"Selective Plays"
KSS Daily Strategy : คาด SET วันนี้ "ฟื้นตัว" ต้าน 1458/1462 จุด รับ 1442/1437 จุด ตลาดหุ้นสหรัฐ 2 วันที่ผ่านมา พักตัว วานนี้ดัชนี S&P500 ลดลง -0.3% รอแนวโน้มเงินเฟ้อ CPI พ.ย. 24 รายงานวันนี้ (11 ธ.ค.) ตลาดคาด 2.7%y-y, 0.3%m-m vs prev. 2.6%y-y, 0.2%m-m ใกล้เคียงคาดการณ์ Top Rank Economist ทำให้ Fed น่าจะปรับลดดอกเบี้ยอีก -25 bps ในสัปดาห์หน้า ส่วนเอเชีย 11-12 ธ.ค. ติดตามการประชุม CEWC เราคาดมีโอกาสเห็นการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หลังการประชุม Politburo ล่าสุด จีนมีการพิจารณาเตรียมใช้นโยบายการเงิน+การคลังขยายตัว ด้วยสัญญาณ Proactive เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวช้าและความเสี่ยงสงครามการค้า เป็นบวกต่อตลาดหุ้น Asia ช่วง 1-2 วันนี้ ค่าเงินตอบรับทางแข็งค่า 0.2% +/- โดยเงินบาทเช้านี้แข็งค่าที่ 33.7 บาท ผสานกระแสมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ที่ทยอยออกมาในสัปดาห์ คาดหนุน SET วันนี้ฟื้นตัว หุ้นนำ China Plays, หุ้นอิง Domestic (ธนาคาร ค้าปลีก เช่าซื้อ สื่อสาร) และหุ้นได้ประโยชน์เงินบาทแข็งค่า (โรงไฟฟ้า สายการบิน พลังงาน) วันนี้แนะนำ GULF, IVL, SCB
Daily outlook: "ฟื้นตัว" ต้าน 1458/1462 จุด รับ 1442/1437 จุด
What happened around the world?
(*/-) US Stock Market: ตลาดหุ้นสหรัฐ 2 วันที่ผ่านมา พักตัวรอรายงานเงินเฟ้อ CPI พ.ย. 24 รายงานวันนี้ (11 ธ.ค.) ขณะที่วานนี้ ดัชนีดาวโจนส์ลดลง 154 จุด (-0.35%) ดัชนี S&P500 ลดลง 18 จุด (-0.3%) และ Nasdaq ลดลง -47 จุด (-0.24%) ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวไปตามปัจจัยเฉพาะตัว อาทิ NVIDIA ที่มีกระแสข่าวจีนเตรียมตรวจสอบการผูกขาด Google ปรับตัวขึ้น +5.6% ค้นพบชิปประมวลผลเทคโนโลยีใหม่ Quantum Willow ที่มีความสามารถแก้โจทย์ที่ Super Computer ใช้เวลา 10^25 ปี (10 ยกกำลัง 25 ปี) ได้ภายใน 5 นาที
(*/+) China CEWC : ติดตามการประชุมคณะทำงานเศรษฐกิจจีน (CEWC) ระหว่าง 11 - 12 ธ.ค. เราประเมินมีโอกาสเห็นการประกาศแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนระยะกลาง-ยาว เพิ่มเติม หลังเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา การประชุมคณะ Politburo เปิดเผยรายละเอียดว่าประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เตรียมแผนสำหรับมาตรการทางการคลังแบบขยายตัว และนโยบายการเงินแบบขยายตัวระดับกลาง เพื่อหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้วานนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจีนอายุ 10 ปี ปรับลงสู่ระดับ 1.89% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตลอดกาล ขณะที่หุ้นจีนตอบรับเชิงบวก โดยเรามองตัวเลขเศรษฐกิจเดือน พ.ย. ที่เริ่มส่งสัญญานชะลอลงอีกครั้ง นำโดยภาคอสังหา ประกอบกับการออกพันธบัตรพิเศษเดือนที่ผ่านมาคิดเป็นเพียงราว 10% ของโควต้า 8 แสนล้านหยวนที่วางไว้ในปีนี้ เป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้เห็นการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากจีนนับจากนี้ไป มองบวกต่อหุ้นอิงจีน นำโดย PTTGC IVL SCGP
(+/-) China Econ: ส่งออกโตแต่ต่ำคาด, นำเข้าหดตัวมากขึ้น - จีนรายงานยอดส่งออกเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้น 6.7%yoy แต่ลดลงจากเดือน ต.ค. ที่ขยายตัว 12.7%yoy และต่ำกว่า Consensus คาดขยายตัว 8.5%yoy ในขณะที่ยอดนำเข้าหดตัว 3.9%yoy แย่ลงเมื่อเทียบกับเดือน ต.ค. หดตัว 2.3%yoy ยอดส่งออกที่ปรับขึ้นเป็นผลจากการเร่งนำเข้าของประเทศคู่ค้าก่อนที่จะได้รับผลกระทบจากนโยบายทรัมป์ 2.0 ส่วนยอดนำเข้าหดตัวเป็นสัญญาณเตือนถึงการบริโภคภายในที่อ่อนแอและอาจจะกระทบถึงภาคส่งออกของไทย อย่างไรก็ตามวานนี้ดัชนีตลาดหุ้นจีนปรับขึ้น 0.59% เนื่องจากนักลงทุนมองข้ามตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีนไปแล้วและมีคาดหวังทางบวกที่จะเห็นการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐในการประชุม CEWC ในวันพุธและพฤหัสบดีนี้
