ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook
Highlights:
สัปดาห์ที่ผ่านมา สินทรัพย์เสี่ยงฟื้นตัว เช่น ตลาดหุ้นโลกและน้ำมัน ขณะที่ทองคำปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3
Momentum Tracker ของดัชนี MSCI All-Country World Equity ยังคงเผชิญความเสี่ยง แม้จะมีโอกาสฟื้นตัวบางส่วนหลังการปรับฐานในช่วงที่ผ่านมา แต่ภาพโดยรวมยังคงแสดงสัญญาณอ่อนแรง ซึ่งอาจนำไปสู่ความผันผวนในตลาดหุ้นโลกอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม: พุธ: US Durable Goods Orders (พุธ) ตลาดคาดหดตัว 0.7% MoM, US GDP 4Q24 (พฤหัสบดี) ตลาดคาดเติบโต 2.3% QoQ, US Core PCE (ศุกร์) ตลาดคาดเพิ่มขึ้น 0.3% MoM, และ US Personal Spending (ศุกร์) ตลาดคาดเติบโต 0.6% MoM
รายละเอียด:
“ภาวะการลงทุนในสัปดาห์ก่อน”
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา สินทรัพย์เสี่ยงมีแรงซื้อคืน ส่งผลให้ดัชนี MSCI All-Country World Equity และราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.7% และ 1.5% ตามลำดับ ขณะเดียวกัน ราคาทองคำได้ปรับตัวขึ้น 1.3% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน
สำหรับตลาดหุ้นไทย ดัชนี SET ปรับตัวขึ้น 1.1% ซึ่งเป็นการฟื้นตัวเป็นครั้งแรก หลังจากปรับตัวลดลงก่อนหน้านี้ 7 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยมี 9 จาก 20 กลุ่มอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม Energy, Insurance และ Bank ที่ปรับตัวขึ้น 4.8%, 3.7% และ 3.3% ตามลำดับ
“พัฒนาการสำคัญในต่างประเทศ ได้แก่”
สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยที่ 0.5% ซึ่งแม้จะไม่ใช่ตัวเลขที่โดดเด่นนัก แต่ก็เพียงพอที่จะหยุดสถิติการร่วงลงติดต่อกัน 4 สัปดาห์ได้ และช่วยให้ดัชนียังคงยืนอยู่เหนือระดับแนวรับบริเวณ 5500 จุด
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ต้องระวังคือ ราคายังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับเส้นค่าเฉลี่ย EMA 200 วัน ขณะที่เส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วันยังคงมีแนวโน้มลดลง ซึ่งสะท้อนถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดสัญญาณ “Dead Cross” ในระยะอันใกล้ บ่งชี้ว่าแรงกดดันต่อตลาดในไตรมาส 2/2025 อาจยังไม่จบลงง่ายๆ
หากย้อนดูในอดีต ตลาดมักเข้าสู่ช่วงปรับฐานเมื่อเผชิญปัจจัยลบ โดยเฉพาะในช่วงที่ระดับ Valuation อยู่ในเกณฑ์ตึงตัวและภาวะ Overowned ก่อตัว ความกังวลของนักลงทุนมักทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อปัจจัยลบนั้นมีโอกาสกลายเป็นความจริง เช่น เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ยิ่งไปกว่านั้น ตลาดก่อนหน้านี้เคลื่อนไหวภายใต้บรรยากาศการเก็งกำไรจากกระแสข่าวหรือ “Hype Market” ซึ่งเต็มไปด้วยความคาดหวังเชิงบวกที่เกินจริง ทำให้เมื่อเข้าสู่ช่วงปรับฐาน วงจรดังกล่าวจึงอาจยืดเยื้อและใช้เวลานานกว่าปกติ
“ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่”
วันพุธ: 1) US Durable Goods Orders ตลาดคาดยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ เดือน กุมภาพันธ์ จะหดตัว 0.7% MoM จากที่ขยายตัว 3.1% MoM ในเดือนก่อนหน้า
วันพฤหัส: 1) US GDP ตลาดคาดเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไตรมาส 4/2024 จะเติบโต 2.3% QoQ ชะลอจาก 3.1% QoQ ในไตรมาสก่อนหน้า
วันศุกร์: 1) US Core PCE ตลาดคาดอัตราเงินพื้นฐาน PCE ของสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์ จะเพิ่มขึ้น 0.3% MoM เท่ากับเดือนก่อนหน้า 2) US Personal Spending ตลาดคาดการใช้จ่ายส่วนบุคคลของสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์ จะเพิ่มขึ้น 0.6% MoM จากที่หดตัว 0.2% ในเดือนก่อนหน้า
“แนวโน้มราคาสินทรัพย์ต่างๆ”
ตลาดหุ้นสหรัฐมีแนวโน้มฟื้นตัวในระยะสั้นช่วงสัปดาห์นี้ หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศปรับนโยบายภาษีตอบโต้ (reciprocal tariff) ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา การปรับเปลี่ยนท่าทีดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากได้รับการเรียกร้องจากหลากหลายภาคธุรกิจที่ขอให้พิจารณายกเว้นภาษีดังกล่าว แม้จะมีการผ่อนปรนบางส่วน แต่ทรัมป์ยังคงยืนยันเจตนารมณ์ในการบังคับใช้มาตรการภาษีตอบโต้ตามกำหนดในวันที่ 2 เมษายน ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็น "วันปลดปล่อยอเมริกา" (America's Liberation Day)
อย่างไรก็ตาม เรายังคงแนะนำให้นักลงทุนระมัดระวังแรงขายที่อาจกลับมากดดันอีกครั้งในไตรมาส 2 เนื่องจากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ Momentum Tracker ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนแอต่อไป
ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมัน WTI เริ่มเผชิญแรงขายใกล้ระดับแนวต้านที่ 69 ดอลลาร์สหรัฐฯ สอดคล้องกับการปรับลดลงของ Long-to-Short Ratio จากระดับ 3.1 เท่า เหลือ 2.2 เท่า ซึ่งยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 5.6 เท่าอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนถึงจิตวิทยาเชิงลบที่ยังคงปกคลุมตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาน้ำมันมีโอกาสเผชิญกับแรงกดดันต่อไป
ราคาทองคำเริ่มเผชิญแรงขายทำกำไรบริเวณแนวต้านสำคัญในโซน 3,040–3,060 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่สถานะ Net Long Position ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 182,151 สัญญา สู่ 200,157 สัญญา และยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 119,357 สัญญาอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบกับ Momentum Tracker ที่ยังสะท้อนภาวะ Overbought ส่งผลให้ราคาทองคำมีแนวโน้มย่อตัวในระยะสั้น
อย่างไรก็ตาม แรงซื้อจากธนาคารกลางและนักลงทุน ท่ามกลางความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากความขัดแย้งทางการค้าโลก ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนที่ช่วยให้ราคาทองคำมีโอกาสรีบาวด์ได้เป็นระยะ ทำให้การปรับฐานรอบใหญ่ของทองคำอาจยังไม่เกิดขึ้น จนกว่าที่ราคาจะเข้าใกล้เป้าหมาย 3,250 ดอลลาร์สหรัฐ
สรุปภาพตลาดวานนี้
ดัชนีบวก ย่อ บวก สลับกันเมื่อศุกร์ที่แล้ว หุ้นกลุ่มพลังงานดันตลาดทั้ง PTT PTTEP BANPU SPRC ผสมโรงกับ DELTA ไอซีที และธนาคาร ส่วนแรงขายขยับมาอยู่ในกลุ่มโรงพยาบาล ค้าปลีก และขนส่งสาธารณะ โดยรวมเหมือนกับว่าจะหมุนไปเก็งกำไรกลุ่มอิงเศรษฐกิจโลก แทนกลุ่ม Domestic play มากยิ่งขึ้น
แนวโน้มตลาดวันนี้
HODL,
สัปดาห์ที่แล้วหุ้นไทยไต่ระดับขึ้นจากฐาน เป็นไปตามที่เราคาด และยังอยู่ในโซนสมควรเข้าสะสมหุ้นเป็นรายตัว ตามที่เราประเมิน กลุ่มที่บวก และยังประคองผลตอบแทนได้ดี ได้แก่ สินค้าโภคภัณฑ์, โรงไฟฟ้า และข่าวบวกรายกลุ่ม เช่น แบงก์ชาติผ่อนเกณฑ์ LTV, ปตท.ซื้อหุ้นคืน เป็นต้น
และเราแนะการเพิ่มหุ้นเข้าพอร์ตเป็นรายตัว ในรายงานกลยุทธ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เช่น BCP PTTGC TOP SCGP จากแนวโน้มกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ที่เราคาดว่าจะเกิดการรีบาวด์ต่อเนื่อง หลังจากที่ราคาหุ้นกลุ่มนี้ บวกขึ้นมาจากหลุมแล้วประมาณ 20% โดยเฉลี่ย
ด้านปัจจัยใหม่ที่น่าจับตาสำหรับหุ้นที่เราแนะนำ รวมไปถึงบรรยากาศลงทุนหุ้นไทยที่คาดว่าจะหนุนให้เกิดการรีบาวด์ได้ต่อเนื่อง น่าจะมาจากประเด็นในประเทศ ยกตัวอย่าง ราคาหุ้นตอบสนองเชิงบวกกับกระแสข่าว เช่น กระแสข่าวควบรวม TTB และกรุงไทย, การซื้อหุ้นคืนของ ปตท. และโอกาสในการปรับโครงสร้าง บริษัทในเครือ ปตท. เช่น การหาพันธมิตรใหม่มาร่วมทุนเสริมแกร่งธุรกิจ, กลุ่มซื้อหนี้ AMC: รัฐบาลต้องการสร้างหน่วยธุรกิจใหม่มาช่วยซื้อหนี้เสียออกจากธนาคาร เพื่อเร่งแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน เป็นต้น
ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศ เช่น การเก็บภาษีตอบโต้ของอเมริกา จะมีความชัดเจน 2 เมย. ตามกำหนดเดิม, ภัยสงครามที่ยังไม่จบ และ มาตรการคว่ำบาตรต่างๆ เรามองว่าเป็นเรื่องเดิมที่ยังเป็นปัจจัยลบกดดันตลาดหุ้นโลก แต่เชื่อว่า ระยะสั้นน่าจะไม่กดหุ้นไทยให้ปรับลงรุนแรงเหมือนช่วงที่ผ่านมา ด้วยหลายประเด็นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ต้องติดตามผลลัพธ์ที่จะเกิดกับเศรษฐกิจไทยหลังจากนี้ ซึ่งน่าจะเป็นประเด็นถ่วง Upside หุ้นไทย แต่ไม่ใช่เรื่องเซอร์ไพร์สที่กดหุ้นไทยให้ร่วงรุนแรง
ดังนั้นกลยุทธ์หลักเรายังเน้นไปที่การเลือกหุ้นลงทุนเป็นรายตัว ท่ามกลางความเสี่ยงด้านล่างของภาพรวมการลงทุนหุ้นไทยที่เรามองว่ายังมีจำกัดในระยะนี้ โดยกรอบดัชนีฯสัปดาห์นี้ คาดขึ้นสลับย่อ กรอบ 1,170-1,200 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เลือกสะสมหุ้นรายตัว (Hold ระยะยาวหน่อย) จากเกณฑ์
1) ราคาหุ้นทรงตัวได้ดี Outperform ในเชิงเทคนิคคอล ไม่ Overbought
2) ความถูกของราคาหุ้นเมื่อเทียบมูลค่าทางบัญชี (PBV) และเทียบกับ Bands
3) แนวโน้มผลการดำเนินงานระยะสั้น ดูแล้วไม่น่าจะสร้างความผิดหวัง
4) โอกาสที่กำไรระยะสั้นจะดีกว่าที่คิด เพราะมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว เช่น มาตรการ ช้อปช่วยชาติ แจกเงินหมื่น ในช่วงไตรมาสแรก หนุนกำไรโตต่อเนื่อง 4Q24-1Q25
5) มีปันผลระหว่างกาล
วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET Index week ปิดเขียว “Engulfing” ภายหลังผ่านการ drawdown ลงมาทั้งสิ้น 22% (วัดจากจุดยอดที่ 1,500 จุด) ส่งผลให้ RSI oversold และเริ่มส่งสัญญาณ recovery ขึ้นจากกรอบล่าง จับตาวอลุ่มขยับขึ้นมาสูงกว่าเฉลี่ยที่ > 4 หมื่นล้านบาท มุมมองตลาดสัปดาห์นี้คาดว่ามีโอกาสขึ้นแตะ 1,200 จุดได้อีกครั้ง
Note: ตลาดฟื้นรอบนี้ เน้นหุ้นใหญ่ หุ้น SET50 น่าจะขึ้นได้ดีกว่า ส่วนหุ้นตามกระแส ภายหลังตัวเลขส่งออกเดือนก.พ. โตมากกว่าคาด หุ้นตัวไหนน่าเก็งกำไร..
What to watch
ความไม่สงบในแถบทะเลแดง การตอบโต้ของเยเมนหลังถูกอเมริกาโจมตี และคำขู่โจมตีแหล่งน้ำมันของ ซาอุ
ปธน.ทรัมป์กล่าวกับผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์ (21 มี.ค.) ว่าจะมีการใช้ความยืดหยุ่นต่อแผนการเรียกเก็บภาษีตอบโต้ซึ่งสหรัฐฯ มีกำหนดบังคับใช้ในวันที่ 2 เม.ย. พร้อมกับกล่าวว่าเขามีแผนที่จะพูดคุยกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน หลังจากที่จีนประกาศเรียกเก็บภาษีสินค้าเกษตรนำเข้าจากสหรัฐฯ เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ที่เรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน
สหรัฐฯ ประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรที่เกี่ยวข้องกับอิหร่านรอบใหม่ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้แรงหนุนจากสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง
สหรัฐฯ ออกมาตรการคว่ำบาตรที่เกี่ยวข้องกับอิหร่าน โดยมุ่งเป้าไปที่หน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงโรงกลั่นน้ำมันขนาดเล็ก (Teapot) ของจีน และเรือที่จัดส่งน้ำมันดิบให้กับโรงกลั่นน้ำมันดังกล่าว
ทั้งนี้ จีนเป็นผู้นำเข้าน้ำมันจากอิหร่านรายใหญ่ที่สุด โดยโรงกลั่นน้ำมันขนาดเล็กเหล่านี้เป็นโรงกลั่นน้ำมันเอกชนของจีนที่เป็นผู้ซื้อน้ำมันหลักจากอิหร่าน ส่วนอิหร่านผลิตน้ำมันดิบมากกว่า 3 ล้านบาร์เรล/วัน
ทางด้านกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร หรือ โอเปกพลัส ได้ออกกำหนดการใหม่สำหรับประเทศสมาชิก 7 ประเทศ รวมถึงรัสเซีย คาซัคสถาน และอิรัก ให้ลดกำลังการผลิตน้ำมันเพิ่มเติมเพื่อชดเชยการผลิตน้ำมันที่เกินกว่าระดับที่ตกลงกันไว้ โอเปกระบุว่า แผนการนี้จะเป็นการลดกำลังการผลิตรายเดือนประมาณ 189,000 - 435,000 บาร์เรล/วัน โดยการลดกำลังการผลิตตามกำหนดการนี้จะดำเนินไปจนถึงเดือนมิ.ย. 2569
ล่าสุดกองพลน้อยอัล-กัสซัมของกลุ่มฮามาสได้ยิงจรวด M90 โจมตีกรุงเทลอาวีฟเมื่อวานนี้ เพื่อตอบโต้ต่อการที่อิสราเอลทำการโจมตีฉนวนกาซา
ขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ขู่เดินหน้าโจมตีกลุ่มฮูตีจนกว่าจะยอมยุติการโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดง และเตือนว่าอิหร่านจะต้องรับผิดชอบต่อการโจมตีใด ๆ ในอนาคตที่เกิดจากกลุ่มฮูตี
วันพุธ อเมริการายงาน GDP 4Q (3rd) คาด +2.4% q-q จาก 2.3% q-q
วันศุกร์ รายงานเงินเฟ้ออเมริกา PCE คาด +0.3% m-m
หุ้นแนะนำวันนี้
TOP เรื่องโครงการโรงกลั่น CFP สะท้อนไปในราคาหุ้นหมดแล้ว เหลือแต่การเดินหน้าโครงการและกลับมามี Upside ในอนาคต
แนวรับ 25.5 แนวต้าน 28 ตัดขาดทุน 24
รายงานพื้นฐานวันนี้
Food Sector (Idea)
ผู้ได้ประโยชน์จากมาตรการกำแพงภาษี
หากการเจรจาการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ กลุ่มเกษตรฯ น่าจะเป็นเพียงไม่กี่กลุ่ม ที่ได้ประโยชน์ โดย
1) หากเปิดทางให้นำเข้าข้าวโพดจากสหรัฐฯ ได้ถูกลง จากการคำนวณรวมค่าขนส่ง ก็ยังต่ำกว่านำเข้าจากเพื่อนบ้านอยู่กว่า 20%
2) การนำเข้าถั่วเหลือง ที่ราคาฝั่งสหรัฐฯ จะสูงกว่าบราซิลจากการขนส่ง แต่เราไม่คิดว่าจะทำให้ราคาผันผวนมากในยุคทรัมป์ 2.0 เพราะ Supply ของถั่วเหลืองทั้งสหรัฐฯ และบราซิล ทำสถิติใหม่ในปี 2025 (ความหมายโดยนัยฯ ก็คือ สินค้าล้นตลาดพอกัน)
ดังนั้น เมื่อสุทธิผลกระทบทั้งสองด้านแล้ว ภาพรวมจะหนุน Upside กำไรทั้งกลุ่มปศุสัตว์ราว 5.7% โดย BTG ได้ประโยชน์สูงสุด (+11%), TFG (+7.5%), CPF (+4.5%) และ GFPT (+4.4%)
3) กลุ่มอาหารและบรรจุภัณฑ์ จากกรณีกังวลราคาเหล็กและอลูมิเนียม อยู่ในระดับที่จัดการได้ โดยแรงกดดันกำไรกลุ่มเครื่องดื่มราว 3-4%, ITC ราว 7% และ TU ราว 13% แต่อีกด้านผลกระทบจะถูกกลบจากต้นทุนพลังงาน น้ำตาล และเศษแก้วที่ลดลง รวมทั้งมีนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกำไรอยู่แล้ว
Fundamental view: ชอบกลุ่มปศุสัตว์มากสุด โดยแนะนำ CPF และ BTG (อัปเกรดจากถือเป็นซื้อ) เป็น Top Pick ส่วน TFG และ GFPT แนะนำซื้อเก็งกำไร สำหรับกลุ่มอื่นๆ ชอบ CBG รองลงมา
Bank Sector
รายงานสินเชื่อเดือน ก.พ.
ภาพรวมสินเชื่อกลุ่มธนาคาร ณ สิ้นเดือนก.พ. 25 อยู่ที่ 10.7 ล้านล้านบาท ลดลง 0.2% MoM กดดันจากสินเชื่อรัฐบาลและสินเชื่อองค์กรปรับลดลง โดยธนาคารที่รายงานสินเชื่อหดลงตัว MoM ได้แก่ KTB และ KBANK ในทางกลับกัน ธนาคารที่รายงานสินเชื่อเติบโต MoM นำโดย BBL, TISCO, KKP และ SCB ส่วนสินเชื่อของ TTB ทรงตัว MoM ในเดือนก.พ.
