Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

414

 

ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook

แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
อัปเดต Momentum Tracker แนวโน้มตลาดหุ้นโลกและทองคำ


Key Takeaways:

ดัชนี MSCI All-Country World Equity ปรับตัวลงอีกครั้ง หลังจากฟื้นตัวในช่วงสองสัปดาห์ก่อน และส่งสัญญาณ bearish divergence ใน Momentum Tracking Indicator ที่เด่นชัดขึ้น สะท้อนความเสี่ยงของการปรับฐานที่มีมากขึ้น

สงครามการค้าเริ่มตึงเครียดอีกครั้ง ภายหลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีได้เพียง 2 สัปดาห์ โดยสหรัฐฯ ได้ประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากเม็กซิโกและแคนาดา 25% รวมถึงจีน 10% ส่งผลให้แคนาดาใช้มาตรการภาษีเพื่อตอบโต้ทันที

ปัจจัยเศรษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้คือ ISM Manufacturing PMI และ Services PMI ของสหรัฐฯ ในคืนวันจันทร์และวันพุธ
รายละเอียด:
“ภาวะการลงทุนในสัปดาห์ก่อน”
สัปดาห์ที่ผ่านมา สินทรัพย์เสี่ยงเผชิญกับแรงกดดัน โดยดัชนี MSCI All-Country World Equity และราคาน้ำมัน Brent ปรับตัวลง 0.4% และ 4.1% ตามลำดับ ขณะที่พันธบัตรและสินทรัพย์ทางเลือกอื่น เช่น ทองคำให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า โดยปิดสิ้นสัปดาห์ในระดับทรงตัว และเพิ่มขึ้น 1% ตามลำดับ
สำหรับตลาดหุ้นไทย ดัชนี SET ปรับตัวลงถึง 2.9% ส่งผลให้หลุดเส้นค่าเฉลี่ย EMA200 เดือน ที่ 1335 จุด ซึ่งเป็นแนวรับสำคัญเชิงจิตวิทยา โดยมีเซคเตอร์ปรับตัวลงกระจายตัวเป็นวงกว้าง 19/20 กลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม Electronics และ Media ที่ร่วงลง 13.9% และ 5.5% ตามลำดับ
“พัฒนาการสำคัญในต่างประเทศ ได้แก่”

1 ดัชนี S&P500 และ Nasdaq100 ส่งสัญญาณ bearish divergence ใน Momentum Tracking Indicator คล้ายกันทั้งสองตลาด ทำให้มีโอกาสเข้าสู่วงจรของการปรับฐานด้วยกันทั้งคู่ สอดคล้องกับ Put/Call Ratio ที่กลับมาเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม

2 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เดินหน้ากดดันคู่ค้าหลักด้วยการเรียกเก็บภาษีนำเข้าครั้งใหญ่ โดยกำหนดอัตราภาษี 25% สำหรับสินค้าจากเม็กซิโกและแคนาดา และเพิ่มภาษี 10% สำหรับสินค้าจากจีน โดยอ้างว่าเป็นมาตรการตอบโต้การไหลเข้าของยาเฟนทานิลและผู้อพยพผิดกฎหมาย
แคนาดาและเม็กซิโกตอบโต้ทันที โดยแคนาดาเตรียมเรียกเก็บภาษี 25% กับสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 155,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนเม็กซิโกอยู่ระหว่างพิจารณามาตรการตอบโต้ ด้านจีนเลือกใช้แนวทางทางกฎหมาย โดยจะยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อองค์การการค้าโลก ขณะที่ยังเปิดช่องทางเจรจากับสหรัฐฯ
มาตรการของทรัมป์ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมพลังงานและยานยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ที่มีห่วงโซ่อุปทานเชื่อมโยงทั้งสามประเทศ และอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ แคนาดาและเม็กซิโกเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะเดียวกัน ตลาดการเงินตอบสนองเชิงลบ โดยเงินเปโซของเม็กซิโกและดอลลาร์แคนาดาอ่อนค่าลงทันทีหลังประกาศขึ้นภาษี


