SET Index ยังมีโมเมนตัมเชิงบวก
กลยุทธ์หุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยปรับลง
Market Strategy
SET Index ยังมีโมเมนตัมปรับขึ้นตามกรอบ 1220-1245 จุด หนุนจากการปรับลดดอกเบี้ยฯ ของ กนง. ที่ส่งผลบวกต่อหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง ด้านปัจจัยต่างประเทศยังมีความเสี่ยงเรื่องกำแพงภาษีจากล่าสุดคุณทรัมป์ ขู่จะขึ้นภาษีจากยุโรป กลยุทธ์วันนี้เลือกหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการปรับลดดอกเบี้ยฯ SIRI และ TIDLOR
ตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้มีปัจจัยบวกจากผลประกอบการและการให้เป้าหมายรายได้ 1Q68 ของ NIVIDIA ที่ดีกว่าตลาดคาดหนุนหุ้นกลุ่มเทคฯ แต่ปัจจัยลบจากความไม่แน่นอนนโยบายภาษี จากล่าสุดทรัมป์เผยจะเก็บภาษีนำเข้าจากยุโรป 25% แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดในกรอบเวลา ส่งผลต่อหุ้นเทคฯนำตลาดหนุน NASDAQ +0.3% ด้าน S&P500+0.01% Dow Jones -0.4%
กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 ลดดอกเบี้ย 0.25% มาที่ 2% สร้าง Positive Surprise ต่อคาดหมายของเราและตลาด โดยการปรับลดดอกเบี้ยฯ รอบนี้ให้น้ำหนักกับเศรษฐกิจที่ภาคผลิตมีสัญญาณอ่อนแอกว่าคาดและมีการปรับประมาณการณ์ GDP Growth 68 ลง โดยคาดว่าจะอยู่ใกล้ระดับราว 2.5-2.6%YoY จากเดิมคาด 2.9%YoY ซึ่งจะเผยรายละเอียดในการประชุม กนง. เดือน เม.ย.ต่อไป ด้านเงินเฟ้อยังใกล้เคียงกรอบที่วางไว้และยังไม่มีสัญญาณเข้าสู่ภาวะเงินฝืด และเน้นย้ำว่าการปรับลดดอกเบี้ยฯ รอบนี้ไม่ใช่เป็นการส่งสัญญาณแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง
ในมุมมองเชื่อว่าการปรับลดดอกเบี้ยฯในระยะถัดไปยังขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจเป็นสำคัญ สำหรับผลต่อตลาดหุ้นการปรับลดดอกเบี้ยฯ ถือเป็นปัจจัยบวกต่อต้นทุนบริษัทจดทะเบียนที่ลดลง รวมถึงในเชิง Valuation ที่มีโอกาส Related PER ให้สูงขึ้น โดย 0.25% ที่ดอกเบี้ยฯลดลงจะเป็นบวกกับ SET Index ปรับขึ้น 40 จุด หรือหากอิงการปรับลดดอกเบี้ยฯรอบ ต.ค.67 SET Index ปรับขึ้นทำจุดสูงสุดของรอบได้ 42 จุด สำหรับหุ้นที่ได้ประโยชน์ภายใต้ดอกเบี้ยฯปรับลง ยังเน้นกลุ่มไฟแนนซ์ TIDLOR MTC SAK ที่กำไรปีนี้ยังฟื้นตัว ส่วนกลุ่มอื่นๆ กลุ่มอสังหาฯ AP SIRI SPALI กลุ่ม High Div Yield HMPRO BCP ICHI 3BBIF
Market Summary
SET Index ปรับขึ้น 25 จุด หรือ 2% หนุนจาก กนง. ที่ปรับลดดอกเบี้ยฯ 0.25% สวนทางตลาดที่คาดคงดอกเบี้ยฯ กลุ่มที่ปรับขึ้นเด่นได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยฯปรับลง กลุ่มไฟแนนซ์ SAK +6.5% TIDLOR +4% MTC +3% กลุ่ม ICT +4.4% ADVANC +2.9% กลุ่มอสังหาฯ +2.7% และหุ้นที่รายงานงบ 4Q67 ดีกว่าคาด CENTEL +11.5% กลุ่ม CP จากประเด็น ข่าวที่จะไม่ลงเข้าร่วมลงทุนใน 7&I CPALL +10 CPAXT+6.5% CPF +8.5% ส่วนกลุ่มที่ปรับลง คือ หุ้นที่เสียประโยชน์จากดอกเบี้ยฯ ลง กลุ่มธนาคารที่ลดลง -1.2% กลุ่มประกันปรับลง -3.8% นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 2 พันล้านบาท
DAILY Stock Pick
SIRI
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 2.00 บาท
การปรับลดดอกเบี้ยฯ ของ กนง. 0.25% และไม่ได้ปิดประตูลดดอกเบี้ยฯ ช่วงที่เหลือปี เชื่อว่าจะส่งผลบวกต่อ SIRI ใน 3 แง่มุม 1) ช่วยลด Rejection Rate จากภาระดอกเบี้ยฯ ของผู้กู้ลดลงซึ่งจะดีต่อยอดโอนในอนาคต 2) SIRI มี IBD/E อยู่ที่ 1.67 เท่า สูงสุดเมื่อเทียบกับหุ้นกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัยที่เราศึกษาซึ่งอยู่ในช่วง 0.7-1.6% จะได้ประโยชน์สูงสุดจากภาระดอกเบี้ยฯจ่ายที่ลดลง และ 3) แนวโน้มดอกเบี้ยฯ ขาลงจะเป็นบวกต่อหุ้นปันผลสูง ซึ่ง SIRI ถือว่าเข้าข่ายเพราะ 2H67 คาดอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลอยู่ในช่วง 5.5-7.9% ส่วนปี 68 คาดอัตราปันผลอยู่สูงที่ 9.8%
ในมุม Valuation ปัจจุบันซื้อขายอยู่บน PER68 ที่ 5.7 เท่าต่ำกว่ากลุ่มที่ 6.8 เท่า และ PBV68 คาดที่ 0.57 เท่า ต่ำกว่ากลุ่มที่ 0.64 เท่า ซึ่งถือว่าไม่แพง ส่วน Sentiment บวกระยะถัดไปอยู่การพิจารณาการปลดล็อค LTV ของ ธปท.
KEY FACTOR
กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากระดับ 2.25% สู่ระดับ 2.0% สวนทางกับมุมมอง Consensus ที่ให้น้ำหนักคงดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ สะท้อนความจำเป็นที่มีมากขึ้นในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ต่ำกว่าที่ประเมินไว้ โดยมีปัญหาอยู่ที่ภาคการผลิต (สวนทางกับการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเด่น) ในขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ใกล้เคียงกับกรอบเป้าหมาย (เงินเฟ้อทั่วไป +0.4%, เงินเฟ้อพื้นฐาน +0.37% ในปี 2567)
แนวโน้มในช่วงถัดไปโอกาสการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมทำได้ยากขึ้น จากความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy Space) ที่ลดลง (แต่ยังไม่ปิดโอกาสหากมีความจำเป็น ในกรณีที่เศรษฐกิจมีสัญญาณชะลอตัวกว่าคาด) ในขณะที่ระยะถัดไปอาจเห็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะจุดมากขึ้น โดยเน้นช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง และ SMEs (เช่น การพักหนี้/ปรับโครงสร้างหนี้ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น)
ทิศทางค่าเงินบาท (USDTHB) พลิกกลับมาอ่อนค่าตอบรับการลดดอกเบี้ย โดยหากพิจารณาเชิงเปรียบเทียบพบว่ากลับมาอ่อนค่าเกือบที่สุดในอาเซียน +0.29% WTD โดยมีเพียง USDIDR ที่อ่อนค่าแรงกว่า +0.4% WTD)
EYES ON
[ในสัปดาห์] การรายงานงบฯ 4Q67 โค้งสุดท้าย
27 ก.พ. ประชุม GDP 4Q67 สหรัฐฯ (รายงานครั้งที่ 2), ดัชนีความเชื่อมั่น Eurozone
นักกลยุทธ์ : ธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์, ชาญชัย พันทาธนากิจ