"Domestic Plays"
KSS Daily Strategy : คาด SET วันนี้ "Sideways/Up" ต้าน 1462/1471 จุด รับ 1447/1443 จุด ดัชนี S&P500 +0.25% ตอบรับยอดจ้างงานนอกภาคเกษตร พ.ย. 24 อยู่ที่ 2.27 แสนตำแหน่ง ฟื้นตัวสูงจาก prev. ที่มีผลกระทบพายุ ขณะที่ด้านอัตราว่างงาน พ.ย. 24 เพิ่มมาที่ 4.2% จาก prev. 4.1% สะท้อนภาพเศรษฐกิจสหรัฐ Goldilocks to Soft Landing หลังรายงาน US Bond Yield 2 และ 10 ปี ปรับลง -4 และ -2 bps ตลาดเพิ่มโอกาส Fed ปรับลดดอกเบี้ยอีก -25 bps ในรอบประชุม ธ.ค. 24 เพิ่มเป็น 86% จาก prev. 66% ถ่วง Dollar Index ที่ 106 จุด vs แนวต้าน 107.2 จุด บวกต่อภาพการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง ส่วนเอเชียวันนี้รอติดตามรายงานเงินเฟ้อจีน ภายในแม้ต่างชาติยังซื้อสลับขายหุ้น แต่กระแสเงินซื้อพันธบัตรเป็นบวก ซื้อ 4 จาก 6 วันทำการ และซื้อเร่ง 5108 ล้านบาทช่วงวันศุกร์ สอดคล้องพัฒนาการเศรษฐกิจไทย ขณะที่สัปดาห์นี้คาดมีมาตรการกระตุ้นเพิ่ม ทั้งความชัดเจนมาตรการแก้หนี้ครัวเรือน, และกลุ่มที่เป็นของขวัญปีใหม่แก่ประชาชน คาด SET แกว่งขึ้น โดยมีหุ้นนำ คือ หุ้น Domestic (ธนาคาร ค้าปลีก เช่าซื้อ) กลุ่มที่วงจรดอกเบี้ยขาลงหนุน (โรงไฟฟ้า High Yield หนี้สูง) และหุ้น China Plays (ลุ้นมาตรการกระตุ้นการประชุม CEWC) วันนี้แนะนำ GULF, IVL, KBANK
Daily outlook: "Sideways/Up" ต้าน 1462/1471 จุด รับ 1447/1443 จุด
What happened around the world?
(*+/) US Stock Market: ดัชนีดาวโจนส์ลดลง 123 จุด (-0.28%) แต่ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 15 จุด (+0.25%) และ Nasdaq เพิ่มขึ้น 159 จุด (+0.81%) ดาวโจนส์ปรับลงจากปัจจัยเฉพาะตัวมีแรงขายหุ้น UnitedHealth Group หลังผู้บริหารถูกรอบยิงเสียชีวิต โดยหุ้นดังกล่าวมีราคาซื้อขายต่อหุ้นที่ 549.62 ดอลลาร์ สูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจาก Goldman Sachs ความผันผวนของราคาจะมีผลต่อดัชนีอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากดัชนีดาวโจนส์คำนวณแบบ price weight อย่างไรก็ตามดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปรับขึ้นรับคาดการณ์เฟดลดดอกเบี้ยในการประชุม 17-18 ธ.ค.นี้
(*/+) US Econ: ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้น 227,000 ตำแหน่ง จาก 36,000 ตำแหน่งในเดือน ต.ค. มากกว่าที่ Consensus คาดไว้ที่ 200,000 ตำแหน่ง, อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4.2% จาก 4.1% ในเดือน ต.ค. เป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ ตัวเลขจ้างงานเร่งขึ้นไม่ได้สร้างความกังวลกับตลาดเพราะเป็นการฟื้นตัวจากเดือน ต.ค. ซึ่งได้รับผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคนเฮลีนและมิลตัน รวมถึงมีการหยุดงานประท้วงของพนักงานบริษัทโบอิ้ง ในขณะเดียวกัน Unemployment ที่เพิ่มขึ้นบ่งชี้ความร้อนแรงในตลาดแรงงานเริ่มลดลง สนับสนุนให้เฟดเดินหน้าลดดอกเบี้ย ล่าสุดนักลงทุนปรับเพิ่มโอกาสเฟดลดดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุม 17-18 ธ.ค. เป็น 86% จาก 66% ในสัปดาห์ก่อนหน้า เป็นจิตวิทยาบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้น โดยเฉพาะ Emerging market ที่ดัชนียัง Underperform ตลาดอื่นๆ และเป็นบวกกับหุ้นที่ได้ผลบวกจากดอกเบี้ยขาลง อาทิ โรงไฟฟ้า, ไฟแนนซ์ และหุ้นกลุ่ม Tech
(*/+) EU Econ: GDP 3Q24 ของกลุ่มยูโรโซนขยายตัว 0.9%yoy เพิ่มขึ้นจาก 2Q24 ที่ขยายตัว 0.5%yoy นับเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส อย่างไรก็ตามเรายังไม่วางใจกับอัตราขยายตัวดังกล่าวเนื่องจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของยูโรโซนเห็นสัญญาณชะลอตัวในหลายกิจกรรมโดยเฉพาะดัชนี PMI เดือน พ.ย.ที่อ่อนแอทั้งภาคการผลิตและบริการ เราคงมุมมองเดิมคาด ECB Meeting 12 ธ.ค. นี้จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ย้ำภาพวงจรดอกเบี้ยโลกเป็นขาลง
(*/+) Japan Econ: ญี่ปุ่นรายงานยอดการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเดือน ต.ค. หดตัว 1.3%yoy สูงขึ้นจากหดตัว 1.1% ในเดือน ก.ย. นับเป็นการหดตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ปัจจัยนี้อาจจะทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงินญี่ปุ่น (BoJ) ชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ย ในการประชุม 19 ธ.ค. นี้ (Consensus คาด BoJ จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% จาก 0.25% เป็น 0.5%) หาก BoJ ปรับขึ้นดอกเบี้ยจะมีผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย (Yen Carry trade) และสร้างความผันผวนให้กับสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ (เงินไหลกลับญี่ปุ่น) ส่วนไทยประเมินผลกระทบจำกัดเนื่องจากเงินลงทุนจากญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนโดยตรง FDI มากกว่าการแสวงกำไรจากตลาดหุ้นเหมือนตลาดพัฒนาแล้ว
(-) Oil market: ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 1.10$ (-1.61%) ปิดที่ 67.2$/bbl และ น้ำมันดิบ Brent ลดลง 0.97$ (-1.35%) ปิดที่ 71.12$/bbl กังวลความต้องการน้ำมันดิบโลกชะลอตัว และซัพพลายเพิ่มขึ้นซ้ำเติมตลาด เมื่อวันศุกร์สหรัฐรายงานแท่นขุดเจาะน้ำมันเพิ่มขึ้น 5 แท่นเป็น 482 แท่น สูงสุดตั้งแต่กลางเดือน ต.ค. และแท่นขุดเจาะก๊าซเพิ่มขึ้น 2 แท่นเป็น 102 แท่น สูงสุดตั้งแต่ต้นเดือน พ.ย. เป็นจิตวิยาลบต่อกลุ่มพลังงานต้นน้ำ (PTTEP, PTT
(*/-) Refinery : ค่าการกลั่น ณ โรงกลั่น สิงคโปร์ ปิดล่าสุด ธ.ค. ลดลง -1.08$ ปิดที่ระดับ 5.15$/bbl (-17.3%) แม้ภาพรวมยังอยู่ในระดับสูง (ต้นเดือน ต.ค. เฉลี่ยราว 2.76$/bbl) แต่ภาพรายวันที่ปรับลงแรง เรายังมองจิตวิทยาลบต่อหุ้นในกลุ่มโรงกลั่น
(*/+) US Bond Yields & Dollar : Bond yield สหรัฐ อิงอายุ 2 ปี ปิด -5 bps อยู่ที่ 4.1% อายุ 10 ปีปรับลง -2 bps อยู่ที่ 4.17% (หากอิงสถิติ US Bond yields 10 ปี และ Thai Bond yield 10 ปี มีค่าสหสัมพันธ์สูงราว 0.6 หรือไปทางใดเดียว) ตอบรับรายงานภาคการจ้างงานที่บ่งชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯเป็นภาพ Goldilocks to Soft Landing ส่วน Dollar Index อ่อนตัวมาที่บริเวณ 105.9 +/- จุด ยังต่ำกว่าแนวต้านสำคัญคือ 107.2 จุด
(*) To monitor : ส่วนสัปดาห์นี้ ปัจจัยภายนอกติดตาม 1.) 12 ธ.ค. เงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ พ.ย. 24 ตลาดคาด +2.7%y-y, +0.2%m-m vs prev. +2.6%y-y, +0.2%m-m 2.) 12 ธ.ค. ประชุมธนาคารกลางยุโรป 3.) 9 ธ.ค. เงินเฟ้อ CPI จีน ตลาดคาด -2.8%y-y vs prev. -2.9% และ 4.) 11-12 ธ.ค. การประชุม CEWC (China Economic Work Conference) ว่าจะมีการกล่าวถึงมาตรการ Pro-active ต่อ Trump 2.0 รวมถึงการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหรือไม่
What happened in Thailand?
(*/+) SET : SET Index แกว่งตัวในกรอบก่อนปิดบวก +1.14 จุด ปิดที่ 1451.96 จุด กลุ่มหนุน คือ กลุ่มพลังงาน (GULF, BGRIM) ตอบรับมุมมองบวกต่อโอกาสอุตสาหกรรม หลังคุณเจนเซ่น หวง CEO ของ NVIDIA แถลงวิสัยทัศน์ ผสาน เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง กลุ่มสื่อสาร (ADVANC, INTUCH, JTS) ตอบรับมุมมองบวกต่อโอกาสอุตสาหกรรม หลังคุณเจนเซ่น หวง CEO ของ NVIDIA แถลงวิสัยทัศน์ ส่วน JTS ตอบรับราคา Bitcoin ขึ้นทำจุดสูงสุดทะลุ 100,000 เหรียญฯ กลุ่มถ่วง คือ กลุ่มค้าปลีก (CPALL, CPAXT, GLOBAL) ถูกขายทำกำไรหลังตอบรับประเด็นบวก ครม. อนุมัติมาตรการ "ไร่ละพัน" กลุ่มชิ้นส่วน (DELTA, CCET) จิตวิทยาลบเงินบาทแข็งค่า และคาดถูกขายทำกำไร หลังปรับตัวขึ้นมามาก
(*/+) Flows: เงินทุนต่างชาติวันทำการล่าสุดไหลเข้า ขายหุ้น -46.7 ล้านเหรียญฯ ซื้อพันธบัตร 135.4 ล้านเหรียญฯ TFEX Net -155 สัญญา เงินบาทแกว่งแข็งค่าขึ้นสู่ 34.0+/- บาท
(*/+) TH Bond: สัญญาณ Fund Flows ไหลเข้าเป็นบวก ต่างชาติซื้อพันธบัตรไทย (Bond) +5108 ล้านบาท (ซื้อตัวสั้น +1288 ล้านบาทและตัวยาว +3820 ล้านเหรียญ) เป็นภาพซื้อ 4 ใน 6 วันทำการ ขณะที่หนุน Bond yields ไทยอายุ 10 ปีปรับลงเหลือ 2.26% อยู่ในโซนต่ำสุดในรอบ 1.5 ปี และลดลงจากปลาย พ.ย. ราว -15 bps ผสานค่าเงินบาท/ดอลลาร์ยังแข็งค่าทดสอบระดับ 34.00 +/- บาท มองเป็นสัญญาณบวก Inflow จะเร่งขึ้น โดยคาดภาพจะเกิดขึ้นในทางเดียวกับตลาดหุ้นไทย 1.) จากการศึกษาของเรา พบว่า ทุกๆ Bond Yield ที่ปรับลดลงทุกๆ -25 bps จะบวกต่อ SET ราว 20-25 จุด นอกจากนี้ 2.) มองเป็นจิตวิทยาบวกต่อแนวโน้ม Fund inflow ไหลเข้า หนุนหุ้น Big Cap โดยเฉพาะหุ้น Domestic กลุ่มธนาคาร KBANK, SCB กลุ่มโรงไฟฟ้า GULF GPSC กลุ่มการเงิน AEONTS JMT กลุ่มค้าปลีก CPALL CPAXT BJC กลุ่ม ICT : ADVANC
(*/+) Digital Wallet Ph II: โฆษกรัฐบาล ระบุความคืบหน้าโครงการ Digital Wallet เฟส 2 คาดว่าดำเนินการได้ไม่เกิน ก.พ. 25 โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างปรับปรุงรายละเอียดเล็กน้อยก่อนส่ง ครม. อนุมัติ มองหนุนหุ้น Domestic ที่ได้ประโยชน์ทางบวก อาทิ ค้าปลีก เน้น CPALL, CPAXT, BJC เช่าซื้อ JMT, AEONTS, SAWAD ธนาคาร KBANK, SCB
(*/+) Commerce: ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มอบนโยบายให้กรมศุลกากร เพิ่มความเข้มข้นในการตรวจสอบควบคุมคุณภาพสินค้านำเข้าจากประเทศจีน โดยจะยกเลิกด่าน "มุกดาหาร-นครพนม" เป็น "ด่านพิเศษ" เปลี่ยนจาก "สุ่มตรวจ" เป็น "ตรวจ 100%" ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการปกป้องสินค้าไทยจากการเข้ามาตีตลาดของสินค้าจีน มองจิตวิทยาบวกต่อกลุ่มค้าปลีกที่กระทบจากการแข่งขันสินค้าจีน อาทิ HMPRO, CRC และธุรกิจ SMEs จะแข่งขันดีขึ้น บวกธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อ SMEs สูง อาทิ KBANK (27% ของสินเชื่อ) BBL (18%) SCB (17%)
(*/+) TH Tourism: Euromonitor International บริษัทวิจัยตลาด ได้เผยผลสำรวจเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา ในหัวข้อ 10 เมืองที่มีนักท่องเที่ยวมาเดินมาเยอะที่สุด ประจำปี 2024 ปรากฎว่า กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย สามารถครองอันดับหนึ่งเมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนมากที่สุด ยอดทะลุถึง 32.4 ล้านคน ในปีนี้ มองจิตวิทยาบวกจากความนืยมนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อกลุ่มท่องเที่ยว หุ้นอิงภาคบริการ ผสานภาพนักท่องเที่ยว ธ.ค. 24 มักเร่งขึ้น ผสาน Upside ระยะยาวที่รัฐฯกำลังเร่งผลักดันโครงการสถานบันเทิงครบวงจร เราประเมินหุ้นหลักในกลุ่มยังน่าสนใจลงทุน เน้น AOT CPALL BJC
(*/+) SSO: อนุกรรมการทบทวนหลักเกณฑ์ และอัตราการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคม (เฉพาะกิจ)หนึ่งในอนุกรรมการทบทวนหลักเกณฑ์ฯ เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการเสนอให้ใช้ทางเลือกเดียว คือ กรณีการจ่ายเงินในอัตรา 12,000 บาท/ AdjRW ไม่จำกัดวงเงิน Global budget และเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบการเบิกจ่ายทดแทน vs เดิมที่จำกัดงบลักษณะ Global budget ทำให้ช่วงปลายปีมักประสบปัญหาจ่ายเงินให้ ร.พ. ได้ต่ำกว่า 12,000 บาท/ AdjRW มองบวกต่อหุ้น ร.พ. ประกันสังคมที่มีความชัดเจนในส่วนดังกล่าวที่ Underperform ต่อเนื่องจากความไม่ชัดเจนเรื่องดังกล่าว
(*) To Monitor: สัปดาห์นี้ ปัจจัยภายในติดตาม 1.) ต้นสัปดาห์ ประชุม ครม. คาดมีโอกาสอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม 2.) 11 ธ.ค. รัฐฯเตรียมหารือ BOT มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ 3.) 12 ธ.ค. นายกฯ แถลงผลงาน 3 เดือน พร้อมคาดว่าจะมีการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นของขวัญปีใหม่ เราประเมินมีโอกาสเป็นลักษณะ การซื้อสินค้า - บริการแล้วคืนภาษี , มาตรการท่องเที่ยวลักษณะคนละครึ่ง และมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพต่างๆ 4.) 9-13 ธ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) พ.ย. 24 ไม่มีคาด vs prev. 56 จุด 5.) 12 ธ.ค. ห้างเซ็นทรัล ชิดลม มีกำหนดการปรับปรุง (Renovate) แล้วเสร็จ มองจิตวิทยาบวกต่อ CRC และงาน Mono Open House แนะนำรอติดตามแผนธุรกิจ MONO ที่ชัดเจนขึ้นหลังบริษัทในกลุ่ม JAS ได้ลิขสิทธิ์ EPL
Daily Strategy : GULF, IVL, KBANK เด่น
ระยะสั้น วันนี้มองตลาดหุ้นไทย "Sideways/Up" ปัจจัยต่างประเทศเป็นบวกเศรษฐกิจสหรัฐฯเป็นภาพ Goldilocks to Soft Landing หนุนตลาดเชื่อมั่นโอกาสปรับลดดอกเบี้ยของ Fed ในรอบประชุม ธ.ค. 24 มากขึ้น ขณะที่จีน ตลาดน่าจะติดตามรายงานเงินเฟ้อ CPI จุดดี คือ ความคาดหวังค่อนข้างต่ำ ทำให้มีโอกาสเกิดภาพ Positive Surprise จากสัญญาณการฟื้นตัวบางภาคส่วน ขณะที่จุดที่ยังฟื้นตัวล่าช้า อาทิ อสังหา เริ่มมีความคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นในการประชุม CEWC ขณะที่ภายใน รอติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม รวมถึงความชัดเจนมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน 11 ธ.ค. 24 โดยรวมมองหุ้นนำวันนี้อยู่ในกลุ่ม หุ้น Domestic (ธนาคาร ค้าปลีก เช่าซื้อ) กลุ่มที่วงจรดอกเบี้ยขาลงหนุน (โรงไฟฟ้า High Yield หนี้สูง) และหุ้น China Plays (ลุ้นมาตรการกระตุ้นการประชุม CEWC)
หุ้นที่มีโอกาสถูกเพิ่มน้ำหนักจากกองทุนวายุภักษ์
กลุ่มที่ 1 หุ้นที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น, อยู่ในกองทุนวายุภักษ์ 1 และมีแนวโน้มเติบโตดีในช่วง 2024 – 2025 ได้แก่ AOT, KTB, PTT
กลุ่มที่ 2 หุ้นที่อยู่ในกองทุนวายุภักษ์ 1 และซื้อขายในระดับ Valuation Zone รวมถึงมีแนวโน้มการเติบโตดี ได้แก่ CPALL, SCC, MINT, CRC, HMPRO, SCGP
กลุ่มที่ 3 หุ้นที่มีน้ำหนักใน SETESG สูงและมีแนวโน้มการเติบโตดี อยู่ใน Theme Data Center ได้แก่ ADVANC, GULF มีโอกาสเป็นเป้าหมาย
กลุ่มที่ 4 หุ้นได้ประโยชน์กองทุนวายุภักษ์ Theme ที่ 4 คือ Div Yield 2024-2025 สูง >5% และอยู่ใน ThaiESG หุ้น (KBANK, BBL, HMPRO, INTUCH)
กลุ่มที่ 5 หุ้นที่ยังมีน้ำหนักในกองทุนวายุภักษ์น้อย ขณะที่เข้าเกณฑ์ ESG Score (ถ้าอยู่ใน SET100 เรทติ้ง A ขึ้นไป ต่ำกว่า SET100 AA ขึ้นไป การเติบโตปี 2024-25 เกณฑ์ดี CPALL CPAXT BDMS CRC HMPRO IVL MTC BJC WHA
หุ้นในธีมประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่การเป็นหนึ่งในศูนย์กลาง Infrastructure Technology ของภูมิภาค (WHA, GULF, GPSC, STPI, DELTA ADVANC, TRUE, INSET, BE8, BBIK)
หุ้นในธีม Trump 2.0 (AMATA, WHA, PTT, PTTEP, CPF, SCB, KBANK, KTB, CPALL, BJC, HMPRO, ADVANC, GULF, GPSC)
หุ้นภาคบริการได้ประโยชน์มาตรกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มไวขึ้นของรัฐบาลใหม่ ผสาน ท่องเที่ยว การผลักดัน Entertainment Complex คาดเป็นนโยบายหลัก หนุน บริโภค ท่องเที่ยว โรงแรม ร.พ. (AOT, BTS, VGI, BJC, STECON, ERW, BA, MBK)
กลุ่มได้ประโยชน์จีนกระตุ้นเศรษฐกิจ (IVL, AOT, AU, PTTGC, SCC, CPALL, BJC)
กลุ่มได้ประโยชน์ที่วงจรดอกเบี้ยพลิกเป็นขาลงนับจากปี 2024 (GULF, BA, AAV, MTC, AEONTS, TRUE, CPALL, BJC)
• DEC24 Best Picks : ADVANC, BJC, BTS, GULF, AOT, IVL, MALEE
• 4Q24 Stock Picks : GULF, GPSC, MTC, CPALL, BJC, BDMS, AOT, KTB, ADVANC, HMPRO Mid-Small Cap Play : BTS, MALEE, MOSHI, CHG, ERW, BA
Tactical & Investment Idea
Research Highlight
• Strategy Update: SET50/100 1H25 Update
ทีมกลยุทธ์ได้คำนวณหุ้นเข้า/ออก SET50-SET100 สำหรับรอบ 1H25 ก่อนที่ตลาดจะประกาศการคัดเลือกหุ้นเข้าออกรอบนี้ในช่วงกลางเดือน ธ.ค. 2024 และมีผลเริ่มใช้ 1 ม.ค. 2025 โดยสำหรับผลการคำนวนในรอบนี้ใช้ข้อมูลตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2023 – 29 พ.ย. 2024 (ครบตามที่ตลาดฯ ใช้จริงในการคำนวณหาหุ้นเข้า/ออก) ผลของการคาดการณ์น่าจะมีความแม่นยำสูง โดยเราหวังว่าบทวิเคราะห์ฉบับนี้จะช่วยให้นักลงทุนเตรียมตัวสำหรับการลงทุนในดัชนี SET50 และ SET100 ล่วงหน้าได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
• หุ้นที่คาดว่าจะเข้า SET50 รอบนี้มี 4 บริษัท คือ BANPU (โอกาสเข้า 100%), SAWAD (โอกาสเข้า 100%), COM7 (โอกาสเข้า 95%) และ CCET (โอกาสเข้า 95%)
• หุ้นคาดว่าจะหลุด SET50 รอบนี้ 4 บริษัท คือ CENTEL (โอกาสหลุด 95%), BCP (โอกาสหลุด 95%), TIDLOR (โอกาสหลุด 95%) และ EA (โอกาสหลุด 100%)
• หุ้นที่คาดเข้า SET100 รอบนี้มี 4 บริษัท คือ JTS, CCET, PR9, COCOCO
• หุ้นที่คาดว่าจะหลุด SET100 รอบนี้ 4 บริษัท คือ MBK, RBF, TIPH, TOA
กลยุทธ์ แนะนำให้หลีกเลี่ยงหุ้นที่คาดว่าจะหลุด SET50-SET100 เนื่องจากมีความเสี่ยงในการลดน้ำหนักจาก Index Fund ขณะที่แนะนำเก็งกำไรหุ้นที่คาดว่าจะเข้า SET50 รอบนี้เราแนะนำ SAWAD และ BANPU เด่น
• Strategy Update : Preliminary 2025 KSS Yearly Equity Strategy 2025 ภายนอกผันผวน โอกาสขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันภายใน หนุน Domestic Plays
การเคลื่อนไหวสินทรัพย์ต่างๆ ของโลกในปี 2024 พบว่า ตลาดหุ้นเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง ดัชนี MSCI World (YTD) ให้ผลตอบแทนราว +16.3% แรงขับเคลื่อนมาจากเงินเฟ้อคลายตัว หนุนวงจรดอกเบี้ยโลกเข้าสู่ขาลง สะท้อนผ่าน US Bond Yield 10 ปีปรับลง -6.7% จากระดับสูงสุดช่วงปลายปี 2023 ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ อยู่ในภาวะ Goldilocks - Soft Landing ส่วน SET Index ให้ผลตอบแทน YTD ที่ +3.3% ต่ำกว่าภาพรวม จากเสถียรภาพทางการเมืองในช่วง 1H24 อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจในช่วง 3Q24 ที่เริ่มเร่งขึ้น จากแรงส่งจากภาครัฐฯ หนุน SET ฟื้นตัว
สำหรับปี 2025 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยน่าจะยังเร่งตัวไปถึงช่วงกลางปี 2025 เป็นอย่างน้อย อย่างไรก็ตามความเสี่ยงมหภาคผันผวนมากขึ้น จากชัยชนะของคุณ โดนัลด์ ทรัมป์ และ พรรค Republican ในแบบ Red Sweep ส่งผลให้การผลักดันนโยบายต่างๆ จะสร้างผลกระทบกับประเทศอื่นๆ เช่นเดียวกับตลาดเกิดใหม่(EM) โดยเฉพาะนโยบาย "Make American Greatest Again" ผ่านการสนับสนุนประชาชนอเมริกัน ลดภาษีต่างๆ การใช้งบประมาณที่สูง เพิ่มปัญหาขาดดุลทางการคลัง ขณะที่กีดกันต่างชาติ สงครามการค้า (Trade war) โดยเฉพาะ จีน ถือเป็นประเด็นหลักสร้างความเสี่ยงให้เงินเฟ้อลดลงช้ากว่าที่ตลาดคาดหวัง ผลของนโยบาย กีดกันผู้อพยพ, การขึ้นภาษีนำเข้า ผสาน ขาดดุลการคลังที่สูงขึ้น จะผลักดันให้ US Bond Yield ระยะกลางสูงกว่าคาดการณ์เดิม ค่าเงินสกุลดอลลาร์แข็งค่า โดยปัจจุบัน US Bond Yield 10 ปีขยับขึ้นจากโซนฐาน ณ ต้น ต.ค. ราว 75-80 bps, Dollar Index แข็งค่า +6-7%
ส่วนความเสี่ยงผลกระทบจากสงครามการค้า เริ่มเห็นภาพของตลาดหุ้น Asia ที่ บจ. มีรายได้เชื่อมโยงกับจีนและสหรัฐฯ ในสัดส่วนสูง อาทิ ยุโรป เกาหลีใต้ ไต้หวัน ให้ผลตอบแทน (MTD) Underperform โลก เรามองการเคลื่อนไหวสินทรัพย์ข้างต้น บ่งชี้ภาพตลาดให้น้ำหนักต่อปัจจัยที่จะกำหนดทิศทางการลงทุนในปี 2025 ขึ้นกับแนวทางขับเคลื่อนนโยบายของคุณ Trump เป็นหลัก
หากอิงตามกรอบเวลาขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ จะสร้างความผันผวนต่อ EM Asia 2 ส่วน คือ
1.) US Bond Yield ผันผวนตามทิศทางดอกเบี้ยซึ่งบางส่วนขึ้นกับนโยบายคุณ Trump, แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่าจะเพิ่มแรงกดดันต่อ Fund Flows และ Multiple ของตลาดหุ้น
2.) สงครามการค้า ถือเป็น Downside Risk ต่อประมาณการเศรษฐกิจ แม้ผลกระทบจากการบังคับใช้น่าจะส่งผลในช่วง 2H25 หรืออาจจะข้ามไปมีผล 2026 แต่เราประเมินตลาดหุ้นจะปรับตัวสะท้อนความเสี่ยงดังกล่าวก่อน โดยเฉพาะปลายไตรมาส 2 ประเทศที่มีความเสี่ยงกลุ่มที่มีสัดส่วนรายได้เชื่อมโยงสูง โดยเฉพาะ EM Asia ฝั่งจีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ จะผันผวนในปี 2025
เราประเมิน Upside หลักจากมุมมองบวกต่อแผนจัดตั้งหน่วยงาน DOGE เพิ่มประสิทธิภาพให้หน่วยงานรัฐ ลดภาระทางการคลัง ส่วนนี้ หากทำได้ดีจะลดแรงกดดันต่อ US Bond Yield ในขณะเดียวกันผลกระทบจริงของ Trade War มีโอกาสต่ำกว่าตลาดกังวล เนื่องจากประเทศต่างๆ ได้ปรับโครงสร้าง Supply Chain ไปแล้วนับตั้งแต่ Trade War รอบแรก อาทิ จีนพึ่งพาสหรัฐฯ ลดลง ยอดส่งออกของจีนไปสหรัฐฯ เหลือ 14.5% ของยอดรวม (vs ก่อน Trade War รอบก่อนที่ 19%) และ โอกาสเห็นจีนกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งตัวใน 2H25 หากการขยายตัวเริ่มมีเสี่ยงต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
ขณะที่กลุ่ม TIPs (บริษัทจดทะเบียน) มีรายได้เชื่อมโยงจีนและสหรัฐต่ำกว่าภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะไทยมีสัดส่วนรายได้เชื่อมโยงสหรัฐฯ + จีน ต่ำกว่า 5% (Asia โดยเฉลี่ยราว 10%) ตรงกันข้ามแรงกดดันจาก Trade War จะหนุนการเติบโตใหม่ (New S-Curve) จากกระแสย้ายฐานการลงทุนจากต่างชาติเร่งขึ้น ผสาน ไทยมีจุดเด่นเฉพาะตัว คาดGDP จะเติบโตทำระดับสูงสุดของปีใน 4Q24 ที่ 3.5-4.0% และปี 2025 คาดขยายตัวต่อเนื่อง 2.8-3.0% เทียบปี 2024 ทั้งปีคาดขยายตัว 2.4-2.6% เม็ดเงินลงทุนระยะยาวในประเทศแข็งแรงขึ้น หนุนภาพกำไรตลาดและการลงทุนในปีหน้ายังดี KSS คาดการณ์กำไรตลาดปี 2025 เบื้องต้นที่ 96บาทต่อหุ้น ขณะที่กรอบ PER เป้าหมาย 17.3x ระดับค่าเฉลี่ย จะได้เป้าหมาย SET ปี 2025 เบื้องต้นที่ 1660 จุด (คิดเป็น Equity Risk Premium 3.3% สูงกว่าค่าเฉลี่ย 3.06%)
กลยุทธ์ลงทุน แนะนำอุตสาหกรรม Domestic ที่กำลังฟื้นตัวตามแรงขับเคลื่อนภายใน + ได้ประโยชน์นโยบาย Trump 2.0 ทั้งเชิงธุรกิจ หรือประโยชน์จาก Sector Rotation กระแสเม็ดเงินลงทุนที่หลบออกจากกลุ่ม Global Plays ที่มีความเสี่ยง
• กลุ่มได้ประโยชน์การย้ายฐานการผลิต ลดความเสี่ยงการกีดกันทางการค้า : นิคม WHA(TP-6.4) โรงไฟฟ้า GULF (TP Max-75) GPSC (TP-47)
• กลุ่ม Domestic ที่มีแรงหนุนภายใน
o กลุ่มธนาคาร BBL (TP Con-172), SCB (TP Con-119) และ KBANK (TP-180)
o กลุ่มสื่อสาร ADVANC (TP-305)
o กลุ่มที่อยู่ในช่วงฤดูกาล AOT(TP-64.5) CENTEL (TP-40)
o ค้าปลีก CPALL(TP-80)
o กลุ่มเช่าซื้อ
• Strategy Update : กองทุนลดหย่อนภาษีเด่นปลายปี 2024 ที่ไม่ควรพลาด
ทีมกลยุทธ์ชวนวางแผนลดหย่อนภาษีช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี ผ่านกองทุนลดหย่อนภาษี SSF, RMF และ TESG โดยอิงจากน้ำหนักการลงทุน KSS Rating ที่ทีมกลยุทธ์ให้ไว้ในบทวิเคราะห์ Cross Asset Strategy ตามตาราง Exhibit 1 เราเลือกการลงทุนสินทรัพย์ประเภท Fixed Income (ทั่วโลก), Equities (ไทย จีน เอเชีย) เป็น Top pick สำหรับการลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษีในปี 2024 นี้ และกองทุน Top pick ได้แก่ UGIS-SSF/UGISRMF, KFACHINSSF/KFACHINRMF, K-TNZ-ThaiESG, KFTHAIESGA
สำหรับผู้ที่มีเงินได้ในปี 2024 และต้องการลดหย่อนภาษีผ่านกองทุนลดหย่อนภาษี และต้องการลงทุนระยะยาว สามารถเลือกลงทุนได้ผ่านกองทุนลดหย่อนภาษีในทุกประเภท ทั้ง SSF, RMF และ TESG โดยกองทุน RMF และ SSF สามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของรายได้ โดยกองทุนทั้ง 2 ประเภท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ แล้วต้องไม่เกิน 5 แสนบาท ส่วนกองทุน TESG สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของรายได้ และสูงสุดไม่เกิน 3 แสนบาท รายละเอียดเพิ่มเติมแสดงไว้ใน Exhibit 2
สำหรับผู้มีเงินได้ที่ต้องการลดหย่อนภาษีผ่านกองทุนลดหย่อนภาษี และใส่ใจในระยะเวลาถือครอง แนะนำสำรวจช่วงอายุของนักลงทุน โดยสำหรับนักลงทุนที่อายุต่ำกว่า 51 ปี กองทุน TESG
กลยุทธ์ Tax Allowance Fund Strategy:
กองทุน SSF และ RMF (ลดหย่อนได้ประเภทละ 30% แต่ SSF ไม่เกิน 200,000 บาท และรวมกันกับ RMF และกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ) แนะนำ UGIS-SSF/UGISRMF (GlobalBond), KFACHINSSF/KFACHINRMF (China)
กองทุน TESG (ลดหย่อนได้ 30% หรือสูงสุด 300,000 บาท) แนะนำ KFTHAIESGA และ K-TNZ-ThaiESG
• SISB (Trading Buy, TP25F-35) : เรามีมุมมองเป็น "กลาง" ต่อโทนการประชุมฯ เนื่องจาก 1) สมมติฐานนักเรียนใหม่ปี 25F ของเราที่ 400 คน สอดคล้องเป้าหมายบริษัท 2) ระยะสั้นไม่มีประเด็นใหม่ และ 3) ทิศทาง 4Q24F เป็นไปตามที่ประเมิน คาด 4Q24F กำไรสุทธิ 240 ลบ. (+14%y-y +10%q-q) เติบโตเป็นไตรมาส ดีสุดของปี มีปัจจัยบวกรับรู้จำนวนนักเรียนเปิดเทอมใหม่ และปรับขึ้นค่าเทอมเต็มไตรมาส คงกำไรสุทธิปี 24F-25F ส่วนปี 26F จะมี upside 2% จากการรวมจำนวนนักเรียนสาขาใหม่ และมีราคาเป้าหมายส่วนเพิ่ม 3% จาก TP 35 บาท แนะนำ Trading Buy สำหรับ SISB
• Soft Commodity (Neutral) : สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้น +4.9%w-w เพราะฝนตกหนักในมาเลเซียทำให้การเก็บเกี่ยวผลปาล์มสดหยุดชะงัก ขณะที่ความต้องการใช้เพื่อผลิต B40 ในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น ราคายางพาราเพิ่มขึ้น +4.5%w-w จากความกังวลด้านอุปทานตึงตัว เนื่องจากฝนตกหนักในไทยและมาเลเซีย ราคาถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น +0.3%w-w จากแนวโน้มความต้องการและการส่งออกถั่วเหลืองของสหรัฐฯเพิ่มขึ้น ส่วนราคาน้ำตาลลดลง -0.6%w-w จากภาวะอุปทานล้นตลาดในอินเดีย อีกทั้งบราซิลมีผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ ราคาไก่ เพิ่มขึ้น +2.7%w-w อยู่ที่ 37.50 บาท (ต้นทุน 36-37 บาท) เพราะอุปสงค์เพิ่มขึ้น เริ่มเข้าฤดูกาลท่องเที่ยว ราคาสุกรทรงตัว w-w ที่ 73.50 บาท (ต้นทุน 66-67 บาท) ราคาสุกรจีนลดลง -3.4%w-w ที่ 15.96 หยวน หรือ 74.77 บาท (ต้นทุนการเลี้ยง 15.50 หยวน) จากอุปทานเพิ่มขึ้นมากกว่าอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น ราคาสุกรเวียดนามเพิ่มขึ้น +0.5%w-w ที่ 62,333 ดอง หรือ 83.69 บาท (ต้นทุนการเลี้ยง 45,000 ดอง) จากอุปทานลดลงเพราะโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) เนื่องจากเกษตรกรรายเล็กมีงบประมาณในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้สุกรจำกัด
เราให้น้ำหนักกลุ่มฯ NEUTRAL เรายังคงให้ Top pick CPF (TP25F 30) คาดกำไรปกติปี 24F แข็งแกร่งพลิกจากขาดทุน แม้คาด 4Q24F อาจชะลอ แนวโน้มปี 25F จะฟื้นใน 2Q25F ธุรกิจสุกรในประเทศผันผวนน้อยกว่าต่างประเทศ ขณะที่ต้นทุนลดลงต่อเนื่อง
• TOA(Neutral, TP25F-20) : ระยะสั้น หุ้นมี Sentiment บวกจากแผนซื้อหุ้นคืน 60 ล้านหุ้น วงเงิน 1.3 พันลบ. ภายใน 6 เดือน จากสภาพคล่องที่แข็งแกร่งเป็น Net cash และช่วยเพิ่ม EPS สูงสุดราว 3% ขณะที่ ด้านปัจจัยพื้นฐาน ยังชะลอตามภาพอสังหาฯ และกำไรยังมี Downside อีก แนะนำ "Neutral" อย่างไรก็ตาม เชิงกลยุทธ์ อาจหาจังหวะเก็งกำไรได้ในช่วงที่ซื้อหุ้นคืน ภายใต้ TP25F 20.0 บาท อิง DCF
4Q24F Equity Outlook : Thailand Inflection Point
Stock Best Picks : GULF, GPSC, MTC, CPALL, BJC, BDMS, AOT, KTB, ADVANC, HMPRO
Mid-Small Cap Play : BTS, MALEE, MOSHI, CHG, ERW, BA