Today’s NEWS FEED

News Feed

Krungthai COMPASS กนง. มีมติลดดอกเบี้ยที่ 2.00% จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด และภาวะการเงินที่ยังตึงตัว ขณะที่ความเสี่ยงจากนโยบายกีดกันการค้าจะกดดันนโยบายการเงินในระยะถัดไป

221


สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(27 กุมภาพันธ์ 2568)----------Key Highlights

 กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.00% ต่อปี จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด และภาวะการเงินที่ยังคงตึงตัว โดย GDP ด้านอุปสงค์ขยายตัวจากทั้งการบริโภคภาคเอกชน การส่งออกสินค้าและท่องเที่ยวที่ขยายตัวดีกว่าคาด แต่ด้านอุปทานขยายตัวต่ำกว่าคาดจากภาคการผลิต ส่งผลให้มี stock run down สูงกว่าปกติ สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างและ China flooding ที่รุนแรง (MPI-Exports divergence) ประกอบกับการลดดอกเบี้ยครั้งนี้เพื่อผ่อนคลาย financial condition หลังการขยายตัวของสินเชื่อหดตัวติดต่อกันสองไตรมาส ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปทรงตัวใกล้เคียงขอบล่างกรอบเป้าหมาย
 ประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่ กนง. จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมตามที่ Krungthai COMPASS คาดว่าจะอยู่ในช่วง 1.75%-2.00% ในปี 2025 ในระยะข้างหน้าความเสี่ยงจากนโยบายกีดกันทางการค้าจะเป็นปัจจัยหลักที่จะส่งผลต่อ momentum ทางเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายของ กนง. โดยเฉพาะช่วงไตรมาสที่ 3
---------------------

การปรับลดอัตราดอกเบี้ย มีสาเหตุหลักจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด จากปัจจัยเชิงโครงสร้าง และภาวะการเงินที่ยังตึงตัว

กนง. มีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ 2.00% ต่อปี ในการประชุมครั้งที่ 1/2025 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
 เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม โดยในปี 2024 GDP ด้านอุปสงค์ขยายตัวจากทั้งการบริโภคภาคเอกชน การส่งออกสินค้าและท่องเที่ยวที่ขยายตัวดีกว่าที่คาด แต่ด้านอุปทานขยายตัวต่ำกว่าคาดจากภาคการผลิตเป็นสำคัญ ส่งผลให้มีระดับ stock run down ที่สูงกว่าปกติ สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างและ China flooding ที่รุนแรง (MPI-Exports divergence) โดยอุตสาหกรรมเหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของ GDP อาทิ รถยนต์ เคมีภัณฑ์ ยางและพลาสติก
 อย่างไรก็ตาม ในปี 2025 เศรษฐกิจไทยยังจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ภาคบริการที่ยังคงขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง 2) การบริโภคภาคเอกชน และ 3) การส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวได้ดีในกลุ่มเทคโนโลยีและเกษตรแปรรูปเป็นหลัก
 ทั้งนี้ ยังต้องติดตามความเสี่ยงสำคัญจากผลกระทบของนโยบายกีดกันทางการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลักโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มจะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากหลายประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้ง ภาคการผลิตที่อาจถูกกดดันต่อเนื่อง โดยเฉพาะ SMEs ที่เผชิญปัญหาความสามารถในการแข่งขัน

 


 ภาวะการเงินของไทยยังคงมีความตึงตัว แม้จะเริ่มมีสัญญาณ stabilize ของการขยายตัวและคุณภาพสินเชื่อในภาพรวมบ้าง แต่ยังมีความไม่สมดุลในระบบที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยแม้ว่าสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่จะมีการขยายตัวที่ 2.4% ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2024 แต่สินเชื่อ SMEs ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ -3.0% โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาเชิงโครงสร้าง สะท้อนเศรษฐกิจที่ขยายตัวแบบ K-shape ซึ่งยังคงมีความเปราะบางในบางภาคส่วนของระบบเศรษฐกิจ แม้ภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง อาทิ นโยบายปรับโครงสร้างหนี้ คลินิกแก้หนี้ และมาตรการคุณสู้เราช่วย แต่ยังคงต้องติดตามประสิทธิผลของมาตรการเหล่านี้อย่างใกล้ชิด
 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยมีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงขอบล่างของกรอบเป้าหมาย สาเหตุหลักมาจากปัจจัยด้านอุปทานโดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลง รวมถึงปัจจัยเชิงโครงสร้างอื่น ๆ เช่น การแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้นจากสินค้านำเข้าราคาถูก โดย กนง. ได้เน้นย้ำว่าภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำนี้ไม่ได้มีสัญญาณที่จะนำไปสู่ภาวะเงินฝืด ในทางตรงกันข้าม อัตราเงินเฟ้อที่ทรงตัวในระดับต่ำมีส่วนช่วยบรรเทาค่าครองชีพของประชาชนและลดต้นทุนของผู้ประกอบการ โดยในระยะข้างหน้าต้องติดตามความเสี่ยงด้านต่ำต่ออัตราเงินเฟ้อจากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อาจลดลงต่อเนื่องและมาตรการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ

---------

Implication:
 Krungthai COMPASS คาด กนง. อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2025 โดยมองว่าการลดดอกเบี้ยครั้งนี้เพื่อผ่อนคลาย financial condition ลดภาระทางการเงินของธุรกิจและครัวเรือน หลังการขยายตัวของสินเชื่อภาคธุรกิจหดตัวติดต่อกันสองไตรมาสโดยเฉพาะสินเชื่อกลุ่ม SMEs ที่ยังหดตัวต่อเนื่อง ประกอบกับ Imbalance ของเศรษฐกิจที่ชัดเจนมากขึ้นสะท้อนจาก GDP ด้านอุปสงค์ที่ขยายตัวดี แต่ด้านอุปทานที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด โดยเฉพาะภาคการผลิต ส่งผลให้มี stock run down สูงกว่าปกติ สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างและ China flooding ที่กระทบชัดเจนมากขึ้น ทำให้การส่งออกที่ขยายตัว ไม่ส่งผ่านผลดีไปสู่ภาคการผลิต (MPI-Exports divergence)
 ในระยะข้างหน้าความเสี่ยงจากนโยบายกีดกันทางการค้าจะเป็นปัจจัยหลักที่จะส่งผลต่อ momentum ทางเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายของ กนง. โดยการค้าโลกและการส่งออกของไทยยังเผชิญกับสงครามการค้า และความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของประเทศหลัก อีกทั้งวัฏจักรเซมิคอนดักเตอร์ที่เป็นแรงส่งการส่งออกที่ผ่านมาเริ่มมีแนวโน้มขยายตัวได้ชะลอลง ประกอบกับการปรากฎชัดที่อาจขยายวงของปัญหาเชิงโครงสร้างและ China flooding
 นอกจากนี้ ยังต้องติดตามผลกระทบต่อค่าเงินบาทหลังแนวโน้มส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยและสหรัฐ (Fed) มีการเปลี่ยนแปลง



Key Highlights
 กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.00% ต่อปี จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด และภาวะการเงินที่ยังคงตึงตัว โดย GDP ด้านอุปสงค์ขยายตัวจากทั้งการบริโภคภาคเอกชน การส่งออกสินค้าและท่องเที่ยวที่ขยายตัวดีกว่าคาด แต่ด้านอุปทานขยายตัวต่ำกว่าคาดจากภาคการผลิต ส่งผลให้มี stock run down สูงกว่าปกติ สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างและ China flooding ที่รุนแรง (MPI-Exports divergence) ประกอบกับการลดดอกเบี้ยครั้งนี้เพื่อผ่อนคลาย financial condition หลังการขยายตัวของสินเชื่อหดตัวติดต่อกันสองไตรมาส ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปทรงตัวใกล้เคียงขอบล่างกรอบเป้าหมาย
 ประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่ กนง. จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมตามที่ Krungthai COMPASS คาดว่าจะอยู่ในช่วง 1.75%-2.00% ในปี 2025 ในระยะข้างหน้าความเสี่ยงจากนโยบายกีดกันทางการค้าจะเป็นปัจจัยหลักที่จะส่งผลต่อ momentum ทางเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายของ กนง. โดยเฉพาะช่วงไตรมาสที่ 3

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บทความล่าสุด

1200 แตก By: แม่มดน้อย

แม่ดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ และแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นไทย ก็แตก 1,200 จุด ด้วยพ่อใหญ่อย่าง DELTA แม่ใหญ่ AOT เป็นหัวหอก....

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้