF ปรับขึ้นมาแล้วกว่า 28% ตั้งแต่ต้นปี อาจเผชิญแรงขายทำกำไรระยะสั้น จึงแนะนำให้ รอจังหวะพักฐานเพื่อทยอยสะสม เนื่องจากมองว่าเป็นธีมการลงทุนที่จะยังอยู่ในความสนใจของตลาดในช่วง 5 ปีข้างหน้า
(โปรดติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ในรายงานฉบับเต็ม)

สรุปภาพตลาดวานนี้
วานนี้ปริมาณการซื้อขายยังบางเบา เพียง 2.7 หมื่นล้านบาท แต่เห็นการเข้ามาเก็งกำไรหุ้นกระจายกลุ่มอย่าง HMPRO (ประเด็นซื้อหุ้นคืนหนุน) DELTA CPAXT OR KTB CCET CRC GPSC VGI TTB เป็นต้น ขณะที่แรงขาย ITC (งบฯ อาจจะแย่กว่าคาดเดิม) TOP (ประเด็นจากโครงการ CFP ยังมาหลอน) ADVANC BDMS BH BBL เป็นต้น

แนวโน้มตลาดวันนี้
มีใครจะซื้อหุ้นคืนอีกไหม?
ท่ามกลางภาวะการลงทุนหุ้นไทยที่เปราะบาง 3วัน ดี 4 วัน ICU… ทั้งภาครัฐ และ เอกชน ก็ต่างงัดไม้เด็ด ไม้ตาย ซื้อหุ้นคืน แจกปันผลเพิ่ม, ห้ามเลือดแรงขาย LTF, ออกกองทุนใหม่, Uptick Short sell ฯลฯ เพื่อช่วยพยุงราคาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา แต่ก็ยังเอาไม่อยู่
แต่อย่างน้อยในระยะเวลาสั้นๆ ที่หุ้นไทยประกาศ ซื้อหุ้นคืน อาจทำให้ราคาหุ้นดีดเด้งขึ้นได้บ้างในระหว่างการเทรด เช่น PTT HMPRO TTB STECON รวมไปถึงอีกหลาย บจ.ที่ประกาศซื้อหุ้นคืนไปแล้วจำนวนมาก ITEL SNNP PRM TOA TU SSP PSL MGC MAJOR ฯลฯ แม้ว่าสุดท้ายราคาหุ้นอาจไม่ได้บวกขึ้นต่อเนื่องหลังจากวันประกาศ
หากอิงจากรายงาน กลยุทธ์วันนี้ เราได้ศึกษาความเป็นไปได้ของ บจ. ที่เข้าข่ายมีโอกาสจะซื้อหุ้นคืนถัดไป แบ่งออกเป็น กลุ่มมีศักยภาพสูง ได้แก่ HANA, OR, GFPT, และ PTTGC และกลุ่มรองลงมา BANPU, IRPC, AMATA, GLOBAL, ILM, CPN, SCGD, SCGP, และ SPRC รอบนี้เราคงต้องหันกลับมาพิจารณาหุ้นที่เข้าข่ายมาแนะนำติดมือไว้บ้าง เพราะมีโอกาสที่ราคาหุ้นจะ ดีดเด้งได้บ้าง ถ้ามีการประกาศซื้อหุ้นคืน

กลยุทธ์การลงทุน
เลือกสะสมหุ้นรายตัว (Hold ระยะยาวหน่อย) จากเกณฑ์ 1) ราคาหุ้นทรงตัวได้ดี Outperform ในเชิงเทคนิคคอล ไม่ Overbought 2) ความถูกของราคาหุ้นเมื่อเทียบมูลค่าทางบัญชี (PBV) และเทียบกับ Bands 3) แนวโน้มผลการดำเนินงานระยะสั้น ดูแล้วไม่น่าจะสร้างความผิดหวัง 4) โอกาสที่กำไรระยะสั้นจะดีกว่าที่คิด เพราะมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว 5) มีปันผลระหว่างกาล

กลยุทธ์การลงทุน
เลือกสะสมหุ้นรายตัว (Hold ระยะยาวหน่อย) จากเกณฑ์
1) ราคาหุ้นทรงตัวได้ดี Outperform ในเชิงเทคนิคคอล ไม่ Overbought
2) ความถูกของราคาหุ้นเมื่อเทียบมูลค่าทางบัญชี (PBV) และเทียบกับ Bands
3) แนวโน้มผลการดำเนินงานระยะสั้น ดูแล้วไม่น่าจะสร้างความผิดหวัง
4) โอกาสที่กำไรระยะสั้นจะดีกว่าที่คิด เพราะมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว เช่น มาตรการ ช้อปช่วยชาติ แจกเงินหมื่น ในช่วงไตรมาสแรก หนุนกำไรโตต่อเนื่อง 4Q24-1Q25
5) มีปันผลระหว่างกาล

วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET Index ขึ้นลงสลับวันอยู่ในโหมดสร้างฐานใหม่บริเวณ 1,200 จุด ภายใต้คลื่นขาลงลูกที่ 5 “Corrective wave” หลังผ่านการ drawdown ลงมาทั้งสิ้น 22% ปัจจุบันดัชนีกลับมายืนเหนือเส้น EMA 10 วันได้แล้ว ทำค่าเฉลี่ยขึ้น ส่วนการนับคลื่น Elliott wave ภาพใหญ่เมื่อวานได้ให้มุมมองไปแล้ว วันนี้จะซูมเข้าไปดูรายละเอียดคลื่นย่อย (ซ่อนตัวอยู่ในคลื่นหลัก) มีความเป็นไปได้ที่ดัชนีกำลังฟอร์มตัวอยู่ในคลื่น 4 ย่อย (ลุ้นรีบาวด์) หรือจบคลื่น 5 ย่อย…..ส่วนเงื่อนไขกลับตัวเป็นขาขึ้นต้องรอทะลุบริเวณ 1200 จุด (EMA 25 วัน) ให้ได้เสียก่อน
Note: จับตาวันที่ 2 เมษายนนี้ Trump อาจใช้แนวทางยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายทางการค้า แต่ยังไม่แน่นอน!

 

 

 

 

What to watch
คกก.ตลาดทุนตุรกี ประกาศห้าม ชอร์ตเซล, อนุญาตให้ บจ.ซื้อหุ้นคืนได้ในราคาสูงกว่าราคาปิดวานก่อน, ลดสัดส่วนหลักประกัน จาก 35% เหลือ 20% มีผลถึง 25 เม.ย. นี้
สว.เรียก กลต. ตลท. ชี้แจง และทบทวนมาตรการ เพื่อเร่งสร้างความเชื่อมั่นหุ้นไทย
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ เตรียมประกาศใช้ภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ตามที่วางแผนไว้ในวันที่ 2 เม.ย. อย่างไรก็ดี สื่อสหรัฐฯ รายงานว่า ภาษีศุลกากรซึ่งจะเรียกเก็บเป็นรายภาคอุตสาหกรรม เช่น ภาษีนำเข้ารถยนต์และเซมิคอนดักเตอร์นั้น มีแนวโน้มว่าจะไม่ประกาศใช้ในเวลาเดียวกัน
ปธน.ทรัมป์กล่าวกับผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์ (21 มี.ค.) ว่าจะมีการใช้ความยืดหยุ่นต่อแผนการเรียกเก็บภาษีตอบโต้ซึ่งสหรัฐฯ มีกำหนดบังคับใช้ในวันที่ 2 เม.ย. พร้อมกับกล่าวว่าเขามีแผนที่จะพูดคุยกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน หลังจากที่จีนประกาศเรียกเก็บภาษีสินค้าเกษตรนำเข้าจากสหรัฐฯ เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ที่เรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน
วันพุธ อเมริการายงาน GDP 4Q (3rd) คาด +2.4% q-q จาก 2.3% q-q
วันศุกร์ รายงานเงินเฟ้ออเมริกา PCE คาด +0.3% m-m

หุ้นแนะนำวันนี้
HANA หนึ่งในหุ้นที่ BLS คาดมีโอกาส และมีศักยภาพจะซื้อหุ้นคืนได้
แนวรับ 16.5 แนวต้าน 18/19 ตัดขาดทุน 15


Tactical port เพิ่ม HANA

 

 

 

 

 