(-) Tech war: สำนักงานควบคุมกฎระเบียบตลาดของจีน (SAMR) เปิดสอบสวนเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดของ Nvidia โดยต้องสงสัยว่า Nvidia ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ SAMR กำหนดไว้ในการเข้าซื้อกิจการ Mellanox Technologies เมื่อปี 2020 เรามองการเปิดสอบสวนดังกล่าวของจีนเป็นการตอบโต้ที่สหรัฐสหรัฐประกาศคุมเข้มการส่งออกชิปไปจีน และขึ้นบัญชีดำ 140 บริษัทเทคโนโลยีของจีน ส่งผลให้สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐตึงเครียดมากขึ้นเป็นลบต่อภาคส่งออกและหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีทั้งในสหรัฐ และ จีน แต่ประเด็นนี้จะส่งผลบวกกับไทยจากกระแสย้ายฐานการผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากสงครามการค้า เรามองกลุ่มนิคมฯ จะได้ผลบวกจากประเด็นนี้ Top pick คือ AMATA WHA
(*/-) DELTA & CCET: เมื่อวันจันทร์ DELTA ไต้หวันรายงานยอดขายเดือน พ.ย. ที่ 36,647 ล้านเหรียญไต้หวัน ลดลง 5.6%mom แต่เพิ่มขึ้น 8.9%yoy มียอดรวม 11 เดือนแรกที่ 382,409 ล้านเหรียญไต้หวันเพิ่มขึ้น 3.5%yoy ยอดขายที่ลดลง mom สะท้อนโมเมนตัมการเติบโตเริ่มชะลอตัว อย่างไรก็ตามหากอิงประกาศของตลาดหลักทรัพย์ DELTA จะติด Cash Balance 21 พ.ย. ถึงวันที่ 11 ธ.ค. 24 จึงเป็นไปได้ที่จะเห็นแรงเก็งกำไรดักทางก่อนที่ DELTA จะกลับมาซื้อขายในบัญชีปกติตั้งแต่ 12 ธ.ค. เป็นต้นไป ช่วยลดทอนจิตวิทยาลบจากยอดขาย DELTA ไต้หวันที่ชะลอตัว mom ได้ และในวันเดียวกัน CCET ไต้หวันรายงานยอดขายเดือน พ.ย. ที่ 416,218 พันเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.4%yoy แต่ลดลง 4.06%mom บ่งชี้โมเมนตัมการเติบโตที่ชะลอตัวเช่นกันปัจจัยนี้กดดันให้ราคาหุ้น CCET ไต้หวันลดลง 3.88% วานนี้มองเป็นจิตวิทยาลบกดดันหุ้น CCET ในบ้านเรา
(*) Oil market: ราคาน้ำมันดิบ WTI +0.21$ (+0.32%) ปิดที่ 68.59$/bbl และ น้ำมันดิบ Brent ลดลง -0.03$ (-0.04%) ปิดที่ 72.11$/bbl ทรงตัวหลังปรับเพิ่มขึ้นในช่วงวันก่อนตอบรับกระแสข่าวจีนเตรียมกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการใช้นโยบายการเงิน การคลังแบบขยายตัว และกระแสความตึงเครียดตะวันออกกลาง อิสราเอล บุกซีเรีย
(*/+) Refinery: ค่าการกลั่นฟื้นตัว วานนี้ค่าการกลั่น ณ โรงกลั่นสิงคโปร์ ปิดล่าสุด 10 ธ.ค. เพิ่มขึ้น 0.57$ (+11.22%) ปิดที่ระดับ 5.65$/bbl ระยะสั้นค่าการกลั่นผันผวนสูงแต่เทรนด์โดยรวมยังเป็นขาขึ้นสะท้อนจากค่าการกลั่นในช่วงปลาย 3Q24 เฉลี่ยที่ 2-3$/bbl แต่ปัจจุบันเคลื่อนไหวที่ระดับ 5-6$/bbl นับเป็นสัญญาณบวกต่อการดำเนินงานปกติของกลุ่มโรงกลั่น Top Pick คือ SPRC
(*/+) US Bond Yields & Dollar : Bond yield สหรัฐ อิงอายุ 2 ปี ปิด +3 bps อยู่ที่ 4.13% อายุ 10 ปีปรับขึ้น +2 bps อยู่ที่ 4.22% (หากอิงสถิติ US Bond yields 10 ปี และ Thai Bond yield 10 ปี มีค่าสหสัมพันธ์สูงราว 0.6 หรือไปทางใดเดียว) ตอบรับรายงานภาคการจ้างงานที่บ่งชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯเป็นภาพ Goldilocks to Soft Landing ส่วน Dollar Index อ่อนตัวมาที่บริเวณ 106.4 +/- จุด ยังต่ำกว่าแนวต้านสำคัญคือ 107.2 จุด
(*) To monitor : ส่วนสัปดาห์นี้ ปัจจัยภายนอกติดตาม 1.) 11 ธ.ค. เงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ พ.ย. 24 ตลาดคาด +2.7%y-y, +0.2%m-m vs prev. +2.6%y-y, +0.2%m-m 2.) 12 ธ.ค. ประชุมธนาคารกลางยุโรป 3.) 9 ธ.ค. เงินเฟ้อ CPI จีน ตลาดคาด -2.8%y-y vs prev. -2.9% และ 4.) 11-12 ธ.ค. การประชุม CEWC (China Economic Work Conference) ว่าจะมีการกล่าวถึงมาตรการ Pro-active ต่อ Trump 2.0 รวมถึงการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหรือไม่
What happened in Thailand?