3 ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีมูลค่าการส่งออกเพียงร้อยละ 11 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ แต่บริษัทในดัชนี S&P500 กลับพึ่งพารายได้จากต่างประเทศสูงถึงร้อยละ 28 ของยอดขายทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม Info Tech ที่มีสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศสูงถึง 59% ตามด้วย Materials และ Energy ที่ 47% และ 36% ตามลำดับ ด้วยโครงสร้างรายได้ที่ซับซ้อนเช่นนี้ ทำให้การประเมินผลกระทบจากสงครามการค้าที่มีต่อสหรัฐฯ ซับซ้อนยิ่งขึ้น
“ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่”

วันจันทร์: 1) CN Caixin Manufacturing PMI (consensus คาดดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจีนเดือนมกราคม จะขยายตัวที่ 50.5 ซึ่งเป็นระดับเดียวกันกับเดือนก่อนหน้า), 2) US ISM Manufacturing PMI (consensus คาดดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ เดือนมกราคม จะหดตัวที่ 49.5 ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 49.3 ในเดือนก่อนหน้า)

วันอังคาร: 1) US JOLTs Job Openings (consensus คาดตัวเลขการเปิดรับสมัครงานใหม่ของสหรัฐฯ เดือนธันวาคม จะอยู่ที่ 7.88 ล้านตำแหน่ง ชะลอตัวลงจาก 8.1 ล้านตำแหน่งในเดือนก่อน)

วันพุธ: 1) CN Caixin Services PMI (consensus คาดดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการจีนเดือนมกราคม จะขยายตัวที่ 52.3 ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 52.2 ในเดือนก่อนหน้า), 2) US ISM Services PMI (consensus คาดดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการสหรัฐฯ เดือนมกราคม จะขยายตัวที่ 54.3 ซึ่งใกล้เคียงกับระดับ 54.1 ในเดือนก่อนหน้า)

วันศุกร์: 1) US Nonfarm Payrolls (consensus คาดตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนมกราคมจะเพิ่มขึ้น 170,000 ตำแหน่ง ชะลอตัวลงจาก 256,000 ตำแหน่งในเดือนก่อนหน้า), 2) US Unemployment Rate (consensus คาดอัตราการว่างงานสหรัฐฯ เดือนมกราคมจะอยู่ที่ 4.1% ทรงตัวจากเดือน ก่อนหน้า)

“แนวโน้มราคาสินทรัพย์ต่างๆ”

ในสัปดาห์นี้ เราแนะนำให้ระมัดระวังในการลงทุนในตลาดหุ้นโลกมากขึ้น โดยคาดว่าจิตวิทยาเชิงลบจากสงครามการค้าระลอกใหม่ จะกดดันให้ดัชนี MSCI All-Country World Equity เผชิญกับแรงขายท่ามกลาง Market Valuation ที่อยู่ในระดับสูง

ราคาทองคำย่อตัวน้อยกว่าที่คาด ก่อนปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ในประวัติศาสตร์อีกครั้งเมื่อสัปดาห์ก่อน ทำให้ราคามีโอกาสแตะเป้าหมาย 3,000 ดอลลาร์สหรัฐได้เร็วกว่าที่เราเคยประเมินไว้ อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้นอาจมีความผันผวน จากสถานะ net long position ที่ระดับ 230,600 สัญญา สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวเกือบสองเท่า

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 7-10 ปียังคงรักษาระดับราคาไว้ได้ โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี แกว่งตัวอยู่ใกล้ระดับ 4.5% สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์นี้ คาดว่าความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ในรายงาน Wealth Insight หัวข้อ "Trumpflation" ฉบับวันที่ 16 มกราคม 2025 ชี้ให้เห็นว่า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีแรกจะไม่รุนแรงอย่างที่ตลาดวิตกกังวล

 

สรุปภาพตลาดวานนี้
SET ขึ้นไม่ไหว ก็ดันดิ่งลงไปลึกเลย นอกจากกลุ่ม CPALL-CPAXT (และ CPF โดนหางเลขไปด้วย) ที่โดยกดดันจากประเด็นข่าวคุยร่วมซื้อ Seven & i ก็พบว่ามีหุ้นอื่นๆ ลงเยอะด้วย (ภาพรวมรายอุตสาหกรรม แทบไม่มีกลุ่มบวก) เช่น GLOBAL-DOHOME (กังวลยอดขาย + เรื่องราคาเหล็ก) ธนาคาร BBL KTB และกลุ่ม GULF ADVANC INTUCH เป็นต้น


แนวโน้มตลาดวันนี้ สงครามการค้าปะทุ ส่วนหุ้นไทยรองบฯ ชี้ชะตา
ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ที่แล้วเดินหน้า ทำจุดต่ำสุดของรอบ โซน 1,310 จุดอีกครั้ง หรือย้อนกลับไปสู่จุดก่อนที่จะขึ้นรอบที่แล้ว โดยมาจากแรงขายหุ้นเทค เช่น DELTA CCET หวั่นเทค AI ฟองสบู่ และข่าวลบรายตัว เช่น OSP CBG เปิดฉากสงครามราคาชิงส่วนแบ่งตลาดรอบใหม่, ส่วนกลุ่ม ซีพี CPALL CPAXT โดนหางเลข กังวลข่าว ร่วมวงซื้อ Seven & i ที่ญี่ปุ่น

กลายเป็นอีกสัปดาห์ที่ตลาดหุ้นไทยทรงๆ ทรุดๆ และตรงกับช่วงวันหยุดตรุษจีน ของตลาดการเงินในภูมิภาค ปริมาณการซื้อขายค่อนข้างเบาบาง ขณะที่หุ้นกลุ่มเด่น ยังคงเป็น กลุ่มธนาคาร และหุ้นบางตัวที่แข็งกว่าตลาดจากแรงซื้อ Buy on fact หลังงบออก เช่นกลุ่ม ปูนใหญ่ และ ปตท. สพ.
โดยสัปดาห์นี้เป็นต้นไป เราคาดว่าเมื่อพ้นวันหยุดยาวตรุษจีน ปริมาณการซื้อขายจะกลับมาคึกคักขึ้น โดยกลยุทธ์มองว่าตลาดหุ้นไทยระยะสัปดาห์นี้จะแกว่งผันผวนลักษณะ ย่อสลับเด้ง ในกรอบ 1,300-1,350 จุด แม้ประเด็นต่างประเทศอาจเห็นอิทธิพลต่อราคาหุ้นไทยน้อยลง เช่น หุ้นอเมริกา ยุโรป เอเชียเหนือ ขึ้น แต่เราอาจลบ หรือตรงกันข้าม หุ้นโลกลงแรงแต่เราอาจลงน้อยกว่าหรือบวกสวนแบบบางๆ แต่ยังแนะตามประเด็นสงครามการค้าที่กลับมาปะทุ
สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลหับหุ้นไทยเป็นรายตัว เราให้น้ำหนักไปที่ ผลการดำเนินงานที่ นักวิเคราะห์ มีการปรับทบทวนประมาณการกำไร ก่อนประกาศงบ 4Q24 จริง ขณะที่หุ้นบูลชิพใหญ่ที่ประกาศงบพร้อมปันผล อาจมีแรงซื้อกลับ Buy on fact ช่วยหนุนราคาหุ้นหลังราคาไหลลงมาแรงสะท้อน งบแย่ ไปก่อนหน้า

รายชื่อหุ้นที่จะทยอยประกาศงบสัปดาห์นี้ วันศุกร์ THCOM ADVANC TIDLOR และมองไปข้างหน้า สัปดาห์นี้นอกจากการเตือนงบแย่กว่าคาดเหมือนสัปดาห์ที่ผ่านมา เช่น SIRI OSP ILM (จากการทำ Preview ของนักวิเคราะห์บัวหลวง) คาดว่า นักลงทุนจะเลือกเล่นเป็นรายตัว จากมองหาหุ้นที่งบคาดว่าจะออกมาดีกว่าคาด ซึ่งเราจะนำมาอัปเดทต่อไป
ในส่วนนักลงทุนเน้นหาหุ้นมูลค่าถูกกว่าค่าเฉลี่ย แต่แนวโน้มการเติบโตสูง รวมทั้ง Earning revision ต่ำ ติดตามในรายงาน Thai Market Strategy วันนี้

กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์คงคำแนะนำ เลือกสะสมหุ้นรายตัว รายกลุ่ม ในจังหวะที่ราคาหุ้นตก หรือพักฐาน ด้วยเรามองว่าหุ้นที่เราเลือกแนะนำ ได้พิจารณาแล้วว่าควรจะขึ้นแข็งกว่าตลาด เพราะ
1) ราคาหุ้นทรงตัวได้ดี Outperform ในเชิงเทคนิคคอล ไม่ Overbought
2) ความถูกของราคาหุ้นเมื่อเทียบมูลค่าทางบัญชี (PBV) และเทียบกับ Bands
3) แนวโน้มผลการดำเนินงานระยะสั้น ดูแล้วไม่น่าจะสร้างความผิดหวัง
4) โอกาสที่กำไรระยะสั้นจะดีกว่าที่คิด เพราะมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว เช่น มาตรการช้อปช่วยชาติ แจกเงินหมื่น ในช่วงไตรมาสแรก หนุนกำไรโตต่อเนื่อง 4Q24-1Q25
5) มีปันผลระหว่างกาล

วิเคราะห์ทางเทคนิค
ภาพรวมเดือนม.ค. SET Index ปิด 1,314.50 จุด ผลตอบแทนรายเดือน -4.7% ขณะที่วอลุ่มซื้อขายเฉลี่ยชะลอตัวอยู่ที่ 3.5 หมื่นล้านบาท โดยดัชนีทำจุดสูงสุดที่ 1,399 และจุดต่ำสุดที่ 1,310 จุด….ปิดไม่สวย ปิดต่ำ!
“สถานการณ์ปัจจุบัน” SET Index ภาพรายเดือนปิดใกล้ low ของปี 2024 (ดัชนีเคยลงไปทำจุดต่ำสุดที่ 1.273 จุด) จ่อหลุดเส้น EMA 200 month ขณะที่ RSI เริ่มตัดเส้น signal ลง! จับตาเดือนนี้ ดัชนีถอยไม่ได้อีกแล้ว หลุดโซนรับ หลุดเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว ควรต้องรีบดึงกลับขึ้นมาให้ได้โดยเร็ว สรุป: SET month เดือนก.พ. โซนรับ 1,270-1,300 จุด ถือเป็น “ป้อมปราการด่านสุดท้าย”
”ปัจจัยสำคัญ” ในประเทศจับตา GDP Q4/24 จะประกาศช่วงกลางเดือนก.พ. และมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย การบริโภค ส่วนปัจจัยต่างประเทศ ติดตามผลกระทบจากมาตรการตั้งกำแพงภาษีของสหรัฐฯ


กลยุทธ์เทคนิค: วิธีสแกนหุ้น เน้น selective เป็นรายตัว โดยเลือกหุ้นโครงสร้างแกร่ง โมเมนตัมยังอยู่ในรอบขาขึ้น uptrend หุ้นแนะนำประจำเดือน…BUY “KBANK, INTUCH และ BE8

 

