เตรียมรับแรงกระแทกจากฝั่งสหรัฐฯ
External Factor
• นโยบายกีดกันทางภาษีของสรัฐฯ ใกล้ถึงวันบังคับใช้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุด ปธน. Trump กล่าวว่า การเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าแคนาดาและเม็กซิโก ยังเป็นไปตาม กำหนดการเดิม คือ “วันที่ 4 มี.ค. 68”
• นอกจากนี้ยังเห็นสัญญาณกีดกันประเทศคู่ค้า โดยมุ่งเป้า “จีน” มากขึ้น หลังฝ่าย บริหารของ ปธน. Trump ได้เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่เม็กซิโกเรียกเก็บภาษีจากการนำเข้า จากจีน เนื่องจากบางบริษัทจากจีนได้ย้ายการผลิตไปยังเม็กซิโกเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีใน ยุค Trump
Internal Factor
• ภาพรวมเศรษฐกิจบ้านเรา เผชิญความเสี่ยงมาขึ้น จากภาคการท่องเที่ยวและส่งออก
• การประชุม กนง. วันพรุ่งนี้ ตลาดคาดว่าจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 2.25% อย่างไรก็ตามมีหลาย สำนักเศรษฐกิจคาดหวังการปรับลดดอกเบี้ยลงสู่ 2.00% เพื่อขับเคลื่อนให้อัตราเงินเฟ้อที่ ต่ำให้เข้าสู่เป้าหมาย
• มุม Valuation อิง EPS25F 96 บาท/หุ้น (P/E25F อยู่ 12.8 เท่า) จะแปลงเป็นระดับ MEYG ได้ 5.50% แต่มีโดยปกติแล้วนักวิเคราะห์มักจะมีการปรับประมาณการ EPS ลง 8 บาท/หุ้น ในช่วงที่เหลือของปีจะได้ EPS ที่ระดับ 88.00 บาท และแปลงกลับเป็นระดับ MEYG ได้ 4.9% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตอยู่มาก และถ้ากนง. ลดดอกเบี้ยจะกว้างกว่านี้อีก
Investment Strategy
• กระแสข่าวว่าจะมีกองทุน ThaiESG ใหม่ เปิดมารองรับกองทุน LTF วงเงินล่าสุด 1.88 แสนล้านบาท คาดแล้วเสร็จ ช่วงเดือน มี.ค. 68 ฝ่ายวิจัย ASPS ประเมิน กองทุน LTF เดิมจะต้องมีการทยอยปรับพอร์ตเข้าสู่สมดุลในช่วงสั้นๆ โดยการปรับเปลี่ยนดัชนีอ้างอิงจาก SET Index เป็น SETESG แทน
• ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินมี 12 หุ้นมีโอกาส FUND FLOW ไหลเข้าเพิ่มมากสุด หากโยก LTF เป็น THAIESG คือ PTTEP 3.3 พันล้านบาท ตามมาด้วย CPALL 3.2 พันล้านบาท, SCB 2.9 พันล้านบาท, KBANK 2.5 พันล้านบาท, BDMS 2.5 พันล้านบาท, KTB 2.3 พันล้านบาท, BBL 2.0 พันล้านบาท, CPN 1.6 พันล้านบาท, CRC 1.4 พันล้านบาท, TTB 1.3 พันล้านบาท, CPF 1.3 พันล้านบาท, SCC 1.1 พันล้านบาท
ความเสี่ยงทะลักกดดันภาพรวมเศรษฐกิจ
นโยบายกีดกันทางภาษีของสรัฐฯ ใกล้ถึงวันบังคับใช้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุด ปธน. Trump กล่าวว่า การเรียกเก็บ ภาษีนำเข้าสินค้าแคนาดาและเม็กซิโก ยังเป็นไปตามกำหนดการเดิม คือ “วันที่ 4 มี.ค. 68” หลังจากมีการเจรจากับไป แล้วเมื่อช่วงต้นเดือน ก.พ. 68
นอกจากนี้ยังเห็นสัญญาณกีดกันประเทศคู่ค้า โดยมุ่งเป้า “จีน” มากขึ้น หลังฝ่ายบริหารของ ปธน. Trump ได้ เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่เม็กซิโกเรียกเก็บภาษีจากการนำเข้าจากจีน เนื่องจากบางบริษัทจากจีนได้ย้ายการผลิตไปยัง เม็กซิโกเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีในยุค Trump
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจบ้านเรา ยังคงเผชิญกับความท้าทายจากหลายปัจจัยเสี่ยง โดยล่าสุดมีกระแสข่าวเชิงลบ กระทบต่อภาคการท่องเที่ยว หลัง Bloomberg เผยท่องเที่ยวไทยส่อวิกฤต จากความกังวลเรื่องความปลอดภัย ทำ ให้ยอดยกเลิกเที่ยวบินมาไทยเพิ่มขึ้น 94% ในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา โดยนักท่องเที่ยวจีนส่วนใหญ่เลือกไปเล่นสกีและแช่ น้ำพุร้อนที่ญี่ปุ่นในช่วงตรุษจีน
อีกทั้งภาคการค้าระหว่างประเทศของไทยยังเสี่ยงได้รับผลกระทบจากนโยบายการค้าดัวยเช่นกัน ขณะที่ ส.อ.ท. เผย ยอดผลิตรถยนต์ไทย เดือน ม.ค. 68 ร่วง 24.63% เหตุยอดขาย-ส่งออกตก ส่วนเช้านี้เวลา 10.30 น. รอติดตาม ตัวเลขส่งออก – นำเข้าของไทย โดย Consensus คาดเติบโตน้อยลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน และอาจเห็นการขาด ดุลการค้าสูงถึง 1,500 ล้านเหรียญฯ
ระดับ Market Earning Yield Gap ของ SET Index น่าสนใจ ไม่ง้อ กนง.ลดดอกเบี้ย
การประชุม กนง. ในวันที่ 26 ก.พ. 68 Bloomberg Consensus คาดว่าจะเห็นการคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.25% อย่างไรก็ตามมีหลายสำนักเศรษฐกิจคาดหวังการปรับลดดอกเบี้ยลงสู่ 2.00% ซึ่งสอดคล้องกับกระแสเรียกร้องให้ “ปรับลดดอกเบี้ย” จากบรรดานักเศรษฐศาสตร์และรัฐบาลไทย เพื่อขับเคลื่อนให้อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำให้เข้าสู่เป้าหมาย และเป็นอีกหนึ่งแรกหนุนเศรษฐกิจไทยนอกจากนโยบายการคลังที่เตรียมจะอัดฉีดในอนาคต ซึ่งตลาดเริ่มให้น้ำหนัก กับประเด็นนี้ จึงเห็น Bond Yield 10 ปีทยอยปรับลดลง โดยล่าสุดอยู่ที่ระดับเดียวกันกับดอกเบี้ยนโยบายแล้ว(ก่อน หน้านี้ Bond Yield 10 ปีไทยสูงกว่าดอกเบี้ยนโยบายราว 5-10 Bps.)
ซึ่งหากพิจารณาในมุม Valuation ณ SET ปัจจุบัน 1235.85 จุด อิง EPS25F จากทาง Bloomberg ประเมินไว้ราว 96 บาท/หุ้น(P/E25F ก็ยังถูกอยู่12.8เท่า) จะแปลงกลับเป็นระดับ Market Earning Yield Gap ได้สูงถึง 5.50% ซึ่ง หากมีการลดดอกเบี้ย 25 Bps. จะหนุนระดับ Market Earning Yield Gap ได้สูงถึง 5.75%
อย่างไรก็ตามโดยปกติแล้วนักวิเคราะห์มักจะมีการปรับประมาณการ EPS ลง 8 บาท/หุ้น ในช่วงที่เหลือของ ปี(ค่าเฉลี่ยในช่วง 5 ปีล่าสุด) จะได้ EPS ที่ระดับ 88.00 บาท P/E25F ก็ยังถูกอยู่ 14.0 เท่า และแปลงกลับเป็นระดับ Market Earning Yield Gap ได้ 4.87% ซึ่งหากมีการลดดอกเบี้ย 25 Bps. จะหนุนระดับ Market Earning Yield Gap ได้สูงถึง 5.12%
สรุป ไม่ว่า กนง.จะลดดอกเบี้ยหรือไม่ในวันพรุ่งนี้ ระดับ MARKET EARNING YIELD GAP ของ SET ก็น่าสนใจอยู่ ดี โดยมีระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีอยู่มากแม้จะคิด Downside ของการปรับประมาณการ EPS ลง 8 บาท/ หุ้น ก็ตาม ดังนั้นดัชนีในปัจจุบันจึงถือือว่าน่าทยอยสะสมสำหรับนักลงทุนที่หวังผลกำไรระยะกลาง-ยาว
12 หุ้นมีโอกาส Fund Flow ไหลเข้าเพิ่มมากสุด หากโยกกองทุน LTF เป็น ThaiESG
กระแสข่าวว่าจะมีกองทุน ThaiESG ใหม่เปิดมารองรับกองทุน LTF วงเงินล่าสุด 1.88 แสนล้านบาท คาดแล้วเสร็จช่วง เดือน มี.ค. 68 ฝ่ายวิจัย ASPS ประเมิน กองทุน LTF เดิมจะต้องมีการทยอยปรับพอร์ตเข้าสู่สมดุลในช่วงสั้นๆ โดย การเปลี่ยนดัชนีอ้างอิงจาก SET Index เป็น SETESG แทน ซึ่งมีความแตกต่างกันสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ
1.) หุ้นในดัชนี SETESG จะมีน้ำหนักต่อตัวไม่เกิน 5% ทำให้หุ้นใหญ่มีน้ำหนักเกิน 5% ของตลาดฯ มีโอกาสถูกลด น้ำหนัก อย่าง DELTA มีน้ำหนัก 6.0%, PTT5.9%, GULF+INTUCH 5.8%, ADVANC 5.5% เป็นต้น
2.) หุ้นในดัชนี SETESG จะต้องมี ESG Rating ทำให้หุ้นใหญ่สภาพคล่องสูงที่ไม่มี ESG Rating มีโอกาสถูกลด น้ำหนักลง อาทิ TRUE, BH, CCET, TIDLOR, ITC, BCP, AEONTS, AAV, CHG, DOHOME, SPRC, RCL, SISB, EA, IRPC, PRM, BSRC, QH, M, ERW, JAS, SKY, COCOCO
นอกจากนี้ฝ่ายวิจัย ASPS ยังคำนวณหา หุ้นที่มีโอกาสได้Fund Flow ไหลเข้าเพิ่ม จากการโยกกองทุน LTF วงเงิน คงเหลือล่าสุด 1.88 แสนล้านบาท เป็นกองทุน ThaiESG คือ หุ้นที่มี ESG Rating และมีขนาดไม่เกิน 5% ของดัชนี ThaiESG
ได้ผลลัพธ์ 12 หุ้นมีโอกาส FUND FLOW ไหลเข้าเพิ่มมากสุด หากโยก LTF เป็น THAIESG ดังนี้ PTTEP มีโอกาสได้ เงินไหลเข้าเพิ่ม 3.3 พันล้านบาท ตามมาด้วย CPALL 3.2 พันล้านบาท, SCB 2.9 พันล้านบาท, KBANK 2.5 พันล้านบาท, BDMS 2.5 พันล้านบาท, KTB 2.3 พันล้านบาท, BBL 2.0 พันล้านบาท, CPN 1.6 พันล้านบาท, CRC 1.4 พันล้านบาท, TTB 1.3 พันล้านบาท, CPF 1.3 พันล้านบาท, SCC 1.1 พันล้านบาท เป็นต้น
Research Division
จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์