Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

411

 


ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook

แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ Brent: แรงกดดันที่ยังไม่หมดไป
Key Takeaways:
- ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลง 15% นับตั้งแต่ต้นไตรมาส 3/2024 และมีแนวโน้มลงทดสอบโซน 62-66 เหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น downside อีก 9-15% จากระดับปัจจุบัน
- อุปทานน้ำมันโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 1.9 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2025 จากการผลิตที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มนอก OPEC+ และการฟื้นตัวของการผลิตในลิเบียและคาซัคสถาน แม้ OPEC+ จะยังไม่กลับมาเพิ่มกำลังการผลิต
- การเติบโตของดีมานด์น้ำมันโลกชะลอตัวลงมากเหลือ 0.84 และ 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2024 และ 2025 จากเฉลี่ย 2 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วง 2022-2023 เนื่องจากการบริโภคของจีนที่ชะลอตัว

รายละเอียด:
ท่ามกลางความผันผวนของตลาดพลังงานโลก ราคาน้ำมันดิบ Brent ได้ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญราว 15% นับตั้งแต่ต้นไตรมาส 3/2024 สะท้อนให้เห็นถึงแรงกดดันด้านลบที่เพิ่มขึ้นต่อตลาดน้ำมัน โดยการปรับตัวลงดังกล่าวมีปัจจัยสนับสนุนทั้งจากพื้นฐานตลาดที่อ่อนแอลง ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ลดลง และรูปแบบทางเทคนิคที่ส่งสัญญาณเชิงลบ

การฟอร์มตัวในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ราคาน้ำมันดิบ Brent ได้เคลื่อนตัวในรูปแบบ Descending Triangle ซึ่งเป็นภาพที่บ่งชี้ถึงแนวโน้มขาลง นอกจากนี้ อัตราส่วน managed money long-to-short ที่ปรับตัวลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว ยังสะท้อนให้เห็นว่าเทรดเดอร์ในตลาดมีมุมมองเชิงลบต่อทิศทางราคาน้ำมันในปัจจุบัน

ในด้านอุปทาน ตลาดกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากการเพิ่มขึ้นของกำลังการผลิตจากประเทศนอกกลุ่ม OPEC+ โดยเฉพาะสหรัฐฯ บราซิล กายอานาแคนาดา อาเจนติน่า รวมถึงการฟื้นตัวของการผลิตในลิเบียและคาซัคสถาน ซึ่งส่งผลให้อุปทานน้ำมันโลกเพิ่มขึ้น 130,000 บาร์เรลต่อวันในเดือนพฤศจิกายน แตะระดับ 103.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน แม้ว่ากลุ่ม OPEC+ จะพยายามรักษาเสถียรภาพราคาด้วยการจำกัดโควตาการผลิต แต่การผลิตที่เพิ่มขึ้นจากประเทศนอกกลุ่มยังคงเป็นปัจจัยกดดันราคาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ อุปทานน้ำมันโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2025 โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน แตะระดับ 104.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยการเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากประเทศกลุ่ม Non OPEC+ ประมาณ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้อาจสร้างแรงกดดันต่อราคาน้ำมันในระยะกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่อัตราการเติบโตของดีมานด์มีแนวโน้มชะลอตัว

ทั้งนี้ การเติบโตของการบริโภคน้ำมันโลกในช่วงที่ผ่านมาแผ่วลงอย่างชัดเจน โดย IEA คาดว่าจะขยายตัวเพียง 0.84 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2024 และ 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2025 ซึ่งชะลอตัวลงมากเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตเฉลี่ยราว 2 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงปี 2022-2023 การชะลอตัวนี้มีสาเหตุหลักมาจากการบริโภคที่ลดลงของจีน โดยในไตรมาส 3/2024 ความต้องการน้ำมันของประเทศนอกกลุ่ม OECD เพิ่มขึ้นเพียง 320,000 บาร์เรลต่อวันเมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตรายไตรมาสที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ช่วงการระบาดของโควิด-19

นอกจากนี้ การเติบโตของความต้องการน้ำมันยังเผชิญความท้าทายเพิ่มเติมจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2025 รวมถึงความเสี่ยงจากสงครามการค้ารอบใหม่ที่อาจส่งผลให้กิจกรรมการค้าโลกชะลอตัว ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อประมาณการการเติบโตของความต้องการน้ำมันในปี 2025 ที่ IEA คาดการณ์ไว้ และทำให้มีการปรับประมาณการลงในภายหลัง (downward revision)

ที่มากไปกว่านั้น กลุ่ม OPEC+ ยังคงมี spare capacity ในระดับสูงกว่า 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งในสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันตกต่ำ อาจทำให้ประเทศสมาชิกบางรายเลือกที่จะผลิตน้ำมันเกินโควตาที่ได้รับการจัดสรร ดังที่มักเกิดขึ้นในอดีต สะท้อนจากข้อมูลที่แสดงว่าการผลิตรวมของกลุ่มในเดือนพฤศจิกายนสูงกว่าเป้าหมายถึง 680,000 บาร์เรลต่อวัน

จากปัจจัยทั้งหมดข้างต้น ทั้งแรงกดดันด้านอุปทานที่เพิ่มขึ้น การชะลอตัวของการบริโภค และความเสี่ยงที่ประเทศสมาชิก OPEC+ จะไม่ปฏิบัติตามโควตาการผลิต มีความเป็นไปได้สูงที่ราคาน้ำมันดิบ Brent จะปรับตัวลดลงต่อและมีโอกาสหลุดระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 70 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งอาจทำให้ราคาปรับตัวลงไปทดสอบโซน 62-66 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หรือคิดเป็นการปรับตัวลดลงราว 9-15% จากระดับราคาปัจจุบัน

สรุปภาพตลาดวานนี้
ดัชนีวานนี้หลุดกรอบล่างที่ต้องยื่น โดยหุ้น CPALL-CPAXT กลับมากดดันตลาดอีกครั้งหลังเจอประเด็น TRIS ออกความเห็นเพิ่มเติม ส่วนลูชิปอื่นๆ GULF-ADVANC-INTUCH และ DELTA TRUE AOT BDMS PTT ก็ลงไปด้วย กดดันตลาดในภาพรวม เพราะหุ้นที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นการช้อนหุ้นจากข้างล่างอย่าง BCP KCE HANA TU SCGP TOP ซึ่งไม่เพียงพอจะดันดัชนีกลับ

แนวโน้มตลาดวันนี้
ตามหาคนหาย “คุณวายุฯ”
หุ้นไทยลงหนักกว่าที่คาด รับสถานการณ์หุ้นโลก และสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากเฟดจำใจลดดอกเบี้ยทิ้งทวน พร้อมทั้งปรับลดมุมมองการลดดอกเบี้ย กลับไป ดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดขึ้นกว่าเดิม (จากเดิมปีหน้า เล็งลดดอกเบี้ย 4 ครั้ง เหลือ 2 ครั้ง) ถามต่อไปว่าลงวันเดียวพอไหม? จาก Dot plot เฟด
เบื้องต้นพอเห็นตลาดลงแรง คงคิดว่าไม่น่าพอ เพราะฝรั่งน่าจะเทขายหนักหน่วงแต่ถ้าดูจากแรงขายหลักๆ กลับไม่ใช่นักลงทุนต่างชาติ แต่เป็นกองทุนในประเทศ ซึ่งเรื่องของเฟด เอาจริงๆแล้ว โบรกต่างชาติส่วนใหญ่ล้วนปรับมุมมอง ดอกเบี้ย เฟดไปแล้วล่วงหน้า เราจึงคิดว่าไม่น่าจะเป็นประเด็นที่จะถ่วงหุ้นไทยได้นาน
ในอีกมุมที่เราคิด กองทุน ขายหนักแบบนี้ แล้วจะกลับมาโหลดหุ้นกลับบ้างไหม เราคิดว่าพอจะหวังได้หลังจากที่ขายลงมาหนัก และอาจเป็นโอกาสที่กองทุนจะได้ช้อนหุ้นไทยราคาถูก โดยเฉพาะกอง วายุฯ ที่หายไปจากหน้าข่าว...และเงินใหม่ที่จะซื้อกองทุนรวมเพื่อประหยัดภาษี! (ไม่ต้องรอซื้อ วันทำการสุดท้าย ตอนนี้โอกาสมา แล้ว!)
ส่วนการเลือกหุ้นในมุมมองกลยุทธ์ เราอาจจะยัง เลือกซื้อ แบบค่อยๆดูเป็นตัวๆไป อย่างระมัดระวัง เลือกแนะนำหุ้นเดิมๆ เพราะเราเตือนไว้แล้วว่า ความหวังที่จะเห็นตลาดหุ้นไทยแรลรี่ ริบหรี่ลง!!

กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์แนะนำ เลือกสะสมหุ้นกลุ่มเด่นที่เราคาดว่าจะมี Flows หมุนเข้ามาเล่น และหุ้นรายตัวที่มีประเด็นสนับสนุน

วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET เทกระจาด! ลงแรงภายหลังหลุดเส้น EMA 200 วัน เสี่ยงเปลี่ยนเทรนด์เป็นขาลง โดยพบจำนวนหุ้นปรับลงสูงถึง 400 หุ้นขึ้นมีไม่ถึง 100 บริษัท อาจต้องระมัดระวังการลงทุนไว้บ้าง ส่วนสายเทรด สายเล่นเด้งรับความความผันผวนได้ แนะจับตาจุด “rebound”บริเวณ 1360-1370 จุด (Fibo 61.8%) ปัจจุบันดัชนีลงใกล้เคียงและกำลังเข้าสู่เขต oversold เต็มตัว! แนะรอสัญญาณชี้ชัดอีกครั้ง
Note: หุ้นใหญ่กลุ่มแบงค์ ดูแข็งแกร่ง ส่วนแผนเทรดดิ้ง ธีม…บาทอ่อน กราฟใครสวยสุด ติดตามหน้าเลือกหุ้นประจำวันครับ

 

What to watch
ครม.เตรียมเคาะเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 4 ล้านคน ในสัปดาห์หน้า (ออกข่าวไปแล้ว รอ ครม.เห็นชอบ 24 ธ.ค.) ส่วนเฟส 3 ยังต้องรอ, มาตรการช้อปช่วยชาติ รอบใหม่
กนง. มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25% และคาด GDP ปี 2025 ยังมีโอกาสพลาดเป้า 2.9%
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 4.25-4.5% ตามคาด และส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยปีหน้าเพียง 2 ครั้ง (จากเดิม 4 ครั้ง) ทำให้ Bond Yields พุ่งอีกครั้ง
ประกาศหุ้นเข้า ออก จากการคำนวณ SET50-100 รอบ 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. 2024 อย่างเป็นทางการ เป็นไปตามประเมิน โดย
SET50 หุ้นเข้าใหม่ BANPU CCET COM7 SAWAD หุ้นออก BCP CENTEL EA TIDLOR, ส่วน SET100 หุ้นเข้าใหม่ CCET COCOCO JTS PR9 หุ้นออก MBK RBF TIPH TOA
FTSE Large Cap เพิ่ม MINT และ Mid Cap เพิ่ม CCET เข้าคำนวณมีผล 23 ธ.ค.นี้ (ใช้ราคาปิด 20 ธ.ค.)
ประชุมไตรภาคี ค่าแรง นัดประชุมใหม่ เป็น 23 ธค. คาดหวังจะมีการปรับขึ้นค่าแรง 400 บาท แบบมีเงื่อนไข
Goldman sachs upgrade หุ้น KTB, JP Morgan upgrade กลุ่มแบงก์

หุ้นแนะนำวันนี้
CRC หุ้นเด่น ค้าปลีกขานรับ มาตรการช้อปช่วยชาติ (E-Receipt) (S 33.5 R 35.5 SL 33)

 


รายงานพื้นฐานวันนี้

ECON
แนวโน้ม GDP มีโอกาสเติบโตน้อยกว่าตลาดประเมิน
เราคาดการณ์การเติบโตของ GDP ไทยปี 2025 ที่ 2.4% YoY ซึ่งชะลอตัวลงจากปี 2024 โดยมีความเสี่ยงสำคัญจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ 1) เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว (คู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทย) และ 2) ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่อาจรุนแรงขึ้น
กรณีแย่ที่สุด: หากความเสี่ยงทั้งสองเกิดขึ้นเต็มตัว เช่น ทรัมป์อาจเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 60-100% และเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นๆ ที่มีดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ ในอัตรา 10-20% การส่งออกของไทยอาจขยายตัวต่ำกว่า 1% (ประมาณ 0.5%) ในปี 2025 ซึ่งอาจกดดันให้ GDP เติบโตเพียง 1.9%
ปัญหาในประเทศ: เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญความท้าทายจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลัง COVID-19 ที่ยังไม่ทั่วถึง โดย SMEs ยังฟื้นตัวจำกัด เนื่องจากกำลังซื้อของครัวเรือนถูกจำกัด และการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงจากสินค้าจีนราคาถูก
ปัจจัยบวก: อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล (เช่น เงินช่วยเหลือ 10,000 บาท) และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของ GDP ไทยในปี 2025

Transport Sector
แนวโน้มปี 2025—
ผู้โดยสารขยายตัว และต้นทุนลดลง
รายงานวันนี้ สรุป 4 ประเด็นสำคัญของกลุ่มขนส่งสาธารณะ
1) ขนส่งทางอากาศ: การท่องเที่ยวขาเข้าไทยฟื้นตัว โดยในปี 2024 ได้รับการสนับสนุนจากมาตรการของรัฐ เช่น การยกเว้นวีซ่า ส่วนปี 2025 แนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวยังฟื้นตัวต่อ 7% YoY หนุนจำนวนผู้โดยสารของสายการบินไทย เช่น AAV และ BA ตลอดปีหน้า
2) ทางด่วน: คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้ทางด่วนจะขยายตัวในปี 2025 ตามการเติบโตของ GDP ไทย และการก่อสร้างใกล้จุดขึ้น-ลงทางด่วนที่น่าจะแล้วเสร็จ
3) ทางราง: คาดว่าจำนวนผู้โดยสารของ BEM และ BTS จะเติบโตในอัตราที่สูงกว่าทางด่วน ละหากมีการใช้นโยบายค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท อาจมี Upside ต่อประมาณการกำไร
4) ต้นทุนพลังงาน: ต้นทุนพลังงานคิดเป็นประมาณ 40% ของต้นทุนขายของ AAV (เชื้อเพลิงเครื่องบิน) และ 10% ของต้นทุนขายของ BEM และ BTS คาดว่าราคาน้ำมันเครื่องบินจะลดลงในปี 2025
Fundamental view: เราแนะนำ "ซื้อ" AAV และ BEM จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและการเติบโตของ GDP ไทยในปี 2025 แม้จะยังมีความไม่แน่นอนอยู่บ้าง


TCAP

(Visit Note)
ทุนธนชาต เห็น Downside ของกำไรปีนี้อยู่บ้าง
แนวโน้มผลการดำเนินงานของ TCAP จะยังดีต่อเนื่องในปี 2025 โดยเราคาด TTB ยังเน้นควบคุมคุณภาพสินทรัพย์เป็นหลัก และเน้นเติบโตในธุรกิจที่มีกำไรคุ้มค่ากับความเสี่ยง สำหรับธุรกิจศูนย์การค้าและโรงแรมของ MBK จะเติบโตต่อเนื่องในปี 2025 จากแนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นและการปรับเพิ่มค่าเช่าและโรงแรม
ทิศทางธุรกิจเช่าซื้อรถบรรทุกของ THANI ใน 4Q24 จะทรงตัว QoQ เพราะภาพรวมเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ตาม เราประเมินว่าผลการดำเนินงานของ THANI จะฟื้นตัวในปี 2025 จากแนวโน้มการลงทุนจากภาครัฐและเอกชนสูงขึ้น ส่งผลบวกต่อการเติบโตของสินเชื่อและคุณภาพสินทรัพย์ของ THANI
Our view: เราเห็น Bloomberg consensus downgraded earnings ของ TCAP ลง 3% หลังประกาศงบการเงิน 3Q24 ในเดือนพ.ย. 24 โดยล่าสุด Bloomberg consensus คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2024 ของ TCAP ที่ 6.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% YoY และคาดกำไรสุทธิปี 2025 จะเติบโต 6% YoY อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้ว กำไรสุทธิไตรมาส 4 จะอ่อนตัวลง QoQ ตามฤดูกาล ทำให้เราประเมินว่าแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2024 จะมี downside risk อยู่บ้าง
Market capitalization ของ TCAP ล่าสุดอยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านบาท มีส่วนลดจาก NAV (มูลค่าของธุรกิจสุทธิที่ถือตามสัดส่วนการถือหุ้น) อยู่ราว 18% ซึ่งเราคาดว่าเป็นส่วนลดของ Holding company แต่เราประเมินว่ากำไรสุทธิปี 2024 ของ Bloomberg consensus มีความเสี่ยง downside อยู่บ้าง
ทำให้เราชอบ BBL, KBANK และ KTB มากกว่า

 

สรุปประเด็นจาก Quick take

TOP
ไทยออยล์ การเพิ่มเงินลงทุนในโครงการ Clean Fuel Project (CFP)
บริษัทมีแผนเพิ่มเงินลงทุนในโครงการ Clean Fuel Project (CFP) ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2024 มีมติอนุมัติให้เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการเพิ่มเงินลงทุนในโครงการ Clean Fuel Project (CFP) จำนวนประมาณ 63,028 ล้านบาท (หรือประมาณ 1,776 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้างประมาณ 17,922 ล้านบาท (หรือประมาณ 505 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)


View From Fundamental: ข่าวดังกล่าวน่าจะเป็น negative sentiment ต่อราคาหุ้น นอกจากนั้น downside risk ต่อประมาณการกำไรน่าจะเป็นปัจจัยกดดันราคาหุ้นต่อไป เราจึงคงคำแนะนำ ขาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

เฟด คงดอกเบี้ย By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ ตลาดหุ้นไทย พัก แบบปรับฐาน ในเช้าวันนี้ หลังจากวานนี้ ดัชนฯพุ่งแรง ประกอบกับ เฟด ....

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้