(*/-) SET : SET Index วันทำการล่าสุดปิดลบ -4.43 จุด ปิดที่ 1447.53 จุด บรรยากาศโดยรวมเป็นลบจากคุณสนธิฯ อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตร ยื่นหนังสือต่อนายกฯ ขอให้ยกเลิก MOU44 กลุ่มถ่วง คือ กลุ่มพลังงาน (GULF, PTT, PTTEP) GULF ให้น้ำหนักการขายทำกำไร PTT, PTTEP จิตวิทยาลบจากราคาน้ำมันปรับตัวลง กลุ่มการแพทย์ (BH) กดดันจากราคาขาย Big Lot ของ BH-F ที่ 204.5 บาท ต่ำกว่าราคาปิดปลายสัปดาห์ก่อน กลุ่มหนุน คือ กลุ่มชิ้นส่วน (DELTA) DELTA ไต้หวันรายงานยอดขาย พ.ย. 24 ขยายตัว +9%y-y -5%m-m กลุ่มธนาคาร (KTB, BBL, SCB) ประเมินตลาดมองบวกต่อมาตรการแก้ไขหนี้ครัวเรือนที่รัฐฯและกระทรวงการคลังจะแถลงร่วมกันวันนี้
(*) Flows: เงินทุนต่างชาติวันทำการล่าสุดไหลเข้า ขายหุ้น -51.7 ล้านเหรียญฯ ซื้อพันธบัตร +103.6 ล้านเหรียญฯ TFEX Net Short -15,314 สัญญา เงินบาทแกว่งแข็งค่าขึ้นสู่ 33.7+/- บาท
(*/+) TH Bond: สัญญาณ Fund Flows ไหลเข้าเป็นบวก ต่างชาติซื้อพันธบัตรไทย (Bond) +3502 ล้านบาท (ซื้อตัวสั้น +2981 ล้านบาทและตัวยาว +521 ล้านเหรียญ) เป็นภาพซื้อ 4 ใน 6 วันทำการ ขณะที่หนุน Bond yields ไทยอายุ 10 ปีปรับลงเหลือ 2.27% อยู่ในโซนต่ำสุดในรอบ 1.5 ปี และลดลงจากปลาย พ.ย. ราว -15 bps ผสานค่าเงินบาท/ดอลลาร์ยังแข็งค่าทดสอบระดับ 33.7 +/- บาท มองเป็นสัญญาณบวก Inflow จะเร่งขึ้น โดยคาดภาพจะเกิดขึ้นในทางเดียวกับตลาดหุ้นไทย 1.) จากการศึกษาของเรา พบว่า ทุกๆ Bond Yield ที่ปรับลดลงทุกๆ -25 bps จะบวกต่อ SET ราว 20-25 จุด นอกจากนี้ 2.) มองเป็นจิตวิทยาบวกต่อแนวโน้ม Fund inflow ไหลเข้า หนุนหุ้น Big Cap โดยเฉพาะหุ้น Domestic กลุ่มธนาคาร KBANK, SCB กลุ่มโรงไฟฟ้า GULF GPSC กลุ่มการเงิน AEONTS JMT กลุ่มค้าปลีก CPALL CPAXT BJC กลุ่ม ICT : ADVANC
(*/+) Household Debt Restructuring: วันนี้ (11 ต.ค.) ติดตามการแถลงมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย เราคาดว่ามาตรการจะใกล้เคียงกับกระแสข่าวช่วงก่อนหน้า คือ
มาตรการส่วนที่ 1
คาดช่วยลูกหนี้ที่มียอดคงค้างไม่เกิน 1 ปี ในส่วนสินเชื่อ บ้าน รถยนต์ และ SMEs รวม 2.3 ล้านราย วงเงิน 1.31 ล้านล้านบาท โดยจะเป็นการพักดอกเบี้ยทั้งสิ้น 3ปี
ทั้งนี้ แหล่งเงินที่จะใช้ รัฐบาลจะร่วมกับสถาบันการเงิน โดยรัฐบาลจะลดอัตราเงินนำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF) จากธนาคารพาณิชย์ลงครึ่งหนึ่งเหลือ 0.23% ต่อปี จากเดิม 0.46% ต่อปี เพื่อนำเงินนี้มาช่วยจ่ายดอกเบี้ยแทน
เชิงกลยุทธ์ แม้เราประเมินเงินที่ลดลงจากการส่ง FIDF จะไม่ครอบคลุมผลกระทบทั้งหมด แต่เชื่อว่าคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น ความสามารถกลับมาขยายสินเชื่อระยะถัดไป จะช่วยชดเชยผลกระทบ โดยรวมเราให้น้ำหนักเป็นกลาง-บวกอ่อนๆต่อกลุ่มธนาคารคาดธนาคารได้ประโยชน์สูง คือ กลุ่มที่มีสัดส่วนสินเชื่อที่เข้าข่ายในมาตรการสูง SCB (57% ของสินเชื่อ) KBANK (50% ของสินเชื่อ)
มาตรการส่วนที่ 2
คาดช่วยลูกหนี้ที่มีวงเงินค้างชำระหนี้สำหรับรายย่อย เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ต้องไม่เกิน 5,000 บาทต่อราย กำหนดให้ลูกหนี้ ที่ค้างชำระหนี้ ที่เป็นหนี้เสียต่างๆ ต้องจ่ายเงินต้น 10-15% จากเงินค้างชำระทั้งหมด เพื่อล้างหนี้ ปิดหนี้ทั้งก้อนได้ทันที
กรณีดังกล่าว เราประเมินเป็นบวกต่อหุ้นที่มีสินเชื่อเพื่อการบริโภค สินเชื่อส่วนบุคคลสูง อาทิ AEONTS (92% ของสินเชื่อ) KTC(98%) KTB(26%)
(*) TH Tourism: ปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2-8 ธ.ค. 24 อยู่ที่ 6.99 แสนราย -1.1%w-w ขณะที่ยอดนักท่องเที่ยวรวม YTD (8 ธ.ค.) อยู่ที่ 32.7 ล้านคน อิงค่าเฉลี่ยนักท่องเที่ยวรายวันนับจากเข้าสู่ฤดูกาลที่ราว 1.0-1.2 แสนรายต่อวัน เรามองนักท่องเที่ยวทั้งปีใกล้เคียงตลาดประเมิน 35.5-36.0 ล้านคน และคาดเร่งสู่ระดับ Pre-COVID ในปี 2025F ผสาน จิตวิทยาบวกความคืบหน้า Entertainment Complex ที่คาดด้านกระบวนการจะมีตลอดทั้งปี 2025F จะหนุนความเชื่อมั่นตลาดต่อภาคบริการที่จะเป็น S Curve ใหม่ เชิงกลยุทธ์ ระยะสั้นที่หุ้นอาจตอบรับนักท่องเที่ยวรายสัปดาห์ยังทรงๆ มองเป็นจังหวะสะสม เน้น AOT CPAXT BJC AWC CENTEL
(*) TH Politic: ช่วงต้นสัปดาห์การเมืองภายในมีความเคลื่อนไหวน่าติดตามต่อ 2 ประเด็น 1.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยื่นหนังสือถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ยกเลิกการเดินหน้าตามข้อตกลง MOU 44 โดยเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิบัติตามข้อเสนอภายใน 30 วัน โดยจะมาทวงถามความคืบหน้า 15 วันหลังยื่นข้อเสนอ 2.) กกต.เปิดเผยถึงความคืบหน้าการตรวจสอบคำร้องยุบพรรคการเมือง 6 พรรคที่ถูกกล่าวหาว่าถูกครอบงำโดยนายทักษิณ ชินวัตร ว่า ขณะนี้คณะกรรมการตรวจสอบได้ขยายระยะเวลาการพิจารณา เนื่องจากคำร้องที่เกี่ยวข้องกับ 6 พรรคการเมืองดังกล่าวมีจำนวนมาก ระยะสั้นเราประเมินเป็นจิตวิทยาลบที่ตลาดระมัดระวังการลงทุนเพิ่ม จากความเสี่ยงผลกระทบเสถียรภาพรัฐบาล และการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจต่างๆ อย่างไรก็ดี ประเด็นทั้งหมดยังต้องรอความชัดเจนอีกครั้ง กรณีคุณสนธิฯ น่าจะต้องรอติดตามท่าทีของนายกฯ ส่วน กกต. แนะนำจับตาว่าท้ายที่สุด กกต. จะมีการส่งฟ้องศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่
(*) To Monitor: สัปดาห์นี้ ปัจจัยภายในติดตาม 1.) วันนี้ (11 ธ.ค.) ประชุม ครม. คาดโอกาสอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม 2.) 11 ธ.ค. รัฐฯเตรียมหารือ BOT มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ 3.) 12 ธ.ค. นายกฯ แถลงผลงาน 3 เดือน พร้อมคาดว่าจะมีการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นของขวัญปีใหม่ เราประเมินมีโอกาสเป็นลักษณะ การซื้อสินค้า - บริการแล้วคืนภาษี , มาตรการท่องเที่ยวลักษณะคนละครึ่ง และมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพต่างๆ 4.) 9-13 ธ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) พ.ย. 24 ไม่มีคาด vs prev. 56 จุด 5.) 12 ธ.ค. ห้างเซ็นทรัล ชิดลม มีกำหนดการปรับปรุง (Renovate) แล้วเสร็จ มองจิตวิทยาบวกต่อ CRC และงาน Mono Open House แนะนำรอติดตามแผนธุรกิจ MONO ที่ชัดเจนขึ้นหลังบริษัทในกลุ่ม JAS ได้ลิขสิทธิ์ EPL
Daily Strategy : GULF, IVL, SCB เด่น
