Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

272

 

ภาพตลาดและแนวโน้ม


สัปดาห์ที่ผ่านมา สินทรัพย์เสี่ยง เช่น ตลาดหุ้นโลกและน้ำมัน เผชิญแรงขาย ขณะที่พันธบัตรให้ผลตอบแทนเป็นบวก

Momentum Tracker ของดัชนี MSCI All-Country World Equity อ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Volume Index ที่ลดลง สะท้อนความเชื่อมั่นของตลาดที่ถดถอย

ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม: ตัวเลข CN Caixin Manufacturing PMI (จันทร์) ตลาดคาดขยายตัวที่ 50.3 , US ISM Manufacturing PMI (จันทร์) ตลาดคาดขยายตัวที่ 50.8, US ISM Services PMI (พุธ) ตลาดคาดขยายตัวที่ 53 และ US Nonfarm Payrolls ตลาดคาดเพิ่มขึ้น 133K ตำแหน่ง ชะลอตัวลงจาก 143K ตำแหน่ง

รายละเอียด:
“ภาวะการลงทุนในสัปดาห์ก่อน”
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา สินทรัพย์เสี่ยงเผชิญกับแรงขาย ส่งผลให้ดัชนี MSCI All-Country World Equity และน้ำมัน WTI ปรับตัวลดลง 1.3% และ 0.9% ตามลำดับ รวมถึงทองคำที่ปรับตัวลดลง 2.7% ขณะที่พันธบัตรอายุ 7-10 ปีปรับตัวขึ้น 1.7%
สำหรับตลาดหุ้นไทย ดัชนี SET ปรับตัวลง 3.4% ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ห้า โดยมี 17 จาก 20 กลุ่มอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง โดยเฉพาะกลุ่ม Petrochemicals ที่ร่วงแรง 9.5%

“พัฒนาการสำคัญในต่างประเทศ ได้แก่”

1 การพบกันระหว่างเซเลนสกีกับประธานาธิบดีทรัมป์ที่ทำเนียบขาว สะท้อนถึงแนวโน้มที่สหรัฐฯ จะลดการสนับสนุนยูเครน ส่งผลให้ยุโรปต้องรับภาระด้านความมั่นคงมากขึ้น และอาจสั่นคลอนเสถียรภาพของภูมิภาค

2 เหตุการณ์ล่าสุดของนโยบายประธานาธิบดีทรัมป์ ได้เปลี่ยนแนวโน้มความเสี่ยงไปสู่แรงกดดันทางเศรษฐกิจที่มากกว่าที่หลายฝ่ายได้ประเมินไว้ เนื่องจาก การปรับลดงบประมาณ ไม่ว่าจะเป็นผลจากมาตรการของ DOGE หรือกระบวนการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาล ล้วนส่งผลกระทบต่อภาคส่วนที่มีตัวคูณทางเศรษฐกิจสูง ซึ่งอาจบั่นทอนการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมได้ ในขณะเดียวกัน ตลาดแรงงานกำลังเผชิญกับความท้าทายเพิ่มเติม เมื่อแนวโน้มการชะลอการจ้างงานภาครัฐกลายเป็นปัจจัยกดดันอีกประการหนึ่งที่ทับซ้อนลงบนภาวะชะลอตัวของตลาด แรงงานโดยรวมกำลังประสบอยู่แล้ว
3 ข้อมูลเศรษฐกิจเบื้องต้นของสหรัฐฯ สำหรับ 1Q25 บ่งชี้ถึงแนวโน้มการเติบโตที่ติดลบ ตามการประเมินของธนาคารกลางสาขาแอตแลนตา (Atlanta Fed) โดย GDPNow ซึ่งบ่งชี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อาจหดตัวลง 1.5% ในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม ปัจจัยหลักที่นำไปสู่การปรับลดคาดการณ์นี้ มาจาก การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่อ่อนแอกว่าคาดการณ์ ในช่วงเดือนมกราคมที่สภาพอากาศเลวร้าย และการส่งออกที่ซบเซา ทั้งนี้ในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคล (Personal Spending) ปรับตัวลดลง 0.2% ในเดือนมกราคม ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของ Dow Jones ที่ประเมินว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อปรับตามอัตราเงินเฟ้อแล้ว การใช้จ่ายที่แท้จริงหดตัวลงถึง 0.5% ผลกระทบจากตัวเลขดังกล่าวทำให้ GDPNow ปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตของ 1Q25 GDP ลง

“ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่”
วันจันทร์: 1) CN Caixin Manufacturing PMI (consensus คาดดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจีนเดือนกุมภาพันธ์จะขยายตัวเล็กน้อยที่ 50.3 เพิ่มขึ้นจาก 50.1 ในเดือนก่อนหน้า) และ 2) US ISM Manufacturing PMI (consensus คาดดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์จะขยายตัวเล็กที่ 50.8 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 50.9 ในเดือนก่อนหน้า)
วันพุธ: US ISM Services PMI (consensus คาดดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์จะขยายตัวที่ 53 เพิ่มขึ้นจาก 52.8 ในเดือนก่อนหน้า)

วันศุกร์: 1) US Nonfarm Payrolls (consensus คาดตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์จะเพิ่มขึ้น 133,000 ตำแหน่ง ชะลอตัวลงจาก 143,000 ตำแหน่งในเดือนก่อนหน้า) และ 2) US Unemployment Rate (consensus คาดอัตราการว่างงานสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์จะทรงตัวที่ 4%)
“แนวโน้มราคาสินทรัพย์ต่างๆ”


ในสัปดาห์นี้ เราแนะนำให้ระมัดระวังความผันผวนในตลาดหุ้นโลก โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งกำลังเผชิญแรงกดดันหลังจาก Momentum Tracker ใกล้ปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ midpoint ซึ่งเป็นโซนที่มักตามมาด้วยแรงขายที่มากขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าหุ้นกลุ่ม Mag 7 ซึ่งอยู่ในภาวะ technical oversold จะช่วยให้ดัชนี S&P 500 รีบาวด์ได้บ้าง แต่การฟื้นตัวอาจไม่ยั่งยืน เนื่องจากความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ยังคงกดดัน sentiment indicator ให้ปรับตัวอ่อนแอลงต่อเนื่อง

ล่าสุด CNN Fear & Greed Index ได้ปรับตัวลงจากระดับ Neutral ในช่วงเดือนก่อน สู่ระดับ Extreme Fear ซึ่งสะท้อนถึงความกังวลของตลาด โดยมีปัจจัยหลักหลายตัวที่สะท้อนถึง sentiment เชิงลบอย่างชัดเจน ได้แก่ Net New 52-week Highs & Lows และ McClellan Volume Summation Index ที่ปรับตัวลดลง ขณะที่เห็นสัญญาณของดัชนี VIX ปรับตัวสูงขึ้นและเคลื่อนไหวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน


ราคาน้ำมัน WTI เพิ่งหลุดแนวรับสำคัญที่ 70 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกับสัญญาณ bearish sentiment ที่ชัดเจน สะท้อนจาก Long-to-Short Ratio ล่าสุดซึ่งอยู่ที่เพียง 1.6 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 5.6 เท่า อย่างมีนัยสำคัญ


Momentum Tracker ของทองคำอยู่ในภาวะ extremely overbought ส่งผลให้เผชิญแรงขายทำกำไรในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย Net Long Position ปรับตัวลดลงจาก 201,962 สัญญา สู่ระดับ 194,357 สัญญา แม้ว่าจะลดลง แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 119,142 สัญญา อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจทำให้ราคาทองคำมีความผันผวนในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม แรงซื้อจากธนาคารกลางและนักลงทุน ท่ามกลางความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากความขัดแย้งทางการค้าโลก คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนที่ช่วยให้ราคาทองคำไม่ปรับตัวลงรุนแรงจนเกินไป


ในช่วง 20 วันที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เริ่มให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าพันธบัตรรัฐบาล ส่งผลให้เกิดส่วนต่าง -3.8% อย่างไรก็ตาม แนวโน้มสัปดาห์นี้ การเคลื่อนไหวของตลาดพันธบัตรสหรัฐอาจผันผวนขึ้น เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลกับความเสี่ยงของเงินเฟ้อ พิจารณาได้จาก Survey of Consumer Expectations ของธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขานิวยอร์ก บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วง 1 ปีข้างหน้าอาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.87%


สรุปภาพตลาดวานนี้
SET เกือบตุย แต่กลับมาเหนือ 1200 ได้ โดยหุ้นลบกลุ่มอิเล้กทรอนิกส์ DELTA CCET HANA ปิโตรเคมี TOP-PTTGC (กลุ่มถูก MSCI Rebalance) และหุ้นใหญ่อื่นๆ ADVANC-TRUE CPN AWC ส่วนด้านบวก CPALL CPAXT BBL GULF VGI OSP SCCC เป็นต้น

แนวโน้มตลาดวันนี้
Finally, Earnings downward revision
ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ที่ผ่านมา แรงขายหุ้นรายตัวแบบรุนแรงส่งไม้ต่อจากรุ่นสู่รุ่น ยังไม่จบไม่เลิก ล่าสุดกลุ่ม WHA และ SAWAD ลงแรงจน ผบห. งง
แม้ว่าการรีบาวด์ในระหว่างสัปดาห์ จะเกิดขึ้นหลังทราบผลประชุม กนง.สั่งลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 2% แต่ก็ยังไม่ช่วยราคาหุ้นไทยปีนขึ้นจากหลุม ขณะที่ปัจจัยมหภาคทั้งใน และต่างประเทศ ดูจะไม่ได้มีเรื่องลบใหม่ แต่หุ้นไทยก็ยังคง Underperform ตลาดหุ้นอื่นอย่างต่อเนื่อง (เหมือนเดิม)
จากโมเมนตั้มหุ้นไทยที่เล่นแย่กว่าที่คาดจากปัจจัยมหภาค กอปรกับผลประกอบการ บจ.ที่แย่กว่าคาดตลอดโค้งสุดท้ายที่แจ้งงบการเงินไตรมาส 4/24 เช่น AMATA WHA AOT SAWAD อิเล็กทรอนิกส์ รับเหมา ฯลฯ กลายเป็นจังหวะของการปรับลดประมาณการณ์กำไร บจ. แทนที่จะเห็นโอกาสของการปรับเพิ่มประมาณการณ์ และตลาดหุ้นไทยดูเหมือนจะยังลงไม่สุด จาก Earnings downing revision
กลยุทธ์แนะนำ ถือเงินสดเพิ่ม ชะลอการเพิ่มหุ้นเพื่อเล่นรอบหรือเก็งกำไรระยะสั้น รอดูการปรับลดคาดการณ์กำไร บจ.และประชุมนักวิเคราะห์ จนกว่าจะผ่านฤดูกาลปรับลดคาดการณ์กำไรเสร็จสิ้น
เราคาดการณ์กรอบดัชนีหุ้นไทยระยะสัปดาห์ที่ 1,180-1,200 จุด

กลยุทธ์การลงทุน
เลือกสะสมหุ้นรายตัว (Hold ระยะยาวหน่อย) จากเกณฑ์
1) ราคาหุ้นทรงตัวได้ดี Outperform ในเชิงเทคนิคคอล ไม่ Overbought
2) ความถูกของราคาหุ้นเมื่อเทียบมูลค่าทางบัญชี (PBV) และเทียบกับ Bands
3) แนวโน้มผลการดำเนินงานระยะสั้น ดูแล้วไม่น่าจะสร้างความผิดหวัง
4) โอกาสที่กำไรระยะสั้นจะดีกว่าที่คิด เพราะมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว เช่น มาตรการ ช้อปช่วยชาติ แจกเงินหมื่น ในช่วงไตรมาสแรก หนุนกำไรโตต่อเนื่อง 4Q24-1Q25
5) มีปันผลระหว่างกาล