รายงานพื้นฐานวันนี้

Thai Market Strategy

Thailand Pulse EP2 | เจาะลึกโอกาสลงทุนหุ้นไทย ใครคือผู้ชนะท่ามกลาง โครงสร้างเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง
ต่อเนื่องจาก EP1 ที่เราพูดถึงโครงสร้างเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยไป รายงานวันนี้จะเจาะลงไปรายหุ้น โดยเริ่มจากทำความเข้าใจก่อนว่า ทิศทางเศรษฐกิจ/หุ้นไทย 2Q25 ที่สงครามการค้าจะตึงเครียดขึ้น คล้ายช่วง Escalation phase ในอดีตที่สหรัฐฯ มักทยอยใช้มาตรการภาษีที่เข้มงวด ก่อนการเจรจา
รอบนี้ เราให้น้ำหนักความเสี่ยงทางเศรษฐกิจมากกว่าเงินเฟ้อ (Trade war 1.0 แม้จะมี front-loaded demand แต่หลังจากเริ่มเก็บจริง การค้าชะลอตัวแรง กระทบการบริโภค จนแรงกดดันเงินเฟ้อลดลง) โดยนักเศรษฐศาสตร์เราประเมิน Downside จากสงครามการค้าราว 0.2%-0.6% ต่อการส่งออก และอาจทำให้ GDP ปีนี้โตเพียง 2% (ในกรณีเลวร้าย) จากปัจจุบันคาด 2.4%
สำหรับหุ้นไทย Trade war ที่อาจกระทบการเติบโตกลุ่ม Cyclical (พลังงาน, ปิโตรเคมี ยานยนต์ เป็นต้น) SET EPS อาจเหลือเพียง 90 บาทต่อหุ้น และหากอิง PER ต่ำสุดช่วงวิกฤต COVID และ Trade war 1.0 ที่ -1.75SD หรือ 12.3 เท่า จะได้ downside ของ SET จำกัดอยู่ที่ 1,050–1,150
กลยุทธ์การลงทุนไตรมาส 2Q25 ระยะสั้นยังเผชิญแรงกดดันจาก Trade war “มองเป็นโอกาสสะสม จาก valuation ตลาดที่อยู่ในระดับต่ำมาก” โดยมีกลยุทธ์แบ่งหุ้นสะสม 4 กลุ่ม:
1) Momentum Rebound: CPALL, CPF, BTG, MINT
2) Recovery Watchlist: PTTEP, PTTGC, SCC
3) Next Champion: TRUE, ADVANC, GULF
4) Steady Yielder: KTB, KBANK, TISCO
นอกจากนี้ เรายังได้ Screen หุ้นแบบใช้ Data-Driven หาหุ้นที่มีศักยภาพจะเป็น Next market champions ใน 3 กลุ่มทั้ง Growth-Dividend-Defensive โดยสรุปกลุ่มที่เป็น
Champion of Champions: ADVANC, GULF, CPALL, PR9, NSL, AAI
Champion of Growth: MOSHI, AURA
Champion of Dividend: KTB, HMPRO, CPN, MC, SABINA
Champion of Defensive: BDMS

 

 

 

 


Tactical Idea
ใครมีศักยภาพประกาศซื้อหุ้นคืน รายถัดไป
จากกระแสการออกโครงการซื้อหุ้นคืนของ บจ. ซึ่ง ตลท. ก็มีการสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ ที่มีฐานะการเงินพร้อม ได้ใช้ช่วงเวลานี้ในการบริหารเงินทุนของตนเองไปในตัว ทำให้ปีนี้ มีโอกาสจะเห็นการซื้อหุ้นคืนมากกว่าปกติ และเป็นวงเงินมากกว่า 4 หมื่นล้านบาท แต่คำถามสำคัญ บจ. ไหนที่มีศักยภาพในการประกาศรายถัดไป เราจึงได้ Screen หุ้นที่ Cover ผ่านเงื่อนไข
1) ผลตอบแทน YTD ลงมากกว่า 5% (บางรายลงต่อมาจากปีที่แล้ว)
2) Net Gearing <1x หรือเทียบเท่า
3) Current ratio >1x
4) PBV <1x หรือ PER <20x (ในบางกรณีที่เป็นหุ้น Valuation สูง)
5) มีกระแสเงินสดครอบคลุมวงเงินการซื้อหุ้นคืนที่ 4% ของทั้งหมด (ใช้ตัวเลขค่าเฉลี่ยช่วงที่ผ่านมา แต่เกณฑ์ได้ถึงไม่เกิน 10%) และ 6) ณ ปลายปี มีเงินสดเพียงพอกับการจ่ายหนี้ระยะสั้น (เงื่อนไขเพิ่มเติม)
หุ้นที่เข้าทุกเงื่อนไข 4 บริษัท ได้แก่ HANA OR GFPT PTTGC
หุ้นที่เข้าเงื่อนไขส่วนใหญ่ (ยกเว้นข้อ 6) โดยสมมติว่ามีวิธีจัดการได้ จำนวน 9 บริษัท ได้แก่ BANPU IRPC AMATA GLOBAL ILM CPN SCGD SCGP SPRC

 


ITC
ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น
กำไรจะอ่อนแอกว่าคาดเดิม
เราได้ปรับคำแนะนำลง เป็น “ถือ” พร้อมลดราคาเป้าหมายเหลือ 17.20 บาท จากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น
1) รายได้เสี่ยงพลาดเป้า: ยอดขาย 1Q25 น่าจะโตเพียง 1–2% YoY ซึ่งต่ำกว่าที่บริษัท เกิดจากการส่งสินค้าล่าช้า แต่เรามองว่าภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะเริ่มชะลอปลาย 2Q25 ก็ยังเป็นปัจจัยที่ต้องกังวลต่อ ดังนั้น เราจึงปรับประมาณการยอดขายปีนี้ลงเหลือ เติบโต 8% (จาก 13%)
2) อัตรากำไรถูกกดดัน ทั้งจากยอดขายที่โตต่ำ และต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น เราคาด GM ใน 1Q25 ยู่ ลดลงทั้ง YoY และ QoQ และด้วยในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว เราคิดว่ากำลังซื้อจะถูกกระทบ กดดัน margin ต่อไป เราจึงปรับ GM ปีนี้ลงเหลือ 25.5% จากเดิมที่คาดไว้ 26.1% และต่ำกว่าบริษัทตั้งเป้าไว้ที่ 27%
3) ปรับประมาณการกำไรปี 2025 ลง 12% เหลือ 3.35 พันล้านบาท และเราคาดกำไร 1Q25 อยู่ที่ 704 ล้านบาท ลดลง 20% YoY และ 12% QoQ
4) เราจึงปรับสมมติฐานเป้าหมาย PER ลงเหลือ 15.3 เท่า เพื่อสะท้อนความเสี่ยงและแนวโน้มกำไร ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่ม โดย PER regional อยู่ที่ 18.9 เท่า ส่งผลให้เราลดราคาเป้าหมายเหลือ 17.20 บาท
Fundamental view: โดยสรุป แม้เรายังหวังว่าจะพอเห็น Upside ฝั่งรายได้จากสินค้าใหม่ครึ่งปีหลัง แต่ก็กังวลความเสี่ยงในระยะสั้นมีหลายด้านกว่า ทั้งฝั่งรายได้ ต้นทุน และ valuation ดังนั้น เราจึงแนะนำให้ ชะลอการลงทุน และ รอความชัดเจนเรื่องยอดขายและต้นทุนวัตถุดิบในช่วง 2Q25

 

 

สรุปประเด็นจาก Quick take

TOP
ไทยออยล์
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการอนุญาโตตุลาการของโครงการ CFP
TOP ได้ยื่นคําคัดค้านเพื่อโต้แย้งข้อเรียกร้องดังกล่าว รวมถึงได้ยื่นข้อเรียกร้องแย้งต่อผู้ร้องตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการด้วยทั้งนี้ยังไม่สามารถประเมินระยะเวลาของกระบวนการฯได้
View from fundamental: ข้อมูลดังกล่าวน่าจะช่วยคลายความกังวลของตลาดเกี่ยวกับความเสี่ยงของโครงการ CFP เรามองว่าหากราคาหุ้นปรับตัวลงจากข่าวนี้จะเป็นโอกาสในการทยอยสะสมเพื่อเล่นรับช่วงไฮซีซั่นของค่าการกลั่นใน 2Q25

 

Utilities

กกพ. ประกาศตรึงค่าไฟ 4.15 บาท
กกพ. ประกาศตรึงค่าไฟ พ.ค.-ส.ค. ที่ 4.15 บาทต่อหน่วยตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าสมมติฐานเชิงอนุรักษ์นิยมของเราที่ 3.95 บาท และสมมติฐานตลาดที่ 3.60-3.95 บาท
View from fundamental: เรามองว่าข่าวดังกล่าว น่าจะสร้าง sentiment เชิงบวกต่อหุ้น SPP อย่าง BGRIM และ GPSC

 


วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

ผถห. SSP ผ่านฉลุย! จ่ายปันผล 0.20 บาท/หุ้น

ผถห. SSP ผ่านฉลุย! จ่ายปันผล 0.20 บาท/หุ้น

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้