เศรษฐกิจสหรัฐ ดีจนน่ากังวล
ตัวเลข NONFARM PAYROLLS เดือน ธ.ค.67 ของสหรัฐออกมา แข็งแกร่งกว่าที่คาดโดยอยู่ที่ 2.56 แสนราย เทียบกับ 1.64 แสนราย ขณะที่ อัตราว่างเงานปรับลดลงมาอยู่ที่ 4.1% นับเป็นภาพตลาดแรงงานและ เศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแรง จนถึงระดับที่สร้างความกังวลว่า FED อาจ ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงช้ากว่าความคาดหมาย โดย ล่าสุด FEDWATCH TOOL คาดปรับลด 1 ครั้งในเดือน มิ.ย.68 ขณะที่ นักเศรษฐศาสตร์บางสำนักคาดว่าอาจไม่ปรับลดดอกเบี้ยในปี 2568 เลย ภาวะดังกล่าวสร้างแรงกดดันต่อตลาดการเงินโดย BOND YIELD ปรับ ขึ้น และ ตลาดหุ้นปรับลดลง ส่วนผลกระทบที่จะมาสู่ตลาดหุ้นบ้านเราใน ระยะสั้นน่าจะเป็น SENTIMENT เชิงลบที่เข้ามากดดัน ส่วนระยะต่อไปจะมี ผลต่อทิศทางดอกเบี้ย ทำให้โอกาสปรับลดลงในปี 2568 มีน้อยลงไปอีก
SENTIMENT เชิงลบจากตลาดต่างประเทศ น่าจะสร้างแรงกดดัน แต่ไม่ แรง ส่วนในมุม TECHNICAL คาดไม่ต่ำกว่าแนวรับ 1360 จุด แนวต้าน 1377 จุด TOP PICK เลือก BJC, CENTELและ SPRC
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ดีจนน่ากังวลว่า FED จะเลื่อนปรับลดดอกเบี้ย
ศุกร์ที่ผ่านมา สหรัฐฯ เผยตัวเลข NONFARM PAYROLLS เดือน ธ.ค. 67 เพิ่มขึ้น 2.56 แสนตำแหน่ง สูงกว่าคาด 1.65 แสนตำแหน่ง และทำจุดสูงสุดในรอบ 9 เดือน นอกจากนี้อัตราการว่างงานล่าสุดยังลดลงมาสู่ระดับ 4.1% ซึ่งสัญญาณเหล่านี้ล้วน สะท้อนภาพตลาดแรงงานที่ดูแข็งแกร่ง ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ต่างเริ่มเปลี่ยนมุมมอง การลดปรับลดดอกเบี้ยของ FED อาทิ
• BANK OF AMERICA: คาดว่า FED จะ “ไม่ลดดอกเบี้ยเลยในปีนี้” (เดิมคาด ลด 2 ครั้ง) และยังมองว่ามีความเสี่ยงที่อาจขึ้นดอกเบี้ยแทน
• CITIGROUP: ยังคงคาดว่า FED จะลดดอกเบี้ย 5 ครั้งในปีนี้ แต่จะ “เริ่มลด ครั้งแรกในเดือน พ.ค. 68” (เดิมคาด ม.ค.)
• GOLDMAN SACHS: คาดว่า FED จะ “ลดดอกเบี้ยแค่ 2 ครั้ง ในปีนี้” (เดิม คาดลด 3 ครั้ง)
• IMF เตือนนโยบายภาษีศุลกากรของ TURMP อาจเป็นชนวนทำอัตรา ดอกเบี้ยทั่วโลกหวนคืนสู่ภาวะขาขึ้นอีกครั้ง
ส่วนในมุมของของนักลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย คาด FED จะลดดอกเบี้ยครั้ง แรกของปี2568 ในเดือน มิ.ย. 68(เดิมคาดเดือนพ.ค. 68) และจะเกิดขึ้นเพียงแค่ 1 ครั้ง ขณะที่ BOND YIELD 10Y สหรัฐฯ พุ่งขึ้นต่อเนื่อง และกดดันตลาดหุ้นผันผวนแรง
สำหรับประเด็นที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้วันพุธที่ 15 ม.ค. 68 รอติดตามการประกาศ ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. 67 โดย CONSENSUS คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นสู่ ระดับ 2.9%YOY ทั้งนี้ หากตัวเลขออกมาสูงกว่าคาด อาจเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้น ผันผวนขึ้นได้
สรุป เศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งสัญญาณแข็งแกร่ง แต่ถูกตีความว่า เงินเฟ้อจะเข้าสู่กรอบ เป้าหมายช้า และ FED อาจเลื่อนปรับลดดอกเบี้ยออกไป ถือเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้น ผันผวน (GOOD NEWS FOR ECONOMY IS BAD NEWS FOR EQUITY INVESTORS)
วัฎจักรดอกเบี้ยในสหรัฐฯ กับมุมมองต่อกลุ่มธนาคาร และ NON – BANK
ภายหลังตัวเลขจ้างงานในสหรัฐฯ วันศุกร์ที่ผ่านมา ออกมาแข็งแกร่ง ทำให้ BOND YIELD สหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปิดวันศุกร์สูงขึ้นราว 7 BPS จากวันก่อนหน้ามาที่ 4.76% ท่ามกลางมุมมองต่อการลดอัตราดอกเบี้ยของ FED ที่อาจช้ากว่าที่ตลาดเคย คาดหมาย ภาพดังกล่าวช่วยลดแรงกดดันต่อ ธ.พ. ใหญ่ โดยเฉพาะ ธ.พ. ที่ NIM อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ย อย่าง KTB, BBL และ KBANK(FV@B163) ในทางตรงข้าม กระแส BOND YIELD ในสหรัฐฯ ดูเป็น SENTIMENT ลบต่อกลุ่ม NON – BANK จาก ต้นทุนทางการเงิน (COST OF FUND) ที่อาจไม่ได้ลงเร็วนัก
สำหรับกลุ่มธนาคาร เข้าสู่การประกาศงบการเงินกลุ่มฯ เริ่มต้นด้วย TISCO ในช่วง เช้าวันที่ 14 ม.ค. 68 ซึ่งฝ่ายวิจัยคาดกำไรงวด 4Q67 ไว้ 1.7 พันล้านบาท ทรงตัว QOQ (-4.5% YOY เพราะ ECL ขึ้น ตามนโยบายการตั้งสำรอง ทยอยกลับสู่ระดับ ปกติ หลังตั้งในระดับต่ำช่วงที่ผ่านมา) ขณะที่ ธ.พ. อื่นๆ ช่วงวันที่ 20 – 21 ม.ค. 68 (KBANK และ SCB วันที่ 21 ม.ค.) โดยรวมประเมินกำไรกลุ่มฯ (8 ธนาคาร) งวด 4Q67 ราว 5.7 หมื่นล้านบาท ลบ 9% QOQ (+13% YOY) จากค่าใช้จ่ายดำเนินงาน(OPEX) เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล หากเทียบกำไรเชิง YOY มองว่า KKP และ KTB มีอัตรา การเติบโตสูงกว่ากลุ่มฯ เพราะระดับการตั้ง ECL ต่ำลง
ด้านกำไรกลุ่มฯ งวดปี 2567 คาดปิดปีที่ 2.4 แสนล้านบาท (9M67 ที่ 1.9 แสนล้าน บาท) เติบโต 7% YOY และแนวโน้มกำไรปี 2568 ขยายตัว 3% YOY สอดคล้องกับ การขยายตัวของ GDP ไทย (ธปท. คาด GDP ปี 2568 เพิ่ม 2.9% YOY) จากทิศทาง CREDIT COST ลดลง เพราะแรงกดดันด้านคุณภาพสินทรัพย์เบาลง ทั้งจาก นโยบายการปล่อยสินเชื่อใหม่เข้มงวดในช่วงที่ผ่านมาและมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ “คุณสู้ เราช่วย”
ในกลุ่มธนาคาร เลือก KTB(FV@B23.4) จากการคุมคุณภาพสินทรัพย์ค่อนข้างดี และรับประโยชน์จากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ตามด้วย BBL(FV@B180) ราคาหุ้นยังปรับตัวขึ้นช้ากว่ากลุ่มฯ, COVERAGE RATIO สูงสุดในกลุ่มฯ และพอร์ต สินเชื่อในต่างประเทศ (สัดส่วนราว 25% ของสินเชื่อธนาคาร) มีแนวโน้มผ่อนคลายขึ้น จากทิศทางดอกเบี้ยในสหรัฐฯ ที่ยังทรงตัวสูง ส่วนกลุ่มปันผลสูง เลือก TISCO(FV@B102) นอกจาก DIV YIELD ในเชิงแนวโน้ม ROE ยืนสูงสุดในกลุ่มฯ ต่อไป ขณะที่กลยุทธ์การลงทุนกลุ่ม NON – BANK แม้ VALUATION อย่าง PER ลง มาซื้อขายต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต ทั้ง MTC, SAWAD และ TIDLOR และคาดกำไร 4Q67 เติบโต QOQ เพราะสินเชื่อเติบโตตามฤดูกาล แต่ภาพใหญ่อย่างวัฎจักร ดอกเบี้ยดูไม่เอื้ออำนวย ทำให้ช่วง 1Q68 กลุ่มธนาคารที่มีลมหนุนจากการเข้าสู่ฤดู ปันผลน่าสนใจกว่า NON – BANK ในระยะนี้
น้ำมันดิบดีดตัวแรง สะสมหุ้นกลุ่มน้ำมัน-โรงกลั่นที่ LAGGARD
วันศุกร์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบ BRENT / WTI บวกแรง 3.7% และ 3.6% ตามลำดับ อีกทั้งเช้านี้ยังบวกแรงต่อเนื่องอีกราว 1% หนุนราคาน้ำมัน +10%YTD, ก๊าซ ธรรมชาติสหรัฐ +17%YTD จากหลายปัจจัยหนุนเริ่มจากการเกิด POLAR VORTEX ซึ่งคือ “กระแสลม วนขั้วโลก” เกิดจากมวลอากาศอุ่นที่เคลื่อนไปทางทิศขั้ว โลกเหนือ และทำให้มวลอากาศเย็นแผ่ขยายลงมาแทน ซึ่งทำให้ความต้องการ น้ำมันดิบ หรือเชื้อเพลิง สำหรับทำความร้อนเพิ่มขึ้น (DEMAND เพิ่มขึ้น)
ขณะที่อีกประเด็น คือ สหรัฐฯได้ออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่ โดยมุ่งเป้าไป ที่ผู้ผลิตน้ำมัน, เรือบรรทุกน้ำมัน, คนกลาง และท่าเรือต่าง ๆ ของรัสเซีย ซึ่งจะทำให้ การส่งออกน้ำมันของรัสเซียไปยังลูกค้าหลัก อย่างอินเดียและจีนติดขัดในช่วงสั้น (SUPPLY ลดลง) โดยการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น ก่อนที่ TRUMP จะเข้ารับตำแหน่ง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ 20 ม.ค.68 ซึ่งต้องติตตามว่า TRUMP จะยังคงมาตรการ ดังกล่าวไว้หรือไม่?
ภาพรวม SET INDEX ในช่วงสั้นคาดได้รับ SENTIMENT เชิงบวกจากประเด็น ดังกล่าว โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มพลังงาน-โรงกลั่นเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ซึ่งมีน้ำหนัก (MARKET CAP) สูงถึง 1 ใน 3 ของน้ำหนักทั้งหมด
ส่วนหุ้นที่ได้ประโยชน์ในยามราคาน้ำมันดิบขาขึ้น ได้แก่กลุ่มผู้ประกอบการผลิตและ สำรวจน้ำมันที่มีรายได้อิงกับราคาขายน้ำมัน คือ PTTEP ส่วนของธุรกิจโรงกลั่น คือ TOP, PTT, BANPU, SPRC ซึ่งราคาหุ้นดังกล่าว LAGGARD ราคาน้ำมันดิบทั้งสิ้น ในช่วงเวลาตั้งแต่ต้นปี(YTD)
ตลาดหุ้นเกิดใหม่และไทย รับ TRUMP 2.0 มาในระดับหนึ่งแล้ว
ตลาดหุ้นเกิดใหม่และไทย ตอบรับ TRUMP 2.0 มาในระดับหนึ่งแล้ว สะท้อนได้จาก ปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าเงินหลายประเทศที่อาจมีประเด็นตั้งกำแพงภาษีกับสหรัฐ อ่อนค่าขึ้นมาเร็ว 4% ถึง 7% ตอบรับผลกระทบจากประเด็นการตั้งกำแพงภาษีเพิ่ม จากจีน 10% ,เม็กซิโกและแคนาดา 25% มาในระดับหนึ่งแล้ว อาทิ ค่าเงินหยวนจีน อ่อนค่า4.4% เปโซเม็กซิโกอ่อนค่า5.6% ดอลลาร์แคนาดา 6.7% ส่วนค่าเงินบาทเอง ก็อ่อนค่ามาแล้วถึง 6.7%
2. ตลาดหุ้นใน MERGING MARKET หลายแห่ง เปิดปี 2025 มาก็ต่ำสุดในรอบหลาย ปี และบางแห่งต่ำกว่าช่วงต้นปี 2017 หรือ ช่วงเริ่มยุค TRUMP 1.0 อีก เช่น ตลาดหุ้น ไทย จุดเริ่มต้นดัชนีปี 2025 เปิดมาต่ำสุดในรอบ 9 ปีรองมาตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ เปิด ปี 2025 ต่ำสุดในรอบ 8 ปี, ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดปี 2025 ต่ำสุดในรอบ 7 ปี ตรงกัน ข้ามกับตลาดหุ้นสหรัฐ (S&P500) ดัชนีเปิดปี 025 สูงสุดในรอบ 9 ปี
3. ตลาดหุ้น MSCI EMERGING MARKET ปรับตัวลงมาแล้ว 7.2% ในช่วง 2 เดือน หลังจากทรัมป์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ (5 พ.ย. 24 – 10 ม.ค. 25) ตอบ รับต่อผลกระทบจากนโยบายหาเสียงต่างๆ มาในระดับหนึ่งแล้ว และยังลงแรงกว่าช่วง เริ่มต้นยุค TRUMP1.0 อีก แต่หากนโยบายสหรัฐต่างๆ ออกมาไม่รุนแรงอย่างที่ตลาด คิด เช่น มีการตั้งกำแพงภาษีบางสินค้า อาจเห็นการฟื้นกลับเช่นเดียวกับปี 2016 ที่ ตลาดหุ้น EMERGING MARKET ลงก่อนในช่วงแรก แล้วค่อยๆ ฟื้นขึ้นมาแรงในช่วง หลังชนะการเลือกตั้ง 3 –6 เดือน
สรุป ทั้งค่าเงินในประเทศที่มีความเสี่ยงถูกตั้งกำแพงภาษีอ่อนค่ามาในระดับหนึ่งแล้ว และตลาดหุ้น EMERGING MARKET ถูกกดดันตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา จนเปิดปี 2025 ดัชนีประเทศต่างใน EMERGING MARKET ทำจุดต่ำสุดในรอบหลายปี แสดง ให้เห็นถึงตลาดหุ้นดูดซับปัจจัยลบการเริ่มต้นเข้าสู่ยุค TRUMP 2.0 มาในระดับหนึ่ง แล้ว แต่หากประเด็นต่างๆ ไม่ได้รุนแรงก็มีโอกาสเห็นตลาดหุ้นในเอเชียรวมถึงไทยฟื้นขึ้นมาได้
Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์