วิเคราะห์ทางเทคนิค
ภาพรวมเดือนก.พ. ดัชนีปิดที่ 1,203 จุด ผลตอบแทนรายเดือน -8.4% ขณะที่วอลุ่มซื้อขายเบาบางใกล้เคียงเดือนม.ค.ที่ 3.3 หมื่นล้านบาทต่อวัน โดยดัชนีทำจุดสูงสุดที่ 1,316 และจุดต่ำสุดที่ 1,186(ร่วง 130 จุด) หลุด low ในรอบ 4 ปี หลังผ่านช่วง covid
สถานการณ์ปัจจุบัน SET Index ภาพรายเดือนปิดต่ำ…ลงมาสู้ที่ low โซนรับสำคัญ 14 yr. support สถิติในอดีตช่วงเกิดวิฤต Subprime & Covid ชี้ว่าดัชนีร่วงแรง! ติดลบ 45-50% ขณะที่ปัจจุบัน Drawdown -30% จุดสังเกต RSI(month) เข้าใกล้เขตแดน oversold ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ(ไม่ได้เห็นบ่อย) ประเมินแนวรับแนวรับ 1,200 +/- ไม่เกิน 20 จุด เดือนนี้ต้องยืน ต้องสู้ให้ได้ Note: Worse case scenario หากหลุดโซนรับ 1,200 จุด อาจลงมาที่ 1,100 จุด โดยให้นำหนักโอกาสเกิดน้อยต่ำกว่า 30%


“Theme plays” Cover short & signal recovery…. ปัจจัยภายนอกจับเรื่องภาษีตอบโต้ (Reciprocal tariff) Trump ซึ่งจะเริ่มประกาศใช้วันที่ 1 เมษายน แต่!การเจรจาอาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน ยังไม่แน่นอน!
กลยุทธ์เทคนิค: วิธีสแกนหุ้นเลือกโดยใช้กราฟเดือน ถูก drawdown ปรับลงแรง แต่!Price pattern….เริ่มส่งสัญญาณกลับตัว พร้อมเงื่อนไขโมเมนตัมเด่น หุ้นแนะนำประจำเดือน… BUY “CPALL, BDMS และ CENTEL”

 

What to watch
FTSE Thailand index review มีผล 21 มี.ค.นี้: Large Cap ไม่มีหุ้นเข้าออก / Mid Cap ถอดหุ้น EA IRPC / Small Cap เพิ่มหุ้น CCET EA IRPC SKY WHART ถอดหุ้น BYD LPN
ติดตามการประชุมนักวิเคราะห์ และการปรับประมาณการณ์กำไร (ดูตารางการประชุม และ Opportunity day ในรายงานกลยุทธ์รายสัปดาห์)
คลังจะเร่งดำเนินการในการจัดตั้งกองทุน Thai ESG กองที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในไตรมาส 1 ปีนี้ โดยวงเงินจะอยู่ที่ราว 180,000 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนเงินในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่ครบกำหนดอายุไปแล้ว เบื้องต้นอยากให้เป็นการลงทุนในประเทศเป็นหลัก และรูปแบบการลงทุนก็อาจจะแตกต่างกับ Thai ESG กองแรก (เล็งเสนอ ครม.สัปดาห์นี้ เบื้องต้น สามารถโยกกอง LTF เดิมที่ถือมาเข้า Thai ESGX ได้ภายในเดือน ส.ค. และสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ โดยต้องถือต่อไปอีก 5ปี)
ปธน.ทรัมป์ แห่งอเมริกาประกาศย้ำ เดินหน้าเก็บภาษีนำเข้า แคนาดา และ เม็กซิโก 25% ส่วน จีนเก็บ 10% เริ่ม 4 มี.ค.นี้
กนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ ลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 2% และ BLS Research คาดมีแนวโน้มจะลดดอกเบี้ย 0.25% อีกครั้งในปีนี้เหลือ 1.75% ต่อไป

หุ้นแนะนำวันนี้
BCH งบไตรมาส 4 ที่ตลาดคาดว่าแย่ ได้ออกมาสะท้อนไปในราคาหุ้นเมื่อวานศุกร์ที่ผ่านมา
(แนวรับ 16 ต้าน 17 ตัดขาดทุน 15)

 


