AT THE OPEN (#ATO)
SET Index ตั้งฐานและสลับรีบาวน์
กลยุทธ์เลือกหุ้นที่มีปัจจัยเฉพาะ
Market Strategy
SET Index คาดแกว่งตามกรอบ 1150-1175 จุด ความกังวลต่อภาวะ Stagflation ในสหรัฐฯ ลดลงหลังรายเงินเฟ้อเดือน ก.พ. ออกมาต่ำกว่าคาด แต่ความเสี่ยงการขึ้นกำแพงภาษีของสหรัฐฯ กับประเทศต่างๆ (ล่าสุดยุโรปและแคนาดา) ยังเป็นปัจจัยที่จำกัดการฟื้นตัว ด้านปัจจัยในประเทศอาจเห็นความผันผวนจากความกังวลต่อการปรับน้ำหนักของหุ้นที่มีโอกาสโอน LTF -> TESG หุ้นเด่นวันนี้ HMPRO และ AWC
รายงานเงินเฟ้อสหรัฐฯเดือน ก.พ. ออกมา 2.8% ต่ำกว่าตลาดคาด 2.9% ทำให้ตลาดลดความกังวลต่อภาวะ Stagflation ในสหรัฐฯและช่วยให้ FED ผ่อนคลายนโยบายการเงินได้ง่ายขึ้น หนุนให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้รีบาวน์กลับขึ้นมา นำโดย NASDAQ +1.2% แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงด้านการค้ายังคงไม่แน่นอนสูงหลังวานนี้ ยุโรปและแคนาดาประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ เพื่อตอบโต้ที่ขึ้นภาษีเหล็ก อลูมิเนียม 25% ก้บยุโรปและทั้วโลก ซึ่งยังเป็นปัจจัยที่จำกัดการฟิ้นตัวของตลาดหุ้น
ปัจจัยในประเทศอยู่ที่ย่อยข่าวการออกกอง TESGX เราประเมินสิ่งที่นักลงทุนกังวลปัจจุบันมี 2 ประเด็น
1) แรงไถ่ถอนเพิ่มเติม LTF ของกลุ่มที่ไม่ต้องการโอนย้ายไป TESGX ซึ่งวานนี้พบว่าแรงขาย LTF อยู่ที่ 300 ล้านบาท ใกล้ค่าเฉลี่ยเดือน มี.ค. จึงยังไม่เห็นสัญญาณเร่งไถ่ถอนเกิดขึ้น
2) การปรับน้ำหนัก (Reweight) ของหุ้นที่โอนจาก LTF เป็น TESGX ที่จะมีทั้งบริษัทที่ได้และเสียประโยชน์ เราประเมินว่าหุ้นที่จะได้ประโยชน์ คือ หุ้นที่สัดส่วนการถือครองของกอง TESG มากกว่า LTF ซึ่งจะส่งผลให้มีการเพิ่มน้ำหนักกับหุ้นนั้นๆ จากการรวบรวมข้อมูลการถือครองหุ้น LTF และ TESG (สัดส่วนเฉลี่ย 70% ของ NAV) ณ วันที่ 30 ธ.ค. 67 โดยตั้งสมมติฐานว่าวงเงินจะโอนย้ายไปที่ TESGX ที่ 1.35 แสนล้านบาท โดยคงน้ำหนักการลงทุนในหุ้นเท่ากับ LTF พบว่าหุ้นที่มีโอกาสถูกเพิ่มน้ำหนัก อันดับต้นๆ คือ PTT SCC HMPRO CPF TTB ส่วนหุ้นที่มีโอกาสถูกลดน้ำหนัก TRUE GULF BH WHA AMATA แต่อย่างไรก็ตามวานนี้หุ้นที่ถูกลดน้ำหนักหลายบริษัทปรับลงแรงมากเกินไป แต่ในแง่ปัจจัยพื้นฐานไม่เปลี่ยนแปลงใช้เป็นโอกาสการตั้งรับ ส่วนในเชิงกลยุทธ์ เน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการเพิ่มน้ำหนักเป็นสำคัญ
Market Summary
SET Index ปรับลง 2.3% Underperform ตลาดหุ้นภูมิภาค และทิศทาง Fund Flow ต่างชาติไหลออก โดยกลุ่มที่ปรับลงหนัก นำโดย อิเล็คทรอนิกส์ตามความไม่แน่นอนนโยบายภาษีสหรัฐฯกดดัน DELTA -6.7% KCE -5.6% กลุ่ม ICT กดดันจาก TRUE -3.6% ที่ตลาดกังวลว่า TESGX จะสามารถลงทุนได้หรือไม่ กลุ่ม GULF INTUCH -5.6% หลังใกล้เข้าวันซื้อขายสุดท้ายในวันที่ 20 มี.ค. ก่อนจะกลับมาซื้อขายเป็น NewCo วันที่ 3 เม.ย. ส่วนกลุ่มที่ Outperform กลุ่มโรงพยาบาล BDMS +1.3% คาดแนวโน้มรายได้ฟื้นตัว กลุ่มธนาคาร KKP +1.8%KTB +0.8%
DAILY Stock Pick
HMPRO
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 10.20 บาท
ราคาหุ้นตั้งแต่ต้นปีปรับลงตามทิศทางตลาดจากความกังวลต่อการเติบโตที่ช้าลง แต่อย่างไรก็ตามระดับราคาปัจจุบันที่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดของช่วง COVID-19 ที่ 9.00 บาท ไปแล้วถึง -14% สวนทางกำไร 2567 ที่ทำ All Time High จน PER68E ลงมาที่ 15.5 เท่าซื้อขายต่ำกว่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี -1.27 เท่าและปันผลที่สูงถึง 5.6% ต่อปี มากที่สุดในกลุ่มค้าปลีกที่เราศึกษา ซึ่งประเมินว่าอยู่ในระดับที่ Undervalue มากเกินไป
คาดกำไรปี 68 จะเติบโต 5% YoY หนุนจาก SSSG ที่เป็นบวก 1-2% การขยายสาขา 12 แห่ง การเพิ่มสัดส่วนสินค้ากลุ่ม Private label ทั้งนี้ SSSG ตั้งแต่ต้นปีอยู่ในระดับติดลบเล็กน้อย แต่ผู้บริหารตั้งเป้า SSSG ปี 68 ที่ 2-3% โดยคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ 2Q68 เป็นต้นไป จากฐานต่ำและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่วนแรงหนุนระยะสั้นเราคาดว่า HMPRO จะเป็นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเม็ดเงินไหลเข้าและการปรับน้ำหนักจากการถ่ายโอน LTF มาเป็น TESGX
KEY FACTOR
เงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน ก.พ. 1) เงินเฟ้อทั่วไป (Headline CPI) ปรับตัวขึ้น +2.8%YoY และ +0.2% MoM ต่ำกว่าที่ Consensus คาดไว้ที่ +2.9% YoY และ +0.3%MoM และชะลอลงจากเดือนที่ผ่านมาที่ +3.0%YoY และ +0.5%MoM) 2) เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ปรับตัวขึ้น +3.1% YoY และ +0.2% MoM ต่ำกว่าที่ Consensus คาดไว้ +3.2% YoY และ +0.3% และชะลอตัวลงจาก +3.3% YoY และ +0.4% MoM
ค่าใช้จ่ายภาคบริการยังเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น นำโดย ที่อยู่อาศัย (ซึ่งมีผลคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50%) +0.3% MoM ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล +0.3% MoM ส่วนค่าใช้จ่ายหมวดพลังงานปรับตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมา +0.2% MoM มาจากค่าไฟฟ้าที่ +1.0% MoM แต่น้ำมันเบนซิน -1.0% MoM
เงินเฟ้อที่ชะลอลงมากกว่าคาด ถือเป็นปัจจัยบวกต่อ Risk sentiment ส่งผลให้ 1) ดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯ +0.49% 2) VIX -9.99% 3) มุมมองตลาดให้น้ำหนัก Fed ลดดอกเบี้ยเฉลี่ยประมาณ 2.8 ครั้ง ในปีนี้
EYES ON
13 มี.ค. ดัชนี PPI สหรัฐฯ เดือน ก.พ., ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม Eurozone เดือน ม.ค.
นักกลยุทธ์ : ธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์, ชาญชัย พันทาธนากิจ