What to watch
ทรัมป์เปิดเกมนโยบายขึ้นภาษีอย่างเป็นทางการ และให้เวลากลุ่มเป้าหมายแรกตัดสินใจถึงกลางสัปดาห์ แนะติดตามการตอบโต้ต่างๆ นอกจากนี้ ยังต้องติดตามถ้อยแถลงจาก ปธน.ทรัมป์ ในวาระต่างๆ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อบรรยากาศลงทุนได้ทั้งบวกและลบ
นโยบายรัฐบาลไทย ในการประชุม ครม. เช่น ความชัดเจนแจกเงินหมื่นเฟส 3, กองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อทำรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย, FETCO อาจเสนอคลังนำ LTF กลับมาเป็นต้น
การประชุม ธนาคารกลางอังกฤษ มีแนวโน้มลดดอกเบี้ย 0.25% ในวันที่ 6 ก.พ.
Earnings Previews และ Earnings result ของกลุ่ม Non-Bank
ประชุมโอเปก 3 ก.พ. มีแนวโน้มเพิ่มกำลังการผลิตรอบใหม่ เม.ย.นี้ ด้าน รมต.เศรษฐกิจซาอุฯ เผยการเพิ่มกำลังการผลิตเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับความเห็นของ ปธน.ทรัมป์ ที่อยากเห็นราคาพลังงานปรับลดลง

หุ้นแนะนำวันนี้
BBL หลบมาอยู่หุ้นธนาคารที่ปลอดภัยจากความเสี่ยงงบฯ และมีลุ้นปันผลต่อ รวมทั้ง Upside หากมีการขยับ Payout ขึ้นในอนาคต(S 153 R 158 SL 150)


รายงานพื้นฐานวันนี้

Wealth Insight
FDI ไทย: จุดเปลี่ยนเชิงโครงสร้างและผลกระทบจากการค้าโลก
แม้ FDI สุทธิของไทยยังเป็นบวก แต่ชะลอตัวตั้งแต่ปี 2022 สะท้อนการไหลออกของการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ไทยยังคงเป็นเป้าหมายสำคัญของ FDI โดยเฉพาะจากจีนในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ ขณะที่ FDI จากญี่ปุ่นลดลงจากการเปลี่ยนผ่านสู่ EV
ช่วง 9M24 ไทยได้รับอนุมัติ FDI 1,420 โครงการ สร้างงาน 148,250 ตำแหน่ง แต่เงินทุนไหลเข้าสุทธิหดตัว 16% YoY และสัดส่วน FDI/nominal GDP ใน 3Q24 ลดเหลือ 1.45% ต่ำกว่าหลายประเทศอาเซียน ต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นกดดันความสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น
เพื่อรักษาการเติบโตของ FDI ไทยต้องเร่งปรับโครงสร้างผ่านการพัฒนาทักษะแรงงาน โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่รองรับมาตรฐานการค้าโลก เช่น ภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำสากล (GMT) นอกจากนี้ รัฐควรสร้างสมดุลระหว่างการเปิดรับ FDI และการปกป้องธุรกิจในประเทศผ่านมาตรการ เช่น การใช้วัตถุดิบท้องถิ่นหรือการส่งเสริมการร่วมทุน เพื่อรักษาความสามารถแข่งขันและสร้างความยั่งยืนให้เศรษฐกิจไทย


Thai Market Strategy
ลดค่าไฟฟ้าหนุนกำไร SET ได้แค่ไหน?
ที่ผ่านมารัฐบาลกำลังเดินหน้าเพื่อลดค่าไฟฟ้า เบื้องต้น BLS ประเมินความเป็นไปได้ว่าสามารถลดค่าไฟได้จาก 4.15 บาท เหลือ 3.95 บาท (ราว 5%) โดยอาจปรับโครงสร้างหนี้ กฟผ.
สำหรับผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย หากค่าไฟลดลง 5% คาดว่าจะหนุนกำไร SET ได้ 0.3% แบ่งเป็น
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์สูงสุด ได้แก่ ค้าปลีก +2.2% (CPAXT +3.8%, BJC +3.1%, CPALL +2.9%, CRC +2.5%, CPN +0.8%), ICT +1.5% (TRUE +10.7%, ADVANC +0.8%), บรรจุภัณฑ์ +1.2%, เคมีภัณฑ์ +0.9%, ยานยนต์ +0.8%, อาหาร +0.6% (CPF +0.6%), ท่องเที่ยว +0.5% (MINT +0.8%, CENTEL +0.6%), ขนส่ง +0.5% (BTS +4.8%, BEM +1%)
กลุ่มที่ได้รับผลกระทบเชิงลบ สาธารณูปโภค -5.8% (BGRIM -19%, GPSC -18%, GULF -1.7%) และนิคมอุตสาหกรรม -1.6% (AMATA -2.3%, WHA -1.3%)
นอกจากนี้ ในมุมกลยุทธ์การลงทุนในภาพรวม เราใช้ Composite Growth to Revision Matrix (CGR) เปรียบเทียบหุ้นที่คาดกำไรเติบโตดี กับแนวโน้มการปรับประมาณการกำไร (earnings revision) และ Valuations
Strategist view: หุ้นที่มี CGR ที่ดี มี potential upside จากการลดค่าไฟ ได้แก่ การบริโภค: CRC, CPN, CPALL, BJC และ ขนส่ง BEM

 

TIDLOR
เงินติดล้อ
จุดเริ่มต้นรอบใหม่
เราคาดคุณภาพสินทรัพย์ของ TIDLOR จะฟื้นตัว จากการปรับกลยุทธ์ภายในของบริษัทเอง โดยเราเห็นสัญญาณบวก 2 เรื่อง จาก
1) เราเห็น NPLs/loans ratio ของธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนของ TISCO ปรับลดลงใน 4Q24 ทำให้เราคาดว่าคุณภาพสินทรัพย์ของ TIDLOR จะฟื้นตัวใน 4Q24 ด้วยเช่นกัน เพราะเราไปศึกษาข้อมูลในอดีต พบว่า NPLs/loans ratio ของธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนของ TISCO มี Correlation กับ NPLs/loans ratio ของ TIDLOR อยู่ 53% และ
2) TIDLOR หันมาเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุก โดยเราไปศึกษาข้อมูลในอดีตพบว่า NPLs กับสินเชื่อของ TIDLOR มี correlation กันถึง 95% และหากมองลึกลงไปอีกก็พบว่า NPLs ในกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกกับสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกของ TIDLOR มี correlation กัน 76% ซึ่งก็แปลว่าคุณภาพสินทรัพย์ของ TIDLOR โดยปกติแล้วจะฟื้นตัวในช่วงที่คุณภาพสินทรัพย์ของธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนของ TISCO ฟื้นตัว และ/หรือ ในช่วงที่ TIDLOR มีการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
เราคาดกำไรสุทธิ 4Q24 เท่ากับ 1.04 พันล้านบาท (สูงกว่าที่คาดไว้เดิม 6%) เพิ่มขึ้น 16% YoY และ 5% QoQ มีปัจจัยสนับสนุนจากสินเชื่อเติบโตและ credit cost ลดลง ขณะที่คาดกำไรสุทธิ 1Q25 จะเติบโตต่อเนื่องอีก 5% YoY และ 11% QoQ หนุนจากสินเชื่อเติบโต
สำหรับแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2025 ของ TIDLOR จะเติบโต 12% YoY จากสินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะรายได้นายหน้าจากการขายประกันภัย
Fundamental view: เราแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 19 บาท


สรุปประเด็นจาก Quick take

3BBIF
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต สามบีบี
3BBIF ทำการปรับโครงสร้างหนี้
3BBIF กู้เงิน 5,450 ล้านบาท จาก SMBC เพื่อลดหนี้ BBL (เดิม 10,900 ล้านบาท) ทำให้หนี้รวมเหลือ BBL 5,450 ล้านบาท และ SMBC 5,450 ล้านบาท
View from fundamental: เราคาดว่า 3BBIF จะกลับมามีกำไรสะสมเป็นบวกภายในสิ้นปี 2025 และน่าจะสามารถจ่ายเงินปันผลปกติได้ในปี 2026 ยังคงคำแนะนำ "ถือ" เพื่อรับอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลราว 12% ต่อปี

CRC
เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น
SSSG ม.ค.2025 เติบโตแข็งแกร่ง
ธุรกิจเวียดนามผลักดัน SSSG 1-26 ม.ค.เด่น 11-13%SSS ช่วง 1-26 ม.ค.25 ของ CRC กลับมาโตเด่น 11-13% ฟื้นตัวจาก ธ.ค.24 ที่ลงเล็กน้อย เพราะเข้าเทศกาลตรุษเวียดนาม      
View from fundamental: เรามองบวกต่อ SSSG ช่วงม.ค.ที่ฟื้นตัวเด่นกว่ากลุ่มค้าปลีก หนุนจากธุรกิจอาหารในไทยและ ธุรกิจเวียดนามฟื้นแรง ทั้งนี้ ช่วงก.พ.หมดผลบวกตรุษจีน แต่เราเชื่อว่าอานิสงส์ easy
e-receipt เต็มเดือนในไทยจะผลักดัน SSS ของ CRC จะโตได้ จึงยังชอบ CRC มากสุดในกลุ่มค้าปลีก

KBANK
ธนาคารกสิกรไทย
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
KBANK จัดประชุมรอบนี้ เน้นธุรกิจ Arun AMC ที่จัดตั้งร่วมกับ BAM เพื่อบริหารหนี้เสียที่มีหลักประกันเป็นหลัก
View from fundamental: เราประเมินว่า KBANK จะมีช่องทางในการบริหารหนี้เสียมากขึ้น แต่การรับรู้ผลบวกจะไม่เร็วเหมือน JK AMC ที่เน้นบริหารหนี้เสียแบบไม่มีหลักประกัน โดยเรายังแนะนำซื้อ KBANK จากแนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ฟื้นตัวในปี 2025

PTTEP
ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
แนวโน้มกำไรหลัก 1Q25 เติบโต QoQ หนุนโดยราคาขายเฉลี่ยที่สูงขึ้น แนวโน้มปริมาณขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 500 -510KBOED ในปีนี้ (จาก 489KBOED) แต่คาดราคาขายก๊าซจะลดลงเป็น US$5.8/MMBTU
(จาก US$5.9/MMBTU)
View from fundamental: แนวโน้มกำไรที่แข็งแกร่งน่าจะช่วยหนุนราคาหุ้นได้ และราคาน้ำมันดิบอาจมี upside จากความเสี่ยงด้านอุปทานตึงตัว อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบอาจมี downside จากนโยบายการเพิ่มการผลิตของสหรัฐฯ


DOHOME VS GLOBAL
ดูโฮม - สยามโกลบอลเฮ้าส์
DOHOME-GLOBAL ปรับลงแรงเช้านี้ 6% /10%คาดกังวลกำลังซื้อฟื้นช้า
ราคาหุ้น DOHOME-GLOBAL ปรับลงแรงเช้านี้ ตามด้วย HMPRO ลง 2% เรายังไม่พบข่าวลบใหม่ในตลาด จึงให้น้ำหนักมาจากประเด็นเดิมกำลังซื้อกลุ่มสินค้า Home อ่อนแอ ประมาณการกำไรช่วงสั้นเสี่ยงถูกปรับลง
View from fundamental: เรายังมองลบต่อ SSSG กลุ่ม Home improvement ที่ฟื้นช้า ดังนั้น แม้ราคาหุ้นจะปรับลงมาแล้ว แต่ยังแนะนำเพียง HOLD โดยชอบสุดคือ DOHOME


วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ยืน 1200 จุด By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ในท้องทุ่งสีเขียว หุ้นไทยบวกยืน 1200 จุดได้อีกครั้ง ...

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้