Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.กรุงศรี : KSS Daily Strategy

346

 

"Trade Tension Play"

 

KSS Daily Strategy : คาด SET วันนี้ "ผันผวน" ต้าน 1323/1333 จุด รับ 1305/1300 จุด ดัชนี S&P500 ปรับตัวลง -0.5% หลัง ปธน. สหรัฐฯ เริ่มกำแพงภาษีนำเข้ากับ เม็กซิโก แคนาดาที่ 25% จีนที่ 10% ขณะที่ทุกประเทศส่งสัญญาณจะตอบโต้ทันที ทำให้ตลาดกังวลผลกระทบต่อเงินเฟ้อและเศรษฐกิจ ล่าสุด US Bond Yield 10 ปีขยับขึ้น +5 bps สู่ 4.56% ทำให้บรรยากาศลงทุนเป็นลบ แต่ประเมินนโยบายสงครามการค้าปี 2025F ต่อจีนน่าจะค่อยเป็นค่อยไป ทำให้กระทบต่อเงินเฟ้อช่วงแรกไม่มาก และคาดว่าคุณ Trump จะเน้น Selective ประเทศที่ได้ดุลการค้าเพิ่มจากสหรัฐฯสูง vs Trump 1.0 อาทิ ยุโรป, เวียดนาม, เกาหลี และไต้หวัน ก่อน น่าจะเป็นบวกต่อไทย ในระยะกลาง-ยาว ได้ประโยชน์ทางบวกจากการย้ายฐาน เพิ่ม FDI ระยะถัดไป ผสาน หลายหุ้น Big Cap ที่ปรับตัวลงแรงจากความกังวลต่างๆระดับหนึ่งแล้ว แม้วันนี้ประเมินตลาดผันผวน แต่กลุ่มที่ยังเด่น หุ้นธนาคาร นิคม (Trade War กลับมาหนุน) หุ้น Domestic เน้นท่องเที่ยว (นักท่องเที่ยว ม.ค. 25 = Pre-COVID) Defensive สื่อสาร วันนี้แนะนำ AMATA, WHA, IVL

 

 

Daily outlook: "ผันผวน" ต้าน 1323/1333 จุด รับ 1305/1300 จุด

What happened around the world?

(*/-)US Stocks: เมื่อวันศุกร์ตลาดหุ้นสหรัฐพลิกปิดลบ ดัชนี Dow jones -0.75% d-d, S&P 500- 0.50% d-d และ Nasdaq -0.28% d-d หากอิงบนดัชนี S&P 500 ปรับลงในทุก Sector นำลงโดยกลุ่ม Technology (-0.36%), Energy (-2.7%), Healthcare (-0.34%) และกลุ่ม Financials (-0.51%) หุ้นที่ปรับลงแรงกดดัน คือ Nvidia (-3.67%) กังวลกระแส deepseek ทำให้ Nivdia เสียความได้เปรียบในการแข่งขัน, Apple (-0.67%) ผิดหวังยอดยาย iphone ในจีนหดตัว อย่างไรก็ตามหุ้น Google, Amazon และ Meta ปรับขึ้นคาดจะได้ประโยชน์จากต้นทุนพัฒนา Ai ลดลง

(*) US Econ : เงินเฟ้อสหรัฐ (PCE Price Index) เดือน ม.ค. เป็นไปตามคาด โดย Headline PCE เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 2.6% จาก 2.4% ในเดือน ธ.ค. แต่เป็นไปตาม Consensus คาดที่ 2.6% (+0.3%mom Vs Prev 0.1% & 0.3% Cons.) ส่วน Core PCE ทรงตัวที่ 2.8% เท่ากับเดือน ธ.ค. และเท่ากับที่ Consensus คาด (+0.2%mom Vs Prev 0.1% & 0.2% Cons.) Core PCE เป็นตัวเลขที่ FED ให้ความสำคัญตัวเลขดังกล่าวไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมบ่งชี้ได้ว่าในสถานการณ์ปัจจุบันแรงกดดันจากเงินเฟ้ออยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมได้เปิดทางให้ FED ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ตามที่ตลาดประเมิน ล่าสุด Fedwatch Tool คงคาดการณ์เฟดลดดอกเบี้ยปีนี้ 2 ครั้ง, ครั้งแรก มิ.ย. แต่ขยับครั้งที่ 2 เร็วขึ้นจากเดิม ธ.ค. เป็น ต.ค.

(*/-) US – Maxico Canada Chana Tariff : ปธน. Trump ยืนยันว่าจะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากแคนาดาและเม็กซิโกในอัตรา 25% ตั้งแต่ 1 ก.พ.2025 และจีน ในอัตรา 10% ขณะที่จีนประกาศขึ้นภาษีตอบโต้ในระดับเดียวกันที่ 10% และเตรียมฟ้อง WTO ทันที รวมถึงแคนาดา เม็กซิโก ที่ประกาศตอบโต้เก็บภาษีสหรัฐฯในระดับเดียวกันทันทีเช่นกัน ทั้งนี้ ปัจจุบันยอดการค้า การส่งออกระหว่างกัน สรุปได้ดังนี้

• แคนาดา เม็กซิโก จีน ส่งออกไปสหรัฐฯราว 75%, 80% และ 15% ของยอดส่งออกรวม สินค้าหลักที่แคนาดาส่งไปสหรัฐฯ คือ สินค้าพลังงาน ยานยนต์ และเครื่องจักร สินค้าหลักที่เม็กซิโกส่งออกไปสหรัฐฯ คือ ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ และเครื่องจักร นอกจากนี้ ปัจจุบัน แคนาดาและเม็กซิโกส่งออก PET ~220ktpa (4-5% ของการบริโภคในสหรัฐฯ ส่วนจีนสินค้าส่งออกหลักไปสหรัฐฯ คือ ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ของเล่น เสื้อผ้า และเฟอร์นิเจอร์

• ส่วนสหรัฐฯ ส่งออกไปแคนาดา เม็กซิโก จีนราว 18%, 16% และ 8% ของยอดส่งออกรวม สินค้าหลักที่ส่งไปแคนาดา คือ ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องจักร และพลังงาน สินค้าหลักที่ส่งออกไปเม็กซิโก คือ เครื่องจักร ยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ สินค้าหลักที่ส่งออกไปจีน คือ สินค้าเกษตร (ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์) เครื่องจักร+อุปกรณ์อุตสาหกรรม

• ส่วนไทยส่งออกไปแคนาดา เม็กซิโกต่ำกว่า 2% ของยอดส่งออก ขณะที่ส่งออกไปจีน 14% สหรัฐฯ 12%

ประเมินกระแส Trade War จะกลับมามีน้ำหนักจิตวิทยาลบตลาด เพราะสร้างความเสี่ยงเงินเฟ้อจากราคาสินค้าแพงขึ้นและผลกระทบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การใช้นโยบายค่อยเป็นค่อยไป แม้อาจสร้างแรงกดดัน Bond Yield ปรับขึ้นได้บ้าง แต่ไม่น่าจะสูงกว่ากรอบ 4.8-4.9% ซึ่งเป็นจุดที่ตลาดกังวลคุณ Trump จะใช้นโยบายเร่ง+หว่านแหตามที่หาเสียงไว้ ทั้งนี้ เนื่องจากลดความเสี่ยงกระทบต่อเงินเฟ้อและเศรษฐกิจในช่วงที่สหรัฐฯยังไม่มีมาตรการทางบวกหนุน คาดคุณ Trump จะเน้น Selective ประเทศที่ได้ดุลการค้าเพิ่มจากสหรัฐฯสูง vs Trump 1.0 อาทิ ยุโรป, เวียดนาม ส่วนกลุ่มสินค้าหลักที่จะเห็นการใช้นโยบายกีดกันในระลอกแรก แม้ยังต้องรอความชัดเจน แต่คาดอยู่ที่ฝั่งภาคผลิตเป็นหลัก โดยน่าจะอยู่ในกลุ่มสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์/ยานยนต์ รวมถึงชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์

ทั้งนี้ ในส่วนผลกระทบทางเศรษฐกิจ Krungsri Research ประเมิน ในกรณีที่สหรัฐฯปรับเพิ่มฝั่งเดียว คาดกระทบ GDP สหรัฐฯและจีน -0.34% และ -0.08% ทำให้กรณีตอบโต้น่าจะเสี่ยงกระทบเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ประเมินจะผลบวกต่อ GDP ไทย +0.05% (หากไม่ปรับเพิ่มภาษีไทย) โดยเราประเมินไทยมีโอกาสจะได้ยอดส่งออกทดแทนจากการทำสงครามการค้าในกลุ่มประเทศกรณีเม็กซิโก สหรัฐฯ อาทิ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์+ปิโตรเคมี ยกเว้นชิ้นส่วนที่อาจจะได้รับผลกระทบทั้งห่วงโซ่ผลิตประเทศหลักๆ ที่เชื่อมโยงจีนและสหรัฐฯสูง ทั้งนี้ เนื่องจากเราประเมินความตึงเครียดของจีน - สหรัฐฯ มีโอกาสก่อให้ภาพความกังวลเหมือนรอบ Trump 1.0 โดยประเทศที่มีความเสี่ยงน่าจะอยู่ฝั่งเอเชียเหนือ อาทิ ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ ที่บจ.ในตลาดมีรายได้เชื่อมโยงสหรัฐฯ - จีนสูง ส่วนไทยอยู่ในกลุ่มประเทศกระทบจำกัดเช่นเดียวหลายประเทศในอาเซียน เพราะยอดรายได้ บจ. ในดัชนี MSCI ไปยังสหรัฐฯและจีนต่ำกว่า 5%

ขณะที่ผลกระทบเศรษฐกิจไทยโดยรวมที่น่าจะเกิดขึ้นยอดส่งออกภาพรวมตามปริมาณการค้าโลกวงกว้างที่ลดลง แต่ชดเชยจากยอดลงทุนทางตรงเพิ่มขึ้นจาก การย้ายฐานการผลิตสู่ไทยในฐานะที่มีความเป็นกลางโดยรวม เราประเมินการทำสงครามการค้า Trump 2.0 ระลอกแรกมีน้ำหนัก SET ผันผวนสั้นๆ จาก Bond Yield ที่สลับมาแกว่งขึ้น ก่อนฟื้นตัวจากผลต่อเศรษฐกิจเป็นกลาง – บวกอ่อนๆต่อไทย ขณะที่ในกลุ่มสินค้าที่ได้ประโยชน์คาดได้จิตวิทยาบวก คือ ยานยนต์ ส่วนเคมีภัณฑ์+ปิโตรเคมี เป็นบวกต่อ IVL ส่วนการย้ายฐานที่มีโอกาสเกิดขึ้นหนุนหุ้นนิคม WHA AMATA เด่น

(-) Tech war: ผู้ว่าการรัฐเทกซัสจากพรรครีพับลิกัน ลงนามในคำสั่งผู้บริหารสั่งห้ามการใช้งานแอป DeepSeek และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย "เสี่ยวหงชู" บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นทรัพย์สินของหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น อ้างแอปเหล่านี้ อาจแทรกซึมระบบโครงสร้างพื้นฐานของรัฐและรวบรวมข้อมูลของชาวอเมริกัน ในขณะเดียวกัน โดนัล ทรัมป์ ได้หารือกับ CEO ของ NVIDIA เพื่อหาแนวทางจำกัดชิปของ NVIDIA ไปยังประเทศจีน เราประเมินเป็นลบเพราะประเด็นนี้จะยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์ความขัดแย้งทางการค้าของ 2 ประเทศที่ย่ำแย่อยู่แล้ว นอกจากนั้นยังกระทบถึงยอดขายชิปของ NVIDIA และชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ในห่วงโซ่อุปทานที่คาดว่าจะมีดีมานด์ลดลงตามไปด้วย นับเป็นจิตวิทยาลบต่อหุ้นในกลุ่ม Tech และ อิเล็กทรอนิกส์ของบ้านเรา (DELTA, CCET) อย่างไรก็ดีความขัดแย้งการค้าที่รุนแรงจะเร่งให้กระแสย้ายฐานผลิตเร็วขึ้นเป็นบวกต่อกลุ่มนิคมฯ (AMATA, WHA)

(*) OPEC Meeting : 3 ก.พ. เวลา 20.00 น.ตามเวลาไทย ติดตามจัดการประชุมทบทวนนโยบายการผลิตน้ำมัน(JMMC) แหล่งข่าวจากกลุ่ม OPEC+ เปิดเผยว่า OPEC+ ไม่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายการผลิตน้ำมันตามข้อเรียกร้องของประธานาธิบดี Trump ที่ต้องการให้ซาอุดีอาระเบียและโอเปกทำการปรับลดราคาน้ำมัน เป็นจิตวิทยาบวกอ่อนๆต่อราคาน้ำมัน KSS ประเมินราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบดูไบ 1Q25F ทรงตัว q-q ความต้องการใช้น้ำมันของจีนและเอเชียที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ supply น้ำมันดิบจาก U.S. ยังทรงตัว ช่วยหนุนราคาน้ำมันดิบให้ทรงตัวได้ q-q โดยรวมมองกลุ่มพลังงาน เน้น PTT แนวรับ 31.25 Cut loss < 30.25, PTTEP แนวรับ 125.0 Cut loss < 121.5

(+/-) India Econ: อินเดียแถลงงบประมาณประจำปี 2025/2026 ตั้งเป้าลดการใช้จ่ายและการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐให้เหลือ 4.8% ในปีนี้ และ 4.4% ในปีหน้าเทียบกับ 5.6% ในปีที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงด้านเครดิตของประเทศ อย่างไรก็ตามเพื่อชดเชยการลดการใช้จ่ายของรัฐ อินเดียประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายลดหย่อนภาษีมูลค่า 1 ล้านล้านรูปี (11.5 พันล้านดอลลาร์) เป็นการเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน (ผู้มีเงินได้ต่อปีไม่เกิน 1.2 ล้านรูปี จะได้รับยกเว้นภาษี จากเดิมกำหนดไว้ที่ 700,000 รูปีต่อปี) นอกจากนี้ยังประกาศลดภาษีนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ อาทิ แร่ธาติต่างๆ (โคบอลต์, สังกะสี และตะกั่ว) รวมถึงการลดภาษีนำเข้าเครื่องจักรการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์และมือถือ เริ่มมีผลตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา มีเป้าหมายเพื่อดึงการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะจีน ซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามการค้ากับสหรัฐ เรามองเป็นบวกต่อเศรษฐกิจของอินเดียและยังช่วยลดผลกระทบจาก Trade war ให้กับจีนและภูมิภาคจากการเปิดตลาดและการลงทุนจากสหรัฐเข้าสู่อินเดียมากขึ้น

(*) To monitors : ฝั่งจีน 3 ก.พ. ติดตาม Caixin PMI ภาคการผลิต เดือน ม.ค. Prev. 50.5 จุด 5 ก.พ. ติดตาม PMI ภาคบริการ ม.ค. สำนัก Caixin คาด 52.5 จุด vs prev. 52.2 จุด ฝั่งสหรัฐ 3 ก.พ. น PMI ภาคผลิต (ISM) ม.ค. 25 คาด 49.3 จุด vs เท่าprev. , 5 ก.พ. PMI ภาคบริการ (ISM) ตลาดคาด 54.3 จุด vs prev. 54.1 จุด, 5 ก.พ. ติดตามการจ้างงาน ม.ค. สำนัก ADP คาด 1.53 แสนราย vs prev. 1.22 แสนราย, 7 ก.พ. ติดตามตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ม.ค. คาด 1.5 แสนราย vs prev. 2.56 แสนราย และอัตราการว่างงาน ม.ค. คาด 4.1% เท่าเดือนก่อน ฝั่งยุโรป: 3 ก.พ. เงินเฟ้อ CPI ม.ค. คาด -0.3%m-m vs prev. +0.4%m-m, เงินเฟ้อพื้นฐาน ม.ค. คาด +2.6%y-y vs prev. +2.7%y-y

(*) US Bond Yields & Dollar : Bond yield สหรัฐ แกว่งตัวออกข้าง อายุ 2 ปีปรับขึ้น +4 bps อยู่ที่ 4.22% และอายุ 10 ปี +5 bps ปิดที่ 4.56% (หากอิงสถิติ US Bond yields 10 ปี และ Thai Bond yield 10 ปี มีค่าสหสัมพันธ์สูงราว 0.6 หรือไปทางเดียวกัน) ส่วน Dollar Index แกว่งตัวแข็งค่า 108.3 จุด

(*/-)Oil : ราคาน้ำมันดิบในแนวโน้มขาลง น้ำมันดิบ Brent -0.21%d-d ปิดที่ USD 75.7/barrel น้ำมันดิบ West Texas -0.2%d-d ปิดที่ USD 72.53/barrel

(*) To monitors: วันนี้จีน (Caixin), ยุโรป และ สหรัฐ(ISM) รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน ม.ค., ยุโรปรายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ม.ค. (ตัวเลขเบื้องต้น), OPEC Meeting, วันอังคาร สหรัฐขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน, เม็กซิโก และ แคนนาดา, วันพุธ จีน (Caixin), ยุโรป และ สหรัฐ รายงานดัชนี PMI ภาคบริการเดือน ม.ค., วันพฤหัสบดี อังกฤษมี BoE Meeting และวันศุกร์สหรัฐรายงานตัวเลข Nonfarm payrolls และ Unemployment rate เดือน ม.ค.

 

What happened in Thailand?

(-) SET Index : SET Index วันทำการล่าสุด ปรับตัวลดลงแรง -21.14 จุด หรือ -1.58% ปิดที่ 1314.5 จุด กลุ่มถ่วง คือ ค้าปลีก (CPALL, CPAXT) หุ้นปรับลงรับข่าว CP group ถูกทาบทามให้ซื้อร่วมลงทุน Seven&I Holdings (7-11 ญี่ปุ่น) กลุ่มชิ้นส่วน (DELTA) ยังถูกลดสถานะต่อเนื่องตามความไม่แน่นอน Outlook หุ้นเทคโนโลยี จากกรณี Deepseek กลุ่มประคอง ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก

(-) Flows: เงินทุนต่างชาติวันทำการล่าสุด เงินไหลออก ขายหุ้น -84.4 ล้านเหรียญฯ ขายพันธบัตร -273 ล้านเหรียญฯ TFEX Net Short -7,159 สัญญา เงินบาทอ่อนค่าสู่บริเวณ 34.0+/- บาท

(+) TH Tourism: กระแสการท่องเที่ยวไทยช่วงต้นปี 2025 เป็นบวก อิงข้อมูลสำนักตรวจคนเมืองสิ้นสุด 31 ม.ค. 2025 นักท่องเที่ยวอยู่ที่ 1.38 แสนคน หนุนทั้งเดือน ม.ค. 25 แตะระดับ 3.71 ล้านคน ใกล้เคียงระดับ Pre-COVID (ม.ค. 19) แม้ส่วนหนึ่งมาจากอานิสงส์เทศกาลตรุษจีนช่วงท้ายเดือน แต่อิงกระแสช่วง ก.พ. 25 เราประเมินภาพบวกต่อ โดยเฉพาะอานิสงส์ซีรี่ยส์ The White Lotus ซีซั่น 3 ที่เข้ามาถ่ายทำในไทย ที่เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี ที่จะเริ่มออกอากาศทาง HBO วันที่ 16 ก.พ. อิงผลบวกของสถานที่ถ่ายทำ ซีซั่น 1 และ 2 ที่ฮาวายและเกาะชิชิลี คาดนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นราว 20% จากกระแสดังกล่าว ประเมินหนุน BA ที่มีฐานธุรกิจทีสมุยมากสุด ส่วนตัวเลือกรอง ERW ที่มีโรงแรมในไทยกว่า 90% ของรายได้

(*) BOT Econ Report Dec 24: BOT รายงานภาวะเศรษฐกิจรายเดือน ธ.ค. 24 ชะลอตัวลง m-m ตามผลกระทบภาคผลิต และการบริโภคสินค้าไม่คงทน หลังผ่านช่วงมาตรการ Digital Wallet ชุดแรก แต่จุดที่ยังบวก คือ ภาคท่องเที่ยวขยายตัว การบริโภคเอกชนด้านอื่นๆ ดีขึ้น การลงทุนภาคเอกชนทรงตัว เราประเมินผลกระทบภาคผลิตหลักยังน่าจะมาจากส่วนภาคยานยนต์ที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ส่วนการบริโภคเอกชน คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้น หลังมาตรการรัฐฯยังออกมาต่อเนื่องช่วงปลายปี 24 - ต้นปี 25 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนเป็นจุดที่เราแนะนำจับตา โดยรวมเราคาดเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว หนุนหุ้น Domestic โดยเฉพาะธนาคาร เน้น KBANK, KTB, SCB และหุ้นท่องเที่ยว โดยหุ้น Big Cap ที่ยังมีความผันผวนจากกระแสเงินทุน อาทิ AOT วางกลยุทธ์ตั้งรับ ส่วนหุ้นที่อยู่ในโซนฐาน ERW สะสมเพื่อรอภาพบวกช่วง 1Q25

(*/+) Current Accounts: ดุลบัญชีเดินสะพัดไทย ธ.ค. 24 อยู่ที่ 2.9 พันล้านเหรียญฯ เร่งขึ้นจาก prev. ที่ 2.0 พันล้านเหรียญฯ โดยรวมบ่งชี้ภาพเชิงบวกต่อแนวโน้ม GDP งวด 4Q24 ขึ้นทำจุดสูงสุดของปีตามที่ตลาดประเมิน

(*) To monitor: สัปดาห์นี้ปัจจัยภายในติดตาม

1.) 4 ก.พ. ติดตามการประชุม ครม. และรายงานนักท่องเที่ยวต่างชาติรายสัปดาห์

2.) 5 ก.พ. เงินเฟ้อ CPI ม.ค. 25 เงินเฟ้อทั่วไป ไม่มีคาด vs prev. +1.2%y-y, +0.18%m-m เงินเฟ้อพื้นฐาน ไม่มีคาด vs prev. +0.79%y-y

3.) 7-13 ก.พ. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.ค. 25 ไม่มีคาด vs prev. 57.9 จุด

4.) เข้าสู่ช่วงรายงานกำไรกลุ่ม Real Sector งวด 4Q24 ทั้งนี้ หุ้นหลักๆ ที่จะรายงานกำไร ได้แก่ ADVANC, THCOM, OKJ

 

Daily Strategy : WHA, AMATA, IVL

ระยะสั้น วันนี้มองตลาดหุ้นไทยวันนี้ "ผันผวน" แม้การปรับเพิ่มภาษีนำเข้าสหรัฐฯ กับ แคนาดา เม็กซิโก ที่ 25% เท่าๆ กัน และจีนที่ 10% แต่การตอบโต้ของทุกประเทศที่ส่งสัญญาณทันที ทำให้ตลาดกังวลการทวีความรุนแรงของสงครามการค้าเพิ่มขึ้น ทิศทางดังกล่าวถือเป็นบวกต่อหุ้นในกลุ่มนิคม ที่ลุ้น Upside ของ FDI ที่เร่งขึ้น รวมถึงกลุ่มธนาคารที่มีโอกาสได้ประโยชน์และเม็ดเงินลงทุนที่เร่งขึ้น และกลุ่มที่มีโอกาสได้ประโยชน์ยอดขายดีขึ้น อาทิ IVL ฝั่งปิโตรเคมี ส่วนภายในกลุ่มที่ประคองตัวได้ดีน่าจะต้องปัจจัยหนุนชัดเจน อาทิ ท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยว ม.ค. 25 กลับสู่ระดับ Pre-COVID แล้ว นอกจากนี้ น่าจะอยู่ฝั่งหุ้น Defensive อาทิ สื่อสาร

 

1) หุ้นในธีมประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่การเป็นหนึ่งในศูนย์กลาง Infrastructure Technology ของภูมิภาค (WHA, GULF, GPSC, STPI, DELTA ADVANC, TRUE, INSET, BE8, BBIK)

2) หุ้นในธีม Trump 2.0 (AMATA, WHA, PTT, PTTEP, CPF, SCB, KBANK, KTB, BJC, HMPRO, ADVANC, GULF, GPSC)

3) หุ้นภาคบริการได้ประโยชน์มาตรกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มไวขึ้นของรัฐบาลใหม่ ผสาน ท่องเที่ยว การผลักดัน Entertainment Complex คาดเป็นนโยบายหลัก หนุน บริโภค ท่องเที่ยว โรงแรม ร.พ. (AOT, BTS, VGI, BJC, STECON, ERW, BA, MBK)

4) กลุ่มได้ประโยชน์จีนกระตุ้นเศรษฐกิจ (IVL, AOT, AU, PTTGC, SCC, CPALL, BJC)

5) กลุ่มได้ประโยชน์ที่วงจรดอกเบี้ยพลิกเป็นขาลงต่อในปี 2025 (GULF, BA, AAV, MTC, AEONTS, TRUE, CPALL, BJC)

6) กลุ่มที่คาดรายงานกำไร 4Q24F ออกมาดี ขยายตัว y-y q-q (ADVANC, AMATA, BTS, ERW, CRC, HMPRO , TRUE, OKJ)

7) กลุ่มที่คาดมีโอกาสซื้อหุ้นคืน (PTT , SCB , KBANK , KTB , BBL , PTTGC , TOP BCP)

 

• 2025F Stock Picks : ADVANC, AWC, BJC, BTS, CPALL, HMPRO, IVL, KBANK, KTB, TRUE Mid-Small Cap Play : INSET, JMT, MALEE, MOSHI

Tactical & Investment Idea

 

Research Highlight

 

Strategy Update : โอกาสลงทุนจากกระแสหุ้นทุนซื้อคืน (Treasury Stocks)

· กระแสการซื้อหุ้นคืนรายบริษัท (Treasury Stocks) ของตลาดหุ้นไทย นับจากนี้มีแนวโน้มคึกคักขึ้น โดยเฉพาะฝั่งหุ้น Big-Mid Cap หลัง TTB นำร่องประกาศซื้อคืน 3 ปีปีละ 7.0 พันล้านบาท กรอบวงเงินรวม 2.1 หมื่นล้านบาท ผสาน SET Index ระดับดัชนีปัจจุบันอยู่ในโซนลงทุนดึงดูดเม็ดเงินลงทุนระยะกลาง-ยาว

· ทีมกลยุทธ์ ประเมินจากข้อเสนอแนะอดีตนายกฯ ในงานสัมมนาล่าสุด 1 ในแนวทางที่ช่วยเรียกคืนความเชื่อมั่นตลาดคือการซื้อหุ้นคืน(Treasury Stock) KSS ทำการคัดเลือกหุ้นที่มีโอกาสเห็นการประกาศซื้อหุ้นคืน (Treasury Stock) ในระยะถัดไป โดยใช้เกณฑ์

1.)เป็นหุ้น Undervalue ที่ซื้อขายต่ำมูลค่าทางบัญชี หรือมี PBV ต่ำกว่า 1.0 เท่า คือ

2.) มีสภาพคล่องมากพอซื้อคืน > 5.0% ของมูลค่าตลาดหุ้น (Market Cap) และมีสภาพคล่องเข้าเกณฑ์ของตลาดฯ 3.) มีสภาพคล่องเพียงพอชำระหนี้ครบกำหนดในอีก 1 ปี (vs ตลาดกำหนด6 เดือน)

4.)มีกำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรรในงบเดี่ยวเพียงพอรองรับการซื้อคืน

· กลยุทธ์การลงทุน : แนะนำลงทุนในหุ้น Theme "Treasury Stock Plays" โดยเลือกหุ้นที่มีศักยภาพ และผ่านเข้าเกณฑ์ดังกล่าวข่าวต้น และมีปัจจัยหนุนอุตสาหกรรม พบว่ามีหุ้น Big Cap หลักๆ ในกลุ่มพลังงาน ธนาคาร ปิโตรเคมีที่มีโอกาสเห็นการซื้อคืนระยะถัดไป อาทิ PTT, SCB, KBANK, KTB , BBL, PTTGC, TOP, BCP

Strategist Comment: Deepseek

กระแสข่าว AI Application จากประเทศจีน "Deepseek" ที่ทำงานได้ใกล้เคียงผู้นำตลาด โดยไม่จำเป็นต้องใช้ชิปประมวลผลสูง ทำให้ต้นทุนพัฒนาต่ำกว่า

โดยรวมประเมินนำมาสู่โอกาสเห็นภาพ AI Adoption ทั่วโลกเร่งขึ้น แต่สร้างความเสี่ยงหุ้น Semiconductor โลกที่จำหน่ายชิปประมวลผลระดับสูงที่อาจมีผลกระทบต่อยอดขาย จึงน่าจะเป็นจิตวิทยาลบต่อหุ้นใน 1.) กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไทย ให้เกิดภาพชะลอลงทุนระยะสั้น อย่างไรก็ตาม KSS ประเมินผลกระทบจำกัด เพราะบริษัทชิ้นส่วนไทยไม่ได้มีสินค้าหรือรายได้ชิปประมวลผลสูง อาทิ กรณี DELTA เน้นจำหน่าย Power Supply ส่วนอีกกลุ่มที่อาจจะเห็นการชะลอลงทุน คือ 2.) กลุ่มโรงไฟฟ้า อาจจะมีความกังวลการใช้ไฟฟ้าต่ำลงตามรูปแบบชิปประมวลผลสูงลดลง อย่างไรก็ตาม ภาพบวกที่ AI Adoption จะเพิ่มขึ้นหนุนความต้องการโรงไฟฟ้ารวมถึงอุปกรณ์ Power Supply ในท้ายที่สุดอยู่ดี กลยุทธ์รอตั้งรับเมื่อหุ้นอ่อนตัวรับความกังวล

ขณะที่กลุ่มคาดได้ประโยชน์จากกรณีดังกล่าว คือ กลุ่มที่ผู้ใช้งาน AI ที่มีทางเลือกมากขึ้น ต้นทุนลดลง คาดนำมาสู่ปริมาณการใช้ข้อมูลในโครงข่ายโทรคมนาคมเพิ่มขึ้นก้าวกระโดด ในส่วนกลุ่มสื่อสาร เน้น ADVANC และกลุ่ม Digital Tech Consult ที่ปริมาณงานที่ปรึกษาดิจิตอลจะเพิ่มขึ้นตาม AI Adoption เน้น BE8, BBIK

Strategy Update: MSCI Rebalance

MSCI Rebalance รอบเดือนก.พ. จะประกาศรายชื่อวันที่ 11 ก.พ.มีผลราคาปิดวันที่ 28 ก.พ. เราคาดหุ้นเข้า/ออก ดัชนี MSCI ACWI ดังนี้

หุ้นเข้า: ไม่มี

หุ้นออก: TOP (medium conviction)

Strategy Update : Dividend Plays 2H24

ช่วงปลายเดือน ก.พ. - พ.ค. 2025 จะเข้าสู่เทศกาลจ่ายปันผลประจำปี 2024 ของบริษัทจดทะเบียน ทีมกลยุทธ์ KSS จึงได้รวบรวมหุ้นที่คาดจะจ่ายปันผลช่วง 2024F (สำหรับบริษัทที่จ่ายเงินปันผลครั้งเดียว) หรือ 2H24F (สำหรับบริษัทที่จ่ายเงินปันผลปีละ 2 ครั้ง) จากคาดการณ์ของ KSS และ Consensus เพื่อนำมาคัดสรรหุ้นปันผลสูง (High Dividend) คือ Dividend Yield มากกว่า 3.5% สำหรับกลยุทธ์การลงทุนระยะ 1 - 2 เดือนแรกของปี ใน "Theme Dividend Play"

Key Ideas : KSS มีมุมมองบวกต่อการลงทุนในหุ้นปันผลในช่วงต้นปีเนื่องจาก

o KSS ได้ทำการศึกษาสถิติผลตอบแทนหุ้นปันผล(SETHD) ย้อนหลัง 10 ปี พบว่า SETHD ในช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ. ของทุกปี ผลตอบแทนมักเป็นบวก เดือน ม.ค. ผลตอบแทนบวก 6 ใน 10 ปี เฉลี่ย +0.7%, เดือน ก.พ. บวก 7 ใน 10 ปี ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย +0.67%

o SETHD ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของทุกปี (งวด 1Q) ผลตอบแทนเป็นบวก 7 ใน 10 ปี เฉลี่ย +0.85%)

กลยุทธ์ : ในเชิงกลยุทธ์ KSS แนะนำซื้อหุ้นปันผลสูงก่อนที่จะขึ้นเครื่องหมาย XD 2 สัปดาห์แล้วขายวันที่ขึ้นเครื่องหมาย XD (dividend capture) มักจะให้ผลตอบแทนที่ดี ทีมกลยุทธ์ KSS ได้ทำการคัดกรองหุ้นปันผลเด่น ภายใต้เงื่อนไข 2 ข้อ คือ

1.) เป็นหุ้นที่จะจ่ายเงินปันผล ช่วง 2024F (สำหรับบริษัทที่จ่ายเงินปันผลครั้งเดียว) หรือ 2H24F (สำหรับบริษัทที่จ่ายเงินปันผลปีละ 2 ครั้ง)

2.) เป็นหุ้นพื้นฐานที่มีแนวโน้มการเติบโต/กระแสเงินสดมั่นคง /อยู่ใน Theme การลงทุนหลักของ KSS ปี 2025 อาทิ Theme เศรษฐกิจไทยปี 2025F เติบโต อาทิ กลุ่มธนาคาร หรือ อยู่ในอุตสาหกรรม Up Cycle อาทิ Sector ICT หรือ หุ้นที่อยู่ในกลุ่มได้ประโยชน์จากทิศทางดอกเบี้ยขาลง อาทิ กลุ่มอสังหา กลุ่มการเงิน ฯลฯ โดยเรียงตามอัตราตอบแทนเงินปันผลจากสูงไปต่ำ

พบว่ามีหุ้นที่คาดจะจ่ายปันผลเด่น 9 บริษัท คือ

หุ้น Big Cap ได้แก่ SCB (TP Max Con 135.0, Yield 2H24F 8.6%), TTB (TP25-2.2,Yield 2H24F 7.2%) HMPRO (TP25-13.5,Yield 2H24F 4.3%) INTUCH (TP25-108,Yield 2H24F 4.2%), ADVANC (TP25-305, Yield 2H24F 3.7%),
หุ้น Mid Cap ได้แก่ AP (TP25-11.8., Yield 2H24F 7.65%), TISCO (TP25-97.0, Yield 2H24F 5.84%), SC (TP25-3.2, Yield 2H24F 5.52%), JMT (TP25-22.8, Yield 2H24F 2.3%),

หุ้นปันผลสูงครึ่งหลังปี 2024 ADVANC, INTUCH, SCB, TTB, HMPRO,JMT AP, SC, TISCO

โดยทีมกลยุทธ์ KSS ได้ทำการศึกษาสถิติหุ้นปันผลเด่น 9 บริษัทดังกล่าวข้างต้น ย้อนหลัง 8 ปี พบว่าหากลงทุนซื้อหุ้นก่อน 2 สัปดาห์และขายวันที่ขึ้น XD พบว่า ผลตอบแทนเป็นบวก โดยหุ้นที่ให้ Return มากที่สุด คือ JMT +5.36%, TTB +4.16%, ADVANC +3.05%, ส่วน SCB, HMPRO, INTUCH, AP, SC, TISCO ผลตอบแทน (Capital Gain) เฉลี่ยอยู่ราว 1% เท่ากับว่า การลงทุนหุ้นกลุ่ม High Dividend ในช่วงเวลาดังกล่าว หลาย ๆ ครั้งนักลงทุนจะมักจะได้รับเงินปันผลฟรี

 

• BA (Buy, TP25F-28.75): เราคงคำแนะนำ Buy ราคาเป้าหมาย 28.75 บาท ราคาหุ้นซื้อขายที่ -1SD ของค่าเฉลี่ย P/E ในอดีตสะท้อนความเสี่ยง (การแข่งขัน, นทท.จีน) ปี 2025F แล้ว แต่กำไรมีแนวโน้มโตต่อเนื่องและเรามีแนวโน้มปรับเพิ่มกำไรปี 2025F โดยเราคาดกำไรปกติ 4Q24F ฟื้นเป็นกำไร 499 ลบ. จากปีก่อนขาดทุน -480 ลบ.

• BCH (Buy, TP25F-19.0): เราแนะนำ Buy สำหรับ BCH เนื่องจากคาดกำไรสุทธิผ่านช่วงแย่สุดใน 4Q24F และราคาหุ้นตอบรับไปแล้ว แนวโน้มปี 25F คาดกำไรสุทธิ (+23%y-y) กลับมาเติบโตดีขึ้นตามการเติบโตของรายได้กลุ่มเงินสดและประกันสังคม นอกจากนี้คาดว่าประเด็นคูเวตและประกัน Co-payment จะผลกระทบจำกัด ขณะที่ราคาหุ้นซื้อขาย PE ปี 25F ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย Forward PE มองเป็นโอกาสลงทุน

• Soft Commodity (Neutral): สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำตาลเพิ่มขึ้น +5%w-w จากค่าเงินเรียลบราซิลแข็งค่าขึ้นที่สุดในรอบหนึ่งเดือนครึ่ง ส่งผลให้การส่งออกของผู้ผลิตน้ำตาลบราซิลลดลง อุปทานเข้ามาในตลาดน้อยลง ประกอบกับ Czarnikow (ซีซาร์นิโคว) ปรับลดประมาณการผลผลิตน้ำตาลของไทยในปี 2024/25 ลง -7% เหลือ 10.8 ล้านตัน ราคายางพาราเพิ่มขึ้น +1.1%w-w จากความกังวลด้านอุปทาน จากสภาพอากาศที่ทำให้ยางผลัดใบเร็วน้ำยางน้อยลง ราคาน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้น +1.1%w-w จากคาดการณ์อุปทานกำลังจะลดลงในช่วงรอมฎอน (28ก.พ-29 มี.ค.25) ส่วนราคาถั่วเหลืองลดลง -1.4%w-w จากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มอุปทานเพิ่มขึ้น หลังอาร์เจนตินามีการปรับลดภาษีการส่งออกธัญพืชจาก 33% เหลือ 26% โดยมาตรการนี้จะมีผลไปจนถึง มิ.ย. 2025

อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ ราคาไก่ ทรงตัว w-w อยู่ที่ 41.50 บาท (ต้นทุน 36-37 บาท) คาดผู้บริโภคมีสต๊อกเพียงพอ ราคาสุกรไทยเพิ่มขึ้น +0.3%w-w ที่ 78.50 บาท (ต้นทุน 66-67 บาท) ราคาสุกรจีน เพิ่มขึ้น +3.5%w-w ที่ 15.90 หยวน หรือ 74.76 บาท (ต้นทุนการเลี้ยง 15 หยวน) ราคาสุกรเวียดนาม เพิ่มขึ้น +0.3%w-w ที่ 67,500 ดอง หรือ 90.94 บาท (ต้นทุนการเลี้ยง 43,000 ดอง) คาดมาจากความต้องการเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์ตรุษจีน

เราให้น้ำหนักกลุ่มฯ NEUTRAL เรายังคงเลือก CPF (TP25F 27.40) เป็น Top pick ราคาเนื้อสัตว์มีแนวโน้มฟื้นตัว ขณะที่ต้นทุนอาหารสัตว์ยังอยู่ในระดับต่ำ

• Energy & Petrochemical (Neutral): ระยะสั้นราคาน้ำมันดิบ และค่าการกลั่น อาจผันผวนจากผลกระทบของการขึ้นภาษีนำเข้าของ U.S. ต่อ Canada และ Mexico เป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มต้นน้ำ (PTTEP) และโรงกลั่น (SPRC, BSRC, TOP, BCP) ส่วนปิโตรเคมี (IRPC, SCC, PTTGC, IVL) มีปัจจัยลบจากความกังวลขา demand จากผลกระทบสงครามการค้า ต่อ product spread ซึ่ง IVL มีแนวโน้มได้รับผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มปิโตรเคมีด้วยกันจากมีปริมาณขายกว่า 1/3 อยู่ใน U.S. ที่คาดได้ประโยชน์จากมาตรการขึ้นภาษีน้ำเข้า คงคำแนะนำ Neutral ต่อกลุ่มพลังงานฯ และ top pick SPRC

 

 

2025F Equity Outlook : Resilient Domestic Escort amid Market Volatility

Stock Best Picks : ADVANC, AWC, BJC, BTS, CPALL, HMPRO, IVL, KBANK, KTB, TRUE

Mid-Small Cap Play : INSET, JMT, MALEE, MOSHI

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ลุ้น1200 By : นายกล้วยหอม

นายกล้วยหอม วันนี้ ลุ้น 1,200 จุด เอาอยู่ไหม ด้วยตลาดหุ้นไทย หยุดยาว 3 วัน เสาร์ อาทิตย์ จันทร์ นักลงทุน.....

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้