ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook
แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
Economic Evolution: ตลาดหุ้นกับการเปลี่ยนแปลงของยุคเศรษฐกิจ
วันนี้เราออกรายงาน Wealth Insight ซึ่งฉบับนี้นำเสนอวิวัฒนาการของเศรษฐกิจโลกที่สามารถแบ่งออกเป็น 5 ยุคสำคัญ ได้แก่ 1) ยุคเร่ร่อนล่าสัตว์ (Hunter-Gatherer), 2) ยุคเกษตรกรรม, 3) ยุคอุตสาหกรรม, 4) ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy), และยุคหลังดิจิทัล (Post-Digital Economy)
แต่ละยุคมีปัจจัยขับเคลื่อน (Drivers) ที่แตกต่างกัน และสะท้อนถึงโครงสร้างเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปตามนวัตกรรมและเทคโนโลยี
ปัจจุบันเราอยู่ในยุค Digital Economy ซึ่งเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีเป็นหลัก ทำให้เศรษฐกิจพึ่งพาธุรกิจดิจิทัล เช่น สหรัฐฯ มักมีการขับเคลื่อนได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับประเทศที่พึ่งพาเศรษฐกิจดั้งเดิม (Old Economy)
ในแง่ของตลาดทุน แนวโน้มก็คล้ายกัน คือ
ตลาดหุ้นที่มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจดิจิทัลสูง มักมีผลตอบแทนที่ดีกว่าและซื้อขายที่ระดับ Valuation สูงกว่า
โอกาสเข้าสู่วงจร De-rating Cycle มักต่ำกว่ากลุ่มที่ยังพึ่งพาเศรษฐกิจดั้งเดิม
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ
ดัชนี S&P 500 มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจดิจิทัล 24% ของรายได้รวม
ดัชนี STOXX Europe 600 และ TOPIX 500 มีสัดส่วนดังกล่าวที่ 13%
โดยดัชนีเหล่านี้ให้ผลตอบแทนดีกว่าหลายประเทศในเอเชียในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจและตลาดทุนอย่างมีนัยสำคัญ
ตาม Global Innovation Index ของ WIPO ประเทศผู้นำด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ได้แก่: สวิตเซอร์แลนด์ (67.5), สวีเดน (64.5), สหรัฐอเมริกา (62.4), สิงคโปร์ (61.2), สหราชอาณาจักร (61.0), เกาหลีใต้ (60.9), ฟินแลนด์ (59.4), เนเธอร์แลนด์ (58.8), เยอรมนี (58.1), เดนมาร์ก (57.1) และจีน (56.3)
แม้เรายังคงอยู่ในยุค Digital Economy แต่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ ยุคหลังดิจิทัล (Post-Digital Economy) กำลังเกิดขึ้น ซึ่งยุคใหม่นี้คาดว่าจะขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น
AI (ปัญญาประดิษฐ์)
ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Economy)
Blockchain
Quantum Computing
โดยทั่วไป การเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจอาจทำให้บางตลาดไม่สามารถปรับตัวได้ทัน และเข้าสู่วงจร Long-term De-rating Cycle แต่สำหรับดัชนีหุ้นสหรัฐฯ ในภาพรวม เราประเมินว่าอาจไม่ได้รับผลกระทบเชิงลบในด้านนี้ เนื่องจากมีเทคโนโลยีที่พร้อมเปลี่ยนผ่านและเป็นหนึ่งในผู้นำของยุคใหม่ดังกล่าว
(รายละเอียดเพิ่มเติม ติดตามได้ในรายงานฉบับเต็ม)
สรุปภาพตลาดวานนี้
วานนี้บวกแรงต่อ โดยหุ้นใหญ่ถูกซื้อกลับทั้ง AOT CPALL หลังมีโบรกต่างชาติ อัปเกรดหุ้นไทย และแนะซื้อกลับหุ้นเหล่านี้ที่ลงไป และการกลับมาเก็งกำไรกลับในกลุ่มปิโตรเคมี และหมุนหุ้นเข้ามาคอมเมิร์ชต่างๆ CRC CPN CPAXT รวมทั้งยังเห็นหุ้นขนาดกลาง-เล็กหลายตัวเด้งแรงอีกครั้ง ROCTEC MONO JMART TEAMG PIN BAM NCAP เป็นต้น
แนวโน้มตลาดวันนี้
อุ อิ อ๊า Cat bounce (Not Dead Cat bounce)
หุ้นไทยเริ่มออกอาการรีบาวด์ และบวกแรงเป็นรายตัว (ตามที่เราคาด) เราคาดว่าการรีบาวด์รอบนี้ จะลบล้างภาพ Dead cat bounce และเดินหน้าบวกคึกคัก อุ อิ อ๊า มากกว่าแค่เด้งสั้นๆ...
