หุ้นไทย (ส่วนใหญ่) ไม่แพง แต่ยังไม่มีแรงซื้อ
ถ้าจะวัดระดับ SET INDEX ที่จุดเริ่มต้นในเดือน มกราคม ของทุกปี พบว่าที่ระดับ SET INDEX ปัจจุบัน(1384.76) นับเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 9 ปีโดยหากประเมินขนาด MARKET CAP ซึ่งอยู่ที่ 17.43 ล้านล้านบาท (ไม่รวม DELTA 15.53 ล้านล้านบาท) ถือเป็นระดับที่ต่ำกว่าขนาด GDP ของประเทศ ส่วนในมุมของ VALUATION พบว่ามีMARKET EARNINGYIELD GAP อยู่ที่ 4.6% และหากปรับลด EPS ปี 2568 ลงมา ก็เชื่อว่าMARKET EARNING YIELD GAP ยังสูงถึง 3.5% ซึ่งถือเป็นVALUATION ที่ถูกมาก อย่างไรก็ตามความถูกที่กล่าวมาข้างต้น ไม่สามารถทำให้ SET INDEX ปรับขึ้นได้หากไม่มีแรงหนุนจากกำลังซื้อที่มากพอ ซึ่งประเมินจากปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานก็ยังไม่เห็นประเด็นที่จะทำให้FUND FLOW ไหลกลับ และระยะสั้นยังมีการไถ่ถอน LTF กดดันอยู่แม้VALUATION บ้านเราจะไม่แพง แต่หากไม่มีแรงซื้อที่ต่อเนื่องหนุน การปรับขึ้นก็ยังยาก ในระยะสั้นหวังเพียง TECHNICAL REBOUND กรอบ1378-1390 จุด TOP PICK เลือก BCH, BJC และ TRUE
ปัจจัยแวดล้อมมีอะไรน่าสนใจบ้าง...มาดูกัน
ศุกร์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบ WTI ขยับขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 76.96 เหรียญฯ/บาเรล พุ่งทำจุดสูงสุดในรอบเกือบ 2 เดิอน โดยมีแรงหนุนหลักๆ มาจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นในยุโรปและสหรัฐฯ รวมถึงจีนส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมโดยล่าสุดรัฐบาลจีนมี SURPRISE ปรับขึ้นค่าแรงสำหรับข้าราชการจีนอย่างไม่คาดคิด นอกจากนี้จีนยัง เตรียมระดมทุนผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวพิเศษในปริมาณมหาศาลในปี 2568 เพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคธุรกิจและการบริโภคอีกทั้ง PBOC ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนนวัตกรรมและการบริโภคมากขึ้น พร้อมย้ำว่าจะปรับลดดอกเบี้ยและปรับลด RRR “ในเวลาที่เหมาะสม” คาดหนุนให้หุ้นกลุ่ม CHINAPLAY ได้รับ SETIMENT เชิงบวก อาทิ PTTGC, PTTEP, IVL, SCGP, ERW
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกบ้านเราโดยตรงหลัง GACC หน่วยงานด้านความปลอดภัยทางอาหารจีนออกคำสั่งฟ้าผ่าสั่งระงับการนำเข้าน้ำเชื่อม และ น้ำตาลผสมที่ส่งออกจากโรงงานผู้ผลิตไทย 74 ราย โดยอ้างว่าได้รับการร้องเรียนน้ำเชื่อมไทยไม่ปลอดภัย ส่งผลเรือขนส่งน้ำเชื่อมไทยมูลค่ามากกว่า 400 ล้านบาทต้องลอยลำอยู่กลางทะเลเข้าจีนไม่ได้คาดเป็น SENTIMENTเชิงลบต่อหุ้นกลุ่มน้ำตาล อาทิ KSL, BRR, KBS, KTISอย่างไรก็ตาม ในมุมผลกระทบเพิ่มเติมต่อภาคการค้าระหว่างประเทศของไทย ยังต้องจับตาอย่างใกลชิด หลังวันที่ 20 ม.ค. นี้โดยว่าที่ ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้าพิธีสาบานตน ดำรงตำแหน่งสมัยที่ 2 ว่าจะมีการประกาศเดินหน้านโยบายกีดกันทางภาษีอย่างไรบ้าง?
ทิศทางดอกเบี้ยมีแนวโน้ม “คง”ไว้ใน 1Q68
เงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลง หนุนให้ FED ลดดอกเบี้ยไปแล้วกว่า 1.0% (3 ครั้ง)ในช่วงปี 2567 แต่ล่าสุดเจ้าหน้าที่ FED ได้แก่ ADRIANA KUGLER (ผู้ว่าการ FED)และ MARY DALY (ประธาน FED สาขา SAN FRANCISCO) เน้นย้ำว่า
• การควบคุมเงินเฟ้อของ FED ยังไม่บรรลุเป้าหมาย
• สัญญาณว่า FED อาจลดดอกเบี้ยช้าลงในปีนี้ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
• ไม่ต้องการสร้างความเสียหายให้กับตลาดแรงงานสหรัฐฯ
• ผลกระทบของนโยบาย TRUMP ต่อเศรษฐกิจยังคงเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน และคาดเดาได้ยาก
ขณะที่ FEDWATCH TOOL คาดการณ์ว่า FED จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 4.5% ตลอดช่วง 1Q68และเริ่มปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกของปี 2568 ในการประชุมรอบเดือน พ.ค.
หากเปรียนเทียบ TIMELINE การประชุมธนาคารกลางต่างๆ บ้านเรามีการประชุมกนง. นัดแรกของปีวันที่ 26 ก.พ. 68 ซึ่งน่าจะเห็นการคงดอกเบี้ยไว้ที่ 2.25% โดยมีข้อสังเกตจาก 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้
1. FED มีแนวโน้มคงดอกเบี้ยในการประชุมรอบเดือน ม.ค. – มี.ค. 68
2. GDP GRWOTH ของไทยใน 4Q67 (ประกาศวันที่ 17 ก.พ. 68 ก่อนประชุมกนง. นัดแรก) มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง คาดว่าจะขยายตัวราว 3.5%YOY
และยังเติบโตเด่นในช่วง 1Q68 จากแรงหนุนของรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นจับจ่ายใช้สอย อาทิ โครงการแจกเงิน 10,000 บาท, ลดหน่อยภาษี EASY ERECEIPT
3. เงินเฟ้อของไทยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นสูงกรอบเป้าหมายที่ 1-3% โดยในเช้านี้ เวลา 10.30 น. มีรายงานตัวเลขเงินเฟ้อไทยเดือน ธ.ค. 67 ซึ่ง
CONSENSUS คาดขยายตัว +1.4%YOY
ส่วนมุมมองของฝ่ายวิจัยฯ เรามองว่ายังมีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดดอกเบี้ยสัก 1ครั้งราว 0.25% หรือ 25 BPS. แต่น่าจะทิ้งช่วงไปเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 หรือกลางปี 2568 ซึ่งหากมีการลดดอกเบี้ยสัก 1 ครั้ง จะสามารถขยับดัชนีเป้าหมายขึ้นราว 70จุด ตามกลไกของ P/E ที่ยกขึ้น 0.7 เท่า
SET INDEX ถูก แต่ขาด SENTIMENT ผลักดัน
ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินดัชนีหุ้นไทย เริ่มต้นมาในปี 2025 ถือว่าถูกมาก สะท้อนได้จาก SETINDEX เปิดตัววันแรกของปี 2025 ที่ 1380 จุด ถือว่าเป็นดัชนีในวันแรกของปีที่ต่ำที่สุดในรอบ 9 ปีรองจากอันดับ 8 คือ SET วันแรกของปี 2024 ที่ 1433 จุด และอันดับ7 SET วันแรกของปี 2021 ที่ 1468 จุด ต่างกับ SET INDEX วันแรกของปี 2018 ที่สูงที่สุด คือ 1779 จุด เป็นต้น
ส่วนปัจจัยกดดันดัชนีหลักๆ ในเดือนนี้ 2 เรื่อง อาจจะไม่รุนแรงอย่างที่คิด
1. ความกังวลแรงขายสถาบันฯ ในประเทศ ในเดือน ม.ค. อาจไม่รุนแรงมากอย่างที่นักลงทุนกังวล แม้ปี 2025 จะมียอด LTF คงค้างสามารถขายคืนได้
ครบทั้งหมด 2.3 แสนล้านบาท แต่เป็นยอด LTF ใหม่ที่ขายได้ของปี 2019 กว่า7 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีต้นทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่สูงถึง 1608 จุด อาจจะไม่ขาย
ออกมามากในช่วงนี้ บวกกับสถิติในอดดีต 5 ปี หลังสุด ในเดือน ม.ค. ปกติสถาบันฯ ในประเทศขายหนักเกือบทุกปี เฉลี่ยขายสุทธิ 1.58 หมื่นล้านบาท
ในเดือนเดียว แต่มีเพียง 2 ปีที่ SET INDEX ลบเยอะ คือ ปีโควิด 2020 กับปีที่แล้ว 2024 ที่กำไร 4Q23 ออกมาต่ำมาก 1.7 แสนล้านบาท ดังนั้นด้วย SET
INDEX ที่เปิดตัวมาในปี 2025 ต่ำสุดในรอบ 9 ปี อยู่แล้ว น่าจะเผชิญผลกระทบจากแรงขาย LTF จำกัดได้
2. แม้ SET INDEX มี DOWNSIDE จากการปรับลด EPS25F แต่ในมุมVALUATION ที่ SET INDEX 1400 จุด ถือว่ามี P/E EX DELTA ที่ถูก และมี
หุ้นขนาดใหญ่หลายบริษัทย่อตัวลงมาลึกมาก โดยปกตินักวิเคราะห์จะมีการปรับ FORWARD EPS ตลาดลงราว 1 ถึง 5 บาท/หุ้น ในช่วง 1 –3 เดือนแรก
ของปี โดยปัจจุบัน BLOOMBERG ประเมิน EPS25F ไว้ที่ 96.5 บาท/หุ้น แต่ฝ่ายวิจัยฯ ทำ SENSITIVITY EPS25F และ MARKET EARNING YIELD
GAP (MEYG) ของ SET INDEX ที่1400 จุด อิงสมมุติฐานกำไร DELTA ปี2025 ที่2.75 หมื่นล้านบาท และ BOND YIELD 1Y ที่ 2.25%พบว่า แม้ SETINDEX จะถูกปรับ EPS25F ลงไปเหลือ 85 –95 บาท/หุ้น แต่หากหัก DELTAออก จะมีEPS25F EX DELTA ที่92.9 –104.2 บาท/หุ้น หรือมีMARKETEARNING YIELD GAP (MEYG) กว้างถึง 4.4% - 5.2% (สูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีที่ 3.8%) หรือคิดเป็นกรอบ P/E 25F EX DELTA ที่ต่ำเพียง13.4 – 15 เท่า แสดงให้เห็นว่า ทั้งดัชนี และ P/E ของ SET INDEX ถูกบดบังแต่จริงๆ ต่ำมาก หรือ อีกนัยยะ คือ มีหุ้นที่ขึ้นแรงกระจุก แต่มีหุ้นที่ลงแรง
กระจายตัวอยู่มากกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งน่าจะเป็นจังหวะในการสะสมในระยะกลางถึงยาว
สรุป SET INDEX ยังแอบซ้อนความถูกมีหุ้นพื้นฐานลงแรงๆ ให้เลือกลงทุนระยะกลางยาวอยู่เยอะ อีกทั้งเริ่มต้นปี 2025 SET ต่ำสุดในรอบ 9 ปี และ ในมุม VALUATION ที่หาก SET ไม่รวม DELTA ก็มี EPS25F เพิ่มขึ้นราว 9 บาท และแม้จะถูกปรับ EPS ลงก็ยังซื้อขายบน P/E 25F EX DELTA ต่ำเพียง 13.4 – 15 เท่า
Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์