สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(12 ธันวาคม 2567)---บริษัทหลักทรัพย์ดีบีเอส วิคเคอร์ส ออกบทวิเคราะห์ Hot Issue ระบุว่า มาตรการ “คุณสู้-เราช่วย” ครอบคลุมหนี้ 8.9 แสนล้านบาท
# โครงการ "คุณสู้ เราช่วย" ประกอบด้วย 2 มาตรการ ได้แก่
* มาตรการที่1 "จ่ายตรง คงทรัพย์" เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อบ้าน รถ และ SMEs ขนาดเล็กที่มีวงเงินไม่สูงมาก ให้เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้แบบลดค่างวด (ปีที่ 1 ให้จ่ายค่างวด 50% ปีที่ 2 จ่ายเงินต้นค่างวด 70% ปีที่ 3จ่ายเงินต้นค่างวด 90%) และพักภาระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยค่างวดที่จ่ายจะนำไปตัดชำระเงินต้นทั้งหมดขณะที่ดอกเบี้ยที่พักไว้ตลอดระยะเวลา 3 ปี จะได้รับการยกเว้น หากลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ตลอดระยะเวลาของมาตรการ (ชำระเงินตรงเวลาและไม่ทำสัญญาสินเชื่อเพิ่มเติมในช่วง 12 เดือนแรกของการเข้าโครงการฯ) หลังจากนั้นลูกหนี้ก็จะกลับมาจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยตามสัญญาปกติในปีที่ 4 เป็นต้นไปสินเชื่อที่เข้าร่วมโครงการ - สินเชื่อบ้านไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อราย, เช่าซื้อรถยนต์ไม่เกิน 8 แสนบาทต่อราย, เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไม่เกิน 5 หมื่นบาทต่อราย ส่วน SME ไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อราย โดยสัญญาสินเชื่อทำขึ้นก่อน 1ม.ค.67 และ ณ 31 ต.ค.67 มีสถานะเป็นหนี้ค้างชำระ 30-365 วัน และลูกหนี้ที่ปัจจุบันยังเป็นหนี้ปกติแต่มีประวัติผิดนัดชำระหนี้ กำลังปรับโครงสร้างหนี้ และมีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถชำระหนี้
* มาตรการที่2 "จ่าย ปิด จบ" เป็นการช่วยลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่เป็นหนี้เสีย (สถานะ NPL) แต่มียอดคงค้างหนี้ไม่สูง (ไม่เกิน 5,000 บาท) โดยลูกหนี้จะต้องเข้ามาเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้บางส่วน ซึ่งมาตรการ "จ่าย ปิด จบ" นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียและยอดหนี้ไม่สูง สามารถเปลี่ยนสถานะการเป็นหนี้ จาก "หนี้เสีย" เป็น "ปิดจบหนี้" และเริ่มต้นใหม่ได้เร็วขึ้น ซึ่งลูกหนี้ในกลุ่มนี้มีลูกหนี้ประมาณ 3.4 แสนบัญชี แต่มีมูลหนี้รวมประมาณ 1 พันล้านบาทเท่านั้น
# ในช่วงเริ่มต้น โครงการ "คุณสู้เราช่วย" จะครอบคลุมลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์สถาบันการเงนิเฉพาะกจิและผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank ที่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงนิของธนาคารพาณชิย์ ในระยะต่อไป ผู้ประกอบธุรกิจกลุ่ม Non-bank อื่น ๆ จะมีความช่วยเหลือออกมาเพิ่มเติม ซึ่งอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างไป เพื่อร่วมกันผลักดันให้การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนเดินหน้าได้อย่างเป็นรูปธรรมในวงกว้างและครอบคลุมลูกหนี้ได้มากขึ้น
# "คุณสู้เราช่วย" คาดจะช่วยเหลือลูกหนี้ร้ายย่อยและ SMEs ขนาดเล็ก รวม 2.1 ล้านบัญชีคิดเป็นลูกหนี้1.9ล้านราย และมียอดหนี้รวมประมาณ 8.9 แสนล้านบาท โดยในส่วนเฉพาะธนาคารพาณิชย์ คาดว่าจะช่วยเหลือลูกหนี้ได้ราว 1.5 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้กว่า 4 แสนล้านบาท
# เปิดให้ลูกหนี้ลงทะเบียนเข้าโครงการ 12 ธ.ค.67-28 ก.พ.68 ที่ https://www.bot.or.th/khunsoo
# แหล่งเงนิของทั้ง 2 มาตรการ มาจาก (1) เงินน าส่งเข้า FIDF ของธ.พาณิชย์ (ที่ได้รับการละเว้นจากการปรับลดอัตรานำส่งเงินฯลงจาก 0.46% เป็น 0.23% ของเงินฝาก) จำนวน 39,000 ล้านบาทในปีแรก (2) ธ.พาณิชย์สมทบ ซึ่งเป็นไปตามการเข้าร่วมโครงการของลูกหนี้แต่ละธนาคาร (3) เงินงบฯตาม ม.28 เพื่อชดเชยให้ SFIs 6 แห่ง จำนวน 38,920 ล้านบาท
# ความเห็นเชิงกลยุทธ์ DBSVTH : มองว่ามาตรการนี้จะเป็นผลดีกับทั้งลูกหนี้และทำให้หนี้ครัวเรือนของประเทศลดลงโดยถ้าลูกหนี้ปฎิบัติตามเงื่อนไขได้ ก็จะได้ยกเว้นดอกเบี้ยจ่าย 3 ปี ผ่อนชำระค่างวดน้อยลงใน 3 ปี และตัดเงินต้นได้มากขึ้นจากการผ่อนชำระ รวมทั้งกลับมาเป็นหนี้ปกติได้เร็วขึ้น ทางด้านธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าจะมีรายได้ดอกเบี้ยรับลดลงแต่ชดเชยไปด้วยการตั้งสำรองฯ (credit cost) ที่ต่ำลง ซึ่งมองว่าผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์จะเป็น Neutral ถึงบวกเล็กน้อย ขณะที่ระดับหนี้ครัวเรือนของประเทศจะลดลง ทั้งนี้ขึ้นกับจ านวนลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการและความสามารถในการปฎิบัติตามเงื่อนไข เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างสินเชื่อของ 7 ธนาคารที่เราวิเคราะห์ คาดว่าธนาคารที่น่าจะได้อานิสงค์จากมาตรการมากที่สุด คือ KKP เนื่องจากมีสัดส่วนสินเชื่อ SME และรายย่อยสูงถึง 84% ของสินเชื่อรวม รองลงมาเป็น TISCO ที่ 75%,TTB 71%, SCB & KTB 57%, KBANK 55% และ BBL น้อยสุดที่ 30%
นักวิเคราะห์&กลยุทธ์: อาภาภรณ์ แสวงพรรค : arparporns@th.dbs.com : Tel 02 587 7829