ขณะที่เรายังคงเฝ้าติดตาม หุ้นที่เราแนะนำไปก่อนหน้านี้ ว่าพอจะยังถือต่อได้หรือไม่ ตามที่เรา แนะนำเก็บหุ้น เช่น AAV OSP โรงไฟฟ้า และ Commodity ซึ่งยังคงมีความผันผวนของราคารายวันค่อนข้างสูง แต่หากเล่น ไม่ดีอย่างที่เราคาด เราพร้อมขายหนี แล้วหยุดรอดูสถานการณ์ ด้วยภาวะการลงทุนหุ้นไทยที่เปราะบาง และ วอลุ่มถดถอย อาจทำให้เกิดความปั่นป่วนของราคาได้เกินคาด
อย่างไรก็ดี เมื่อเราติดตามบริบทและสถานการณ์การลงทุนช่วงนี้ตามกระแสข่าวต่างๆจะพบว่า ปัจจัยลบต่างๆเดินตามบริบทเดิม ในตลาดหุ้นโลก เช่น มาตรการตอบโต้ทางการค้าและกำแพงภาษี, ภัยสงคราม, เงินเยน ญี่ปุ่น แข็งค่ากับการเร่งปิดสถานะ JPY Carry trade ฯลฯ แต่ก็ไม่ได้กดดันหุ้นไทยเหมือนเมื่อก่อน
ดังนั้นเราจึงยังคงเฝ้าติดตามผลตอบแทนหุ้นที่เราแนะนำต่อไป ตามตรรกะที่เราประเมินคือหุ้นที่บวกจากก้นหลุมมาแล้ว 20% ++ ต้องมีอะไรเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เราไม่ควรปล่อยโอกาสนี้ไป และเพิกเฉยกับหุ้นไทย (สอดรับกับที่เริ่มเห็นโบรกต่างชาติ กลับมาเพิ่มน้ำหนักหุ้นไทยรายตัว เป็นต้น)
กลยุทธ์การลงทุน
เลือกสะสมหุ้นรายตัว (Hold ระยะยาวหน่อย) จากเกณฑ์
1) ราคาหุ้นทรงตัวได้ดี Outperform ในเชิงเทคนิคคอล ไม่ Overbought
2) ความถูกของราคาหุ้นเมื่อเทียบมูลค่าทางบัญชี (PBV) และเทียบกับ Bands
3) แนวโน้มผลการดำเนินงานระยะสั้น ดูแล้วไม่น่าจะสร้างความผิดหวัง
4) โอกาสที่กำไรระยะสั้นจะดีกว่าที่คิด เพราะมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว เช่น มาตรการ ช้อปช่วยชาติ แจกเงินหมื่น ในช่วงไตรมาสแรก หนุนกำไรโตต่อเนื่อง 4Q24-1Q25
5) มีปันผลระหว่างกาล
วิเคราะห์ทางเทคนิค
เปิดโผหุ้นพระเอก นำโดย AOT, GULF, INTUCH, ADVANC , PTT และ ค้าปลีก (ตระกูล C มาครบแก็งค์) CPALL, CRC, CPAXT และ CPN หนุน SET ทะลุเส้น EMA 10 วันสำเร็จ! บ่งชี้สัญญาณกลับตัวระยะสั้น นอกจากนี้โมเมนตัม MACD cross กำลังตัดขึ้นจากกรอบล่างซะด้วย! ขึ้นจริงหรือหลอก! แนะจับตาวอลุ่มตลาดกำลังเพิ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ย บ่งชี้ Fund flow มีโอกาสไหลเข้า! SET เริ่มเข้าสู่ “Green Ocean” ตามแผน
กลยุทธ์: Technical strategy หลังจากแนะนำซื้อโซนล่างบริเวณ 1,150 จุด ไม้แรกไปแล้ว แผนถัดไปอาจไม่ได้ซื้อของถูก แต่เป็นการ Follow buy เมื่อ SET เกิดสัญญาณกลับตัว….แนะโหลดกระสุนลุยไม้ 2
What to watch
การประชุมเฟดวันพุธ (รู้ผล พฤ.) ตลาดคาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.5%
FTSE Thailand index review มีผล 21 มี.ค.นี้: Large Cap ไม่มีหุ้นเข้าออก / Mid Cap ถอดหุ้น EA IRPC / Small Cap เพิ่มหุ้น CCET EA IRPC SKY WHART ถอดหุ้น BYD LPN
UBS อัพเกรดหุ้นไทย กลับมาเพิ่มน้ำหนักลงทุน Overweight แนะ 8 หุ้น top pick AOT CPALL PTTEP TRUE KBANK KTB CRC PTTGC
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะเริ่มการประชุมนโยบายการเงิน 2 วันในวันนี้ โดยคาดว่า BOJ จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.5% เมื่อการประชุมสิ้นสุดลงในวันพรุ่งนี้ (19 มี.ค.)
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันจันทร์ (17 มี.ค.) ว่า ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน จะเดินทางเยือนกรุงวอชิงตันในอนาคตอันใกล้นี้ ท่ามกลางสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัว -2.1% ในไตรมาส 1/2568
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 19 ก.พ. GDPNow คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัว 2.3% ในไตรมาส 1/2568
อินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กกล้ารายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก กำลังวางแผนเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กส่วนใหญ่ในอัตรา 12% ซึ่งถือเป็นประเทศล่าสุด ในบรรดาประเทศต่าง ๆ ที่พยายามหาทางปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศของตัวเอง
กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอินเดียเสนอให้มีการเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราดังกล่าวเป็นเวลา 200 วัน โดยคณะกรรมาธิการการค้าของกระทรวงฯ ได้เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นก่อนจะมีการพิจารณาขั้นสุดท้ายในภายหลัง
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องแนวคิดการซื้อคืนหนี้ประชาชนออกจากระบบธนาคาร เป็นเรื่องที่นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายก รัฐมนตรีและ รมว.คลัง คิดนานแล้ว พร้อมยืนยันว่า จะสามารถเกิดขึ้นได้ภายในรัฐบาลนี้
โดยก่อนหน้านี้ นายจุลพันธ์ ชี้แจงว่า แนวคิดดังกล่าวไม่ใช่การแฮร์คัทหนี้ เพราะจะไปซื้อหนี้ออกมาจากสถาบันการเงิน การจะใช้เงินของรัฐและเอกชนนั้น ทำได้ 2 แบบ เหมือนก่อนหน้านี้ที่ธนาคารออมสินเคยทำ JV AMC ขึ้นมา แต่ส่วนที่รัฐบาลจะทำใหม่นี้ คือการทำให้มีโครงสร้างที่ลงไปแก้ปัญหาถึงระดับประชาชนรากหญ้าได้ (ข่าวนี้หนุนราคาหุ้นรับซื้อหนี้ บวกคึกคักเมื่อวานนี้)
หุ้นแนะนำวันนี้
TOP เรื่องโครงการโรงกลั่น CFP สะท้อนไปในราคาหุ้นหมดแล้ว เหลือแต่การเดินหน้าโครงการและกลับมามี Upside ในอนาคต
แนวรับ 25.5 แนวต้าน 28 ตัดขาดทุน 24
รายงานพื้นฐานวันนี้
Wealth Insight
ตลาดหุ้นกับการเปลี่ยนแปลงของยุคเศรษฐกิจ
วันนี้เราออกรายงาน Wealth Insight ซึ่งฉบับนี้นำเสนอวิวัฒนาการของเศรษฐกิจโลกที่สามารถแบ่งออกเป็น 5 ยุคสำคัญ ได้แก่ 1) ยุคเร่ร่อนล่าสัตว์ (Hunter-Gatherer), 2) ยุคเกษตรกรรม, 3) ยุคอุตสาหกรรม, 4) ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy), และยุคหลังดิจิทัล (Post-Digital Economy)
แต่ละยุคมีปัจจัยขับเคลื่อน (Drivers) ที่แตกต่างกัน และสะท้อนถึงโครงสร้างเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปตามนวัตกรรมและเทคโนโลยี
ปัจจุบันเราอยู่ในยุค Digital Economy ซึ่งเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีเป็นหลัก ทำให้เศรษฐกิจพึ่งพาธุรกิจดิจิทัล เช่น สหรัฐฯ มักมีการขับเคลื่อนได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับประเทศที่พึ่งพาเศรษฐกิจดั้งเดิม (Old Economy)
ในแง่ของตลาดทุน แนวโน้มก็คล้ายกัน คือ
ตลาดหุ้นที่มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจดิจิทัลสูง มักมีผลตอบแทนที่ดีกว่าและซื้อขายที่ระดับ Valuation สูงกว่า