เราคาดว่าสินเชื่อน่าจะทรงตัว MoM ในเดือนมี.ค. โดยเราคาดว่าทิศทางสินเชื่อของกลุ่มธนาคารจะเติบโตได้ใน 2H25 จากความต้องการใช้สินเชื่อสำหรับเงินทุนหมุนเวียนและสินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้น จากการเข้าช่วงเทศกาลวันหยุดยาวปลายปี ทั้งนี้ ปัจจุบันเราเห็นความเสี่ยงจากสมมติฐานการเติบโตของสินเชื่อปี 2025 ของกลุ่มธนาคารราว 1-2% จากสินเชื่อของ KBANK, KKP และ TTB น่าจะมีความเสี่ยงในด้านการเติบโตของสินเชื่อในปีนี้ราว 2-3% ส่วนแนวโน้มสินเชื่อของ BBL, KTB, SCB และ TISCO น่าจะสอดคล้องกับสมมติฐานของเรา
Fundamental view: จากการคำนวณของเรา เราคาดว่ากำไรสุทธิสำหรับ 2M25 ของกลุ่มธนาคารจะอยู่ที่ราว 3.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% YoY นำโดยกำไรสุทธิของ KBANK, BBL, KTB, และ SCB ที่ปรับเพิ่มขึ้น YoY ในทางกลับกัน เราคาดกำไรสุทธิของ KKP, TTB และ TISCO จะปรับลดลง YoY ใน 2M25
TOP
ไทยออยล์
ได้เวลาสะสมกลับอีกครั้ง
ใน 2Q25 จะเข้าสู่ High season ของค่าการกลั่น ฟื้นตัวจากฤดูกาลขับขี่ในสหรัฐฯ (เริ่ม 26 พ.ค.–1 ก.ย.) และการเดินทางทางอากาศที่มาก นอกจากนี้ นโยบายทรัมป์หนุนการใช้น้ำมัน อาจชะลอการใช้ EV ในตลาดสหรัฐฯ ส่งผลให้ Demand น้ำมันเบนซินมีความแข็งแกร่งขึ้นกว่าก่อนหน้า
โดยคาดปี 2025 ยอดขาย EV โตเพียง 18% (จาก 25% ในปี 2024) ขณะที่รถ ICE ยังคงครองสัดส่วนสูงและ Demand เชื้อเพลิงขนส่งจะยังเพิ่มต่อถึงปี 2030
ในแง่ Valuation ถูกมากเมื่อเทียบกับพื้นฐาน TOP เทรดอยู่ที่ PBV ปี 2025 เพียง 0.3x และ PBV/ROE เพียง 0.04x (ต่ำกว่า SET ที่ 0.15x) แม้ภายใต้ Bear-case GRM เพียง $3/bbl ก็ยังถือว่าถูก
Fundamental view: เราจึงปรับคำแนะนำจาก “ถือ” เป็น “ซื้อ” และให้ราคาเป้าหมายใหม่ปลายปี 2025 ที่ 32 บาท (อิง PBV 0.4x ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว 1.3x ถึง 1.5SD)
Tactical Idea
10 หุ้นถูก เพชรในโคลน
ต่อเนื่องจาก BLS Research มอง SET อยู่ในช่วงสร้างฐาน โดยมองว่าระหว่าง 1,050–1,160 จุด น่าจะเป็นจุดต่ำสุด ก่อนค่อยๆ ฟื้นตัว แม้อาจไม่ใช่ V-shape แรงๆ แต่ถือเป็นช่วง "Sweet Spot" สำหรับทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดี ราคายังมี Upside โดยอ้างอิงจากธีมเด่นในเดือนก่อนอย่าง "10 หุ้น Drawdown หนักพร้อมรีบาวด์" และ "5 หุ้น Bottom แล้ว" ซึ่งหลายตัวเริ่มกลับตัวแล้ว
1) 6 หุ้น มูลค่าดี ราคาถูก เด่นจากมุมมองพื้นฐานแข็งแกร่ง คัดจาก SET100 ที่ราคาปรับลงมากกว่าตลาด มีมุมมองที่ดีจากนักวิเคราะห์ และมีปัจจัยพื้นฐานรองรับชัดเจน ทั้งแนวโน้มกำไรปี 2025–2027, อุตสาหกรรมที่ไม่มี Downside เพิ่ม, Dividend yield จูงใจ และ Valuation ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
หุ้นเด่น: BGRIM, SCGP, CPALL, AAV, BDMS, PLANB
2) 4 หุ้น Tactical Rebound จากทั้ง Big bath 4Q24 หลายบริษัทบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษจำนวนมากใน 4Q24 กดกำไรต่ำกว่าปกติ รวมทั้งเจอปัจจัยกดดันแรงเกินไป และยังมีโอกาสพลิกกลับได้ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่ดีขึ้น, Catalyst เชิงบวก, และสัญญาณเทคนิคหนุนรีบาวด์ระยะสั้น
หุ้นเด่น: SCC, BCP, MONO, STECON
มุมมองโดยรวม: พอร์ตแนะนำธีมนี้ ผสมทั้ง Value และ Rebound play เหมาะสำหรับทยอยสะสมช่วงตลาดสร้างฐาน พร้อมรับการฟื้นตัว
ECON
การส่งออกไทยเดือนก.พ. 2025
มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2025 ขยายตัวเร่งขึ้น 14.0% YoY (+5.7% MoM) มากกว่าที่ตลาดคาดที่ 8% YoY (Bloomberg consensus) จากแรงหนุนด้านการเร่งนำเข้าสินค้า (Front-loaded demand) ก่อนมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ จะมีผลบังคับใช้ในช่วงต้นเดือนเมษายน 2025 โดยได้รับแรงหนุนหลักจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป อาหารสัตว์เลี้ยง เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ยางล้อรถยนต์ อะลูมิเนียม แต่ไฮไลท์สำคัญพบว่ากลุ่มรถยนต์และส่วนประกอบพลิกกลับมาเป็นบวกได้ในรอบ 3 เดือน โดยเฉพาะกลุ่มรถปิคอัพและรถบรรทุก และชิ้นส่วนยานยนต์
เรามองว่า การส่งออกของไทยจะโตต่อเนื่องตลอดทั้งไตรมาส 1Q25 จากแรงหนุนของการเร่งนำเข้าสินค้าก่อนมาตรการภาษีของสหรัฐฯ มีผลบังคับใช้ และจะเริ่มเห็นภาพชะลอตัวลงตั้งแต่ 2Q25
โดยในเดือนที่ผ่านมา การส่งออกไปสหรัฐฯ และจีน ยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยขยายตัว +18.3% YoY และ +22.4% YoY ตามลำดับ ส่วนตลาดอินเดียก็ทำสถิติมูลค่าการส่งออกสูงสุดอีกครั้งที่ 2.08 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ (+156.8% YoY) ขึ้นมาเป็นคู่ค้าส่งออกลำดับ 3 ของไทย แซงญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก หนุนโดยมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่มีมูลค่าเติบโตสูง
ทั้งนี้ หากหักสินค้าจำพวกอัญมนีและเครื่องประดับ (อาทิ เพชร พลอย ทอง) มูลค่าการส่งออกไทยจะขยายตัวได้ราว 8.8% YoY สะท้อนถึงราคาในตลาดโลกที่แข็งแกร่ง
สรุปประเด็นจาก Quick take
CPN
เซ็นทรัลพัฒนา มุมมองต่อการประชุมนักวิเคราะห์
เป้ารายได้ปี 25 เติบโต 5-7% (เราคาด+6%): ธุรกิจพื้นที่เช่าโต5%,ธุรกิจโรงแรมโต6-8%ส่วนอสังหาคาด
เเค่ทรงตัวคงเป้า 5 ปี รายได้โต 10%ต่อปีและรักษา ROEใกล้เคียงเดิม 15%
View from fundamental: ข้อมูลส่วนใหญ่ยังสอดคล้องกับที่เราคาดไว้ เราคงคาดกำไรหลักจะกลับมาดีขึ้น HoH ใน2H25ขึ้นไป ตามโครงการใหม่ๆที่จะเริ่มสร้างรายได้ จังหวะเข้าลงทุนอยู่ในช่วงกลางปี
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน