ภาพตลาดและแนวโน้ม
แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
ภาวะตึงตัวของสินเชื่อและแนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐฯ
ครึ่งปีแรก 2025: สัญญาณเตือนการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ?
Highlights:
ภาวะตึงตัวของสินเชื่อกดดันธุรกิจขนาดเล็ก – การเข้าถึงสินเชื่อที่ยากขึ้นจากผลกระทบของวิกฤติธนาคารระดับภูมิภาคและอัตราดอกเบี้ยสูง ส่งผลให้ธุรกิจขนาดเล็กต้องลดการลงทุนและการจ้างงาน กระทบต่อการเติบโตของ GDP และเพิ่มความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย
Fed อาจลังเลลดดอกเบี้ย แม้เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว – ความกังวลด้านเงินเฟ้อจากนโยบายภาษีของทรัมป์ อาจทำให้ Fed ชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ภาวะสินเชื่อตึงตัวลากยาวขึ้น ซึ่งจะยิ่งกดดันภาคธุรกิจ
เงินเฟ้อครึ่งปีแรก 2025 มีแนวโน้มชะลอตัว – แม้ตลาดการเงินยังคงกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ แต่มีสัญญาณบ่งชี้ถึงแรงกดดันที่เริ่มผ่อนคลาย โดยเฉพาะอัตราการเพิ่มขึ้นของดัชนีค่าเช่าบ้านที่ชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปี และปริมาณงานก่อสร้างที่ค้างส่งมอบซึ่งปรับตัวลดลง ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากหมวดที่อยู่อาศัยมีสัดส่วนมากกว่า 30% ในตะกร้าเงินเฟ้อ
รายละเอียด:
1 ภาวะตึงตัวของสินเชื่อ: ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น
แนวโน้มสินเชื่อที่เข้มงวดขึ้นกำลังกดดันธุรกิจขนาดเล็กของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยก่อนหน้านี้ ภาคธุรกิจต้องเผชิญกับต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) แต่สถานการณ์กลับยิ่งแย่ลงจากวิกฤติธนาคารระดับภูมิภาค (US regional bank crisis) ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2023 ทำให้ธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนสำคัญของธุรกิจเหล่านี้ ต้องระมัดระวังมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อ
ข้อมูลจากแบบสำรวจของ NFIB (National Federation of Independent Business) สะท้อนให้เห็นว่าอัตราส่วนของธุรกิจขนาดเล็กที่รายงานว่าสินเชื่อเข้าถึงได้ยากขึ้นกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มนี้คล้ายกับช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยในอดีต โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการเงินปี 2008 ที่อัตราการเข้าถึงสินเชื่อของธุรกิจขนาดเล็กพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเวลานั้น
ความยากลำบากในการขอสินเชื่อของธุรกิจขนาดเล็กจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ เนื่องจากบริษัทขนาดเล็กไม่สามารถกู้เงินได้ง่ายเหมือนก่อน พวกเขามักจะลดการลงทุน ชะลอการขยายกิจการ และอาจต้องปรับลดการจ้างงาน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่ออัตราการเติบโตของ GDP และอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังใกล้เข้ามา
แม้ว่าตลาดจะจับตาว่า Fed อาจต้องกลับมาผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อลดความตึงตัวของสินเชื่อในอนาคต แต่ปัจจัยที่ซับซ้อนคือแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากนโยบายภาษีของประธานาธิบดีทรัมป์ อาจทำให้ Fed ลังเลที่จะลดดอกเบี้ยในระยะอันใกล้ โดยหาก Fed ยังคงให้ความสำคัญกับการควบคุมเงินเฟ้อมากกว่าการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ ความตึงตัวของสินเชื่ออาจอยู่นานเกินไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและตลาดแรงงาน
สัญญาณจากตลาดสินเชื่อในขณะนี้จึงเป็นปัจจัยที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะหากแนวโน้มดังกล่าวยังดำเนินต่อไปโดยไม่มีมาตรการรองรับ ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะกระทบต่อภาคธุรกิจในประเทศ แต่ยังอาจสร้างแรงกดดันต่อแนวโน้มการลงทุนและตลาดหุ้นโลก
