Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

509

 

SET INDEX ดีดกลับได้เร็ว แต่ยังไม่แข็งแรง
SET INDEX วานนี้ดีดตัวขึ้นเร็ว 18.23 จุด ซึ่งมองว่าเป็นเพราะประเด็นกดดันที่เกิดขึ้นหลากหลายในช่วงต้นปี ไม่ว่าจะเป็น พรก.ภาษีส่วนเพิ่ม,ค่าไฟฟ้า 3.70 บาท/หน่วย หรือการระบาดของไวรัส HMPV เริ่มคลายตัวอย่างไรก็ตามยังไม่เห็นแรงขับเคลื่อนจากปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานที่ชัดเจน โดยประเด็นที่อยู่ในความสนใจคงเป็นเรื่องของทิศทางดอกเบี้ย ซึ่งณ ปัจจุบันมีความชัดเจนมากขึ้นว่า การปรับลดจากนี้ไป น่าจะยากขึ้นเนื่องจากมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่มีปรับลดลงได้ยากขึ้น และอาจมีการปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจในสหรัฐ ที่สะท้อนผ่านตลาดแรงงานยังแข็งแรง ส่วนในบ้านเรา แม้มีกระแสเรียกร้องให้ กนง. ปรับลดดอกเบี้ย แต่สัญญาณที่ถูกส่งออกมาผ่านตลาดการเงิน และท่าทีของธปท. ดูเหมือนว่าน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกระยะหนึ่งTECHNICAL REBOUND ของ SET INDEX น่าจะเบาลงตามลำดับ โดยประเมินแนวต้านแรกอยู่ที่ 1397 จุด และระดับถัดไปที่ 1405 จุด แนวรับที่
1385 จุด หุ้น TOP PICK เลือก ADVANC, AMATA และ COM7

สัญญาณดอกเบี้ยคมชัดขึ้น
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังดูแข็งแรง กำลังเพิ่มระดับความกังวลว่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยผลักเงินเฟ้อ หรือกดเงินเฟ้อให้เข้ากรอบเป้าหมายได้ยากขึ้น โดยล่าสุดมีสัญญาณจากตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจที่ออกมาสูงกว่าคาด ดังนี้

• ดัชนี PMI ภาคบริการของสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. 67 ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 54.1จุดซึ่งอยู่ในโซนขยายตัว (PMI > 50) ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6โดยมีแรงหนุนหลักๆ
มาจากทั้งคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้น กิจกรรมทางธุรกิจดีขึ้น และการจ้างงานที่ดูดี

• ตัวเลขเปิดรับสมัครงานในสหรัฐฯ (JOLTS JOB OPENINGS) เดือน พ.ย.67 เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 8.098 ล้านตำแหน่ง และทำจุดสูงสุดในรอบ 6 เดือนสะท้อน DEMAND การจ้างงานที่มากขึ้น

ในมุมของตลาดมองว่า FED อาจมีความ HAWKISH มากขึ้น สะท้อนจาก BONDYIELD 10Y สหรัฐฯ เร่งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 7 เดือน (อยู่ในระดับเดียวกับช่วงที่ดอกเบี้ยสหรัฐฯ 5.50%) ขณะที่ FEDWATCH TOOL คาดการณ์ว่า FED มีโอกาสคงดอกเบี้ยไว้ที่ 4.5% ยาวนานขึ้น และอาจเลื่อนการปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกของปีนี้มาเป็นเดือน มิ.ย. (เดิมเดือน พ.ค.)

นอกจากนี้ในฝั่งยุโรปยังมีการเผยตัวเลขเงินเฟ้อในเดือน ธ.ค. 67 ขยายตัว+2.4%YOY แม้จะออกมาตามตลาดการณ์ไว้ แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3อีกทั้งยังอยู่ในระดับสูงกว่ากรอบเป้าหมายราว 0.4%


ขณะที่แนวโน้มเงินเฟ้อระยะถัดไปยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เป็นเพราะมีโอกาสขยับขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลให้สงครามต่อสู้กับเงินเฟ้อไม่จบง่ายๆ โดยหากสังเกตุราคาน้ำมันดิบ WTI เฉลี่ย 6 วันแรกของปี 2025 อยู่ที่ 73.9 เหรียญฯ/บาเรล ซึ่งสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2024 ที่ 73.9 เหรียญฯ/บาเรล แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง มองเป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มอิงราคาน้ำมัย อาทิ PTTEP, PTT, PTTG, TOP, SPRC, BCP


นโยบายการเงิน-การคลังในช่วงต้นปี 68 เป็นอย่างไร
ตัวเลขเงินเฟ้อไทย ธ.ค. ออกมาต่ำคาด แต่ยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของ ธปท. 1%-3%ขณะที่ระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วง 1Q68 จะอยู่ที่+1.25%YOY โดยมีปัจจัยหนุนจากที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อาทิ โครงการแจกเงิน 10,000 บาท,ลดหย่อนภาษี EASY E-RECEIPTและมาตรการต่างๆ

ดังนั้น อัตราเงินเฟ้อที่มีโอกาสฟื้นตัว บวกกับทิศทางดอกเบี้ยของ FED ที่ส่งสัญญาณHAWKISH และทยอยลดดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 2 จึงทำให้ฝ่ายวิจัยฯ คาดว่า กนง. จะยังคงดอกเบี้ยไว้ระดับเดิม 2.25% ในช่วงไตรมาส 1 และอาจจะลดดอกเบี้ยสัก 1 ครั้งหรือ 0.25% ในไตรมาส 2 ซึ่งสอดคล้องกับมุมมอง ธปท.ที่ย้ำว่าการรักษา POLICYSPACE เป็นสิ่งสำคัญ ภายใต้ปัจจัยภายนอกที่มีความไม่แน่นอนสูง ทั้งทิศทางนโยบายการค้าโลก, ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์จึงยังคงมุมมองว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เป็นกลาง (NEUTRAL RATE) ประเด็นดังกล่าวจึงหนุนให้ BOND YIELD10 ปีของไทยยืนเหนือดอกเบี้ยนโยบายแล้วที่ระดับ 2.35%


ขณะที่ฝั่งนโยบายการคลังก็มีมาตรการออกมากระตุ้นมากมาย โดยวานนี้การประชุมครม.มีโครงการที่สำคัญ ดังนี้
1. ครม.เคาะกรอบวงเงินรายจ่ายปีงบประมาณ 69 ที่ 3.78 ล้านลบ.ขาดดุล 8.6แสนลบ.
2. ครม.เคาะมาตรการสินเชื่อ 2 หมื่นล้านบาท เสริมสภาพคล่อง SME
3. ครม.เคาะออกสลากการกุศล 11 ล้านฉบับ หวังระดมเงินใช้ขับเคลื่อน “หนึ่งอำเภอ หนึ่งทุน” ราว 30%
4. “จุลพันธ์” ยัน “ดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 3” ได้เห็นแน่ Q2/68 รอทดสอบระบบเสร็จในช่วงมี.ค.68

สรุป นโยบายการเงินอาจไม่ได้มากระตุ้นเศรษฐกิจช่วงสั้น แต่มีนโยบายการคลังเข้ามากระตุ้นแทน ซึ่งกลุ่มหุ้นที่คาดได้ประโยชน์ คือ กลุ่มเช่าซื้อ(MTC SAWAD TIDLOR)กลุ่มเครื่องดื่ม (CBG OSP ICHI SAPPE) กลุ่มเกษตร-อาหาร(CPF TU GFPT) กลุ่มค้าปลีก (CPALL CRC BJC CPAXT) เป็นต้น

ปัจจัยกดดันเริ่มคลายตัว ต่างชาติสลับมาซื้อ
ตลาดหุ้นไทยช่วงนี้ค่อนข้าง SENSITIVE เปิดปี 2025 มาได้ 4 วัน มีปัจจัยกดดันตลาดเข้ามา 4 เรื่องหลักๆ คือ GLOBAL MINIMUM TAX 15%, ลดค่าไฟ 3.7 บาท/หน่วย, กังวลไวรัส HMPV, ดาราจีนหายตัว กดดัน SET ผันผวนลงไปลึกสุดที่ 1370จุด และหุ้นที่เกี่ยวข้องปรับตัวลงแรง อาทิDELTA, STA, BGRIM, GPSC, GULF,CENTEL, ERW, MINT เป็นต้น (รายละเอียดดังตารางทางด้านล่าง)


แต่ SET INDEX ก็ค่อยๆ ฟื้นตัวกลับขึ้นมา ที่ 1390 จุด โดยประเด็นกดดันต่างๆ เริ่มผ่อนคลายลงมาบ้าง แต่หุ้นที่ถูกกระทบก็ยังย่อตัวเยอะ เชื่อว่ามีโอกาสค่อยๆ ฟื้นในช่วงสั้นๆ ได้

ขณะที่ FUND FLOW แม้แรงขาย LTF จะส่งผลให้สถาบันฯ เป็นผู้ขายสุทธิมากสุด -1.5 พันล้านบาท (YTD) แต่ยังมีเม็ดเงินจากต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 2.27 พันล้านบาท(YTD) ซื้อมากสุดเป็นอันดับ 3 ในภูมิภาค รองจากตลาดหุ้นไต้หวัน และตลาดหุ้นเกาหลีใต้


ยามตลาดหุ้นผันผวน แต่มี FUND FLOW สลับเข้ามาหนุน ฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการค้นหา 15 หุ้นที่ต่างชาติทยอยซื้อสะสมมากสุดในปี 2025 นี้ คือ BCP, BBL,
ADVANC, PTTGC, PTT, BDMS, TIDLOR, HANA, ICHI, CENTEL, BH, BGRIM,KCE, PTTEP, VGI

 

ดังนั้นในยามตลาดผันผวน แต่ประเด็นกระทบผ่อนคลายลงมาบ้าง และต่างชาติก็ทยอยซื้อสะสม แนะนำเก็งกำไรหุ้นลงลึกอาจฟื้นที่ต่างชาติทยอยซื้อ BCP, KCE,CENTEL, BGRIM และซื้อสะสมหุ้นพื้นฐานดีที่ต่างชาติก็ซื้อสะสม BBL, ADVANC,BDMS, BH, PTTEP

Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส

ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

1200 แตก By: แม่มดน้อย

แม่ดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ และแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นไทย ก็แตก 1,200 จุด ด้วยพ่อใหญ่อย่าง DELTA แม่ใหญ่ AOT เป็นหัวหอก....

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้