Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

353

 

ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook

แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
อัปเดต Momentum Tracker แนวโน้มตลาดหุ้นโลกและทองคำ
Key Takeaways:

ตลาดหุ้นโลกรีบาวด์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย MSCI All-Country World Equity ปรับตัวขึ้น 2.6% แต่การฟื้นตัวอาจไม่ยั่งยืน เนื่องจากดัชนีชี้วัดด้าน Market-timing หลายตัวของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ยังส่งสัญญาณเชิงลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Sentiment Indicator ที่เริ่มอ่อนแอลง

ราคาทองคำมีแนวโน้มผันผวนในระยะสั้นหลังทดสอบแนวต้าน 2,725 เหรียญไม่ผ่าน เนื่องจาก net long position และ Momentum Tracker อยู่ในระดับสูง ส่วนพันธบัตรระยะยาวสหรัฐมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อความเสี่ยงมากกว่าหุ้นโลก แม้จะยังผันผวนจากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อและการขาดดุลงบประมาณ

รายละเอียด:
“ภาวะการลงทุนในสัปดาห์ก่อน”
หลายๆสินทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยดัชนีตลาดหุ้นโลกรีบาวด์ได้หลังจากเผชิญกับแรงกดดันอย่างต่อเนื่องในช่วงสองสัปดาห์ก่อนหน้านั้น โดยดัชนี MSCI All-Country World Equity ปรับตัวขึ้น 2.6% ขณะที่ทองคำปรับ และพันธบัตรระยะยาวสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.5% และ 1.2% ตามลำดับ
สำหรับตลาดหุ้นไทย ดัชนี SET ยังเผชิญกับแรงกดดันสวนทางกับตลาดหุ้นโลก โดยปรับตัวลง 2% และมีแรงขายกระจายตัวไปในหุ้น 17/20 กลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Electronics ซึ่งปรับตัวลงถึง 11.6%
“พัฒนาการสำคัญในต่างประเทศช่วงที่ผ่านมา ได้แก่”
ดัชนี S&P500 เกิดภาพ technical rebound หลังจากปรับตัวลงทดสอบแนวรับสำคัญที่ระดับ 5800 จุด แต่ดัชนีชี้วัดด้าน Market-timing หลายตัวยังสะท้อนความเสี่ยงของความผันผวนในระยะสั้น ดังนี้
(1) CNN Fear & Greed Index อยู่ในโซน Fear สอดคล้องกับผลสำรวจมุมมองของนักลงทุน AAII Bull-Bear Spread ได้ปรับตัวลงสู่โซนที่มี Z-Score ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือน สะท้อนความเชื่อมั่นในตลาดที่ลดลง
(2) สัดส่วน Put/Call Options ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ กำลังปรับตัวขึ้นกลับเข้าสู่ค่าเฉลี่ย (mean-reversion) โดยเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำสุดในปลายปีที่แล้วที่ 0.61 สู่ 0.72 ในปัจจุบัน แนวโน้มดังกล่าวคาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายสัปดาห์ข้างหน้า
(3) ยอดซื้อสะสมกองทุนหุ้นสหรัฐของรายย่อยได้ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบสองปี ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับจุดพีคในช่วงต้นปี 2022 สอดคล้องกับดัชนี Momentum Tracker ของ S&P500 ที่อยู่ในโซน mildly stretched level

“ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่”
วันจันทร์: CN Loan Prime Rate (consensus คาดธนาคารกลางจีนจะคงดอกเบี้ยนโยบาย 1 ปีและ 5 ปี ไว้ที่ 3.1% และ 3.6% ตามลำดับ)
วันศุกร์: JP Interest Rate (consensus คาดธนาคารกลางญี่ปุ่นจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจาก 0.25% เป็น 0.5%)
“แนวโน้มราคาสินทรัพย์ต่างๆ”


ในสัปดาห์นี้ เรายังคงแนะนำให้ระมัดระวังในการลงทุนในตลาดหุ้นโลก โดยแม้ว่าบางตลาดจะรีบาวด์ได้ในสัปดาห์ก่อน แต่คาดว่าจะไม่ต่อเนื่อง เนื่องจาก Market-timing Indicator หลายตัวสะท้อนความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ความผันผวนโดยรวมสูงขึ้น

ราคาทองคำปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ระดับ 2,725 เหรียญแต่ไม่ผ่าน สอดคล้องกับที่คาด เราประเมินว่าราคาทองคำจะกลับมาผันผวนขึ้นอีกครั้งใน ระยะสั้น จากการที่ net long position ได้ปรับตัวขึ้นจากระดับ 182,000 สัญญา สู่ 212,500 สัญญา สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวราว 1.8 เท่า รวมถึงการที่ Momentum Tracker ได้เข้าสู่ระดับ Stretched Level อีกครั้ง

พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 7-10 ปี ปรับตัวขึ้น 1.2% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา จากแรงซื้อคืนหลังจากที่อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตร 10 ปีปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 4.8% เราคาดว่าในระยะสั้นตลาดพันธบัตรระยะยาวจะยังคงผันผวนต่อไป อันเป็นผลจากความกังวลเรื่องความเสี่ยงเงินเฟ้อและการขาดดุลงบประมาณที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เรามองว่าความกังวลเรื่อง Trumpflation อาจมากเกินไป ตามเหตุผลที่ในรายงาน Wealth Insight ที่ได้อัปเดตไปในสัปดาห์ก่อน รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อ่อนแอลงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2025 จะทำให้พันธบัตรมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อความเสี่ยง (risk/reward) มากกว่าการลงทุนในตลาดหุ้นโลก

สรุปภาพตลาดวานนี้
สัปดาห์ที่แล้ว หุ้นไทยไร้แรงสู้ โดยปลายสัปดาห์ลงอีก 12 จุด กดดันจากแทบทุกกลุ่ม ยกเว้นหุ้นมีปัจจัยบวกบางตัวที่ไปได้ เช่น CPAXT TRUE และกลุ่มที่ฟื้นตัวจากลงลึก เช่น SISB ขณะที่แรงซื้อไปอยู่ที่รีท-กองทุนโครงสร้างฯ CPNREIT DIF (แต่ก็ไม่ได้เยอะ) เป็นต้น

แนวโน้มตลาดวันนี้
เล็งหุ้นมีเกณฑ์ดีเข้าพอร์ต
ปัจจัยลบกระทบตลาดหุ้นไทยเริ่มจางลงไปทีละเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น Panic sell เพราะเรื่องมาร์จิ้นระลอกใหม่, เฉลยงบแย่ของหุ้นรายตัวที่เริ่มเห็นจาก Previews แต่ก็ไม่ได้กดดันราคาหุ้น, ปัจจัยต่างประเทศ เช่น เงินเฟ้อสหรัฐฯทิศทางดอกเบี้ยเฟดก็ได้รับรู้ไปในตลาดหุ้นระดับหนึ่ง
ดังนั้นตอนนี้ปัจจัยดูจะเหลือแค่ 2 ประเด็นหลักที่เราคิดว่าจะมีผลต่อทิศทางตลาดหุ้นโลกกระทบชิ่งมาที่หุ้นไทย คือ 1) ถ้อยแถลงของ ปธน.ทรัมป์ ในวันรับตำแหน่ง 2) การประกาศงบการเงินไตรมาส 4 ของหุ้นไทย
เรื่องของ ปธน.ทรัมป์ เราคิดว่าคำแถลง หากไม่มีอะไรเซอร์ไพร์ส คาดว่าหุ้นไทยน่าจะรอดพ้นจากการปรับฐานรุนแรง แต่อาจจะผันผวนต่อเนื่องตาม คำพูดของ ปธน.ทรัมป์ รายวันหลังจากวันรับตำแหน่ง
เรื่องงบการเงิน น่าจะมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากกว่า ซึ่งคงจะต้องติดตามรายงานคาดการณ์กำไรที่เราทยอย Previews เช่น สัปดาห์ที่ผ่านมาหุ้น Earnings warning เชิงลบมี SCGP TU ส่วนหุ้น Earnings เชิงบวกมี CBG PR9 CPAXT (CPAXT มีการปรับเป้าฯขึ้น) และพบว่าราคาหุ้นมีการตอบสนองระยะสั้นๆ จบภายในวันเป็นส่วนใหญ่
กลยุทธ์คงคำแนะนำ เลือกสะสมหุ้นรายตัว รายกลุ่ม ในจังหวะที่ราคาหุ้นตก หรือพักฐาน ด้วยเรามองว่าหุ้นที่เราเลือกแนะนำ ได้พิจารณาแล้วว่าควรจะขึ้นแข็งกว่าตลาด เพราะ
1) ราคาหุ้นทรงตัวได้ดี Outperform ในเชิงเทคนิคคอล ไม่ Overbought
2) ความถูกของราคาหุ้นเมื่อเทียบมูลค่าทางบัญชี (PBV) และเทียบกับ Bands
3) แนวโน้มผลการดำเนินงานระยะสั้น ดูแล้วไม่น่าจะสร้างความผิดหวัง
4) โอกาสที่กำไรระยะสั้นจะดีกว่าที่คิด เพราะมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว เช่น มาตรการ ช้อปช่วยชาติ แจกเงินหมื่น ในช่วงไตรมาสแรก หนุนกำไรโตต่อเนื่อง 4Q24-1Q25
5) มีปันผลระหว่างกาล
ด้วยเราคาดว่าเมื่อบรรยากาศตลาดหุ้นเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ หลังผ่านเรื่องราวร้ายๆ นักลงทุนได้ขายหุ้นปรับพอร์ตไปแล้ว จะหยุดการเล่นตามกระแสหรือ ธีม ลงทุน แล้วหันมาโฟกัสเก็บหุ้นจากเงินสดที่เหลือ ตามปัจจัยพื้นฐาน มากกว่า กระแสลงทุน
คาดกรอบดัชนีหุ้นไทยสัปดาห์นี้ 1,330-1,370 จุด

กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์แนะนำ เลือกสะสมหุ้นกลุ่มเด่นที่เราคาดว่าจะมี Flows หมุนเข้ามาเล่น และหุ้นรายตัวที่มีประเด็นสนับสนุน

วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET Index ลงต่อเนื่อง กลับมา test low 1,330 จุด (ต้านเดิมเปลี่ยนเป็นรับ)… จับตา สัญญาณ “Bullish divergence pattern” เคยเกิดขึ้นมาแล้ว (เกิดขึ้นไม่บ่อย) บ่งชี้ช่วงปลายทางขาลง แนวโน้มตลาดถ้าจะให้สวย ต้องรีบฟื้นตัวให้ได้โดยเร็ว แผนเลือกหุ้น เน้นโครงสร้างแกร่ง จับตากลุ่มค้าปลีก หุ้นกราฟสวยๆมีอยู่หลายตัว ติดตามในหน้าถัดไป เพิ่มเติมการลงทุนช่วงนี้ต้องมีวินัย หากหลุดแนวรับอาจต้องยอมขายคัท เพื่อป้องกันความเสี่ยง ส่วนหุ้นที่เคยแนะนำ ติดตามในคอลัมน์…


What to watch
รายงานคาดการณ์กำไร บจ. ไตรมาส 4/2024
รายงานงบการเงินของกลุ่มธนาคาร และหุ้นที่รายงานงบก่อน เช่น PTTEP SCC เป็นต้น
แถลงการณ์วันเข้ารับตำแหน่ง ปธน.ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ
วันแรก มีผู้แสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการบ้านเพื่อคนไทย ลงทะเบียนได้จำนวนทั้งสิ้น 152,864 คน และที่ผ่านการกลั่นกรองคุณสมบัติเบื้องต้น (Pre-Approve) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) มีจำนวนทั้งสิ้น 49,844 ราย สำหรับทำเลที่มีคนลงทะเบียนมากที่สุดคือ พื้นที่กม.11 (วิภาวดี), พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ธนบุรี (ศิริราช) และพื้นที่เชียงราก จังหวัดปทุมธานีตามลำดับ

หุ้นแนะนำวันนี้
CBG มองประเด็นบวกจากการเติบโตได้ดีกว่าประเมินเดิม และการฟื้นตัวของราคาหุ้น หลังผ่านประเด็นกดดันก่อนหน้า
(S 76 R 80 SL 75)

CPAXT แนวโน้มผลประกอบการปกติดีกว่าคาดเดิม และโอกาสประบประมาณการกำไรขึ้นจากนักวิเคราะห์ (รายละเอียดในรายงานวันนี้)
(S 28 R 30.5 SL 26)


รายงานพื้นฐานวันนี้
Thai Market Strategy
คาดภาพรวมกำไรตลาดยังมี Downside Risk
เราคาดกำไรสุทธิ 4Q24 แข็งแกร่ง เติบโต 34% YoY และ 17% QoQ หลักๆ จากกลุ่มอิงเศรษฐกิจในประเทศ (Domestic) และกลุ่มท่องเที่ยว (Tourism play) ส่วนกลุ่มที่ไม่ดียังเป็นกลุ่มเชื่อมโยงเศณษฐกิจโลก (global-linked sectors)
ในรายละเอียด กลุ่มที่กำไรเติบโตดี YoY ได้แก่ กลุ่มอาหาร/เครื่องดื่ม (ราคาเนื้อสัตว์สูงขึ้น YoY, ยอดขาย Energy drinks ขยายต่อเนื่อง), กลุ่ม Electronics (DELTA—AI, Data center), กลุ่มขนส่ง (หลักๆ จากสนามบิน) และกลุ่มค้าปลีก (โดยเฉพาะสินค้าจำเป็น) ในทางตรงข้าม กลุ่มวัสดุก่อสร้าง (SCC ทั้งปิโตร/แพคเกจจิ้ง) กลุ่มปิโตรฯ (จาก PTTGC) กลุ่มแพคเกจจิ้ง และกลุ่มยานยนต์ กำไรจะออกมาอ่อนแอ
และในภาพรวม เรามองว่าประมาณการณ์อาจมี downside อีก โดยเห็นการปรับลดประมาณการณ์กำไร ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา โดยคาดการณ์กำไร 4Q24 ถูกปรับลง 4% และ 1Q25 ปรับลงกว่า 20% โดบกลุ่มที่โดนปรับลงลงหนักๆ ได้แก่ กลุ่มปิโตรฯ (PTTGC) กลุ่มแพกเกจจิ้ง (SCGP) กลุ่มขนส่ง (BTS) กลุ่มอาหาร (TU และ ITC) และกลุ่มโรงแรม (CENTEL)
ในทางตรงข้าม กลุ่มที่มีการปรับประมาณการณ์กำไรขึ้นช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก (CPAXT, CRC)
กลุ่มนิคมฯ (WHA) กลุ่มเครื่องดื่ม (CBG) และกลุ่มสื่อสาร (ADVANC)
Fundamental view: ส่วนหุ้นเด่นที่เน้นเก็งงบฯ 4Q24 ที่จะประกาศ จากการปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรขึ้น ได้แก่ CBG CRC CPAXT CPALL

Energy & Utilities Sector
การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มพลังงานไทย
ในงาน BLS Thai Corporate Day ที่ผ่านมา เราได้เชิญ ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ (ปลัดกระทรวงพลังงาน) ร่วมบรรยายและตอบคำได้ ได้เนื้อหาสาระที่สำคัญ ดังนี้
1) การลดค่าไฟฟ้าไปที่ 3.70 บาท อาจต้องใช้เวลา เพราะจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากกระทรวงการคลัง, กฟผ., กฟน., กฟภ. และ ปตท. โดยมาตรการสำคัญ ได้แก่ การลดค่าท่อก๊าซ, ภาษีปิโตรเลียม และค่าขนส่งไฟฟ้า อย่างไรก็คาดว่าข้อตกลงเบื้องต้นอาจเกิดขึ้นช่วง 2H25 เป็นต้นไป
2) ความสมดุลระหว่างราคาและความมั่นคงด้านพลังงาน เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันดึงดูดการลงทุน และจุดเด่นของประเทศ นอกจากนี้ แผน PDP ใหม่ มีโอกาสจะลดสัดส่วน Reserve Margin ลงเหลือ 20% (จาก 25% ในปี 2024) ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
3) อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศ เพื่ออิงต้นทุนจริงแทนการอิงราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์ โดยจะมีการประชาพิจารณ์ใน 1H25 ก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา ยังรวมถึงการจัดตั้งคลังสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อรองรับวิกฤติและความผันผวนของราคาน้ำมัน
4) การประมูลสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ ในปี 2025 จะเปิดรอบที่ 25 (แปลงบนบก ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง) และรอบที่ 26 (นอกชายฝั่งอันดามัน) หนุนความมั่นคงระยะยาว

 

 

CPALL
ซีพี ออลล์
คาดกำไร 4Q24 โดดเด่น และแนวโน้มปี 2025 ดีต่อ
เราคาดกำไรหลัก 4Q24 ที่ 6,557 ล้านบาท (+17% YoY, +6% QoQ) จาก SSSG ที่แข็งแกร่งและการปรับส่วนผสมสินค้าใน 7-Eleven ที่เพิ่มอัตรากำไรขั้นต้น (GM) คาดรายได้ +6% YoY, +5% QoQ หากไม่รวม Lotus’s และ Makro แล้ว 7-Eleven ยังมี SSSG เติบโต +4% และยอดขายต่อบิลเฉลี่ย +2%
เราได้สะท้อนผลของการปรับประมาณการกำไรหลัก CPAXT ปี 2025-26 ที่เพิ่มขึ้น 7% และ 5% ตามลำดับ เข้าไป (จากการรับรู้ Synergies ที่เร็วขึ้น) ส่งผลให้กำไรหลักของ CPALL ปี 2025 คาดที่ 27.6 พันล้านบาท (+11% YoY) ซึ่งโดยภาพรวมยังได้รับแรงหนุนจาก 7-Eleven ที่เติบโตต่อเนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และการเพิ่มสัดส่วนสินค้าที่มีอัตรากำไรสูงในพอร์ต
ปัจจุบัน ราคาหุ้นซื้อขายที่ PER ปี 2025 ที่ 20.8 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 30.3 เท่า อีกทั้ง หากค่าไฟฟ้าลดลงต่ำกว่า 4.15 บาท/หน่วย ทุกๆ 10% คาดเพิ่มกำไรหลักได้ราว 6% ต่อปี
Fundamental view: เรายังคงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 79 บาท


รายงานผลประกอบการวันนี้

KTC
บัตรกรุงไทย
KTC รายงานกำไรสุทธิ 4Q24 ที่ 1.9 พันล้านบาท เป็นไปตามที่เราและตลาดคาด โดยเพิ่มขึ้น 7% YoY แต่ลดลง 2% QoQ ด้านคุณภาพสินทรัพย์ NPLs/loans ratio ปรับเพิ่มขึ้นมาที่ 1.94% ณ ปลายปี 2024 และ loan-loss coverage ratio ที่ปรับลดลงมาที่ 369.3% แนวโน้ม 1Q25 เราคาดกำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้น 9% YoY (สินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมเติบโต) และ 2% QoQ (ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ลดลง) เรายังแนะนำ wait-and-see โดยในกลุ่ม Retail Finance เราชอบ MTC มากกว่า

วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

1200 แตก By: แม่มดน้อย

แม่ดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ และแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นไทย ก็แตก 1,200 จุด ด้วยพ่อใหญ่อย่าง DELTA แม่ใหญ่ AOT เป็นหัวหอก....

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้