AT THE OPEN (#ATO)
SET Index พักตัว เป็นจังหวะ Buy on Dip
เลือกหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยลงช้า
Market Strategy
SET Index คาดพักตัว 1380-1400 จุด กดดันจาก Fund Flow ต่างชาติหลัง FED ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยน้อยกว่าตลาดคาดในปี 68 แต่เรายังมองการปรับลงจะเป็นจังหวะตั้งรับ เนื่องจาก Valuation ของ SET Index บน PER68 14.8 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี -0.8 S.D. และคาดหวังต่อการ Window Dressing ช่วงปลายปี วันนี้แนะนำ TLI และ KTB
ผลการประชุม กนง. มีมติเอกฉันท์ คงดอกเบี้ยฯ 2.25% จากต้องการรักษา Policy Space รองรับความไม่แน่นอนเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ส่วนจุดที่น่าสนใจคือมุมมองเศรษฐกิจปี 68 ที่ยังคงเป้าหมาย GDP ปี 68 +2.9%YoY โดยแรงขับเคลื่อนจะมาจากการลงทุนภาค รัฐฯ ภาคเอกชนและภาคท่องเที่ยว ซึ่งสอดรับไปมุมมองของเรา จึงประเมินหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการการลงทุนภาครัฐฯ การท่องเที่ยวยังเป็น Theme ที่น่าสนใจในปี 68 โดยหุ้นที่เราชอบ CK TASCO SKY และ AAV
ผลการประชุม FED วานนี้มีมติลดดอกเบี้ย 25 bps มาที่ 4.5% ตามคาด แต่ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยฯ 2 ครั้งหรือ 50 bps มาที่ 4% น้อยกว่าตลาดคาด 3 ครั้งหรือ 75 bps มาที่ 3.75% จากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวได้ดีและเงินเฟ้อที่ลงช้ากว่าคาดการณ์รอบเดือน ก.ย. โดยรวมถือว่าเข้มงวดขึ้นกดดันตลาดหุ้นสหรัฐฯลงเฉลี่ย -3% U.S. Bond Yield 10 ปี เพิ่มขึ้น 12 bps และ Dollar Index แข็งค่า 1% การเคลื่อนไหวข้างต้นเป็นแรงกดดันต่อ Fund Flow ต่างชาติไหลออก ส่วนหุ้นในกลุ่ม Yield Sensitive น่าจะผันผวนซึ่งจะลบต่อกลุ่มไฟแนนซ์ กลุ่มโรงไฟฟ้า ในทางตรงข้ามจะเป็นบวกต่อหุ้นธนาคารและกลุ่มประกันฯ ซึ่งเราชอบ KTB และ TLI
ตลท. ประกาศหุ้นเข้าดัชนี SET50/SET100 และ SETESG รอบ 1H68 โดยรวมถือเป็นไปตามคาดหมายของเรา ซึ่งในเชิงกลยุทธ์หุ้นที่ถูกเข้าคำนวณจะได้แรงเก็งกำไรจากความหวังต่อเม็ดเงินของสถาบันเข้าหนุน โดยหุ้นที่เข้า SET50 ที่เราแนะนำซื้อในเชิงพื้นฐานคือ COM7 CCET หุ้นที่เข้า SET100 ที่เราแนะนำซื้อคือ PR9 CCET ส่วนหุ้นที่เข้าในดัชนี SETESG เนื่องจากมีมากถึง 22 บริษัท จึงเลือกหุ้นที่อยู่ใน SET100 ที่จะมีสภาพคล่องที่ดีกว่า โดยเราแนะนำซื้อ TLI TASCO และเก็งกำไร DELTA
Market Summary
SET Index พลิกบวก 3.4 จุด จากการฟิ้นของหุ้น Big Cap ที่ลงแรง CPAXT +2.8% CPALL +0.4% หลังชี้แจงเพิ่มรายละเอียดแผนธุรกิจ The Happitat กลุ่มธนาคารหลังการประชุม กนง. คงดอกเบี้ยฯ SCB+2.2% KTB +1% ด้านกลุ่มที่ลงแรง TRUE จากประเด็นข้อพิพาทกับ TOT กลุ่มตกแต่งบ้านที่กำลังซื้อฟื้นช้ากดดัน GLOBAL DOHOME HMPRO เฉลี่ย -1.7% โรงไฟฟ้าจากการขึ้นของ U.S. Bond Yield กดดัน GPSC -1.2% BGRIM -3%
ATO Daily Stock Picks
แนะนำ TLI KTB
KTB
ได้ Sentiment บวก
หลังผลประชุม FED และ BOT
KTB ยังเป็น Top Pick ของหุ้นในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ของเรา เนื่องจากมีพอร์ตสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำ แนวโน้มกำไรเติบโตชัดเจน มีเงินสำรองหนี้สูญสูง และมีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) สูงที่สุดในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่
Sentiment บวกระยะสั้นการส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยฯ ของ FED ที่ช้ากว่าตลาดเป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดตีความต่อมุมมองการลดดอกเบี้ยของ กนง. ที่ช้าลงเนื่องจากต้องการรักษา Policy Space จากความไม่แน่นอนของปัจจัยภายนอก ซึ่งจะเป็นบวกต่อการช่วยลดแรงกดดันต่อ NIM
ด้าน Valuation ซื้อขาย PBV ต่ำเพียง 0.6 เท่า คาดจ่ายปันผลปีละครั้งสูงที่ 5.3%/5.9% ในปี 67/68 นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าได้แรงซื้อจากกองทุนวายุภักษ์ เป็นปัจจัยที่ช่วยจำกัด Downside ของราคาหุ้น
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 25.00 บาท
TLI
ได้ประโยชน์จาก Yield Curve Steepening และเปลี่ยนมาตรฐาน
การส่งสัญญาณของ FED ต่อการส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยฯ ที่ช้าลง ขณะที่นโยบายของคุณทรัมป์ ที่ทำให้เงินเฟ้อลงช้าเรามองเป็นปัจจัยหนุนต่อ Bond Yield 10 ของสหรัฐฯที่ปรับขึ้น ซึ่งมี Correlation กับ Bond Yield 10 ไทยสูง 76% จึงอาจเกิดภาวะ Yield Curve Steepening ในบ้านเรา
TLI ได้ประโยชน์จากภาวะ Yield Curve Steepening ดังกล่าวเนื่องจากระยะเวลาหนี้สินยาวกว่าสินทรัพย์ 1 ปี ทำให้มูลค่าหนี้สินลดลงเร็วกว่าสินทรัพย์เมื่ออัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงไปสู่มาตรฐานการบัญชี IFRS17 คาดว่าจะส่งผลดีต่อกำไรของ TLI โดยสะท้อนถึงความสามารถในการทำกำไรของผลิตภัณฑ์ที่เพิ่งขายไปได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 13.50 บาท
KEY FACTOR
กนง. มีมติเอกฉันท์ คงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.25% เพื่อรักษาความยืดหยุ่นหรือขอบเขตในการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคต รอความชัดเจนจากประเด็นความไม่แน่นอนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนิน นโยบายการเงินของต่างประเทศ ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ นโยบายการค้าระหว่างประเทศ-การกีดกันทางการค้า
นอกจากนี้ ธปท. เปิดเผยประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจรอบใหม่ (ครั้งล่าสุดคือเดือน ต.ค.) โดยคาดGDP ปี 2567 และ 2568 ขยายตัว +2.7% และ +2.9% ตามลำดับ โดยปีนี้มีการปรับประมาณการให้สอดคล้องกับตัวเลขเที่เกิดขึ้นจริง โดยขยับขึ้นทั้งหมด ทั้ง กำลังซื้อในประเทศ (คาด +2.8%) การส่งออกสินค้าและบริการ (คาด +4.9%) โดยมีแรงหนุนหลักมาจากภาคบริการ (โรงแรมและร้านอาหาร การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม การขนส่ง ธุรกิจการค้าขนาดใหญ่) ในขณะที่ภาคการผลิต รวมถึงธุรกิจ SMEs ยังฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์บางส่วน ในขณะเดียวกันคงคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวที่ระดับ 36 และ 39.5 ล้านคน ในปี 2567-2568 ตามลำดับ
EYES ON
18 ธ.ค. การประชุม FOMC, การประชุม กนง.
19 ธ.ค. GDP 3Q67 ของสหรัฐฯ (รายงานครั้งที่ 3)
นักกลยุทธ์ : ธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์, ชาญชัย พันทาธนากิจ