สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(18 ตุลาคม 2567)-------------บริษัท ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) “TBN” เปิดเผยว่า ขอเรียนให้ทราบว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 4/2567 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567 มีมติอนุมัติให้จดจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ระหว่าง TBN กับ บริษัท วีอาร์อินเทลลิเจนซ์ จำกัด (“VRI”) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ชื่อบริษัทร่วมทุน บริษัท ซีโร่วัน จำกัด (“ZERO1”)
วันที่จดทะเบียนจัดตั้ง ภายในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
ทุนจดทะเบียนจำนวน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 500,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
สินทรัพย์ที่ได้มา หุ้นสามัญจำนวน 250,000 หุ้น ในราคา 2,500,000 บาท (สองล้านห้าแสนบาทถ้วน)
ประเภทธุรกิจดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการจัดทำซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (ยกเว้นซอฟต์แวร์เกมสำเร็จรูป)เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ทุกประเภท
วัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการจัดทำซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (ยกเว้นซอฟต์แวร์เกมสำเร็จรูป) พัฒนาออกแบบ จัดทำ เขียนโปรแกรม ผลิต จำหน่าย และเป็นตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์สำเร็จรูปและซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ รวมถึงแอปพลิเคชันและระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง สำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ทุกประเภท ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมให้บริการที่ปรึกษาการวางระบบ การติดตั้งและบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้อง
โครงสร้างการถือหุ้น 1. TBN ถือหุ้น จำนวน 250,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 2. VRI ถือหุ้น จำนวน 250,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50
กรรมการรวม 4 ท่าน ดังนี้
ตัวแทนจาก TBN จำนวน 2 ท่าน
(1) นางสาวนริศรา ลิ้มธนากุล
(2) นายธิปัตย์ สุนทรารชุน
ตัวแทนจาก VRI จำนวน 2 ท่าน
(3) นายชวัตร ตรังอดิศัยกุล
(4) นายสมศักดิ์ กาญจนประภาส
อำนาจกรรมการ
นางสาวนริศรา ลิ้มธนากุล หรือ นายธิปัตย์ สุนทรารชุน ลงลายมือชื่อร่วมกับ นายชวัตร ตรังอดิศัยกุลหรือ นายสมศักดิ์ กาญจนประภาส รวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัท
แหล่งที่มาของเงินลงทุน เงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาและขยายตลาดซอฟต์แวร์สำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การร่วมทุนจะช่วยให้สามารถพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น เข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย และขยายฐานลูกค้าไปยังอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการร่วมทุนจะช่วยให้เข้าถึงทรัพยากร เทคโนโลยี และตลาดใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยกระจายความเสี่ยงและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมได้ดียิ่งขึ้น