รายงานพื้นฐานวันนี้

Thai Market Strategy
สรุปงบฯ 4Q24 และมุมมองของเรา
สรุปผลประกอบการ 4Q25 กำไรสุทธิเติบโต +14% YoY แต่ลดลง -3% QoQ แรงหนุนหลักจาก การท่องเที่ยวหนุนการบริโภคในประเทศ และราคาเนื้อสัตว์ปรับตัวขึ้น แต่กำไรค่อนข้างอ่อนแอ เพราะต่ำกว่าตลาดคาด 11% (ต่ำกว่า BLS คาด 9%) เนื่องจากกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์, พลังงาน, แพ็กเกจจิ้ง, รับเหมาฯ ในทางตรงข้าม กลุ่มที่ดีกว่าคาด ได้แก่ ท่องเที่ยว, ธนาคาร, โรงพยาบาล
สัดส่วนหุ้นที่กำไรดีกว่าคาดเพิ่มขึ้นเป็น 32% (จาก 26% ไตรมาสก่อน, แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 38% มาก) ในขณะที่สัดส่วนหุ้นที่กำไรแย่กว่าคาดเพิ่มขึ้นมาเป็น 39% (จาก 33% ในไตรมาสก่อน และสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 35% มาก)
สัดส่วนหุ้นที่กำไรดีกว่าคาดเทียบแย่กว่าคาด (beat-to-miss ratio) อยู่เพียงแค่ 0.8 ทรงตัวจาก ไตรมาสก่อน, ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 1.1 และเทียบเท่ากับช่วงเศรษฐกิจอ่อนแอในอดีต (ปี 2019) ถือว่าอยู่ในโซนอ่อนแอมาก
หุ้นกลุ่มที่กำไรเติบโต YoY แข็งแกร่ง ได้แก่ กลุ่มท่องเที่ยว (รายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก RevPar ออกมาแข็งแกร่งทั้งในไทยและต่างประเทศ) กลุ่มขนส่ง (จำนวนเที่ยวบิน,ผู้โดยสารสนามบินยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง) กลุ่มอาหาร (ราคาหมูที่เพิ่มขึ้นมาก YoY และราคาต้นทุนอาหารสัตว์ลงแรงหนุนอัตรากำไรแข็งแกร่ง) กลุ่มธนาคาร (หนุนจากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย, ค่าใช้จ่ายลดลง) และกลุ่มค้าปลีก (เฉพาะกลุ่มค้าปลีกของใช้จำเป็น ในขณะที่กลุ่มค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง/ของแต่งบ้านอ่อนแอ)
ส่วนทางตรงข้าม กลุ่มที่กำไรลดลง YoY ได้แก่ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (อุปสงค์ยังอ่อนแอ โดยเฉพาะเชื่อมโยงรถยนต์, ยกเว้นสินค้าที่เกี่ยวกับ AI/Data center ที่ยังดี) กลุ่มยานยนต์ (หนี้ครัวเรือนสูง, สถาบันการเงินคุมเข้มปล่อยสินเชื่อกดดันยอดขายรถ) กลุ่มแพ็กเกจจิ้ง (อุปสงค์อ่อนแอ, ราคากระดาษบรรจุภัณฑ์ที่ลดลง) กลุ่มปิโตรเคมี (หลักๆ จาก PTTGC กดดันจากส่วนต่างปิโตรฯ) และกลุ่มรับเหมาฯ (การปรับปรุงต้นทุน และมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น)
สำหรับแนวโน้ม 1Q25 คาดว่ากำไรสุทธิ (แบบไม่รวมพลังงาน/ปิโตรฯ) เติบโต +4% YoY, +6% QoQ จากกลุ่มอาหาร (ราคาหมูปรับขึ้น), สื่อสาร (ARPU ขยายตัวต่อ), ค้าปลีกของใช้จำเป็น อย่างไรก็ตาม ยังมี Downside การปรับลดกำไรต่อเนื่องเดือน ม.ค.-ก.พ. ปรับลง -1% (กลุ่มสื่อ, วัสดุก่อสร้าง, ปิโตรฯ, อสังหาฯ, แพ็กเกจจิ้ง)
Fundamental view: ในแง่หุ้นรายตัวที่ผลประกอบการและพื้นฐานแข็งแกร่ง (หุ้นเด่นที่งบไม่ต่ำคาด + คาดโตต่อเนื่อง + ไม่โดนหั่นประมาณการกำไรแรงในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา) ได้แก่ CPALL MTC CENTEL CPF BDMS ADVANC

 

BLA
(Visit Note)
กรุงเทพประกันชีวิต
เผชิญแรงกดดันจากเศรษฐกิจและดอกเบี้ย
กำไรสุทธิ 4Q24 เท่ากับ 954 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 166% YoY (เบี้ยประกันภัยรับเพิ่มขึ้นและ underwriting margin สูงขึ้น) และ 55% QoQ (กำไรจากการขายเงินลงทุนเพิ่มขึ้น) โดยเบี้ยประกันภัยรับรวม 4Q24 เท่ากับ 8.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% YoY (เบี้ยประกันภัยปีแรกช่องทางธนาคารเติบโต) แต่ลดลง 17% QoQ (เบี้ยประกันภัยรับปีต่อลดลง)
ในเบื้องต้น เราคาดกำไรสุทธิ 1Q25 จะปรับลดลง YoY (แนวโน้มสำรองประกันภัยจากการรับสัญญาประกันภัยจะเพิ่มขึ้น เพราะมีสัญญาประกันภัยครบกำหนดลดลง) และ QoQ (กำไรจากการขายเงินลงทุนลดลง)
BLA จะเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและช่องทางการขายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะที่ธุรกิจลงทุนจะเผชิญแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
Our view: แม้ Bloomberg consensus คาดกำไรปี 2025 จะเติบโตถึง 20% YoY แต่เรามองว่าค่อนข้างท้าทาย กดดันจากเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง แม้ Valuations ไม่ได้แพง แต่เราประเมินว่าประมาณการกำไรสุทธิปี 2025 ของตลาด มี downside risk อยู่บ้าง


รายงานผลประกอบการวันนี้


CPN
เซ็นทรัลพัฒนา
(+) CPN รายงานกำไรสุทธิ 4Q24 ที่ 3,893 ล้านบาท หักรายการพิเศษ (หลักๆ มีรายการขาดทุนจากการ Swap Grab Thailand ไป GRAB ใหญ่ เหมือน CRC แต่รายการเล็กกว่าที่ 497 ล้านบาท) จะพบว่ากำไรหลักอยู่ที่ 4,392 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% YoY และ 6% QoQ สูงกว่าที่เราและตลาดคาดที่ 9% และ 19% ตามลำดับ เกิดจาก SG&A น้อยกว่าคาด ส่วนปันผลประกาศจ่ายที่ 2.10 บาท คิดเป็น Div yield 4.3% ขึ้น XD 17 มี.ค. แนวโน้มกำไร 1Q25 คาดลดลง YoY และ QoQ จาก GM อสังหาฯ ลดลง และ SG&A เพิ่มขึ้น เรายังคงคำแนะนำถือ อย่างไรก็ตาม วันนี้กำไรที่ดีกว่าคาดมีโอกาสที่หุ้นจะตอบรับเชิงบวก

 


SIRI
แสนสิริ
(0) SIRI รายงานกำไรสุทธิ 4Q24 ที่ 1.25 พันล้านบาท หักรายการพิเศษ กำไรหลักจะอยู่ที่ 1.2 พันล้านบาท ลดลง 5% YoY และ 13% QoQ เป็นไปตามที่เราและตลาดคาด แต่ประกาศจ่ายปันผลมากกว่าคาด ที่ 0.08 บาท คิดเป็น Div. yield 4.8% ขึ้น XD วันที่ 17 มี.ค. นี้ ส่วนแนวโน้ม 1Q25 เห็นโอกาส Presales เติบโต YoY, QoQ กำไรหลักเบื้องต้นคาดเติบโต YoY และทรงตัว QoQ ได้ นอกจากนี้ แผนธุรกิจที่ประกาศมายังมี Upside จากประมาณการของเรา เราแนะนำซื้อเก็งกำไร จากปันผลที่สูงกว่าคาด น่าจะช่วยผลักดันราคาหุ้น ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 1.90 บาท


