ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook
แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
อัปเดต Sentiment การลงทุนในภูมิภาคจาก Fund Flow
Key Takeaways
กระแสเงินทุนต่างชาติกลับมาไหลออกอีกครั้ง โดยมียอดขายสุทธิมูลค่า 1,346 ล้านเหรียญ และการขายกระจายไปในหลายประเทศ ยกเว้นเกาหลีใต้
เซคเตอร์เด่นของภูมิภาคในสัปดาห์ที่แล้วจากการจับสัญญาณด้วย Volume Index ได้แก่ Energy และ Mining & Oil โดยมีแรงซื้อเด่นในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
บรรยากาศการลงทุนที่อ่อนแอและปริมาณการซื้อขายที่เบาบางยังคงกดดันตลาดหุ้นไทย โดย market breadth ยังคงอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม
รายละเอียด:
การติดตามกระแสการลงทุน (fund flows) ใน 5 ประเทศในสัปดาห์ที่ผ่านมา มียอดขายสุทธิ 1,346 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการพลิกกลับมาขายอีกครั้ง หลังมีแรงซื้อสลับเข้ามาในสัปดาห์ก่อนหน้าเพียงสัปดาห์เดียว ที่ระดับ 2,452 ล้านเหรียญ โดยมี net outflow ใน 4 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน 1,027 ล้านเหรียญ ไทย 174 ล้านเหรียญ อินโดนีเซีย 169 ล้านเหรียญ ฟิลิปปินส์ 4 ล้านเหรียญ ส่วนเกาหลีใต้มี net inflow ที่ 29 ล้านเหรียญ
สำหรับเซคเตอร์เด่นของภูมิภาคจากการจับสัญญาณด้วย Volume Index ได้แก่ Energy ในอินโดนีเซีย Mining & Oil ในฟิลิปปินส์ และ Electric & Electronic Equipment ในเกาหลีใต้
แนวโน้ม:
เซคเตอร์ไทยที่น่าจับตาในระยะสั้น (เฉพาะที่ cover ในรายงาน Flow Tracker) ได้แก่ กลุ่ม Bank โดย Volume Index มีแนวโน้มแข็งแรงกว่าเซคเตอร์อื่นๆ
อัปเดต Market-timing Indicator (เฉพาะตลาดหุ้นไทย):
ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหว sideway down กดดันจากบรรยากาศการลงทุนที่อ่อนแอและปริมาณการซื้อขายที่เบาบาง อีกทั้งดัชนี SET ยังหลุดแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1440 จุด เราคาดว่าความผันผวนของตลาดจะเพิ่มสูงขึ้นในระยะอันใกล้ เนื่องจาก market-timing indicators กำลังส่ง
สัญญาณ ดังนี้:
ดัชนี Composite Short-term ปรับตัวแข็งแกร่งขึ้นในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของดัชนี Short-term Bull-to-Bear ที่ปรับขึ้นจากกรอบล่าง อย่างไรก็ตาม แนวโน้มดังกล่าวอาจขาดความยั่งยืน เนื่องจากดัชนี Short-term Momentum Strength ได้ปรับตัวเข้าสู่โซนลบแล้ว ซึ่งอาจกดดันโมเมนตัมของตลาดให้ชะลอตัวลงต่อไป
Medium-term Indicators: ตัวชี้วัดสำคัญในระยะกลาง เช่น Medium-term Momentum Index, Medium-term Bull-to-Bear และ Volume Flow Index ต่างปรับตัวลดลง สะท้อนถึงแนวโน้มที่อ่อนแอในภาพรวม ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับความผันผวนเพิ่มขึ้นในระยะอันใกล้
สรุปภาพตลาดวานนี้
CPAXT-CPALL พาตลาดลงตั้งแต่เช้า หลังจากมีประเด็นข่าวเข้าลงทุนโครงการอสังหาฯ ให้เช่า ในฟอเรสเทียร์ นอกจากนี้ CPF ก็ย่อลงมาตามด้วย ส่วนกลุ่มอื่นๆ ที่ยังเห็นลงต่อ รพ. BH-BDMS ขณะที่ด้านบวกดันตลาดไว้ PTT GULF INTUCH TRUE COM7 CRC BTS-VGI
แนวโน้มตลาดวันนี้
ความหวังซานต้าแรลรี่ ริบหรี่
ตามที่เราลดความคาดหวังที่จะเห็นภาพของเล่นขึ้น กลับไปยืนบนเส้นทางแนวโน้มขาขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ ซึ่งเมื่อวาน หุ้นกลุ่ม ซีพี นำโดย CPAXT CPALL CPF ซ้ำเติมโมเมนตั้มตลาด ด้วยข่าวการเข้าลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ มิกซ์ยูส ที่ CPAXT เพิ่งประกาศเข้าลงทุนในธุรกิจกลุ่ม แฮปปี้แทท แอท เดอะ ฟอร์เรสเทียส์ ส่งผลราคาหุ้นลงแรงยกกลุ่ม กดดันภาพรวมตลาด...
แม้ปัจจัยมหภาค ทั้งในและต่างประเทศ ดูจะไม่ค่อยมีเรื่องใหม่ เข้ามากระทบตลาดแต่ มาเจอประเด็นรายตัวแบบ CPAXT คาดกดดันภาวะการลงทุนโดยรวมต่อเนื่อง เพราะนอกเหนือจากหุ้นเชื่อมโยงแล้ว ยังอาจมีผลกระทบทางอ้อมไปที่หุ้น อสังหาฯ มิกซ์ยูส อื่นๆ ด้วย ซึ่งเรามองว่าการเข้าลงทุนแบบนี้ สะท้อนภาวะ ตลาดมิกซ์ยูส ที่กำลังเผชิญกำลังซื้อ และค่าเช่า ที่อ่อนแอกว่าที่คาด
จากประเด็นดังกล่าว อาจทำให้หุ้นกลุ่มเด่นที่เรา เคยเชื่อว่าจะกลับมานำตลาด อย่าง ค้าปลีก โรงแรม คงพึ่งพาไม่ได้ ทำให้เราปรับโทนในการเล่นหุ้นไทยลง เหลือแค่กลุ่มหุ้นผู้นำอย่าง ธนาคาร ที่พอจะฝากความหวังในการนำพาตลาด
กลยุทธ์ แนะนำ เลือกลงทุนหุ้นรายตัว แม้ดัชนีฯจะไม่ขยับขึ้นอย่างที่คาด แต่อย่างน้อยน่าจะมีเด้งลักษณะ Range bound ได้ในระหว่างสัปดาห์ หนุนบรรยากาศลงทุนหุ้นรายตัว หุ้นขนาดกลาง เล็ก และหุ้นที่มีธุรกิจในเครือปรับลงแรงกว่าตลาดมาตลอดปี น่าจะรีบาวด์ บนความคาดหวัง Window dressing ตัวอย่างเช่น BTS VGI BEM IVL ฯลฯ ที่เราเห็นการรีบาวด์ ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยบางทีราคาหุ้นที่เด้ง อาจไม่ได้มีข่าว หรือ ประเด็นด้านบวกเข้ามาหนุนแบบชัดๆ ก็ตาม...
กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์แนะนำ เลือกสะสมหุ้นกลุ่มเด่นที่เราคาดว่าจะมี Flows หมุนเข้ามาเล่น และหุ้นรายตัวที่มีประเด็นสนับสนุน
วิเคราะห์ทางเทคนิค
ดัชนีลงมากกว่าคาด นำโดย CPAXT (-18.7%) & CPALL (-5.6%) ร่วง! ฉุดดัชนีปรับตัวลงถึง 7.7 จุด เข้าใกล้เส้น EMA 200 วัน 1,410 จุดขณะที่โมเมนตัม RSI อ่อนแรง…กำลังเคลื่อนเข้าสู่ภาวะ oversold… มุมมองตลาด อาจต้องลุ้นเหนื่อยเนื่องจาก Fund flow ต่างชาติยังขายต่อเนื่อง แต่!ยังมีกองทุนในประเทศ เป็นตัวช่วยประคองตลาดเอาไว้
สรุป: SET หลังพิงเชือก ต้องสู้ยืนเหนือ 1,400-1,410 จุดให้ได้ ไฟท์บังคับขอลุ้นดัชนีฟื้นตัวช่วงโค้งสุดท้ายของปี โดยมีเงื่อนไขไม่หลุดเส้น 200 วันครับ
What to watch
ประชุมไตรภาคี ค่าแรง นัดประชุมใหม่ เป็น 23 ธ.ค. คาดหวังจะมีการปรับขึ้นค่าแรง 400 บาท แบบมีเงื่อนไข
การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ 18 ธ.ค. คาดลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 4.25-4.5%
การประชุม กนง. 18 ธ.ค. ตลาดคาดคงดอกเบี้ย 2.25%
FTSE Large Cap เพิ่ม MINT และ Mid Cap เพิ่ม CCET เข้าคำนวณมีผล 23 ธ.ค.นี้ (ใช้ราคาปิด 20 ธ.ค.)
หุ้นเข้า ออก จากการคำนวณ SET50-100 รอบใหม่ คาดหุ้นเข้า SET50 มี SAWAD CCET BANPU COM7
ตลท.ประกาศรายชื่อ 228 หุ้นคิด SET ESG Rating ปี 67
Goldman sachs upgrade หุ้น KTB, JP Morgan upgrade กลุ่มแบงก์
หุ้นแนะนำวันนี้
BTS ได้หนี้คืนจาก กทม. เพิ่มทุนสำเร็จ, เตรียมรับนโยบาย 20 บาท ตลอดสาย, ฤดูกาลขนส่งเพิ่มขึ้น ช่วงนี้มีแต่ข่าวหนุน
(S 6 R 6.5 SL 5.8)
รายงานพื้นฐานวันนี้
Retail Finance Sector
แนวโน้มปี 2025—การเติบโตที่แข็งแรงขึ้น
เราประเมินว่าหุ้นในกลุ่มการเงิน (Retail Finance) จะเพิ่มความน่าสนใจในปี 2025 จาก 3 เรื่อง ได้แก่
1) Bond yield ระยะ 2 ปี ของไทย ล่าสุดอยู่ที่ 1.99% ลดลง 12bps นับตั้งแต่ กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปเมื่อวันที่ 16 ต.ค. ที่ผ่านมา ทำให้เราประเมินว่ากนง. มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมในวันพรุ่งนี้ หรือในการประชุมครั้งถัดไปในเดือนก.พ. 2025
2) เราคาดต้นทุนทางการเงิน (cost of funds) ปี 2025 เฉลี่ยของกลุ่มที่ 3.83% เพิ่มขึ้น 8bps YoY หรือเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงมากเมื่อเทียบกับปีนี้ และแม้กรณี Downside ราว 3bps โดยเฉลี่ย คาดว่า จะเป็น Downside จาก SAWAD ราว 4bps และ TIDLOR ราว 3bps ในขณะที่ KTC และ MTC เราคาดว่า ยังสอดคล้องกับประมาณการของเรา
3) แนวโน้มกำไรสุทธิ 4Q24 ของกลุ่ม Retail Finance จะขึ้นทำ New High รายไตรมาส โดยเติบโต 9% YoY และ 1% QoQ จากสินเชื่อเติบโตต่อเนื่องและ credit cost อ่อนตัวลง โดยบริษัทที่เราคาดว่าจะเห็นกำไรเติบโตโดดเด่น YoY ใน 4Q24 นำโดย MTC ตามมาด้วย TIDLOR, SAWAD และ KTC
นอกจากนี้ หากมองไปที่ปี 2025 เราคาดกำไรสุทธิของกลุ่ม Retail Finance จะเติบโต 11% YoY จากสินเชื่อเติบโต 10% YoY โดยเราคาด MTC จะรายงานกำไรสุทธิปี 2025 เติบโตโดดเด่นสุดในกลุ่มฯ ที่ 18% YoY ตามมาด้วย SAWAD และ TIDLOR เติบโตใกล้เคียงกันที่ 12% YoY และ KTC ที่ 5% YoY
Fundamental view: เราเลือก MTC เป็น Top pick
Weekly Commodities
ส่วนใหญ่ปรับตัวลง WoW
ภาพรวมกลุ่ม: สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบและบางสเปรดเคมีปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ปรับตัวลง WoW นำโดย Baltic Dry Index (BDI) ตามมาด้วยค่าการกลั่น (GRM)
น้ำมันดิบ: ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเพิ่มขึ้น $0.32 WoW มาอยู่ที่ $72.56/bbl จากคาดการณ์อุปทานรัสเซียจำกัด หลัง EU เห็นชอบมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ และความคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน
GRM: ค่าการกลั่นสิงคโปร์ลดลง $0.37 WoW มาอยู่ที่ $5.71/bbl โดยค่าการกลั่น Jet Fuel และ Fuel Oil ถูกกดดันจากอุปทานล้นตลาดและสต๊อกในสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ดีมานด์ในภูมิภาคที่แข็งแกร่งหนุนสเปรดน้ำมันเบนซิน (+$1.02 WoW) และดีเซล (+$0.67 WoW)
สเปรดเคมี: ส่วนต่างราคาเคมีผันผวน สเปรด Ethylene (+$2 WoW) และ Propylene (+$12 WoW) ปรับขึ้น ขณะที่สเปรด HDPE (-$8 WoW) และ PP (-$8 WoW) ปรับตัวลดลง
ถ่านหิน: ดัชนี Newcastle ลดลงอีก 3% WoW มาอยู่ที่ $131.18/tonne จากอุปสงค์ที่ซบเซาในภูมิภาคเอเชีย
ค่าระวางเรือ: BDI ลดลง 8% WoW อยู่ที่ 1,107 ตามแรงกดดันจาก Capesize (-18% WoW) และ Supramax (-1% WoW) ในขณะที่ Panamax เพิ่มขึ้น 2% WoW ด้านดัชนีค่าระวางตู้คอนเทนเนอร์ (World Container Index) ลดลงเล็กน้อย 4 จุด WoW มาอยู่ที่ 3,529
Fundamental view: เรายังคงชอบ IVL มากสุดในกลุ่ม จากแนวโน้มกำไร 4Q24 ที่แข็งแกร่ง ขณะที่แนะนำขายกลุ่มโรงกลั่นหลัง High Season ใน 4Q24 เนื่องจากแนวโน้มจะอ่อนตัวลงใน 1Q25
SC
เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น
อยู่รอดด้วยแบรนด์-ตำแหน่งทางการตลาด ที่แข็งแกร่ง
SC เปิดตัวโครงการใหม่สองโครงการในปลาย 3Q24 - ต้น 4Q24 ได้แก่ 1) The Connoisseur Patthanakan (มูลค่า 1.8 พันล้านบาท) ราคาเฉลี่ย 120 ล้านบาท/ยูนิต มียอดขายไปแล้วกว่า 55% ซึ่งสูงกว่าที่บริษัทคาดไว้มาก โดย 5 หลัง มูลค่า 665 ล้านบาทจะเริ่มรับรู้ใน 4Q24 นี้เลย และ 2) คอนโด Reference เอกมัย (3.2 พันล้านบาท) ยอดขาย 75% เกินเป้าหมายที่บริษัทตั้งไว้ที่ 40% โดยการขายที่ดีนั้น ครึ่งนึงมาจากการขาย big-lot ให้นักลงทุนต่างชาติ
ดังนั้น จากสองโครงการที่ขายไปค่อนข้างดีนี้ ทำให้เราคาด presales รวม จะจบราว 7.0 พันล้านบาท ลดลง 4% YoY แต่เพิ่มขึ้น 8% QoQ และประเมินกำไรหลัก 4Q24 ที่ 791 ล้านบาท ลดลง 7% YoY แต่เพิ่มขึ้น 56% QoQ โดยจะมีการโอนโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ 2 โครงการ ได้แก่ สโคป ทองหล่อ และโครงการเรฟเฟอเรนซ์ สาทร-วงเวียนใหญ่
สำหรับแผนธุรกิจในปี 2025 ผู้บริหารคาดจะเปิดตัวใกล้เคียงหรือลดลงจากปีนี้ โดยเน้นบ้านเดี่ยวระดับบนมากขึ้น และจะเปิดตัวโครงการคอนโดเพิ่มขึ้น จากกำลังซื้อที่ยังคงแข็งแกร่งอยู่ของ 2 กลุ่มตลาดบนนี้
Fundamental view: เรามองว่า presales ที่ดีใน 4Q24 จะเป็น catalyst ระยะสั้นให้กับราคาหุ้นได้ เราเห็นถึงโอกาสการเก็งกำไรระยะสั้น แต่ในภาพระยะกลางถึงยาว ยังคงได้รับแรงกดดันจากการเปิดตัวโครงการที่ลดลง และการแข่งขันด้านราคา จึงยังคงคำแนะนำถือ ในเชิงพื้นฐาน
Quantitative Strategy
ตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้น
เราคาดว่าความผันผวนของตลาดจะเพิ่มสูงขึ้นในระยะอันใกล้ แม้ว่า ดัชนี Composite Short-term ปรับตัวแข็งแกร่งขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา หนุนจากการฟื้นตัวของดัชนี Short-term Bull-to-Bear ที่ปรับขึ้นจากกรอบล่าง แต่แนวโน้มดังกล่าวอาจขาดความยั่งยืน เนื่องจากดัชนี Short-term Momentum Strength ได้ปรับตัวเข้าสู่โซนลบแล้ว ซึ่งอาจกดดันโมเมนตัมของตลาดให้ชะลอตัวลงต่อไป ขณะที่ตัวชี้วัดสำคัญในระยะกลาง เช่น Medium-term Momentum Index, Medium-term Bull-to-Bear และ Volume Flow Index ต่างปรับตัวลดลง สะท้อนถึงแนวโน้มที่อ่อนแอในภาพรวม เราประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของ SET ในช่วงสองสัปดาห์ข้างหน้าไว้ที่ 1380-1440 จุด
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน