TRADE WAR มาเร็ว และแรงกว่าที่คาด
ปธน.ทรัมป์ ลงนามคำสั่งเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจาก เม็กซิโก และ แคนาดา ในอัตรา 25% (เฉพาะนำมันดิบนำเข้าจากแคนาคา เก็บ 10%) ส่วนสินค้านำเข้าจากจีน เรียกเก็บภาษีเพิ่ม 10% ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ สงครามการค้ารอบใหม่ ที่เร็วกว่าที่คาดเป็นแรงกดดันต่อตลาดการเงิน โดยตลาดหุ้นพบว่า DJ FUTURE เช้านี้ปรับลดลงกว่า 500 จุด ขณะที่ ตลาดในภูมิภาคอย่างเกาหลี ญี่ปุ่น ปรับลดกว่า 2% ซึ่งตลาดหุ้นไทยที่มี ความเปราะบางอยู่แล้วน่าจะถูกดดันเช่นกัน ส่วนทิศทางดอกเบี้ย สงครามการค้าถูกมองว่าจะผลักเงินเฟ้อให้มีโอกาสกลับมาเพิ่มขึ้น ทำให้ โอกาสปรับลดดอกเบี้ยน้อยลงไป โดย FEDWATCH TOOL คาดปี 2568 ปรับลดดอกเบี้ย 1 ครั้ง ด้วยความน่าจะเป็นที่ต่ำกว่า 50% ภาวะดังกล่าว ทำให้การใช้นโยบายการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจยากขึ้น
แรงกดดันจาก TRADE WAR ที่เข้ามาในช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นบ้านเรา เปราะบางทำให้SET INDEX น่าจะถูกกดดันต่อ แนวรับวันนี้ 1307จุด แนว ต้าน 1325 จุด TOP PICK เลือก AP, BANPU และ COM7
TRADE WAR รอบใหม่เสี่ยงทำตลาดหุ้นผันผวนหนัก !!!
เสาร์ที่ผ่านมา ปธน. TRUMP ได้ลงนามคำสั่งเก็บภาษีนำเข้าจากเม็กซิโก-แคนาดาจีน โดยมีผลบังคับใช้ในวันอังคารที่4 ก.พ. 68รายละเอียดดังนี้
• เก็บภาษีนำเข้าสินค้า 10% จากจีน
• เก็บภาษีนำเข้าสินค้า 25% จากเม็กซิโก
• เก็บภาษีนำเข้าน้ำมันดิบ 10% จากแคนาดา
• เก็บภาษีนำเข้าสินค้าอื่นๆ 25% จากแคนาดา
ขณะที่ล่าสุดเม็กซิโกและจีน ได้ส่งสัญญาณว่าจะใช้มาตรการขึ้นภาษีตอบโต้กลับ สหรัฐฯ ส่วนแคนาดาได้ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้า 25% ตอบโต้สหรัฐฯ แล้ว โดยมี มูลค่า 105 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 40% ของการนำเข้าสินค้า จากสหรัฐฯ
หากพิจารณามูลค่าการค้า“เม็กซิโก-แคนาดา-จีน” กับสหรัฐฯ ในปี 2566 อยู่ที่ 2.05 ล้านล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 40% ของทั้งหมด อีกทั้ง สหรัฐฯ ขาด ดุลการค้าสูงสุดกับ 3 ประเทศนี้ทำให้ถูกตกเป็นเป้าหมายแรกๆ ในการตั้งกำแพงภาษี
สำหรับคาดการณ์ผลกระทบจากปรับขึ้นภาษีของ TRUMP BLOOMBERG ประเมิน ว่าจะส่งผลต่อการค้ามูลค่าประมาณ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็น 43% ของการ นำเข้าของสหรัฐฯ และเกือบ 5% ของ GDP ของสหรัฐฯ นอกจากนี้การดำเนินการนี้จะ เพิ่มอัตราภาษีเฉลี่ยของสหรัฐฯ จากระดับปัจจุบันที่ประมาณ 3% เป็น 10.7% ซึ่งจะ เป็นการช็อคด้านอุปทานที่สำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ส่วนการประมาณการของ FED ชี้ให้เห็นว่าภาษีเหล่านี้อาจลด GDP ลง 1.2% และเพิ่ม ดัชนีราคาการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประมาณ 0.7%
ในแง่มุมของตลาดการเงิน ความกังวล TRADE WAR รอบใหม่ กดดันตลาดหุ้นทั่ว โลกร่วงลงแรงเช้านี้ โดยดัชนี DOWN JONES FUTURES ปรับตัวลดลงไปมากว่า 530 จุด (-1.18%) รวมถึงตลาดหุ้นในแถบเอเชีย อย่างเช่นญี่ปุ่น -2.2%, เกาหลีใต้ - 2.4%, ไต้หวัน -3.2%
ฝ่ายวิจัยฯ แนะนำหุ้นหลบกำแพงภาษีทรัมป์ ในกลุ่มที่ได้ประโยชน์กระจายฐานการ ผลิต อาทิ WHA, AMATA, ROJNA, PIN เป็นต้น และกลุ่มที่มีธุรกิจในสหรัฐ IVL, BCPG, BANPU เป็นต้น
หนึ่งในปัจจัยช่วย SET คือ เศรษฐกิจไทยยังเติบโตดี
วันศุกร์ที่ผ่านมาโฆษกธปท. กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยโดยรวมในไตรมาสที่ 4 ปรับดีขึ้น จากไตรมาสก่อน ตามแรงขับเคลื่อนของกิจกรรมในภาคบริการและรายรับภาคการ ท่องเที่ยว รวมถึงรายจ่ายลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกสินค้า ไม่รวมทองคำอยู่ในระดับสูง โดยคาด GDP 4Q67 มีโอกาสโต 4.0%YOY ดังนั้นทำให้ GDP ตลอดปี 67 มีโอกาสโต 2.7%YOY
ขณะที่ในปี 68 โฆษกธปท. กล่าวว่ายังมีแรงส่งจากภาคท่องเที่ยวและบริการ ขณะที่การ ส่งออกสินค้าขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่ต้องติดตามผลกระทบจากความไม่แน่นอนของแนวนโยบายประเทศเศรษฐกิจหลัก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐว่า จะมีผลต่อเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯจึงคาดว่า ธปท.อาจยังไม่รีบ ลดดอกเบี้ยในช่วงนี้ หรือ ไตรมาส 1Q68 (รายละเอียดเพิ่มเติมอยู่ในบทวิเคราะห์ MARKET TALK 31 ม.ค.68)
ประเด็นดังกล่าว คาดเป็นตัวพยุง SET INDEX ได้บ้างหลังวันนี้น่าจะรับแรงกระแทก TRADE WAR 2.0 ส่วนหุ้นที่ได้ประโยชน์จากประเด็นนี้ คงหนีไม่พ้น กลุ่ม ธพ. (KBANK BBL KTB) กลุ่มอุปโภค-บริโภค(CRC CPN HMPRO BJC) เป็นต้น
สรุป เศรษฐกิจไทยในปี 2568 มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามแต่ละส่วนประกอบ ของ GDP ซึ่งดันมาจากความคาดหวังการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของ รัฐบาลไทยในระยะถัดไป แต่มีปัจจัยกดดัน คือ TRADE WAR 2.0 ที่มีส่วนกดดันภาค การส่งออกของไทยได้
ปัจจัยรุมเร้ากด SET INDEX ให้ UPSIDE เปิดกว้าง
ประเด็นสงครามทางการค้ายุค TRUMP 2.0 กลับมาเร็ว กดดันให้ตลาดหุ้นโลกเกิด ความปั่นป่วน ผันผวนและมีโอกาสลงมาลึกได้
ฝ่ายวัจัยฯ ทำการประเมิน DOWNSIDE ของ SET INDEX เวลาเจอประเด็นกดดัน ตลาดหนักๆ พบว่า ปกติตลาดหุ้นไทยที่ลงมาลึกจนมี UPSIDE ในช่วง 12 เดือน ข้างหน้า กว้างสูงเกินระดับ +1 SD หรือราว 21.6% (TARGET SET 68F จาก BLOOMBERG 1582 จุด) แล้ว SET INDEX จะเริ่มย่อตัวน้อยลง โดยระดับ UPSIDE 1SD ของ SET INDEX ปัจจุบันอยู่ที่ 1301 จุด
ดังนั้นหาก SET INDEX ถูกปัจจัยภายนอกกดดันจนลงมาต่ำกว่า 1300 จุด แล้วดัชนี เป้าหมายยังไม่มีการแปลงอย่างมีนัยฯ คาดการย่อตัวน่าจะเริ่มชะลอลง และน่าจะเป็น โอกาสสำหรับนักลงทุนรับความเสี่ยงได้ทยอยซื้อสะสมเพื่อลงทุนในระยะกลางถึงยาว
Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์