โอกาสเข้าสู่วงจร De-rating Cycle มักต่ำกว่ากลุ่มที่ยังพึ่งพาเศรษฐกิจดั้งเดิม
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ
ดัชนี S&P 500 มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจดิจิทัล 24% ของรายได้รวม
ดัชนี STOXX Europe 600 และ TOPIX 500 มีสัดส่วนดังกล่าวที่ 13%
โดยดัชนีเหล่านี้ให้ผลตอบแทนดีกว่าหลายประเทศในเอเชียในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจและตลาดทุนอย่างมีนัยสำคัญ
ตาม Global Innovation Index ของ WIPO ประเทศผู้นำด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ได้แก่: สวิตเซอร์แลนด์ (67.5), สวีเดน (64.5), สหรัฐอเมริกา (62.4), สิงคโปร์ (61.2), สหราชอาณาจักร (61.0), เกาหลีใต้ (60.9), ฟินแลนด์ (59.4), เนเธอร์แลนด์ (58.8), เยอรมนี (58.1), เดนมาร์ก (57.1) และจีน (56.3)
แม้เรายังคงอยู่ในยุค Digital Economy แต่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ ยุคหลังดิจิทัล (Post-Digital Economy) กำลังเกิดขึ้น ซึ่งยุคใหม่นี้คาดว่าจะขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น AI (ปัญญาประดิษฐ์), ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Economy), Blockchain, Quantum Computing
โดยทั่วไป การเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจอาจทำให้บางตลาดไม่สามารถปรับตัวได้ทัน และเข้าสู่วงจร Long-term De-rating Cycle แต่สำหรับดัชนีหุ้นสหรัฐฯ ในภาพรวม เราประเมินว่าอาจไม่ได้รับผลกระทบเชิงลบในด้านนี้ เนื่องจากมีเทคโนโลยีที่พร้อมเปลี่ยนผ่านและเป็นหนึ่งในผู้นำของยุคใหม่ดังกล่าว
Bank Sector
โครงการซื้อหนี้เสียรายย่อย เป็นไปได้แค่ไหน
บทวิเคราะห์ฉบับนี้ เราจะวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงการซื้อหนี้เสียของผู้บริโภคที่รัฐบาลเพิ่งเสนอขึ้นมา โดยเมื่อวานนี้ราคาหุ้นกลุ่มบริหารสินทรัพย์ปรับตัวขึ้นแรง นำโดย JMT ปรับเพิ่มขึ้น 7% และ BAM ปรับเพิ่มขึ้น 5% ซึ่งเรามองว่าตลาดตอบรับเชิงบวกต่อโครงการนี้มากเกินไป เนื่องจากเรามองว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เว้นแต่จะมีการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาล
หากรัฐบาลสนับสนุนทางการเงินต่อโครงการนี้ เราประเมินว่ามีโอกาสที่ 2 กรณีจะเกิดขึ้นได้ ได้แก่ 1) รัฐบาลช่วยเหลือด้านการเงินแก่ธนาคาร เพื่อให้ขายหนี้เสียออกมาในราคาที่มีส่วนลดสูง และ/หรือรัฐบาลออกสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้บริษัทบริหารสินทรัพย์นำไปซื้อหนี้เสียมาบริหาร และ 2) รัฐบาลอาจจะตั้งบริษัทหรือ JV AMC เพื่อซื้อหนี้เสียจากธนาคารและจ้างบริษัทที่เชี่ยวชาญในการบริหารสินทรัพย์ติดตามหนี้ให้
Fundamental view: ทั้งนี้ หากโครงการซื้อหนี้จากธนาคารเกิดขึ้นจริง เรามองว่าจะส่งผลบวกต่อกลุ่มธนาคาร (มีช่องทางให้ระบายหนี้เสียมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ทิศทางคุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น) และกลุ่มบริหารสินทรัพย์ (มีหนี้เสียให้บริหารมากขึ้น) ในระยะกลางถึงยาว
GULF
กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์
INTUCH มาแล้ว! KBANK ต่อเลยมั้ย?
การเข้าถือหุ้น KBANK ของ GULF จุดกระแสตลาดว่าอาจซ้ำรอย INTUCH แม้ศักยภาพการเพิ่มกำไรสูง แต่เรามองเห็นอุปสรรคด้านกฎระเบียบที่ต้องฝ่าด่าน และเหตุผลที่ KBANK อาจไม่ใช่เป้าหมายสุดท้าย
เบื้องต้น แม้ GULF ระบุว่าถือหุ้น KBANK เพื่อการลงทุนและรับปันผล แต่หากเพิ่มสัดส่วนถือหุ้น จะสะท้อนความตั้งใจเชิงกลยุทธ์มากขึ้น จะเจอด่านกฎระเบียบของจาก BOT ที่จะส่งผลต่อเพดานการกู้เงิน และอาจต้องได้รับอนุญาตจาก BOT หรือกระทรวงการคลัง:
• 5%: ไม่ต้องขออนุมัติ แต่กระทบเพดานการปล่อยกู้ (single lending limit) เพราะถือเป็นผู้เกี่ยวข้อง
• ≥10%: ต้องขออนุมัติ BOT พร้อมตรวจสอบฐานะการเงิน-ธรรมาภิบาล-ประสบการณ์ในธุรกิจการเงิน
• ≥25%: ถูกจัดเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ต้องอยู่ภายใต้กำกับเข้มขึ้น
• >50%: ต้องขออนุมัติทั้ง BOT และกระทรวงการคลัง
KBANK มีกำไรแกร่ง PER ต่ำ ปันผลสม่ำเสมอ ถือ 3.25% อาจเพิ่มกำไร 1% แต่ถ้าทะลุเงื่อนไขและถือเพิ่ม กำไรอาจพุ่งขึ้นอีกมาก
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน หลังควบรวม INTUCH แล้ว (Net D/E จะเหลือแค่ 0.8x) GULF จะมีความ สามารถในกู้เพิ่มอีก 5-6 แสนล้านบาท เป็นมากที่สุด ~8 แสนล้านบาท (หลังรวม) ทำให้เรามองว่าบริษัทยังมีโอกาสที่่จะลุยดีลใหม่ๆ อีกมาก และเป้าหมายถัดไปน่าจะเป็นธุรกิจที่มี PER ต่ำ กำไรสม่ำเสมอ และเสริมศักยภาพพอร์ตพลังงาน/โครงสร้างพื้นฐานมากกว่าจบแค่ KBANK
BBIK
บลูบิค กรุ๊ป
พร้อมรับคลื่น AI เติบโตต่อเนื่อง
แม้ยังมีข้อสงสัยว่า AI จะสร้างรายได้ให้ธุรกิจ IT Consulting ได้แค่ไหน แต่ BBIK กำลังเดินเกมชัดเจนเพื่อเติบโตในยุค AI ผ่านการขยายบริการแบบ AI-driven และโฟกัสไปที่โซลูชันเฉพาะทางที่ช่วยองค์กรเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอย่างแท้จริง
แม้บางมุมมองชี้ว่า Digital transformation อาจเริ่มถึงจุดอิ่มตัว แต่ข้อมูลจาก Accenture ยืนยันว่า GenAI กลายเป็นแหล่งรายได้ใหม่ที่เติบโตเร็ว โดยในปี 2024 รายได้จาก GenAI โตถึง 9 เท่า YoY และ Booking สูงถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากการใช้งานจริง ไม่ใช่แค่การทดลอง
สำหรับที่ไทย การลงทุน IT ภาครัฐจะชะลอตัว แต่เอกชนยังโตต่อ โดยเฉพาะกลุ่มการเงิน-ประกันภัยที่เน้นระบบ Core banking และ Cybersecurity ขณะเดียวกันองค์กรไทยเริ่มทดลองใช้ GenAI มากขึ้นเพื่อการทำ Automation, Analytics และการสื่อสารกับลูกค้า แม้ยังติดปัญหาเรื่อง Talent และการ Integrate กับระบบเดิม
ในส่วน BBIK เดินหน้าเต็มสูบรับเทรนด์ AI โดยใช้โอกาสนี้ต่อยอดการให้บริการ AI-driven solution ที่ออกแบบเฉพาะองค์กร พร้อมขยายบริการ SLM (Small Language Model) ที่เหมาะกับการใช้งานจริงในแต่ละอุตสาหกรรม ปัจจุบันมี Backlog 983 ล้านบาท (+14% YoY) และตั้งเป้ารายได้ปี 2025 โต 20-30% YoY โดยบริษัทยังมี ORBIT ซึ่งยังได้รับงานต่อเนื่องหนุนการเติบโตระยะยาว
Fundamental view: เรายังคงมอง BBIK มี Catalyst จากการเติบโตของ AI, ความชัดเจนของ Backlog และการเติบโตของ ORBIT ที่จะหนุนการเร่งตัวของกำไรระยะกลาง โดยขอเชิญเข้ารับฟังการพูดคุยกับผู้บริหารแบบ Virtual Conference ในบ่ายวันนี้
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน