ภาพตลาดและแนวโน้ม
กระแสเงินทุนต่างชาติไหลพลิกกลับมาไหลเข้าภูมิภาคในสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจากที่เผชิญแรงขายหนักมา 3 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ แต่แรงซื้อเบาบาง โดยมียอดซื้อสุทธิที่ 68 ล้านเหรียญ พลิกจากที่เผชิญแรงขายรวมอยู่ที่ 17,122 ล้านเหรียญใน 3 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ ขณะที่ไต้หวันยังคงเผชิญแรงเทขายต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ ที่สี่
เซคเตอร์เด่นของภูมิภาคในสัปดาห์ที่แล้วจากการจับสัญญาณด้วย Volume Index ได้แก่ Distribution ในเกาหลีใต้ และ Mining & Oil ในฟิลิปปินส์
รายละเอียด:
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสเงินลงทุน (fund flows) ใน 5 ประเทศมีทิศทาง ไหลเข้า โดยมียอดซื้อสุทธิรวม 68 ล้านเหรียญสหรัฐ พลิกจากการขายสุทธิ 5,752 ล้านเหรียญในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินทุนเข้าใน 2 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ (1,682 ล้านเหรียญ) และฟิลิปปินส์ (40 ล้านเหรียญ) ขณะที่เงินทุนไหลออกจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน (-1,118 ล้านเหรียญ), อินโดนีเซีย (-432 ล้านเหรียญ) และ ไทย (-104 ล้านเหรียญ)
แม้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา จะมีแรงซื้อกลับเข้ามาบ้าง แต่เมื่อพิจารณาภาพรวมตั้งแต่ต้นปี 2025 แรงขายที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ยังส่งผลให้ยอดขายสุทธิรวมใน 5 ประเทศหลัก ยังคงอยู่ในระดับสูงถึง 21,904 ล้านเหรียญ โดยตลาดที่เผชิญแรงขาย หนักที่สุดคือไต้หวัน (-14,825 ล้านเหรียญ) รองลงมาคือเกาหลีใต้ (-3,866 ล้านเหรียญ) และอินโดนีเซีย (-2,025 ล้านเหรียญ)
จากสัญญาณของ Volume Index พบว่า เซคเตอร์ที่มีความเคลื่อนไหวโดดเด่นในภูมิภาค ได้แก่ กลุ่ม Distribution ในเกาหลีใต้ และกลุ่ม Mining & Oil ในฟิลิปปินส์
แนวโน้มเซคเตอร์ไทย:
สำหรับสัปดาห์นี้ คาดว่ากลุ่ม ICT จะเป็นเซคเตอร์เด่นของตลาดหุ้นไทย เนื่องจาก Volume Index ฟื้นตัวได้โดดเด่นกว่าเซคเตอร์อื่นในสัปดาห์ที่ผ่านมาจากโซนต่ำกว่าระดับ midpoint และน่าจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่องในระยะอันใกล้
สรุปภาพตลาดวานนี้
SET Sideways แบบปริมาณการซื้อขายเบาบาง หุ้นไอซีที คอมเมิร์ช พลังงาน เป็นกลุ่มหลักที่เป็นด้านบวก ส่วนแรงขายออกมาจากอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคาร ไฟแนนซ์ แต่แม้ Volume น้อย แต่มีหุ้นกลาง-เล็กบางตัวมีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้น เช่น FM YLI CHASE IP MCA PTG เป็นต้น ส่วนหุ้นใหญ่พบว่าเริ่มมีการกลับไปเก็บหุ้น TRUE
แนวโน้มตลาดวันนี้
มูฟออฟ & มูฟออน
วันนี้คาดหุ้นไทยรีบาวด์ได้ต่อเนื่อง ตามที่เราประเมินไว้ในกรอบสัปดาห์นี้ และแนะนำ เลือกปรับหุ้นที่เราแนะนำไว้ตามพอร์ตก่อนหน้านี้ เพราะราคาหุ้นแบ่งขั้วชัดว่าไม่เล่น เราจึงต้องเปลี่ยนตัวเพื่อหาหุ้นที่น่าจะเล่นได้ดีกว่า (ไม่ควรจมอยู่กับหุ้นดิ่ง)
ด้านปัจจัยหลายเรื่องในระดับมหภาคไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ปัจจัยต่างประเทศ; การเก็บภาษีตอบโต้ของอเมริกา จะมีความชัดเจน 2 เม.ย. ตามกำหนดเดิม แม้ล่าสุด นลท.หุ้นโลกอาจจะมองว่ามีแนวโน้มผ่อนคลายขึ้น, ภัยสงครามตะวันออกกลาง, รัสเซียยูเครน ที่ยังไม่จบ, ตัวเลขเศรษฐกิจอเมริกาหดตัวเช่น PMI ภาคการผลิตเบื้องต้น S&P เมื่อวานฯ
เรามองว่าเป็นเรื่องเดิมที่ยังเป็นปัจจัยลบกดดันบรรยากาศลงทุน แต่เชื่อว่า ระยะสั้นน่าจะไม่กดหุ้นไทยให้ปรับลงรุนแรงเหมือนช่วงที่ผ่านมา ด้วยหลายประเด็นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ต้องติดตามผลลัพธ์ที่จะเกิดกับเศรษฐกิจไทยหลังจากนี้ ซึ่งน่าจะเป็นประเด็นถ่วง Upside หุ้นไทย แต่ไม่ใช่เรื่องเซอร์ไพร์สที่ จะกดหุ้นไทยให้ร่วงรุนแรง
ดังนั้นกลยุทธ์หลักเรายังเน้นไปที่การเลือกหุ้นลงทุนเป็นรายตัว ท่ามกลางความเสี่ยงด้านล่างของภาพรวมการลงทุนหุ้นไทยที่เรามองว่ายังมีจำกัดในระยะนี้ โดยกรอบดัชนีฯสัปดาห์นี้ คาดขึ้นสลับย่อ กรอบ 1,170-1,200 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เลือกสะสมหุ้นรายตัว (Hold ระยะยาวหน่อย) จากเกณฑ์
1) ราคาหุ้นทรงตัวได้ดี Outperform ในเชิงเทคนิคคอล ไม่ Overbought
2) ความถูกของราคาหุ้นเมื่อเทียบมูลค่าทางบัญชี (PBV) และเทียบกับ Bands
3) แนวโน้มผลการดำเนินงานระยะสั้น ดูแล้วไม่น่าจะสร้างความผิดหวัง
4) โอกาสที่กำไรระยะสั้นจะดีกว่าที่คิด เพราะมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว เช่น มาตรการ ช้อปช่วยชาติ แจกเงินหมื่น ในช่วงไตรมาสแรก หนุนกำไรโตต่อเนื่อง 4Q24-1Q25
5) มีปันผลระหว่างกาล
วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET Index ยังอยู่ในโหมดสร้างฐานใหม่ ภายหลังผ่านการ drawdown ลงมาทั้งสิ้น 22% (วัดจากจุดยอดที่ 1,500 จุด) จับตาโมเมนตัม MACD cross เริ่มส่งสัญญาณ recovery ขึ้นจากกรอบล่าง ขณะที่โครงสร้างระยะกลาง 1 เดือน price pattern บ่งชี้รูปแบบ “Inverse Head & Shoulder” ภาพกลับตัวเปลี่ยนเป็นขึ้น ปัจจุบันดัชนี เกาะเส้น EMA 10 เหนียวแน่น ทำค่าเฉลี่ยขึ้น มีโอกาสทะลุ > 1,200 จุด ไม่ยาก
Note: โครงสร้างในอดีต (เดือน 8 ปี 2024) ดัชนีผ่านการ drawdown ทั้งสิ้น 25% หลังจากนั้นเริ่มสร้างฐาน จุดกลับตัวเกิดขึ้นเมื่อเกิดภาพ “Golden cross” ส่วนรอบนี้แนะจับจับตาหุ้น SET 50 เช่น PTT, ADVANC, TRUE, PTTEP และกลุ่มธนาคาร จะเป็นหุ้น leader ดันดัชนีให้เกิดสัญญาณ reversal แม้วอลุ่มตลาดอาจยังไม่เป็นใจก็ตาม…..
What to watch
คกก.ตลาดทุนตุรกี ประกาศห้าม ชอร์ตเซล, อนุญาตให้ บจ.ซื้อหุ้นคืนได้ในราคาสูงกว่าราคาปิดวานก่อน, ลดสัดส่วนหลักประกัน จาก 35% เหลือ 20% มีผลถึง 25 เม.ย. นี้
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ เตรียมประกาศใช้ภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ตามที่วางแผนไว้ในวันที่ 2 เม.ย. อย่างไรก็ดี สื่อสหรัฐฯ รายงานว่า ภาษีศุลกากรซึ่งจะเรียกเก็บเป็นรายภาคอุตสาหกรรม เช่น ภาษีนำเข้ารถยนต์และเซมิคอนดักเตอร์นั้น มีแนวโน้มว่าจะไม่ประกาศใช้ในเวลาเดียวกัน
ปธน.ทรัมป์กล่าวกับผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์ (21 มี.ค.) ว่าจะมีการใช้ความยืดหยุ่นต่อแผนการเรียกเก็บภาษีตอบโต้ซึ่งสหรัฐฯ มีกำหนดบังคับใช้ในวันที่ 2 เม.ย. พร้อมกับกล่าวว่าเขามีแผนที่จะพูดคุยกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน หลังจากที่จีนประกาศเรียกเก็บภาษีสินค้าเกษตรนำเข้าจากสหรัฐฯ เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ที่เรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน
วันพุธ อเมริการายงาน GDP 4Q (3rd) คาด +2.4% q-q จาก 2.3% q-q
วันศุกร์ รายงานเงินเฟ้ออเมริกา PCE คาด +0.3% m-m
หุ้นแนะนำวันนี้
TOP เรื่องโครงการโรงกลั่น CFP สะท้อนไปในราคาหุ้นหมดแล้ว เหลือแต่การเดินหน้าโครงการและกลับมามี Upside ในอนาคต
แนวรับ 25.5 แนวต้าน 28 ตัดขาดทุน 24
Tactical port
ถอด OSP BGRIM SCGP AAV เพิ่ม CBG GFPT BTG
รายงานพื้นฐานวันนี้
Utilities Sector
แนวทางดึง Data Center โดยไม่ลดค่าไฟทั่วประเทศ
ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เป็นความท้าทายสำคัญต่อเป้าหมายของไทยในการเป็นศูนย์กลาง Data Center แห่งใหม่ในอาเซียน แม้จะมีการลงทุนจากรายใหญ่เช่น Google และ AWS แล้วก็ตาม แต่การลดค่าไฟฟ้า ทั่วประเทศลงแรงจะกระทบรายได้รัฐ โดยการวิเคราะห์ความอ่อนไหว การลดลงทุกๆ 1 บาท/หน่วย (บนสมมติฐาน กรณีที่รัฐต้องอุดหนุนส่วนต่าง) จะต้องใช้งบกว่า 2 แสนล้านบาท/ปี หรือแลกมากับการลดรายได้รัฐและเลื่อนโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักต่างๆ และจากการประเมินเรามองว่าการลดค่าไฟลง 0.50-0.60 บาท/หน่วย ภายใน 5 ปี โดยไม่กระทบโครงสร้างการคลังมากนักยังพอเป็นไปได้
ทั้งนี้ เราจึงมองว่าแนวทางปฏิบัติในการดึงดูดกลุ่ม Data Center ให้ได้จริงกว่า คือ การใช้สัญญาซื้อขายไฟตรง (Direct PPA) ระหว่างผู้ผลิตกับผู้ใช้รายใหญ่ โดยเฉพาะ SPP ที่มีต้นทุนต่ำกว่าเฉลี่ย โดยกำหนดปริมาณใช้ขั้นต่ำ และผูกกับราคาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้ Data Center ได้ราคาค่าไฟ ที่แข่งขันได้ในช่วง Bt2.80-3.50/kWh โดยไม่ต้องพึ่งอุดหนุนจากภาครัฐทั้งระบบ
ทั้งนี้ แม้ราคาค่าไฟจะสำคัญ แต่ปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ความมั่นคงของระบบไฟ การเชื่อมต่อระหว่างประเทศ และสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบ ซึ่งเป็นจุดแข็งของสิงคโปร์และมาเลเซียที่ไทยควรเร่งปรับปรุงควบคู่กันไป
Commodities
ค่าระวางเรือเทกองยังโดดเด่น
น้ำมันดิบ: ราคาน้ำมันดูไบเพิ่มขึ้น $1.55 WoW มาอยู่ที่ $72.78/bbl จากความกังวลด้านอุปทาน โดยเฉพาะการส่งออกที่ลดลงจากอิหร่านและความตึงเครียดในตะวันออกกลาง
ค่าการกลั่น (GRM): GRM อิงสิงคโปร์ลดลง $0.76 WoW เหลือ $3.60/bbl จากอุปสงค์ที่อ่อนตัวและซัพพลายล้นตลาด กดดัน Spread Jet (-$0.85 เหลือ $12.01/bbl), Diesel (-$1.03 เหลือ $11.83/bbl), HSFO (-$2.40 เหลือ -$0.37/bbl) ขณะที่ Gasoline เพิ่มขึ้น $0.44 เป็น $8.44/bbl จากแผนปิดซ่อมโรงกลั่นในเอเชีย
เคมีภัณฑ์: Spread ส่วนใหญ่ยังอ่อนตัวจากต้นทุนแนฟทาที่สูงขึ้น โดย Ethylene (-$7 เป็น $181/t), Propylene (-$7 เป็น $166/t), HDPE (-$17 เป็น $351/t), PP (-$7 เป็น $371/t)
ถ่านหิน: ราคา Newcastle Export Index (NEX) ร่วง $11.72 WoW เหลือ $87.02/tonne (-12%) จากความต้องการที่ชะลอลงและซัพพลายล้น
ค่าระวางเรือ: BDI เพิ่มขึ้นอีก 97 จุด (+6% WoW) เป็น 1,645 นำโดย Panamax (+17%) และ Supramax (+12%) ส่วน World Container Index ลดลง 104 จุด (-4%) เหลือ 2,264
Fundamental view: แนะนำ “ถือ” PTTEP จาก Valuation ที่ไม่แพง แต่ก็ชอบกลุ่มโรงกลั่นมากกว่า โดยแนะนำ “ซื้อ” TOP จาก Valuation ถูก และใกล้เข้าสู่ High season ขณะที่กลุ่มเคมีชอบ IVL จากแนวโน้มกำไร 1H25 ที่ยังดี ส่วนกลุ่มเดินเรือยังเก็งกำไรได้จากค่าระวางฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้มีความเสี่ยงจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ ในระยะกลาง
PTTEP
ปตท.สำรวจและ ผลิตปิโตรเลียม
ความเสี่ยงสงครามเริ่มจาง ความหวังราคาน้ำมันจำกัด
ราคาน้ำมันอาจถูกกดดันจากความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก โดยจากการศึกษาข้อมูลวิกฤติที่สำคัญ 2 รอบ พบว่ารอบวิกฤติเศรษฐกิจปี 2008-09 และรอบโควิด-19 ราคาน้ำมันปรับตัวลงแรงสุดราว 73% และ 81% ในช่วงนั้นตามลำดับ และราคา PTTEP ก็เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน
รอบนี้เราคิดว่าผลกระทบจากสงครามการค้ารอบใหม่ที่อาจส่งผลต่ออุปสงค์พลังงาน ขณะที่นโยบายของทรัมป์ที่สนับสนุนการผลิตน้ำมันในประเทศจะยิ่งเพิ่มอุปทานในตลาด ทำให้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบแคบ
เราปรับลดสมมติฐานราคาน้ำมันปี 2025 เหลือ $71/bbl จากเดิม $78/bbl และลดคาดการณ์กำไรสุทธิ PTTEP ปี 2025 ลง 9% เหลือ 65,683 ล้านบาท (-17% YoY) นอกจากนี้ ปริมาณขายก๊าซจากอ่าวไทยซึ่งเป็นแหล่งต้นทุนต่ำอยู่ใกล้เพดานการผลิต ทำให้ Upside ปริมาณขายจำกัด และโครงการใหม่ยังมีความเสี่ยงด้านการเลื่อนกำหนดดำเนินการ ขณะที่ต้นทุนขายก๊าซมีแนวโน้มลดลง QoQ แต่ไม่สามารถชดเชยราคาขายเฉลี่ยที่ลดลงได้ โดยคาดว่ากำไรจะสูงสุดใน 1Q25 และทยอยลดลงในไตรมาสถัดไป
Fundamental view: เรายังคงคำแนะนำเพียง “ถือ” สำหรับ PTTEP แม้แนวโน้มกำไรลดลง แต่ Valuation ยังไม่แพง โดยซื้อขายที่ PER 2025 เพียง 7.0x (ต่ำกว่า -1.3SD ของค่าเฉลี่ยในอดีต) และคาดให้ปันผลทั้งปีสูงถึง 7.1% ส่วนหากเกิดกรณีเลวร้าย ราคาน้ำมันต่ำถึง $62/bbl PTTEP ยังซื้อขายที่ PER เพียง 8.7x และ Yield 5.8%
อย่างไรก็ตาม เราชอบ TOP และ PTT มากกว่า จากแนวโน้มการฟื้นตัวตามฤดูกาลและความยืดหยุ่นของโครงสร้างรายได้
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน