Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

321

 

เช้านี้ติดตาม GDP 4Q67 ไทยคาด +3.8%YoY

 

External Factor
ศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นโลกย่อตัวเล็กน้อย ขณะที่ Bond Yield สหรัฐฯ ปรับตัวลดลง ราว 1.1% -1.4% หลังการบริโภคในสหรัฐฯ ส่งสัญญาณอ่อแอลง ล่าสุดยอดค้าปลีก สหรัฐ (Retail Sale) เดือนม.ค. หดตัว -0.9%MoM ซึ่งต่ำกว่าตลาดคาด -0.2%MoM และพลิกกลับมาติดลบครั้งแรกในรอบ 7 เดือน

ราคาน้ำมันดิบโลกยังปรับตัวลดลง 5 วันติดต่อกัน โดย WTI ร่วงลงมาใกล้หลุด 70 เหรียญฯ / บาเรล แล้ว เนื่องจากรัสเซีย-ยูเครน มีแนวโน้มว่าจะมีการทำข้อตกลง สันติภาพ ซึ่งอาจช่วยให้ Supply ผ่อนคลายขึ้น นอกจากนี้ยังมีแรงกกดดันเพิ่มเติม จากความกังวล Demand ชะลอตัวลง

 

Internal Factor
วันนี้ติดตาม GDP 4Q67 ไทย ซึ่งทาง Bloomberg Consensus รวบรวมจากสำนัก เศรษฐกิจต่างๆไว้ที่ +3.8%YoY ซึ่งเติบโตกว่างวด 3Q67 ที่โต 3.0%YoY ซึ่งหาก ตัวเลขดังกล่าวออกมาเท่าคาด จะหนุนให้ GDP ทั้งปี 2567 จะอยู่ที่ +2.65%YoY

อย่างไรก็ตาม GDP มีโอกาสทยอยลดลงเรื่อยๆในแต่ละไตรมาส (1Q68-4Q68) +3.3%, +3.1%, +2.5%, +2.4% ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุหลักที่กดดัน คงหนีไม่พ้น ภาค การส่งออก (X) ที่ ต้องระวังความเสี่ยงจากนโยบายของรัฐบาล TRUMP 2.0 ที่มี แนวโน้มปรับขึ้นภาษีนำเข้าจากต่างประเทศ

 

Investment Strategy
2 หุ้นใหญ่มีโอกาสผันผวนในวันนี้ โดยประเมินทุกๆ การเปลี่ยนแปลง 1 บาท ของ AOT กดดัน SET -1.15จุด กดดัน SET50 -1จุด และทุกๆ การเปลี่ยนแปลง DELTA กดดัน SET -1จุด กดดัน SET50 -0.9จุด

แม้ดัชนี SET Index จะผันผวน แต่หากลงรายละเอียดเป็นรายหุ้นผ่าน AD Line พบว่า เริ่มมีจำนวนหุ้นลงกระจุก และจำนวนหุ้นที่ปรับตัวขึ้นกระจายตัวมากขึ้น ต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดการเงินไทย เดือน ก.พ. มากขึ้น เริ่ม จากต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 1.4 พันล้านบาท (mtd) , ซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทย 5.6 พันล้านบาท (mtd), ซื้อสุทธิ SET50 Futures 75,769 สัญญา

เริ่มเห็น Rotation มาที่หุ้น Laggard แนะนำ CPALL, HMPRO, BDMS, GPSC, MINT, IVL, SCGP, AP

 

ปัจจัยภายนอกยังต้องระวังสัญญาณเศรษฐกิจออ่อนแอลง
ศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นโลกย่อตัวเล็กน้อย ขณะที่ Bond Yield สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงราว 1.1% - 1.4% หลังการ บริโภคในสหรัฐฯ ส่งสัญญาณอ่อแอลง ล่าสุดยอดค้าปลีกสหรัฐ (Retail Sale) เดือนม.ค. หดตัว -0.9%MoM ซึ่งต่ำ กว่าตลาดคาด -0.2%MoM และพลิกกลับมาติดลบครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ทั้งนี้ผู้บริโภคได้ลดการใช้จ่ายอย่างมาก ในร้านขายอุปกรณ์กีฬา งานอดิเรก และดนตรี รวมถึงสินค้าราคากลุ่มเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน

 

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบโลกยังปรับตัวลดลง 5 วันติดต่อกัน โดย WTI ร่วงลงมาใกล้หลุด 70 หรียญฯ / บาเรล แล้ว เนื่องจากรัสเซีย-ยูเครน มีแนวโน้มว่าจะมีการทำข้อตกลงสันติภาพ ซึ่งอาจช่วยผลกระทบการผลิตในฝั่ง Supply ผ่อนคลายขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อสังเกตต้นเหตุกดดันราคาน้ำมันย่อตัว จากความกังวล Demand ชะลอตัวลง ท่ามกลางความเสี่ยง Trade War อาจรุนแรงขึ้น หลัง ปธน. Trump ประกาศประกาศปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าตอบโต้ ประเทศต่างๆ

 

สรุป สัญญาณเศรษฐกิจออ่อนแอลง ท่ามกลางความกังวลผลกระทบมาตราการตอบโต้ภาษีของสหรัฐฯ อาจกดดัน ให้สินทรัพย์เสี่ยง ผันผวนในช่วงนี้ได้

 

วันนี้ติดตาม GDP 4Q67 ไทย คาดโต 3.8%YoY แต่ต้องระวัง Trump 2.0 ในระยะถัดไป
วันนี้ติดตาม GDP 4Q67 ไทย ซึ่งทาง Bloomberg Consensus รวบรวมจากสำนักเศรษฐกิจต่างๆไว้ที่ +3.8%YoY ซึ่งเติบโตกว่างวด 3Q67 ที่โต 3.0%YoY ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากรัฐบาลไทย ที่พยายามเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบาย ต่างๆ ในไตรมาสดังกล่าว อาทิ โครงการแจกเงิน 10,000บาท เฟส 1 กลุ่มเปราะบาง 14 ล้านคน, การเติมเม็ดเงินให้ ชาวนาไร่ละ 1,000 บาท สูงสุด 10 ไร่, ยอดส่งเสริมการลงทุนพุ่งสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์และภาคการท่องเที่ยวเป็น ช่วง High Seasonซึ่งหากตัวเลขดังกล่าวออกมาเท่าคาด จะหนุนให้ GDP ทั้งปี 2567 จะอยู่ที่ +2.65%YoY

 

ซึ่งใกล้เคียงกับที่BLOOMBERG คาดการณ์ไว้เองที่ +3.7%YOY อย่างไรก็ตาม GDP มีโอกาสทยอยลดลงเรื่อยๆใน แต่ละไตรมาส +3.3%, +3.1%, +2.5%, +2.4% ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุหลักที่กดดัน คงหนีไม่พ้น ภาคการส่งออก (X) ที่ ต้องระวังความเสี่ยงจากนโยบายของรัฐบาล TRUMP 2.0 ที่มีแนวโน้มปรับขึ้นภาษีนำเข้าจากต่างประเทศ (รายละเอียดเพิ่มเติมจากหัวข้อด้านบน) ซึ่งอาจเพิ่ม DOWNSIDE ให้กับภาคการค้าระหว่างประเทศได้ และมีโอกาส กระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งจะส่งผลทางตรงต่อค่าเงินบาทในอนาคตได้ จึงเป็นประเด็นที่นักลงทุนต้องติดตาม อย่างใกล้ชิด

 

สรุป วันนี้ติดตาม GDP 4Q67 ไทย คาดโต 3.8%YoY ตามแต่ละส่วนประกอบของ GDP ซึ่งดันมาจากความคาดหวัง การอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยในระยะถัดไป แต่มีปัจจัยกดดัน คือ TRADE WAR 2.0 ที่มีส่วน กดดันภาคการส่งออกของไทยได้

 

ดัชนีดูผันผวน แต่หุ้นรายตัวมีโอกาสฟื้น
ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลง -12 จุด มาอยู่ที่ 1272 จุด โดยหลักถูกกดดันจาก 2 บริษัท ถึง 11 จุด จาก AOT -8.56 จุด และ DELTA -2.5 จุด

 

ความผันผวนจากทั้ง 2 บริษัทยังมีต่อในวันนี้จาก DELTA กำไรต่ำคาด -60% และ AOT กังวลประเด็นลูกหนี้ขยาย ระยะเวลาในการชำระ ประเมินทุกๆ การเปลี่ยนแปลง 1 บาท ของ AOT กดดัน SET -1.15 จุด กดดัน SET50 -1 จุด และทุกๆ การเปลี่ยนแปลง DELTA กดดัน SET -1 จุด กดดัน SET50 -0.9 จุด

 

แม้ดัชนี SET Index จะผันผวน แต่หากลงรายละเอียดเป็นรายหุ้นผ่าน AD Line พบว่า เริ่มมีจำนวนหุ้นที่ปรับตัวลง น้อยลง (ลงกระจุก) และจำนวนหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมากขึ้น (ขึ้นกระจายตัวมากขึ้น)

 

ขณะเดียวกันต่างชาติเริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดการเงินไทยมากขึ้น โดยซื้อสุทธิทุกตลาดในเดือน ก.พ. (mtd) เริ่มจาก ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 1.4 พันล้านบาท (mtd) , ซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทย 5.6 พันล้านบาท (mtd), ซื้อสุทธิ SET50 Futures 75,769 สัญญา ตรงกันข้ามกับสถาบันในประเทศ ขายสุทธิหุ้นไทย -8.2 พันล้านบาท (mtd)

 

กลยุทธ์การลงทุนเริ่มเห็น Rotation มาที่หุ้น Laggard แนะนำ CPALL, HMPRO, BDMS, GPSC, MINT, IVL, SCGP, AP

 

Research Division

จัดทำโดย
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

1200 แตก By: แม่มดน้อย

แม่ดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ และแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นไทย ก็แตก 1,200 จุด ด้วยพ่อใหญ่อย่าง DELTA แม่ใหญ่ AOT เป็นหัวหอก....

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้