DIF
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล
(0) DIF รายงานขาดทุนสุทธิ 4Q24 ที่ 7,398 ล้านบาท ขาดทุนมากขึ้น 2,054% YoY และพลิกจากกำไร QoQ หักรายการพิเศษ (บันทึกขาดทุนพิเศษเงินลงทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง 1.03 หมื่นล้านบาท) กำไรหลักอยุ่ที่ 2,935 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% YoY และ 1% QoQ แนวโน้ม 1Q25 คาดกำไรหลักทรงตัว YoY, QoQ อย่างไรก็ตาม ราคากองฯ ลงมากว่า 11% จากที่เคย Downgrade ก่อนหน้าแล้ว จน Div. yield ในระยะยาวสูงราว 11-12% หรืออาจได้ Capital gain จากราคาฟื้นตัว วันนี้ เราจึงปรับเพิ่มคำแนะนำเป็นซื้อ (จากถือ)

BGRIM
บี.กริม เพาเวอร์
(-) BGRIM รายงานกำไรสุทธิ 4Q24 ที่ 787 ล้านบาท หักรายการพิเศษ กำไรหลักอยู่ที่ 328 ล้านบาท ลดลง 23% YoY และ 59% QoQ ต่ำกว่าที่เราและตลาดคาด 26% และ 22% ตามลำดับ เกิดจากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนใน JV น้อยกว่าคาด (และหากนับหลังหักดอกเบี้ย Perpetual Bond กำไรจะอยู่ที่ 112 ล้านบาท ลดลง 58% YoY และ 81% QoQ ต่ำว่าคาด 50%) อย่างไรก็ตาม แนวโน้ม 1Q25 คาดกำไรหลักฟื้นตัว YoY (จาก GM เพิ่มหลังต้นทุนก๊าซลง) และ QoQ (จากประมาณขายเพิ่มตามฤดูกาล) เราปรับกำไรปี 2025 ลง 5% และราคาเป้าหมายลงเป็น 22 บาท (จาก 23 บาท) และมองว่าสัปดาห์หน้าการทำประชาพิจารณ์ค่าไฟฟ้ารอบถัดไป อาจเป็นประเด็นปลดล็อค Overhang จนไปถึงการ Upgrade กำไรหากค่าไฟฟ้าไม่ได้ต่ำเหมือนที่เคยกังวลกัน เราจึงคงคำแนะนำซื้อเก็งกำไร


STECON
สเตคอน กรุ๊ป
(-) STECON รายงานขาดทุนสุทธิ 4Q24 ที่ 2,247 ล้านบาท หักรายการพิเศษ (รายการหลักจากการตั้งค่าเผื่อฯ การก่อสร้างโครงการ CFP ผลขาดทุนหลักจะอยู่ที่ 1,124 ล้านบาท พลิกจากกำไรหลัก 53 ล้านบาท ใน 4Q23 และขาดทุนมากขึ้นจาก 147 ล้านบาท ใน 3Q24 และผลขาดทุนก็ยังมากกว่าที่เราและตลาดคาดไว้มาก เกิดจากการปรับปรุงต้นทุนโครงการหนองบอนฯ และรถไฟฟ้าชมพู-เหลือง แต่โดยรวมมองเป็นการจัดการรับรู้ คชจ. ที่มีปัญหาทั้งโครงการ CFP, หนองบอนฯ และชมพู-เหลือง ถือเป็นการตัดสินใจที่ต้องการเคลียร์ Overhang ให้จบใน 4Q24 ดังนั้นน่าจะเห็นผลประกอบการเริ่มกลับสู่ปกติปีนี้ เมื่อประกอบกับปันผลพิเศาของ GULF ทำให้ 1Q25 คาดโดดเด่นสุดของปี ฟื้นตัวทั้ง YoY, QoQ เราปรับกำไรปี 2025 ขึ้น 30% สะท้อน GM ใหม่ที่ถูก Reset กลับสู่ปกติ และแม้ Derate valuation ลงไป PBV 0.5 เท่า ราคาเป้าหมายยังอยู่ที่ 5.70 บาท จึงคาดว่าจะเห็นแรงซื้อ Buy-after-fact ช่วง 1-3 เดือนนี้ จากการเก็งแนวโน้มผลประกอบการกลับสู่ปกติ