2 แนวโน้มเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2025 ยังคงส่งสัญญาณชะลอตัว แม้ว่าจะต้องเผชิญความเสี่ยงจากสงครามการค้า
เราคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของสหรัฐฯ ภายใต้ดัชนีชี้นำภาวะเงินเฟ้อ (Leading Inflation Indicator) มีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2025 ซึ่งอาจเป็นการปรับตัวลงรอบสุดท้ายก่อนที่แนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยมีสัญญาณสนับสนุนดังต่อไปนี้
หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือแนวโน้มของเงินเฟ้อหมวดที่อยู่อาศัย ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า 30% ในตะกร้าเงินเฟ้อของสหรัฐฯ โดยทั่วไป ดัชนีเงินเฟ้อหมวดนี้สะท้อนการปรับขึ้นของค่าเช่าที่เกิดขึ้นจริงล่าช้ากว่าปกติ (lag) เนื่องจากวิธีการคำนวณ ดังนั้น เราจึงพิจารณาดัชนีค่าเช่าอื่นๆ เพื่อช่วยทำนายแนวโน้มเพิ่มเติม ทั้งนี้ อัตราการเพิ่มขึ้นของดัชนีค่าเช่าบ้านเดี่ยวของ CoreLogic ซึ่งถือเป็นหนึ่งในดัชนีที่สามารถทำนายเงินเฟ้อหมวดที่อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี เพิ่งลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปี สะท้อนถึงการชะลอตัวของภาคที่อยู่อาศัย
นอกจากนี้ ตลาดที่อยู่อาศัยยังส่งสัญญาณอ่อนแรงผ่านตัวชี้วัดล่วงหน้าอื่นๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่งานก่อสร้างที่ค้างส่งมอบจำนวนมากเริ่มลดลง ปัจจัยนี้เคยเป็นแรงหนุนให้ตลาดที่อยู่อาศัยยังคงแข็งแกร่งแม้ต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยระดับสูง โดยย้อนกลับไปในช่วงการระบาดของโควิด-19 ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ปัญหาคอขวดด้านอุปทานและการขาดแคลนแรงงานส่งผลให้ระยะเวลาก่อสร้างล่าช้าออกไป ทำให้เกิดงานค้างสะสมจำนวนมาก ซึ่งช่วยพยุงตลาดที่อยู่อาศัยให้เติบโตต่อเนื่องท่ามกลางภาวะดอกเบี้ยสูง
อย่างไรก็ตาม บริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของสหรัฐฯ เช่น D.R. Horton รายงานว่าปริมาณงานที่ค้างส่งมอบของพวกเขาลดลงสู่ระดับปกติ เทียบเท่าช่วงปี 2019 ซึ่งหมายความว่าแรงหนุนจากปัจจัยดังกล่าวกำลังลดลง อีกทั้งรายงาน JOLTS ล่าสุดยังชี้ให้เห็นว่าจำนวนตำแหน่งงานว่างในภาคการก่อสร้างกำลังหดตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสัญญาณสำคัญของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากภาคการก่อสร้างเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักของวัฏจักรธุรกิจสหรัฐฯ และการอ่อนแรงของภาคนี้มักเป็นสัญญาณล่วงหน้าถึงภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยรวม
สรุปแล้ว สัญญาณจากตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวสะท้อนถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งยังคงสนับสนุนมุมมองของเราที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี 2025 และอาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กดดันต่อตลาดหุ้นในระยะข้างหน้า
สรุปภาพตลาดวานนี้ SET เลือกไปทางหาจุดต่ำสุดใหม่ หุ้นใหญ่อย่าง AOT กลับมากดดันตลาดเพิ่ม (มีประเด็นเกี่ยวกับการให้ KPD เลื่อนชำระเพิ่ม) DELTA TRUE ADVANC GULF OR CRC ขณะที่กลุ่มบวกแรงต่อเนื่อง STECON VGI TFG และกลุ่มที่งัดกลับมี JMART-JMT-SINGER BGRIM เป็นต้น
แนวโน้มตลาดวันนี้
ลงต่อ...แต่ใกล้รีบาวด์เต็มที
ระยะสั้นเรายังมองไม่เห็นปัจจัยช่วยราคาหุ้นไทยให้ปีนกลับขึ้นจากหลุม แต่อาจมีรีบาวด์ เมื่อเข้าใกล้โซน 1,150 จุด ซึ่งเป็นจุดที่ พื้นฐานหุ้นไทยหลายตัวเริ่มเห็น Upside ผ่านการศึกษาผลกระทบในแง่ของกำไร บจ.ที่ BLS ดูแลจากผลพวงสงครามการค้าโลก...
ขณะที่ปัจจัยมหภาคทั้งใน และต่างประเทศ แม้จะไม่ได้มีเรื่องลบใหม่ แต่หุ้นไทยก็ยังปรับลงแรงกว่าภูมิภาค ขณะที่บริบทของปัจจัยลบ ต่างประเทศเดินไปตามเดิม เช่น ทรัมป์เดินหน้าเก็บภาษี แคนาดา เม็กซิโก จีน ตามที่ประกาศ และ จีน แคนาดา ใช้มาตรการภาษีตอบโต้กลับเช่นกันทันที, ISM ดัชนีภาคการผลิตทั่วโลก (รายงานต้นเดือน) อเมริกา จีน อินเดีย ยังแผ่ว ฯลฯ
อิงโมเมนตั้มหุ้นไทยที่เล่นแย่กว่าที่คาดจากปัจจัยมหภาค กอปรกับผลประกอบการ บจ.ที่แย่กว่าคาดตลอดโค้งสุดท้ายที่แจ้งงบการเงินไตรมาส 4/24 เช่น AMATA WHA AOT SAWAD อิเล็กทรอนิกส์ รับเหมา ฯลฯ กลายเป็นจังหวะของการปรับลดประมาณการณ์กำไร บจ. แทนที่จะเห็นโอกาสของการปรับเพิ่มประมาณการณ์ และตลาดหุ้นไทยดูเหมือนจะยังลงไม่สุด จาก Earnings downing revision
กลยุทธ์จึงยังแนะนำ ติดตามแนวโน้มราคาหุ้นที่เราแนะนำผ่านพอร์ตกลยุทธ์ (Follow up หุ้นที่เคยแนะ) หรือเลือกเฉพาะหุ้นรายตัวที่เห็นแนวโน้มงบชัดเจนแล้วว่ามีโอกาสของการปรับเพิ่มประมาณการณ์ จนกว่าจะผ่านฤดูกาลปรับลดคาดการณ์กำไรเสร็จสิ้นเราจึงจะกลับมาดูหุ้นเพิ่มเข้าพอร์ต
เราคาดการณ์กรอบดัชนีหุ้นไทยระยะสัปดาห์ที่ 1,180-1,200 จุด (ในที่สุดก็หลุด 1180 และ 1200 จึงกลายเป็นแนวต้านไปโดยปริยาย ตามที่เราคาด)
กลยุทธ์การลงทุน
เลือกสะสมหุ้นรายตัว (Hold ระยะยาวหน่อย) จากเกณฑ์
1) ราคาหุ้นทรงตัวได้ดี Outperform ในเชิงเทคนิคคอล ไม่ Overbought
2) ความถูกของราคาหุ้นเมื่อเทียบมูลค่าทางบัญชี (PBV) และเทียบกับ Bands
3) แนวโน้มผลการดำเนินงานระยะสั้น ดูแล้วไม่น่าจะสร้างความผิดหวัง
4) โอกาสที่กำไรระยะสั้นจะดีกว่าที่คิด เพราะมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว เช่น มาตรการ ช้อปช่วยชาติ แจกเงินหมื่น ในช่วงไตรมาสแรก หนุนกำไรโตต่อเนื่อง 4Q24-1Q25
5) มีปันผลระหว่างกาล
วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET ลงต่อ ปิดต่ำ ลุ้นไม่ขึ้น! ผ่านการ drawdown มาแล้วทั้งสิ้นมากกว่า 30% จากระดับ peak 1,700 จุดขณะที่ภาวะวิกฤต Subprime 2008 & Covid 2020 จะปรับตัวลงโดยเฉลี่ย 50% ถึงแม้มุมมองปัจจุบันเรายังไม่ถึงขั้นสู่ภาวะ crisis แต่การลงทุน ยังต้องใชัความระมัดระวัง ล่าสุดดัชนีหลุดโซนรับเส้น support 15 yr. อาจถอยหลังกลับไปที่ช่วง Covid บริเวณ Fibonacci retracement 50% ที่ 1,105 จุด ให้น้ำหนักมากขึ้นกว่าเดิมเป็น 40%
Note: แนะใช้วิธีรอจนกว่าตลาดจะกลับตัว รอให้มีสัญญาณชี้ชัด เราอาจไม่ได้ซื้อที่จุดต่ำสุด แต่ซื้อแล้วมีโอกาสขึ้นมากกว่า ซึ่งจุดกลับตัวจะต้องทะลุเส้น EMA บริเวณ 1,200 จุด ไปให้ได้ก่อนครับ