ระยะสั้น วันนี้มองตลาดหุ้นไทย "ฟื้นตัว" ปัจจัยต่างประเทศเป็นการรอรายงานเงินเฟ้อสหรัฐฯ วันนี้ แต่จุดที่เป็นบวก คือ ท่าทีจีนที่มีความ Proactive ขึ้นในส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่ภายในระยะนี้ ติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่คาดมีความคืบหน้าขึ้น ทั้งวันนี้ (11 ธ.ค.) ประชุม ครม. และการแถลงมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน ส่วนพรุ่งนี้ (12 ธ.ค.) การแถลงผลงานนายกฯ ซึ่งคาดน่าจะมีมาตรการของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนด้วย มองหุ้นนำตลาดวันนี้ หุ้นนำ China Plays, หุ้นอิง Domestic (ธนาคาร ค้าปลีก เช่าซื้อ สื่อสาร) และหุ้นได้ประโยชน์เงินบาทแข็งค่า (โรงไฟฟ้า สายการบิน พลังงาน)
หุ้นที่มีโอกาสถูกเพิ่มน้ำหนักจากกองทุนวายุภักษ์
กลุ่มที่ 1 หุ้นที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น, อยู่ในกองทุนวายุภักษ์ 1 และมีแนวโน้มเติบโตดีในช่วง 2024 – 2025 ได้แก่ AOT, KTB, PTT
กลุ่มที่ 2 หุ้นที่อยู่ในกองทุนวายุภักษ์ 1 และซื้อขายในระดับ Valuation Zone รวมถึงมีแนวโน้มการเติบโตดี ได้แก่ CPALL, SCC, MINT, CRC, HMPRO, SCGP
กลุ่มที่ 3 หุ้นที่มีน้ำหนักใน SETESG สูงและมีแนวโน้มการเติบโตดี อยู่ใน Theme Data Center ได้แก่ ADVANC, GULF มีโอกาสเป็นเป้าหมาย
กลุ่มที่ 4 หุ้นได้ประโยชน์กองทุนวายุภักษ์ Theme ที่ 4 คือ Div Yield 2024-2025 สูง >5% และอยู่ใน ThaiESG หุ้น (KBANK, BBL, HMPRO, INTUCH)
กลุ่มที่ 5 หุ้นที่ยังมีน้ำหนักในกองทุนวายุภักษ์น้อย ขณะที่เข้าเกณฑ์ ESG Score (ถ้าอยู่ใน SET100 เรทติ้ง A ขึ้นไป ต่ำกว่า SET100 AA ขึ้นไป การเติบโตปี 2024-25 เกณฑ์ดี CPALL CPAXT BDMS CRC HMPRO IVL MTC BJC WHA
หุ้นในธีมประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่การเป็นหนึ่งในศูนย์กลาง Infrastructure Technology ของภูมิภาค (WHA, GULF, GPSC, STPI, DELTA ADVANC, TRUE, INSET, BE8, BBIK)
หุ้นในธีม Trump 2.0 (AMATA, WHA, PTT, PTTEP, CPF, SCB, KBANK, KTB, CPALL, BJC, HMPRO, ADVANC, GULF, GPSC)
หุ้นภาคบริการได้ประโยชน์มาตรกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มไวขึ้นของรัฐบาลใหม่ ผสาน ท่องเที่ยว การผลักดัน Entertainment Complex คาดเป็นนโยบายหลัก หนุน บริโภค ท่องเที่ยว โรงแรม ร.พ. (AOT, BTS, VGI, BJC, STECON, ERW, BA, MBK)
กลุ่มได้ประโยชน์จีนกระตุ้นเศรษฐกิจ (IVL, AOT, AU, PTTGC, SCC, CPALL, BJC)
กลุ่มได้ประโยชน์ที่วงจรดอกเบี้ยพลิกเป็นขาลงนับจากปี 2024 (GULF, BA, AAV, MTC, AEONTS, TRUE, CPALL, BJC)
• DEC24 Best Picks : ADVANC, BJC, BTS, GULF, AOT, IVL, MALEE
• 4Q24 Stock Picks : GULF, GPSC, MTC, CPALL, BJC, BDMS, AOT, KTB, ADVANC, HMPRO Mid-Small Cap Play : BTS, MALEE, MOSHI, CHG, ERW, BA
Tactical & Investment Idea
Research Highlight
• Strategy Update: SET50/100 1H25 Update
ทีมกลยุทธ์ได้คำนวณหุ้นเข้า/ออก SET50-SET100 สำหรับรอบ 1H25 ก่อนที่ตลาดจะประกาศการคัดเลือกหุ้นเข้าออกรอบนี้ในช่วงกลางเดือน ธ.ค. 2024 และมีผลเริ่มใช้ 1 ม.ค. 2025 โดยสำหรับผลการคำนวนในรอบนี้ใช้ข้อมูลตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2023 – 29 พ.ย. 2024 (ครบตามที่ตลาดฯ ใช้จริงในการคำนวณหาหุ้นเข้า/ออก) ผลของการคาดการณ์น่าจะมีความแม่นยำสูง โดยเราหวังว่าบทวิเคราะห์ฉบับนี้จะช่วยให้นักลงทุนเตรียมตัวสำหรับการลงทุนในดัชนี SET50 และ SET100 ล่วงหน้าได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
• หุ้นที่คาดว่าจะเข้า SET50 รอบนี้มี 4 บริษัท คือ BANPU (โอกาสเข้า 100%), SAWAD (โอกาสเข้า 100%), COM7 (โอกาสเข้า 95%) และ CCET (โอกาสเข้า 95%)
• หุ้นคาดว่าจะหลุด SET50 รอบนี้ 4 บริษัท คือ CENTEL (โอกาสหลุด 95%), BCP (โอกาสหลุด 95%), TIDLOR (โอกาสหลุด 95%) และ EA (โอกาสหลุด 100%)
• หุ้นที่คาดเข้า SET100 รอบนี้มี 4 บริษัท คือ JTS, CCET, PR9, COCOCO
• หุ้นที่คาดว่าจะหลุด SET100 รอบนี้ 4 บริษัท คือ MBK, RBF, TIPH, TOA
กลยุทธ์ แนะนำให้หลีกเลี่ยงหุ้นที่คาดว่าจะหลุด SET50-SET100 เนื่องจากมีความเสี่ยงในการลดน้ำหนักจาก Index Fund ขณะที่แนะนำเก็งกำไรหุ้นที่คาดว่าจะเข้า SET50 รอบนี้เราแนะนำ SAWAD และ BANPU เด่น
• Strategy Update : Preliminary 2025 KSS Yearly Equity Strategy 2025 ภายนอกผันผวน โอกาสขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันภายใน หนุน Domestic Plays
การเคลื่อนไหวสินทรัพย์ต่างๆ ของโลกในปี 2024 พบว่า ตลาดหุ้นเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง ดัชนี MSCI World (YTD) ให้ผลตอบแทนราว +16.3% แรงขับเคลื่อนมาจากเงินเฟ้อคลายตัว หนุนวงจรดอกเบี้ยโลกเข้าสู่ขาลง สะท้อนผ่าน US Bond Yield 10 ปีปรับลง -6.7% จากระดับสูงสุดช่วงปลายปี 2023 ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ อยู่ในภาวะ Goldilocks - Soft Landing ส่วน SET Index ให้ผลตอบแทน YTD ที่ +3.3% ต่ำกว่าภาพรวม จากเสถียรภาพทางการเมืองในช่วง 1H24 อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจในช่วง 3Q24 ที่เริ่มเร่งขึ้น จากแรงส่งจากภาครัฐฯ หนุน SET ฟื้นตัว
สำหรับปี 2025 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยน่าจะยังเร่งตัวไปถึงช่วงกลางปี 2025 เป็นอย่างน้อย อย่างไรก็ตามความเสี่ยงมหภาคผันผวนมากขึ้น จากชัยชนะของคุณ โดนัลด์ ทรัมป์ และ พรรค Republican ในแบบ Red Sweep ส่งผลให้การผลักดันนโยบายต่างๆ จะสร้างผลกระทบกับประเทศอื่นๆ เช่นเดียวกับตลาดเกิดใหม่(EM) โดยเฉพาะนโยบาย "Make American Greatest Again" ผ่านการสนับสนุนประชาชนอเมริกัน ลดภาษีต่างๆ การใช้งบประมาณที่สูง เพิ่มปัญหาขาดดุลทางการคลัง ขณะที่กีดกันต่างชาติ สงครามการค้า (Trade war) โดยเฉพาะ จีน ถือเป็นประเด็นหลักสร้างความเสี่ยงให้เงินเฟ้อลดลงช้ากว่าที่ตลาดคาดหวัง ผลของนโยบาย กีดกันผู้อพยพ, การขึ้นภาษีนำเข้า ผสาน ขาดดุลการคลังที่สูงขึ้น จะผลักดันให้ US Bond Yield ระยะกลางสูงกว่าคาดการณ์เดิม ค่าเงินสกุลดอลลาร์แข็งค่า โดยปัจจุบัน US Bond Yield 10 ปีขยับขึ้นจากโซนฐาน ณ ต้น ต.ค. ราว 75-80 bps, Dollar Index แข็งค่า +6-7%
ส่วนความเสี่ยงผลกระทบจากสงครามการค้า เริ่มเห็นภาพของตลาดหุ้น Asia ที่ บจ. มีรายได้เชื่อมโยงกับจีนและสหรัฐฯ ในสัดส่วนสูง อาทิ ยุโรป เกาหลีใต้ ไต้หวัน ให้ผลตอบแทน (MTD) Underperform โลก เรามองการเคลื่อนไหวสินทรัพย์ข้างต้น บ่งชี้ภาพตลาดให้น้ำหนักต่อปัจจัยที่จะกำหนดทิศทางการลงทุนในปี 2025 ขึ้นกับแนวทางขับเคลื่อนนโยบายของคุณ Trump เป็นหลัก
หากอิงตามกรอบเวลาขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ จะสร้างความผันผวนต่อ EM Asia 2 ส่วน คือ
1.) US Bond Yield ผันผวนตามทิศทางดอกเบี้ยซึ่งบางส่วนขึ้นกับนโยบายคุณ Trump, แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่าจะเพิ่มแรงกดดันต่อ Fund Flows และ Multiple ของตลาดหุ้น
2.) สงครามการค้า ถือเป็น Downside Risk ต่อประมาณการเศรษฐกิจ แม้ผลกระทบจากการบังคับใช้น่าจะส่งผลในช่วง 2H25 หรืออาจจะข้ามไปมีผล 2026 แต่เราประเมินตลาดหุ้นจะปรับตัวสะท้อนความเสี่ยงดังกล่าวก่อน โดยเฉพาะปลายไตรมาส 2 ประเทศที่มีความเสี่ยงกลุ่มที่มีสัดส่วนรายได้เชื่อมโยงสูง โดยเฉพาะ EM Asia ฝั่งจีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ จะผันผวนในปี 2025
เราประเมิน Upside หลักจากมุมมองบวกต่อแผนจัดตั้งหน่วยงาน DOGE เพิ่มประสิทธิภาพให้หน่วยงานรัฐ ลดภาระทางการคลัง ส่วนนี้ หากทำได้ดีจะลดแรงกดดันต่อ US Bond Yield ในขณะเดียวกันผลกระทบจริงของ Trade War มีโอกาสต่ำกว่าตลาดกังวล เนื่องจากประเทศต่างๆ ได้ปรับโครงสร้าง Supply Chain ไปแล้วนับตั้งแต่ Trade War รอบแรก อาทิ จีนพึ่งพาสหรัฐฯ ลดลง ยอดส่งออกของจีนไปสหรัฐฯ เหลือ 14.5% ของยอดรวม (vs ก่อน Trade War รอบก่อนที่ 19%) และ โอกาสเห็นจีนกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งตัวใน 2H25 หากการขยายตัวเริ่มมีเสี่ยงต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
ขณะที่กลุ่ม TIPs (บริษัทจดทะเบียน) มีรายได้เชื่อมโยงจีนและสหรัฐต่ำกว่าภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะไทยมีสัดส่วนรายได้เชื่อมโยงสหรัฐฯ + จีน ต่ำกว่า 5% (Asia โดยเฉลี่ยราว 10%) ตรงกันข้ามแรงกดดันจาก Trade War จะหนุนการเติบโตใหม่ (New S-Curve) จากกระแสย้ายฐานการลงทุนจากต่างชาติเร่งขึ้น ผสาน ไทยมีจุดเด่นเฉพาะตัว คาดGDP จะเติบโตทำระดับสูงสุดของปีใน 4Q24 ที่ 3.5-4.0% และปี 2025 คาดขยายตัวต่อเนื่อง 2.8-3.0% เทียบปี 2024 ทั้งปีคาดขยายตัว 2.4-2.6% เม็ดเงินลงทุนระยะยาวในประเทศแข็งแรงขึ้น หนุนภาพกำไรตลาดและการลงทุนในปีหน้ายังดี KSS คาดการณ์กำไรตลาดปี 2025 เบื้องต้นที่ 96บาทต่อหุ้น ขณะที่กรอบ PER เป้าหมาย 17.3x ระดับค่าเฉลี่ย จะได้เป้าหมาย SET ปี 2025 เบื้องต้นที่ 1660 จุด (คิดเป็น Equity Risk Premium 3.3% สูงกว่าค่าเฉลี่ย 3.06%)
กลยุทธ์ลงทุน แนะนำอุตสาหกรรม Domestic ที่กำลังฟื้นตัวตามแรงขับเคลื่อนภายใน + ได้ประโยชน์นโยบาย Trump 2.0 ทั้งเชิงธุรกิจ หรือประโยชน์จาก Sector Rotation กระแสเม็ดเงินลงทุนที่หลบออกจากกลุ่ม Global Plays ที่มีความเสี่ยง
• กลุ่มได้ประโยชน์การย้ายฐานการผลิต ลดความเสี่ยงการกีดกันทางการค้า : นิคม WHA(TP-6.4) โรงไฟฟ้า GULF (TP Max-75) GPSC (TP-47)
• กลุ่ม Domestic ที่มีแรงหนุนภายใน
o กลุ่มธนาคาร BBL (TP Con-172), SCB (TP Con-119) และ KBANK (TP-180)
o กลุ่มสื่อสาร ADVANC (TP-305)
o กลุ่มที่อยู่ในช่วงฤดูกาล AOT(TP-64.5) CENTEL (TP-40)
o ค้าปลีก CPALL(TP-80)
o กลุ่มเช่าซื้อ
• Strategy Update : กองทุนลดหย่อนภาษีเด่นปลายปี 2024 ที่ไม่ควรพลาด
ทีมกลยุทธ์ชวนวางแผนลดหย่อนภาษีช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี ผ่านกองทุนลดหย่อนภาษี SSF, RMF และ TESG โดยอิงจากน้ำหนักการลงทุน KSS Rating ที่ทีมกลยุทธ์ให้ไว้ในบทวิเคราะห์ Cross Asset Strategy ตามตาราง Exhibit 1 เราเลือกการลงทุนสินทรัพย์ประเภท Fixed Income (ทั่วโลก), Equities (ไทย จีน เอเชีย) เป็น Top pick สำหรับการลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษีในปี 2024 นี้ และกองทุน Top pick ได้แก่ UGIS-SSF/UGISRMF, KFACHINSSF/KFACHINRMF, K-TNZ-ThaiESG, KFTHAIESGA
สำหรับผู้ที่มีเงินได้ในปี 2024 และต้องการลดหย่อนภาษีผ่านกองทุนลดหย่อนภาษี และต้องการลงทุนระยะยาว สามารถเลือกลงทุนได้ผ่านกองทุนลดหย่อนภาษีในทุกประเภท ทั้ง SSF, RMF และ TESG โดยกองทุน RMF และ SSF สามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของรายได้ โดยกองทุนทั้ง 2 ประเภท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ แล้วต้องไม่เกิน 5 แสนบาท ส่วนกองทุน TESG สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของรายได้ และสูงสุดไม่เกิน 3 แสนบาท รายละเอียดเพิ่มเติมแสดงไว้ใน Exhibit 2
สำหรับผู้มีเงินได้ที่ต้องการลดหย่อนภาษีผ่านกองทุนลดหย่อนภาษี และใส่ใจในระยะเวลาถือครอง แนะนำสำรวจช่วงอายุของนักลงทุน โดยสำหรับนักลงทุนที่อายุต่ำกว่า 51 ปี กองทุน TESG
กลยุทธ์ Tax Allowance Fund Strategy:
กองทุน SSF และ RMF (ลดหย่อนได้ประเภทละ 30% แต่ SSF ไม่เกิน 200,000 บาท และรวมกันกับ RMF และกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ) แนะนำ UGIS-SSF/UGISRMF (GlobalBond), KFACHINSSF/KFACHINRMF (China)
กองทุน TESG (ลดหย่อนได้ 30% หรือสูงสุด 300,000 บาท) แนะนำ KFTHAIESGA และ K-TNZ-ThaiESG
• Energy & Petrochemical (Neutral): ฝั่งต้นน้ำ (น้ำมันดิบ) -1-2% w-w ตลาดยังกังวล oversupply แม้กลุ่ม OPEC+ เลื่อนแผนเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบไป 3 เดือน คงมุมมอง ธ.ค. 24 ราคาน้ำมันดิบฟื้น m-m OPEC+ ปรับแผนการผลิต ลดแรงกดดันขา supply และ demand น้ำมันจีน+ญี่ปุ่นฟื้นตัว
ฝั่งโรงกลั่น ค่าการกลั่นสิงคโปร์ (SG GRM) -3% w-w supply จากตะวันออกกลางที่เพิ่มขึ้นฉุด gasoil spread -7% w-w, ความต้องการใช้ Jet ของ EU ลดลง และ ความต้องการ HSFO ของจีนลดลง คงมุมมองค่าการกลั่น ธ.ค. 24 ทรงตัว m-m ได้ demand ใช้น้ำมันหน้าท่องเที่ยวและฤดูหนาวที่มีแนวโน้มหนาวเป็นพิเศษหนุนต่อเนื่อง
ฝั่งปิโตรเคมี ส่วนใหญ่ฟื้น w-w หนุนจากราคา feedstock ลดลง i) สายโอเลฟินส์ HDPE spread -3% w-w ส่วน PP +4% w-w ii) สายอะโรเมติกส์ PX/BZ spread +4-7% w-w ส่วน iii) สายโพลีเอสเตอร์ (PET) integrated spread -3% w-w คงมุมมองแนวโน้ม ธ.ค. 24 spread ปิโตรเคมี ส่วนใหญ่ ทรง-ชะลอ m-m ยกเว้น PET ที่คาดได้การลด run ช่วยให้ supply ตึงตัวขึ้น
ภาพสัปดาห์ แม้ฝั่งปิโตรเคมีบางส่วนฟื้นตัวได้ แต่มาจากขาราคา feedstock ที่ลดลงเป็นหลัก ราคาน้ำมันดิบที่ยังมีแนวโน้มผันผวนอาจส่งให้ระยะสั้น spread ยังผันผวน เรายังคงมุมมองโรงกลั่นเป็นตัวเลือกเด่นของ 4Q24F ได้ปัจจัยหนุนการฟื้นตัวของค่าการกลั่น 4QTD +35% q-q และ stock loss ที่ลดลง คง top pick เป็น SPRC (TP9.5)
4Q24F Equity Outlook : Thailand Inflection Point
Stock Best Picks : GULF, GPSC, MTC, CPALL, BJC, BDMS, AOT, KTB, ADVANC, HMPRO
Mid-Small Cap Play : BTS, MALEE, MOSHI, CHG, ERW, BA