สรุปประเด็นจาก Quick take

CRC
เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
ตั้งเป้าปี 2025 รายได้และ EBITDA โตต่อเนื่อง 6-10% และมากกว่า 10% SSS ช่วงม.ค.-กลางก.พ.2025 ทรงตัว โดยไทยยังทรงตัว เวียดนามฟื้นโต 2-3% ในสกุลเงินท้องถิ่น (จากหดตัว 2% ใน 4Q24) อิตาลีลงเล็กน้อย 2%
View from fundamental: แม้การฟื้นตัว SSS ช่วง 2 เดือนแรกจะดูช้าลงจาก ม.ค. ที่โต 5-7% แต่ก็ไม่เหนือคาดหมายเราไว้เพราะเหลื่อมตรุษจีนและ easy e-receipt ทั้งนี้ เรามองบวกเล็กน้อยต่อควาพยายามในการคุมต้นทุนดำเนินงานต่อเนื่อง ดังนั้น เรายังคงคาดกำไรปกติ 2025 โต 10% ดีกว่ายอดขายที่คาดเพิ่มขึ้น 8% แนะนำ ถือ ราคาเป้าหมาย 37 บาท

SAWAD
ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
SAWAD ตั้งเป้าสินเชื่อปี 2025 เติบโต 10-15% YoY เน้นเติบโตในสินเชื่อจำนำทะเบียนเป็นหลัก โดยเรามองว่าเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย เพราะ SAWAD ยังเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ (30% ของสินเชื่อ) ซึ่งบริษัทคาดว่าสินเชื่อ HP จะทรงตัวหรือลดลงบ้างในปีนี้
View from fundamental: เราประเมินว่ากำไรสุทธิปี 2025 ของ SAWAD จะเติบโต 7% YoY จากแนวโน้มสินเชื่อเติบโต 5% YoY โดยเราแนะนำขาย เพราะประเมินทิศทางกำไรและคุณภาพสินทรัพย์จะฟื้นตัวค่อนข้างช้า เมื่อเทียบกับกลุ่มสินเชื่อจำนำทะเบียนในปีนี้

HANA
ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
สถานการณ์ Demand ใน 1Q25 คงไม่ต่างจาก 4Q24 มาก และยังมีความไม่แน่นอนในด้านของ Tariff risk อย่างไรก็ตาม HANA สามารถบริหารจัดการลูกค้าย้ายจากจีนมาโรงงานอื่นได้ (แต่ถ้าไทยโดนในอนาคตจะเสี่ยง)
View from fundamental: เรายังคาดไม่เห็นการฟื้นตัวระยะสั้น และมีความไม่แน่นอนรออยู่ยัง wait-and-see


PTTGC
พีทีที โกลบอล เคมิคอล
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
ส่วนต่างราคาปิโตรเคมียังคงมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง กดดันจากภาวะอุปทานล้นตลาด การลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตที่มีต้นทุนสูงจะช่วยจำกัด downside ของส่วนต่างราคาปิโตรเคมี
View from fundamental: แนวโน้มผลการดำเนินงาน 1Q25 ที่อ่อนแอของ PTTGC น่าจะเป็นปัจจัยกดดันราคาหุ้นต่อไป

CPALL
ซีพี ออลล์
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
ตั้งเป้าปี 2025 โตต่อเนื่องทั้ง SSSG (>GDPรวมเงินเฟ้อ) และ GM เพิ่มขึ้น10-20bps
View from fundamental: เรายังคงมองบวกต่อแนวโน้มการเติบโตของ SSSG และอัตรากำไรขั้นต้นที่ทำได้ดีขึ้นและเด่นกว่ากลุ่ม จึงคงคำแนะนำ BUY ราคาเป้าหมาย 79บาท

BEM
ทางด่วนและ รถไฟฟ้ากรุงเทพ
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
คาดจำนวนผู้ใช้ทางด่วนเติบโตเล็กน้อย YoY ในปี 2025 หนุนโดยการเติบโตทางเศรษฐกิจและไม่มีการก่อสร้างบริเวณทางด่วน
View from fundamental l: คาดการณ์การเติบโตของกำไรหลัก 1Q25 และแนวโน้มกำไรที่มั่นคงในระยะยาวน่าจะเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้นได้ต่อไป


วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

เฟด คงดอกเบี้ย By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ตลาดหุ้นไทย พัก แบบปรับฐาน ในเช้าวันนี้ หลังจากวานนี้ ดัชนฯพุ่งแรง ประกอบกับ เฟด ....

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้