What to watch
FTSE Thailand index review มีผล 21 มี.ค. นี้: Large Cap ไม่มีหุ้นเข้าออก / Mid Cap ถอดหุ้น EA IRPC / Small Cap เพิ่มหุ้น CCET EA IRPC SKY WHART ถอดหุ้น BYD LPN
ติดตามการประชุมนักวิเคราะห์ และการปรับประมาณการณ์กำไร (ดูตารางการประชุม และ Opportunity day ในรายงานกลยุทธ์รายสัปดาห์)
คลังจะเร่งดำเนินการในการจัดตั้งกองทุน Thai ESG กองที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในไตรมาส 1 ปีนี้ โดยวงเงินจะอยู่ที่ราว 180,000 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนเงินในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่ครบกำหนดอายุไปแล้ว เบื้องต้นอยากให้เป็นการลงทุนในประเทศเป็นหลัก และรูปแบบการลงทุนก็อาจจะแตกต่างกับ Thai ESG กองแรก (เล็งเสนอ ครม.เบื้องต้น สามารถโยกกอง LTF เดิมที่ถือมาเข้า Thai ESGX ได้ภายในเดือน ส.ค. และสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ รวมไม่เกิน 5 แสน โดยต้องถือต่อไปอีก 5ปี)
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศเดินหน้าเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากแคนาดาและเม็กซิโกในอัตรา 25% และเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นเป็น 20% มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันอังคารที่ 4 มี.ค. นอกจากนี้ ปธน.ทรัมป์ยืนยันจะเริ่มใช้มาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับทุกประเทศที่เก็บภาษีต่อสินค้านำเข้าจากสหรัฐตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย.
การที่สหรัฐฯ ประกาศเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน แคนาดา และเม็กซิโก ส่งผลให้ประเทศคู่ค้าทั้ง 3 ประเทศออกมาตรการตอบโต้ โดยแคนาดาประกาศเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตรา 25% มีผลตั้งแต่วันอังคารที่ 4 มี.ค. และจีนประกาศเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ บางรายการเพิ่มอีก 10% - 15% โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มี.ค. ส่วนเม็กซิโกยืนยันว่าจะใช้มาตรการภาษีตอบโต้สหรัฐฯ แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดในขณะนี้
วันพุธนี้ (เวลาไทย) ปธน.ทรัมป์ จะแถลงสุนทรพจน์ต่อสภาฯ นลท.คงเฝ้าติดตามข่าว ว่าจะเน้นเรื่องใดเป็นพิเศษ
IMF แนะไทยดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลาย เพื่อเร่งแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน หนุนการลงทุนใหม่...
หุ้นแนะนำวันนี้
ERW
เห็นงบไตรมาส 4 ที่ดีกว่าคาดไปแล้ว และบวกมากขึ้นหลังเห็นการเคลื่อนไหวกลุ่มผู้ประกอบการ ต่อต้านคอนโด ปล่อยเช่ารายวัน และ AirBNB หนุนธุรกิจ Budget hotel ที่กำลังจะเข้าตลาด (แนวรับ 3.24 ต้าน 3.50 ตัดขาดทุน 3.2)
Tactical port ถอด CPF เพิ่ม ERW
รายงานพื้นฐานวันนี้
WHAUP
ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์
ปันผลสูง และกำไรไปต่อได้อีก
หลัง Spin-off WHAID ของกลุ่ม WHA มอง WHAUP น่าจะเป็นตัวสร้างการเติบโตรายได้ประจำ โดยเฉพาะจากการลงทุนของ บ.ยักษ์ใหญ่ อย่างเช่น Google กำลังลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ สร้าง Data Center ในไทย หนุนความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้น และอันดับแรกคาด WHAUP จะได้รับรายได้ค่าธรรมเนียมการใช้น้ำไฟมากกว่าปกติเข้ามาก่อน ปี 2025-26 ระหว่างก่อสร้าง และระยะยาวหลังเปิดดำเนินการ จะได้ขายน้ำเพิ่ม หนุนกำไรหลักปี 2025 ราว 3-5% และสร้างกำไรต่อเนื่องปีละ 2-3% เฉพาะจากกรณีนี้
ในส่วนธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์เติบโตต่อเนื่อง โดยมีแผน COD โซลาร์รูฟท็อป 60-100MW เพิ่มเติมจากกำลังการผลิตที่ดำเนินการอยู่แล้ว 148MW และกำลังก่อสร้างอีก 139MW โดย WHAUP ได้เปรียบจากการขายไฟให้ลูกค้าในนิคม WHA ผ่าน Direct PPA ลดขั้นตอนขออนุมัติ ในส่วน Gheco-I (โรงไฟฟ้าถ่านหิน 660MW ที่ WHAUP ถือหุ้น 35%) คาดกลับมากำไรในปี 2026 หลังต้นทุนถ่านหินที่สูงจากการสำรองไว้ก่อนหน้าเริ่มหมดไปและมีการปรับโครงสร้างสัญญาใหม่
WHAUP อยู่ระหว่างศึกษาขยาย SDWTP (JV ด้านสาธารณูปโภคในเวียดนาม) เฟส 2 และเตรียมขายไฟให้โรงงานในนิคม WHA ที่เวียดนามผ่าน Direct PPA ซึ่งเรายังไม่ได้รวมในประมาณการ (เป็น Upside)
Fundamental view: เราคงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 5.50 บาท เรามองว่า WHAUP มีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่ง พร้อมอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่ราคาปัจจุบันน่าสนใจที่ 7% ในปี 2025 และ 8% ในปี 2026 และ PER เพียง 10 เท่า จึงเป็นทางเลือกเด่นในกลุ่มโรงไฟฟ้าที่ให้ทั้งปันผลและโอกาสเติบโตของกำไร
MOSHI
(Visit Note)
โมชิ โมชิ รีเทล คอร์ปอเรชั่น ปี 2025 จะเริ่มเห็นการเติบโตนอกห้างมากขึ้น
MOSHI ตั้งเป้ายอดขายปี 2025 โต 15-20% หนุนจาก
1) การขยายสาขา 40 แห่ง โดยจะเห็นการขยายสาขา Stand alone (นอกห้าง) มากขึ้นอีก 9 แห่ง (จุดเด่นพื้นที่ต่อร้านจะขนาดใหญ่และมีค่าเช่าถูกกว่าสาขาในห้าง)
2) SSSG ที่ 3-5% ยกลยุทธ์ขับเคลื่อนสำคัญมาจากการออกสินค้าใหม่ๆอย่างต่อเนื่องและการปรับ layout รวมถึงการบริหารและสั่งสต็อคสินค้านำเข้าที่รัดกุมขึ้น
ส่วน 1Q25 แนวโน้มผลการดำเนินงาน 1Q25 ดูดี หนุนจาก SSSG และสาขาใหม่ จึงประเมินทิศทางกำไรเบื้องต้นจะเติบโต YoY (แต่ลดลง QoQ ตามฤดูกาล) โดยเห็นกระแสตอบรับที่ดีการขายสินค้าออกแบบเอง (Jukka, Puffy), สินค้าเทศกาลหรืออยู่ในกระแส เช่น วาเลนไทน์, หมูเด้ง รวมถึงการเข้าร่วม easy e-receipt ทำให้ SSSG ม.ค.-ก.พ.อยู่ที่ 7-8%
Our view: จุดแข็งของ MOSHI คือการนำเสนอสินค้าที่ตอบสนองกับลูกค้าได้ดี เมื่อรวมกับปีนี้จะไม่มีปัญหาขาดแคลนสินค้านำเข้าและขาดทุนกิจการร่วมค้า Bloomberg consensus คาดกำไรสุทธิปี 2025 จะโต 19% สอดคล้องกับรายได้ 20% และเป้าบริษัท ทั้งนี้ ราคาหุ้นซื้อขาย PER ปี 2025 ที่ 22 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว 29%
TLI
(Visit Note)
ไทยประกันชีวิต
เผชิญความท้าทายหลายด้านในปีนี้
กำไรสุทธิ 4Q24 เท่ากับ 3.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 66% YoY และ 31% QoQ จากกำไรจากการขายเงินลงทุนเพิ่มขึ้น หลักๆมาจากการขายหน่วยลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น โดยธุรกิจประกันชีวิตของ TLI อ่อนตัวลงบ้าง YoY (สำรองประกันภัยสำหรับสัญญาประกันภัยระยะยาวเพิ่มขึ้น) แต่ฟื้นตัวดีขึ้น QoQ (เบี้ยประกันภัยรับเติบโตและ underwriting margin ดีขึ้น
TLI ยังคงเน้นขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่มีกำไรสูง โดยจะใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และความสามารถของพนักงานขายในทุกช่องทาง
Bloomberg consensus คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2025 ของ TLI เท่ากับ 1.08 หมื่นล้านบาท ลดลง 8% YoY
Our view: เราประเมินว่า TLI จะเผชิญความท้าทาย จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและธุรกิจลงทุน ที่จะถูกกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ขณะที่ Valuations เรามองว่าไม่ได้ถูกเมื่อเทียบกับ BLA และกลุ่มธนาคาร
สรุปประเด็นจาก Quick take
GLOBAL
สยามโกลบอลเฮ้าส์
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
ตั้งเป้าปี 2025 ค่อยๆฟื้น คาดยอดขายโต 3-5% และอัตรากำไรขั้นต้นขึ้นเล็กน้อยใกล้ระดับ 26%
(vs ปี 2024 ยอดขายทรงตัวและ GM 25.8%)
View from fundamental: เราคาดกำไรหลัก 1Q25 ลดลง YoY เพราะ SSS ยังหดตัวมากขึ้นเป็น 6-8% และดูอ่อนแอกว่าคู่แข่ง DOHOME (โต1-2%) และ HMPRO (ลง 4-6%) จึงประเมินยังไม่ใช่จังหวะลงทุน
TFG
ไทยฟู้ดส์กรุ๊ป
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
ตั้งเป้ารายได้ปี 2025 โต 10-15% หนุนจากทั้งปริมาณและราคาขายหมูและไก่ และธุรกิจรีเทล ธุรกิจหมูไทยและเวียดนามคือตัวชูโรงสำหรับปี 2025 ด้วยปริมาณขายที่จะเพิ่มขึ้น 25-30% เนื่องจากการขยายกำลังการผลิตในเวียดนาม
View from fundamental: เรามองบวกจากข้อมูลดังกล่าว โดยเราชอบผู้ประกอบการธุรกิจหมูในปี 2025 ซึ่ง TFG เป็นผู้เล่นที่จะมีการเติบโตสูง เราคาดว่ายังมีอัพไซด์ต่อกำไรปี 2025 ของเรา แม้เราจะมีการปรับขึ้นถึง 50% หลังงบ 4Q24 ที่ออกมา
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน