น้ำหนักทางลบ ดูจะมากกว่าบวกเล็กน้อย
เข้าสู่ช่วงการประชุมธนาคารกลางของหลายประเทศ ล่าสุด ECB ปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25%และในสัปดาห์หน้าก็เป็นคิวของFED แต่อย่างไรก็ตามทิศทางดังกล่าวก็อยู่ในความคาดหมาย ส่วนปัจจัยที่อาจมีผลทางลบซึ่งเรามองว่าเป็นเชิงกระแสมากกว่าตัวเงินคือการเก็บภาษีส่วนเพิ่มของบริษัทข้ามชาติตามเกณฑ์PILLAR 2 ของ OECD ซึ่งกำหนดให้บริษัทข้ามชาติที่มีฐานรายได้รวมเกิน 750 ล้านยูโร ที่มีการดำเนินธุรกิจในกลุ่มประเทศ OECD ใช้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 15% ทั้งนี้ถือเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการที่ประเทศไทยจะสมัครเข้าเป็นสมาชิก OECDและแนวทางนี้ก็น่าจะเป็นแนวคิดเบื้องต้นที่ รมว.คลังเคยกล่าวถึงการปรับโครงสร้างภาษี โดยพูดถึงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงจาก 20%เหลือ 15% ส่วนการแถลงผลงานรัฐบาล ยังไม่มีพูดถึงของขวัญปีใหม่น้ำหนักปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานเช้านี้ค่อนไปทางลบเล็กน้อย คาด SETINDEX ผันผวนในกรอบ 1435 – 1448 จุด หุ้น TOP PICK วันนี้เลือกBDMS, MTC และ PTTGC
โลกเข้าสู่โหมดดอกเบี้ยขาลง
วานนี้ ECB มีมติลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% สู่ระดับ 3.0% (ลดดอกเบี้ย 4 ครั้งติดต่อกัน) หลังเงินเฟ้อยุโรปชะลอตัวลงสู่กรอบเป้าหมาย 2% รวมถึงภาพรวม
เศรษฐกิจเติบโตลดลงชัดเจน จาก DEMAND อ่อนแอ และยังมีเรื่องรบกวนจากความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในเยอรมนีและฝรั่งเศส สำหรับทิศดอกเบี้ยในปี 2568BLOOMBERG คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 2%
นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังส่งสัญญาณผ่อนปรนนโยบายทางการเงินมากขึ้นโดยได้ประกาศเปลี่ยนนโยบายการเงินครั้งแรกในรอบ 14 ปี จากเดิมที่มีท่าทีแบบ
“รอบคอบ” (PRUDENT) ที่ใช้ตั้งแต่ปี 2011 จะปรับเป็นแบบ “ผ่อนคลายปานกลาง”(MODERATELY LOOSE) ในปี 2568 ด้านนักเศรษฐศาสตรีนคาดว่า ดอกเบี้ยอาจลดลงอีกราว 0.4 –0.6%
ขณะที่สหรัฐฯ มีกำหนดประชุม FED ในวันที่ 18 ธ.ค. 67 (หรือวันที่ 19 ธ.ค.เวลา 1.00 น. ตามประเทศไทย) โดย CONSENSUS คาดว่าจะเห็นการปรับลดลงอีก0.25% สู่ระดับ 4.5% สอดคล้องกับคาดการณ์ของ DOT PLOT ส่วนทิศดอกเบี้ยในปี 2568 BLOOMBERG คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 3.5%
ส่วนบ้านเรา มีกำหนดประชุม กนง. ในวันที่ 18 ธ.ค. 67 (ก่อนประชุม FED) โดยCONSENSUS คาดว่าจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.25% หลังจาก SURPRISE ลดดอกเบี้ย 0.25% ในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา
สรุป กรณีที่ดอกเบี้ยสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง แต่บ้านเรายังคงดอกเบี้ย น่าจะกดดัน DOLLAR อ่อนค่า และทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นในเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งเชื่อว่าจะหนุนให้FUND FLOW ต่างชาติไหลเข้าไทยได้
ปัจจัยในประเทศมีอะไรบ้าง ที่น่าจับตามอง
วานนี้ นายกฯแถลงผลงานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา และ เกรินถึงนโยบายระยะยาวรวมถึงสิ่งที่รัฐบาลจะทำในปี 2568ว่ามีอะไรบ้าง โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
• บ้านเพื่อคนไทย เปิดชมนโยบาย 20 ม.ค.68 นำร่อง 4 พื้นที่ ธนบุรี ,บางซื่อกม. 11,เชียงราก ปทุมธานี ,เชียงใหม่
• รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย คาดกรอบเวลา ก.ย.68
• DIGITAL WALLET เฟส 1 คาดดัน GDP 4Q67โตเกิน 3%YOY ส่วนเฟส 2คาดเกิดขึ้นภายในตรุษจีน 68 (ผู้สูงอายุ-เงินสด) และเฟส 3 คาดเกิดขึ้นภายใน
ปี 2568 (บุคคลทั่วไป-DIGITAL)ประเด็นดังกล่าว คาดหนุนให้ GDP GROWTH ปี 2025 โต 3-3.5%YOY ดังที่รัฐบาลตั้งไว้
ส่วนอีก 1 ประเด็นบวก คือ วานนี้S&P GLOBAL RATINGS (S&P) คงอันดับความน่าเชื่อถือประเทศไทยที่ "BBB+" พร้อมคงมุมมองความน่าเชื่อถือของระดับมีเสถียรภาพ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2567 +2.8%YOY และปี 2568+3.1%YOY อีกทั้งในอนาคตมีโอกาสที่ S&P GLOBAL RATINGS (S&P)จะปรับเพิ่มระดับความน่าเชื่อถือเป็น "A-" หากการเมืองไทยมีเสถียรภาพและดำเนินนโยบายอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามมีปัจจัยลบ กดดันตลาดฯ หลังมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม(ITIF) ได้เผยดัชนีใหม่ในชื่อ TRUMP RISK INDEX ซึ่งจัดอันดับประเทศพันธมิตรสหรัฐฯ 39 ประเทศตามระดับความเสี่ยงที่ประเทศเหล่านี้อาจได้รับผลกระทบจากนโยบายภาษีของรัฐบาลยุค TRUMP 2.0 ซึ่งประเทศไทย เสี่ยงเป็นอันดับ 2 เป็นรองแค่เม็กซิโกเท่านั้น ซึ่งหากพิจารณาในเชิงตัวเลขจะเห็นได้ว่าสอดคล้องกับความเสี่ยงดังกล่าวพอสมควร โดยไทยพึงพาการส่งออกไปสหรัฐฯ สูงขึ้นเรื่อยๆ จนล่าสุดมีสัดส่วน 17% ของการส่งออกทั้งหมด ขณะที่สหรัฐขาดดุลกับไทยเพิ่มขึ้นจากปี 2561ที่ 1.68 หมื่นล้านเหรียญ (อันดับ 13 ของโลก) ในปี 2566 เพิ่มขึ้นเป็น 3.7 หมื่นล้านเหรียญ (อันดับ 11 ของโลก) ดังรูปด้านล่าง
สรุป ปัจจัยในประเทศมีทั้งปัจจัยบวกและลบ แต่ในยาม VOLUME ซื้อขายเบาบางเช่นนี้คาดปัจจัยทั้งหมดไม่น่าส่งผลต่อ SET ในช่วงสั้นมากนัก โดยคาดกรอบการเคลื่อนไหวของ SET วันนี้1435-1448 จุด
ครม. เห็นชอบพรก. จัดเก็บภาษีขั้นต่ำ 15% กระทบกลุ่มเกษตรอาหารแตกต่างกันไป
คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชกำหนด 2 ฉบับเกี่ยวกับการปฏิรูปภาษีนิติบุคคลในไทย เพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์ขององค์กรเพื่อความร่วมมือ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ด้วยมาตรการ PILLAR 2 จัดเก็บภาษีเพิ่มเติมจากบริษัทที่เข้าเกณฑ์ตามมาตรการต้องเสียภาษีขั้นต่ำ (GLOBAL MINIMUM TAX) ในอัตรา15% เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยคาดจะประกาศใช้ในทันกับกำหนดที่จะเริ่มเก็บปี 2568
OECD (THE ORGANIZATION FOR ECONOMIC COOPERATION AND
DEVELOPMENT) คือเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ส่งเสริมการประสานงานด้านนโยบายและเสรีภาพทางเศรษฐกิจในหมู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว และสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันระดับโลก มีประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกกว่า 130 ประเทศ และไทยเป็นหนึ่งในนั้น โดย OECD กำหนด 2 แนวทางในการจัดเก็บภาษีรูปแบบใหม่ คือแนวทางแรก (PILLAR 1) สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประเทศที่เป็นแหล่งรายได้ของบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ (MNES) ไม่ว่าบริษัทจะตั้งถิ่นฐานในประเทศนั้น ๆหรือไม่ก็ตาม โดย MNES ที่เข้าเกณฑ์ คือ (1) มีรายได้ทั่วโลกมากกว่า 20,000 ล้านยูโรต่อปี (2) มีผลกำไรมากกว่า 10% ของรายได้ในประเทศนั้น และ (3) มีรายได้ในประเทศนั้นอย่างน้อย 1 ล้านยูโรต่อปี หรือราว 38 ล้านบาทต่อปี บริษัทจะต้องปันผลกำไรให้กับประเทศนั้นด้วยแนวทางที่สอง (PILLAR 2) มีจุดประสงค์เพื่อหยุดการแข่งขันทางด้านภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุน และป้องกันการเลี่ยงภาษีของ MNES ที่อาจย้ายกำไรไปยังบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีภาษีต่ำ โดยกำหนดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก หรือGLOBAL MINIMUM TAX (GMT) ที่ 15% สำหรับ MNES ที่มีรายได้รวมเกิน 750ล้านยูโรต่อปี GMT
ดังนั้นหากพิจารณาเกณฑ์ทั้ง 2 แนวทาง พบว่าบริษัท MNES ส่วนใหญ่ของไทยไม่อยู่เกณฑ์แนวทาง PILLAR 1 แต่เข้าข่ายเงื่อนไขสำหรับ PILLAR 2 ที่มีรายได้รวมเกิน 750ล้านยูโรต่อปี (หรือราว 2.6 หมื่นล้านบาทต่อปี) ภายใต้ GMT ที่ 15% โดยแม้ไทยจะมีการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 20% แต่บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีทำให้อัตราภาษีที่แท้จริงอยู่ต่ำกว่า 15% ทำให้บริษัทดังกล่าวอาจจะต้องถูกเก็บภาษีเพิ่ม (TOP-UP TAX) เพื่อให้ถึงขั้นต่ำที่ 15% GMT
สำหรับผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มเกษตรและอาหารภายใต้ COVERAGE 4 บริษัท คือCPF, TU, ITC และ GFPT ดังนี้
• TU (NEUTRAL FV@18.60) คาดมีโอกาสได้รับผลกระทบมากสุด เนื่องจากเข้าข่ายเงื่อนไข PILLAR 2 มีฐานรายได้เกิน 750 ล้านยูโรต่อปี หรือ 2.6 หมื่นล้านบาทต่อปี (ปี 2566 รายได้ทั้งกลุ่มอยู่ที่ 1.36 แสนล้านบาท และ 9M67 รวม 1.03 แสนล้านบาท) ขณะที่ทั้งกลุ่มเสียภาษี หรือ (EFFECTIVE TAX RATE) 9M67 อยู่ที่ 7.6% ต่ำกว่าGMT ที่ 15% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้สิทธิทางภาษี BOI ในไทย ทำให้ภาษีธุรกิจในไทยอยู่ระดับต่ำ ทั้งนี้จากการสอบถามข้อมูลกับทางบริษัทเบื้องต้น แจ้งว่าตอนนี้อยู่ระหว่างประเมินผลกระทบ และรอความชัดเจนของภาครัฐ รวมถึงแนวทางการช่วยเหลือของBOI ก่อน อย่างไรก็ดีหากประเมินผลกระทบภายใต้กรณีภาษีขึ้นเป็น 15% และองค์ประกอบอื่นคงที่ในปี 2568 (จากสมมติฐานของฝ่ายวิจัยกำหนดอัตราภาษีในประมาณการระดับ 7%) คาดส่งผลให้กำไรปีหน้าลดลงราว 10%
• CPF (OUTPERFORM FV@30.00) แม้มีรายได้เข้าเกณฑ์ PILLAR 2 (ปี 2566รายได้ 5.85 แสนล้านบาท และ 9M67 รวม 4.32 แสนล้านบาท) แต่อัตราภาษีปัจจุบันณ 9M67 อยู่เฉลี่ย 20% สูงกว่าระดับ GMT จึงคาดได้รับผลกระทบจำกัด
• ITC (NEUTRAL FV@28.00) และ GFPT (NEUTRAL FV@13.70) มีความเสี่ยงต่ำจากประเด็นดังกล่าว เนื่องจากรายได้ปัจจุบันยังไม่เข้าข่ายเกณฑ์ โดยประมาณการรายได้ปี 2568 ของทั้ง 2 บริษัทยังต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท/ปีช่วงครึ่งหลังเดือน ธ.ค. ความผันผวนหุ้นไทยอาจลดลงช่วงแรกของเดือน ธ.ค. ตลาดหุ้นไทยผันผวนมากจากมูลค่าซื้อขายที่เบาบาง พร้อมกับนักลงทุนอยู่ในช่วงปรับพอร์ตเตรียมเงินไปลงทุนในหุ้นการบินไทยกว่า 4 หมื่นล้านบาท ในช่วง 6 – 12 ธ.ค. 67 แต่หลังจากนี้ประเด็นกดดันดังกล่าวหมดไป คาดจะช่วยให้ตลาดหุ้นผันผวนน้อยลงได้
ส่วนในมุม FUND FLOW แม้ต่างชาติยังขายหุ้นไทยอยู่ 6.8 พันล้านบาท (MTD) แต่สัปดาห์หน้า วันที่ 18 ธ.ค. ถ้า กนง. “คงดอกเบี้ย” และ FED “ลดดอกเบี้ย” อาจหนุนให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น และ FUND FLOW มีโอกาสไหลกลับมา หนุนให้เกิด SANTACLAUS RALLY เบาๆ ได้ นอกจากนี้ยังเริ่มเห็นหุ้นเอเชียกลับมา OUTPERFORMกว่าตลาดหุ้นสหรัฐในเดือนนี้ อาทิ ตลาดหุ้นฮองกง +5.0%MTD, ตลาดหุ้นญี่ปุ่น+4.3%MTD, ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย +3.9%MTD, ตลาดหุ้นไทย 0.9%MTD ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐ (DOW JONES) -2.2%MTD
ส่วนหุ้นเก็งกำไรในช่วงนี้ แนะนำหุ้นมีโอกาสเข้าออก SET50 รอบ 1H68 อย่าง CCET,SAWAD, COM7, BANPU คาดหวัง OUTPERFORM ตลาดได้ในช่วงที่เหลือของปีขณะที่ตลาดหลักทรัพย์น่าจะประกาศผลให้ทราบในสัปดาห์หน้า
Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์