Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

243

 


ภาพตลาดและแนวโน้ม


แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
อัปเดต Sentiment การลงทุนในภูมิภาคจาก Fund Flow
Highlights:

กระแสเงินทุนต่างชาติไหลออกจากภูมิภาคอย่างรุนแรงเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน โดยมียอดขายสุทธิ 5,102 ล้านเหรียญ ต่อเนื่องจากยอดขายสุทธิ 6,269 ล้านเหรียญในสัปดาห์ก่อนหน้า นับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วิกฤตโควิดในปี 2020 ที่แรงขายทะลุ 5,000 ล้านเหรียญติดต่อกันสองสัปดาห์ โดยไต้หวันเผชิญกับแรงเทขายหนักที่สุดในรอบนี้

เซคเตอร์เด่นของภูมิภาคในสัปดาห์ที่แล้วจากการจับสัญญาณด้วย Volume Index ได้แก่ Technology ในอินโดนีเซีย และ Mining & Oil ในฟิลิปปินส์
รายละเอียด:
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสเงินลงทุน (fund flows) ใน 5 ประเทศมีทิศทางไหลออก โดยมียอดขายสุทธิรวม 5,102 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อเนื่องจากยอดขายสุทธิ 6,269 ล้านเหรียญในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยมีเงินทุนไหลออก 4 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน (-4,765 ล้านเหรียญ), เกาหลีใต้ (-187 ล้านเหรียญ) อินโดนีเซีย (-28 ล้านเหรียญ) ไทย (-129 ล้านเหรียญ) ขณะที่ฟิลิปปินส์มีแรงซื้อบางๆ ราว 7 ล้านเหรียญ
แรงขายต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาส่งผลให้ นับตั้งแต่ต้นปี 2025 ยอดขายสุทธิรวมใน 5 ประเทศถึง 16,849 ล้านเหรียญ โดยไต้หวันเป็นตลาดที่เผชิญแรงขายมากที่สุด (-10,724 ล้านเหรียญ) ตามมาด้วย เกาหลีใต้ (-3,874 ล้านเหรียญ) และอินโดนีเซีย (-1,333 ล้านเหรียญ)
จากสัญญาณ Volume Index ของเซกเตอร์ที่มีความโดดเด่นในภูมิภาค ได้แก่ Technology ในอินโดนีเซีย และ Mining & Oil ในฟิลิปปินส์ ซึ่งได้รับแรงหนุนจากปริมาณการซื้อขายที่แข็งแกร่ง
แนวโน้มเซกเตอร์ไทย:
สำหรับสัปดาห์นี้ ยังไม่พบเซกเตอร์ที่โดดเด่นในตลาดไทย เนื่องจากจิตวิทยาการลงทุนที่ยังเปราะบาง ถูกกดดันโดย Earnings Revision Breadth และ Market Breadth ที่ยังคงอยู่ในระดับอ่อนแอ ดังนั้นจึงแนะนำให้นักลงทุนพิจารณาคัดเลือกหุ้นโดยให้ความสำคัญกับปัจจัยสนับสนุนเฉพาะของแต่ละบริษัท

 


สรุปภาพตลาดวานนี้

Red Monday ลากลงต่ออีกวัน กดดันโดยหุ้นบลูชิปทุกกลุ่ม ทั้ง PTT DELTA AOT CPALL ADVANC BDMS TRUE SCC CRC IVL MINT เป็นต้น ขณะที่ด้านบวกพยุงตลาด ส่วนใหญ่ธนาคารบวกบางๆ และ PTTEP RATCH เป็นต้น

แนวโน้มตลาดวันนี้ กำเงิน...รอตั้งหลักใหม่
กระแสหรือประเด็นใหม่ในประเทศ เช่น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ อย่าง แจกเงินหมื่นเฟส 3, หรือข่าวยกระดับมาตรการกระตุ้นตลาดหุ้นไทย อย่าง “TISA” เหมือนจะไม่ช่วยหนุนบรรยากาศลงทุนหุ้นไทย ขณะที่ทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศที่ปรับฐานยังคงมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากกว่า กลายเป็น “หุ้นโลกขึ้น เราลบ, หุ้นโลกลบ เราลบหนักกว่า”...เหมือนเดิม

และดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ลงยังคงถูกกดดันจากกลุ่มหุ้นบางตัวที่ลงหนักหน่วงเป็นรายตัว เช่น AOT PTT DELTA BH CPALL TIDLOR BGRIM COM7 กระจายไปในตัวแทนหุ้นของบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม แต่ก็ยังมีหุ้นที่รอดจากแรงขายหนักๆ หรือลงน้อยกว่า ตามที่กลยุทธ์แนะให้เลิกดูเพียงแต่ดัชนีฯแล้วกำหนดจุดซื้อขายรายตัว และควรพร้อมขายตัดขาดทุน ไปตั้งหลักใหม่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน

กลยุทธ์เรายังแนะนำ เลือกหุ้นสะสมเป็นรายตัว โดยไม่สนใจระดับดัชนีฯ และเน้นไปที่หุ้นเมื่อมองไปข้างหน้า เห็นโอกาสชัดเจนในการปรับเพิ่มคาดการณ์กำไร ตลอดจนสมมุติฐานของคาดการณ์อยู่ในจุดที่สมเหตุสมผล เช่น เห็นชัดว่าราคาน้ำมันลงช่วยลดต้นทุน, ค่าใช้จ่ายพิเศษไม่น่าจะเกิดในไตรมาสหน้า หรือตั้งสำรองความเสี่ยงไปเกือบหมดแล้ว ซึ่งเราเน้นไปที่ฝั่งต้นทุนก่อน เพราะด้วยภาวะเศรษฐกิจไทย และโลกที่เสี่ยงชะลอตัว คงต้องลดรายจ่าย แทนการเพิ่มรายได้ เพื่อสร้างผลกำไรให้เติบโตแบบมีเสถียรภาพสอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน

กลยุทธ์การลงทุน
เลือกสะสมหุ้นรายตัว (Hold ระยะยาวหน่อย) จากเกณฑ์ 1) ราคาหุ้นทรงตัวได้ดี Outperform ในเชิงเทคนิคคอล ไม่ Overbought 2) ความถูกของราคาหุ้นเมื่อเทียบมูลค่าทางบัญชี (PBV) และเทียบกับ Bands 3) แนวโน้มผลการดำเนินงานระยะสั้น ดูแล้วไม่น่าจะสร้างความผิดหวัง 4) โอกาสที่กำไรระยะสั้นจะดีกว่าที่คิด เพราะมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว 5) มีปันผลระหว่างกาล

วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET ร่วง! ลงมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ส่งผลให้ผลตอบแทนรั้งท้าย -14.6% YTD ขณะที่โครงสร้างระยะกลางผ่านการ drawdown ลงมาทั้งสิ้น 21% และถึงแม้โมเมนตัมจะถูกกดลงมาอยู่ในเขต oversold & divergence แต่ยังไม่สามารถทำให้ดัชนีฟื้นตัวกลับทะลุผ่านเส้น EMA ขึ้นไปได้ แนวโน้มระยะสั้นอาจต้องระมัดระวังความเสี่ยง SET หลุด low ต่ำกว่า 1,173 จุด
Note: หน้าหุ้นเริ่ม switch มาที่หุ้นแบงค์และหุ้นปันผลสูง บ่งชี้นักลงทุนในตลาดเริ่มมองหาหุ้น save play เช่นกัน

 

 

 

What to watch
FTSE Thailand index review มีผล 21 มี.ค.นี้: Large Cap ไม่มีหุ้นเข้าออก / Mid Cap ถอดหุ้น EA IRPC / Small Cap เพิ่มหุ้น CCET EA IRPC SKY WHART ถอดหุ้น BYD LPN
ตลาดหุ้นอเมริกาเริ่มปรับฐานหลังเข้าสู่โซนแพงเกิน และเสี่ยงภาวะฟองสบู่ ตามที่โบรกต่างชาติเตือนการปรับฐานรอบนี้ ขณะที่โบรกต่างชาติ เช่น Goldman Sach เริ่มหันมาปรับเพิ่มน้ำหนักตลาดหุ้น จีน และ ตลาดเกิดใหม่...
นักวิเคราะห์จากหลายสำนักได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยโกลด์แมน แซคส์ปรับเพิ่มโอกาสที่สหรัฐฯ จะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็น 20% จากเดิมที่ระดับ 15% โดยได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีของปธน.ทรัมป์และเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อการจ้างงานและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
มอร์แกน สแตนลีย์ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ ในปี 2568 ลงสู่ระดับ 1.5% จากเดิมที่ระดับ 1.9% เนื่องจากผลกระทบของนโยบายการค้าและการควบคุมผู้อพยพเข้าประเทศมีความรุนแรงมากกว่าที่ประเมินไว้
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถูกเทขายอย่างหนัก เนื่องจากผลกระทบของเงินเยนที่แข็งค่าและการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรญี่ปุ่น หลังจากนักลงทุนได้ลดการทำ Carry Trade ในสกุลเงินเยน ท่ามกลางความหวังที่ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไม่ช้านี้
ทั้งนี้ ธุรกรรม Carry Trade คือการที่นักลงทุนกู้ยืมสกุลเงินเยนซึ่งมีต้นทุนต่ำ เพื่อนำไปซื้อสกุลเงินหรือสินทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่า ซึ่งการลดการทำ Carry Trade ได้ส่งผลให้เกิดแรงเทขายในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงหุ้น 7 บริษัทเทคโนโลยีที่มีมาร์เก็ตแคปสูง หรือกลุ่ม "Magnificent Seven"
บอร์ดกระตุ้นเศรษฐกิจ ไฟเขียวแจกเงินผ่านดิจิทัลวอลเล็ตเด็กวัยเรียนปลาย Q2-ต้น Q3/68 แจกเงินผ่านดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทให้กับวัยเรียนในช่วงอายุ 16-20 ปีราว 2.7 ล้านคนที่ลงทะเบียนผ่านแอปฯ "ทางรัฐ" เพื่อช่วยในเรื่องของค่าครองชีพ
ตลท.ศึกษาโมเดล NISA หรือ Nippon Individual Saving Account ของญี่ปุ่น มาปรับเป็น Thailand ISA เป็นโครงการออมหุ้นระยะยาว ซึ่งเงินที่ผู้ลงทุนซื้อหุ้นจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ภายใต้เพดานที่กำหนด และจะต้องถือไว้ระยะยาวก่อนจะสามารถขายได้ และเมื่อขายก็จะไม่ต้องเสียภาษี โดยโมเดลของญี่ปุ่นกำหนดเพดานไว้ที่ 6 ล้านเยน ขณะนี้ ตลท.หารือกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้ว เตรียมหารือกับกระทรวงการคลังต่อไป
ตลท.เล็งประกาศเงื่อนไขไทม์ไลน์ Jump+ พ.ค.นี้

หุ้นแนะนำวันนี้ Wait and See

Tactical port ถอด BDMS BCH BCP ERW

 


รายงานพื้นฐานวันนี้

Weekly Commodities
ค่าการกลั่นนำ
ภาพรวม: ค่าการกลั่น (GRM) ปรับขึ้นแรงที่สุด WoW ตามด้วยค่าระวางเรือเทกอง ขณะที่ราคาน้ำมันดิบและถ่านหินร่วงลงมากสุด
น้ำมันดิบ: ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยลดลง $5.68 WoW สู่ $71.24/bbl จากความกังวลต่ออุปสงค์โลกและการเพิ่มอุปทานของ OPEC+ หลังประกาศทยอยยกเลิกการลดกำลังการผลิตตั้งแต่ เม.ย.
ค่าการกลั่น: GRM อิงสิงคโปร์เพิ่มขึ้น $2.16 WoW เป็น $5.09/bbl จากต้นทุนน้ำมันดิบที่ลดลงแรง หนุน Crack spread เบนซิน (+$1.22 เป็น $8.97/bbl), Jet (+$1.79 เป็น $14.06/bbl), ดีเซล (+$2.76 เป็น $14.23/bbl) และน้ำมันเตา (+$2.59 เป็น $1.49/bbl)
เคมีภัณฑ์: ส่วนต่างเคมีปรับขึ้นตามต้นทุนแนฟทาที่ลดลง โดย Ethylene (+$6 เป็น $207/t), Propylene (+$31 เป็น $192/t), HDPE (+$41 เป็น $372/t) และ PP (+$51 เป็น $392/t)
ถ่านหิน: ราคา NEX ลดลง $5.61 WoW เหลือ $96.45/tonne จากความต้องการในภูมิภาคที่อ่อนตัว
ค่าระวางเรือ: BDI เพิ่มขึ้น 182 จุด (+16% WoW) เป็น 1,290 จุด นำโดย Capesize (+48%) ส่วน World Container Index ลดลงอีก 89 จุด (-3% WoW) เหลือ 2,541 จุด
Fundamental view: ยังแนะนำ “ขาย” กลุ่มโรงกลั่น หลังสิ้น High season, “ถือ” PTTEP จากปัจจัยลบด้านราคาน้ำมันยังไม่จบ, และชอบ IVL ในกลุ่มเคมีจากแนวโน้มกำไรที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง
ส่วนกลุ่มเดินเรืออาจมีจังหวะเก็งกำไรสั้นๆ ตามค่าระวางแนวโน้มฟื้นตามกิจกรรมการค้า แต่ยังต้องระมัดระวังความเสี่ยงจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ ที่อาจจะมีการขยายขอบเขตเพิ่ม

AMC Sector
เริ่มต้นจากการกลุ่มหนี้ ไม่มีหลักประกัน
เราประเมินว่า JMT เป็นหุ้นในกลุ่มการเงินที่น่าสนใจ เพราะราคาหุ้นปัจจุบันมี PER เพียง 10.7 เท่า และเราคาดอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิปี 2025-27 เฉลี่ยที่ 14% คิดเป็น PEG ratio เพียง 0.8 เท่า (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลังที่ 1.1 เท่าอยู่มาก)

นอกจากนี้ เราประเมินว่าราคาหุ้นปัจจุบันก็ได้สะท้อนกรณี bear case ไปแล้ว ทั้งนี้ เราเห็นสัญญาณบวกทางเศรษฐกิจ 2 ตัว ที่บ่งชี้ว่าแนวโน้มการจัดเก็บเงินสดของ JMT จะฟื้นตัวในปีนี้ คือการฟื้นตัวของดัชนียอดค้าปลีกและดัชนีการอุปโภคบริโภคที่เราเห็นสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่องในปีนี้

ส่วนธุรกิจบริหารสินทรัพย์แบบมีหลักประกันของ BAM เราคาดว่าจะฟื้นตัวช้า เพราะธนาคารยังเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และเราประเมินว่าผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะระบายสต็อกมากขึ้นในปีนี้ ซึ่งจะกดดันแนวโน้มการจัดเก็บเงินสดของ BAM ขณะที่ valuation ของ BAM เรามองว่าแพง

Fundamental view: เราจึงแนะนำ ซื้อ JMT และขาย BAM

 

 

VGI
(Visit Note)
วีจีไอ
สร้างฐานกำไรปูทางสู่ธุรกิจใหม่
เรามองว่า VGI อยู่ในช่วงของการปรับโครงสร้างปัดกวาดหลังบ้านให้ผลประกอบการกลับมาเทิร์นอราวด์ และยืนระดับได้แถว 700 ล้านบาท/ปี ก่อนที่จะลงทุนในธุรกิจใหม่ ซึ่งจะเปิดอัพไซด์ในอนาคต
แนวโน้มผลประกอบการของ VGI ใน 4Q24 (งวด ม.ค.-มี.ค.) จะยังคงเติบโตแข็งแกร่ง YoY (ไม่มีขาดทุนจาก KEX และรายได้จากธุรกิจสื่อ ที่ปรับตัวดีขึ้น) แต่ชะลอตัวลง QoQ ตามปัจจัยด้านฤดูกาล ภาพรวมธุรกิจสื่อ Utilization rate โดยเฉลี่ยที่ 55-65% ยังคงอยู่ต่ำกว่าก่อน COVID 75-80% อย่างไรก็ตาม เรามองว่าอนาคตจะเห็น Synergy กับ PLANB เพิ่ม Utilize สื่อในมือได้มากขึ้น
VGI มีเงินสดในมือกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท โดยแผนการใช้เงินจะมีในส่วนของ Virtual Bank ราว 7.5 พันล้านบาท และ การเพิ่มสัดส่วนใน PLANB ด้วยเงินลงทุนราว 1 พันล้านบาท ที่เหลือ เราคาดจะเห็นโอกาสในการลงทุนธุรกิจใหม่ๆ เช่น Entertainment complex ซึ่งรอดูความชัดเจนจากภาครัฐและพาร์ทเนอร์ โดยจากทิศทางการปรับโครงสร้างภายในที่ผ่านมาเหมือนว่าน่าจะเป็นการปูทางเพื่อให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนไปสู่ธุรกิจใหม่ในอนาคต (โดย PLANB จะเป็นธุรกิจสื่อเป็นหลักแทน)
Our view: เราประเมินราคายังปรับตัวขึ้นได้ในกรอบ 2.90-3.80 บาท รอความชัดเจนของธุรกิจใหม่

 

สรุปประเด็นจาก Quick take

SIRI
แสนสิริ
มุมมองต่อการประชุมนักวิเคราะห์
แสนสิริเปิดตัวโครงการใน 1Q25 กว่า 1.3 หมื่นล้านบาท โดยตัว PTY residence sai 1 ขายดีมาก ขายไปแล้วกว่า 50% หลังจากเปิดตัวไปเพียง 1 สัปดาห์ หลักๆ จากชาวต่างชาติกว่า 45% ทำให้มีการปรับราคาขายขึ้นกว่า 10% ตั้งแต่เปิดตัวมา ดังนั้นจะเห็น GM ในระดับ 40%+ ซึ่งสูงกว่าคอนโดปกติที่ 30%
View from fundamental: เรามองการอัปเดตรอบนี้เป็นบวก ไม่ว่าจะเป็นยอดขายคอนโดที่ทำได้ดี ยอด Presales ที่ทำไปแล้วกว่า 22% และยังมีคอนโดในมืออีกหลายตัวที่จะขยับมาเปิดตัวเร็วขึ้น ตามตลาดคอนโดที่ดีขึ้น ด้วย Div yield กว่า 4.7% เรายังคงชอบ SIRI และให้เป็นหนึ่งใน top picks ของกลุ่มอสังหา

TOP
ไทยออยล์
การซื้อคืนและยกเลิกหุ้นกู้ก่อนกำหนดบางส่วน
TOP แจ้งการซื้อคืนและยกเลิกหุ้นกู้ก่อนกำหนดจำนวน US$26mบริษัทจะประหยัดดอกเบี้ยจ่ายได้ประมาณ US$1.3m ต่อปี
View from fundamental: ข่าวดังกล่าวน่าจะเป็น positive sentiment ต่อราคาหุ้นในระยะสั้น TOP เป็นหุ้นที่เราชอบมากที่สุดในกลุ่มโรงกลั่น


วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้