ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook
แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
อัปเดต Sentiment การลงทุนในภูมิภาคจาก Fund Flow
Key Takeaways:
กระแสเงินลงทุนในภูมิภาคยังคงเป็นบวก โดยมียอดซื้อสุทธิ 2,445 ล้านเหรียญใน 5 ประเทศ นำโดยไต้หวันและฟิลิปปินส์
เซคเตอร์เด่นของภูมิภาคในสัปดาห์ที่แล้ว ได้แก่ Chemicals โดยมีแรงซื้อที่แข็งแกร่งในไทย ไต้หวันและเกาหลีใต้
สำหรับเซคเตอร์เด่นของไทยในสัปดาห์นี้ จากการจับสัญญาณด้วยดัชนี Volume Index ได้แก่ Petrochemicals, Transportation และ Commerce
อัปเดตกระแสเงินลงทุน:
การติดตามกระแสการลงทุน (fund flows) ใน 5 ประเทศในสัปดาห์ที่ผ่านมา มียอดซื้อสุทธิ 2,445 ล้านเหรียญ ต่อเนื่องจากยอดซื้อสุทธิ 904 ล้านเหรียญในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยมี net inflow ในสองประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน 3,028 ล้านเหรียญ และฟิลิปปินส์ 190 ล้านเหรียญ ในขณะที่อีก 3 ประเทศมี net outflow ได้แก่ ไทย 22 ล้านเหรียญ อินโดนีเซีย 223 ล้านเหรียญ และเกาหลีใต้ 528 ล้านเหรียญ
สำหรับเซคเตอร์เด่นของภูมิภาคจากการจับสัญญาณด้วย Volume Index มีดังนี้ (1) Chemicals (ไทย, ไต้หวัน, เกาหลีใต้) (2) Basic Material (อินโดนีเซีย) และ (3) Mining & Oil (ฟิลิปปินส์)
แนวโน้ม:
เซคเตอร์ไทยที่น่าจับตาในระยะสั้น (เฉพาะที่ cover ในรายงาน Flow Tracker) ได้แก่
กลุ่มที่ 1: Volume Index มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นจากระดับสูงกว่า mid-point ได้แก่ Petrochemicals, Transportation
กลุ่มที่ 2: Volume Index ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่นับตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2023 ได้แก่ Commerce
ส่วนกลุ่มที่ให้ระมัดระวังกับแรงขายทำกำไรในระยะสั้น ได้แก่ ICT เนื่องจาก Volume Index ได้ปรับตัวเข้าสู่โซน super stretched level แล้ว จึงทำให้มีโอกาส pullback ในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความเสี่ยงดังกล่าว แต่กลุ่ม ICT ก็ยังมีจุดแข็งจาก Earnings Revision Breadth ที่เป็นบวก และความผันผวนของกำไรมักจะน้อยกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆในช่วงปลายวัฏจักรเศรษฐกิจ ด้วยปัจจัยบวกเหล่านี้ จึงมีความเป็นไปได้ว่า การปรับฐานจึงอาจไม่ได้รุนแรงนัก
อัปเดต Market-timing Indicator (เฉพาะตลาดหุ้นไทย):
ตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวขึ้น 1.1% ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ฟื้นตัวขึ้น หลังจากมีข่าวดีทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
เราคาดว่าตลาดหุ้นไทยจะยังคงปรับตัวขึ้นต่อไปได้ในเดือนตุลาคม แม้ว่าอาจมีการปรับฐานบ้าง เนื่องจากดัชนี Composite Short-term เข้าสู่ระดับตึงตัว แต่การย่อตัวนี้อาจไม่ได้ลงลึกนัก เนื่องจากดัชนี Composite Medium-term Indicator ยังมีแนวโน้มที่แข็งแกร่ง หนุนจากการปรับตัวดีขึ้นขององค์ประกอบทั้งสาม ได้แก่ ดัชนี Medium-term Bull-to-Bear ดัชนี Medium-term Momentum Strength และดัชนี Volume Flow
นอกจากนี้ดัชนี Medium-term Market Breadth ยังส่งสัญญาณ Bullish Signal อีกด้วย โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 57% สู่ 74% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2021 จากแนวโน้มที่ดีดังกล่าว ส่งผลให้ดัชนี SET มีโอกาสปรับตัวขึ้นไปทดสอบระดับ 1500 จุด ในระยะถัดไปของเดือนตุลาคมนี้
สรุปภาพตลาดวานนี้
SET ยังคงพยายามประคองตัวแถวๆ 1450 แม้มีแรงขายในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี และคอมเมิร์ช แต่ก็เห็นแรงซื้อหมุนเข้ามาในกลุ่มพลังงาน สื่อสาร ไฟแนนซ์ และแบงค์ ส่วนหุ้นสายซิ่งวานนี้สังเกตุเห็นกลุ่มสื่อ MCOT VGI และ BEC-ONEE (Swing ระหว่างวัน)
แนวโน้มตลาดวันนี้
Zigzag ups
เราคงมุมมองตามรายงานสัปดาห์นี้ว่า ตลาดหุ้นไทยจะยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ ซิกแซ็ก ขึ้น แต่ความผันผวนจะเพิ่มมากขึ้น เช่น เริ่มเห็นการปรับฐานของราคาหุ้นรายตัวเกิน 5% ขึ้นไป กระจายตัวมากขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้า แบบไม่สนปัจจัยแวดล้อมในระดับมหภาค และการเลือกเล่นหุ้น คาดว่าจะเน้นไปที่รายตัว ตามพัฒนาการพื้นฐานของหุ้นนั้นๆ ผ่านการส่องแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ผ่านจุดต่ำสุดและราคาหุ้นปีนี้ก็ลงมาและยังไม่ฟื้นตัวดี สะท้อนงบที่แย่ในปีนี้ไปแล้ว ซึ่งเมื่อมองไปข้างหน้าทิศทางผลการดำเนินงาน 3-4Q/24 และ 2025 มีโอกาสกลับมาเติบโตได้ตามศักยภาพจาก Organic growth มากกว่าการ เล่นหุ้นตามธีม หรือ กระแสการลงทุนในลักษณะ Sector Rotation
กรอบดัชนีฯหุ้นไทยสัปดาห์นี้ คาดว่ายังอยู่ในเส้นแนวโน้มทางเทคนิคขาขึ้น คือ เล่นเหนือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 25 และ 10 วัน 1,417 และ 1,447 จุด ส่วนแนวต้านระยะสัปดาห์ คาด 1,470-1,480 จุด
สำหรับประเด็นเด่นวันนี้ 1) คลอดเกณฑ์เยียวยาน้ำท่วมสำหรับบ้านเรือนเสียหาย สูงสุด 2.3 แสนบาท เสียหาย ไม่เกิน 70% รับเงิน 7 หมื่นบาท และเสียหาย 30% รับเงิน 1.5 หมื่น พร้อมชดเชยรายได้ตั้งแต่ 5-9 พันบาทต่อครัวเรือน (GLOBAL SCGD DOHOME BJC CPALL) 2) น้ำมันมีโอกาสรีบาวด์ (PTTEP PTT) จากเฮอร์ริเคนเฮเลน ภล่มอ่าวผลิตน้ำมันสหรัฐ แถมจีนทยอยคลอดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ (ก่อนหน้านี้ระดมทุนออกพันธบัตรชุดใหญ่ตอนนี้ทยอยใช้เงิน) 3) Google ประกาศลงทุน Data center ในไทย 1000 ล้านเหรียญฯ (INSET PROEN ILINK ITEL นิคม, โรงไฟฟ้า)
ส่วนเรื่องแรงซื้อจากกอง วายุภักษ์ เริ่มต้นเดือนนี้ เราไม่คาดว่าจะไล่ราคาซื้อหุ้นทันที แต่จะเน้นการตั้งรับเมื่อราคาหุ้นย่อ ช่วยเป็นกองหนุนให้ตลาดหุ้นไทย
กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์แนะนำ เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว โฟกัสไปข้างหน้า เน้นไปที่แนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการณ์ หรือ มองเห็นปัจจัยหนุนชัดเจนที่จะเข้ามาเกื้อหนุนต่อผลการดำเนินงานหลังจากนี้
วิเคราะห์ทางเทคนิค
ภาพรวมเดือน ก.ย. SET Index ปิด 1,448.83 จุด ผลตอบแทนรายเดือน +7% ขณะที่วอลุ่มซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นที่ 5.8 หมื่นล้านบาท โดยดัชนีทำจุดสูงสุดที่ 1,471 จุด จุดต่ำสุดที่ 1,352 จุด ปิดสูง!
“สถานการณ์ปัจจุบัน” SET Index ภาพรายเดือน “Bullish wolf wave” คลื่นหมาป่า เป็นหนึ่งใน Chart patterns ที่ไว้หาจุดกลับตัวของราคา นอกจากนี้ MACD (month) เตรียมตัดขึ้น buy signal แนะจับตาวอลุ่มมีโอกาสเพิ่มขึ้น โดยเป้า Fibonacci retracement 50% จะอยู่ที่ 1,480-1,500 จุด รับ 1,420-1,430 จุด
”ปัจจัยสำคัญ” ในปท. เม็ดเงินวายุภักษ์จะเข้าในเดือนตุลาคมนี้ ตปท. จีนอัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ อาจมีเพิ่มเติม เพื่อให้ถึงเป้าหมาย GDP ที่วางไว้ 5% ส่วนฝั่ง US ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจเพื่อชี้ว่าจะเกิด Soft landing หรือ recession ปล.ภาพ Econ ณ.ปัจจุบันชี้ว่าเศรษฐกิจเติบโตแบบชะลอตัว…ไม่แย่มาก
กลยุทธ์เทคนิค: วิธีสแกนหุ้น เลือกโดยใช้กราฟรายเดือน Price pattern….ส่งสัญญาณกระทิงขาขึ้น พร้อมเงื่อนไขโมเมนตัม วอลุ่มเด่น! + สัญญาณซื้อ buy signal by bullish EMA ราคาจ่อทะลุโซนต้าน...
หุ้นแนะนำประจำเดือน BUY “AOT (ซื้อต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว) BGRIM, SCC และ CBG” (อ่านเพิ่มในรายงาน Technical Monthly Report)
What to watch
ตัวเลขภาคการผลิตสหรัฐฯ และตัวแปรอื่นๆ ที่จะชี้นำภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ: คาด ISM Manufacturing เดือน กย.47.6 ยังคงต่ำกว่าระดับ 50 ต่อเนื่อง, ตัวเลขจ้างงาน คาดลงเหลือ 140k จาก 140k
การออกชุดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น ภาคการท่องเที่ยวในประเทศ, เงินเยียวยาหลังน้ำลด ฯลฯ
การประชุม กนง. 16 ต.ค. ตลาดยังคงคาดว่าจะคงดอกเบี้ยฯที่ 2.5%
สหรัฐฯ หยุดผลิตน้ำมันราว 24% หลังเฮอริเคนเฮเลนถล่มอ่าวเม็กซิโก: สำนักงานความปลอดภัยและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ (27 ก.ย.) ว่า ประมาณ 24% ของการผลิตน้ำมันดิบและ 18% ของการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวเม็กซิโกของสหรัฐฯ ได้ถูกระงับชั่วคราวเพื่อรับมือกับพายุเฮอริเคนเฮเลน (Helene)
หุ้นแนะนำวันนี้
WHAUP การเพิ่มสัดส่วนลงทุน Data center ในไทยของเทคใหญ่ ตปท. หนุนความสามารถในการขยายตัวของกลุ่มลูกค้านิคม คาดเพิ่มความต้องการเข้ามาลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น หนุนทั้งกลุ่มนิคม และผู้ผลิตน้ำไฟ ป้อนนิคมฯ
(S 4.6 R 4.8 SL 4.5)
Tactical port
ถอด SCGP CPNREIT เพิ่ม SCGD WHAUP
รายงานพื้นฐานวันนี้
Property Sector (Idea)
ยุคทองท่องเที่ยวและอสังหาฯ เมืองเชียงใหม่
วันนี้เราออกเปเปอร์ IDEA กลุ่มอสังหาฯ โดยเรามองว่าต่อจากนี้จะเป็น “ยุคทองของเชียงใหม่” ซึ่งจะขับเคลื่อนจากการท่องเที่ยวและอสังหาริมทรัพย์ ถึงแม้จะมีแรงกดดันจากน้ำท่วมระยะสั้น แต่ระยะกลางถึงยาวยังไม่ได้กระทบ โดยเรามองความแข็งแกร่ง ดังนี้
1) การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวเหนือก่อนโควิด ตัวเลขนักท่องเที่ยวของเชียงใหม่ YTD เติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนโควิด-19 เรียบร้อยแล้ว และค่าใช้จ่ายต่อหัวก็ปรับตัวสูงกว่าด้วยเช่นกัน
2) เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่เหมาะกับนักท่องเที่ยวทุกแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเกษียณฯ การท่องเที่ยวธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
3) อุปทานอสังหาฯ เติบโตช้ากว่าอุปสงค์ทั้งแนวราบและคอนโด อีกทั้งยอดจอดซื้อก็แข็งแกร่ง แสดงให้เห็นถึงสัญญาณการฟื้นตัวของตลาดอสังหาฯ ท่ามกลางภาพตลาดทั้งประเทศที่ยังคงได้รับแรงกกดดัน
4) การเติบโตของโครงสร้างพื้นฐาน โดย AOT ได้วางแผนสร้างสนามบินเชียงใหม่ เฟส 2 ซึ่งจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึงปีละ 20-30 ล้านคน-เที่ยว
5) Aging society โดยอายุประชากรในจังหวัดเชียงใหม่กว่า 27% มากกว่า 60 ปี ถือว่าเข้าสู่เมืองผู้สูงอายุ แต่เมืองมีความพร้อมสำหรับการรองรับการเติบโตของจำนวนผู้สูงอายุ เช่น Medicopolis ที่จะมีทั้ง Medical hub, ศูนย์การแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ และ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
จากทั้งหมดที่เราได้สรุปมา มีบริษัทอสังหาทั้งหมด 4 ราย ที่อยู่ในตลาดเชียงใหม่ LH และ SPALI เป็นผู้นำตลาดแนวราบ ส่วน SIRI เป็นผู้นำตลาดคอนโด และ ORI เพิ่งกระโดดเข้าไปในตลาดด้วยการเปิดตัวโรงแรมใหม่
Fundamental View: เรามองว่าตลาดเชียงใหม่มีศักยภาพในการเติบโตระยะยาว ดังนั้นเราจึงชอบ SPALI และ SIRI มากที่สุด และยังคงคำแนะนำ ซื้อเก็งกำไร
BGRIM (Idea)
บี.กริม เพาเวอร์
สายลมพัดพาการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
ช่วงที่ผ่านมาเรามองว่า BGRIM เจอปัจจัยลบกดดันมาพอสมควรแล้ว แต่สิ่งที่จะมองถัดไป คือ ประเด็นบวกที่จะเข้ามาขับเคลื่อนราคาหุ้นต่อเนื่องจาก
1) คาดกำไรหลัก 3Q24 เป็นจุดสูงสุดของปี โดยประเมินที่ 642 ล้านบาท เติบโต 2% YoY (กำลังการผลิตเพิ่มใหม่ และต้นทุนก๊าซลดลง) และ 8% QoQ (ปริมาณขายไฟกลุ่มอุตสาหกรรมเพิ่ม) ส่วนกำไรสุทธิที่รวมผลของ FX เข้ามา คาดเติบโตกว่า 128% YoY และ 244% QoQ
2) บาทแข็ง = อัตรากำไรดีขึ้น เนื่องจากต้นทุนการนำเข้า LNG สัดส่วน 40-50% ของ Pool gas ปตท. หากบาทแข็งค่า 10-15% HoH ใน 2H24 ส่งผลต่อราคา Pool gas ลดลง 5-9% และ Upside กำไร ของปี 2024 ที่ 4-10% (ส่วนค่า Ft คงที่ไปถึงปลายปี)
3) การประมูลโครงการไฟฟ้าหมุนเวียนรอบใหม่ ได้แก่ ปลายปีนี้จะมีไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 2.2GW และปีหน้าอีก 1.4GW นอกจากนี้ยังมีจาก PDP ปี 2025 แกราวๆ 10GW โดยเราประเมินทุกๆ 100MW จะเป็น Upside ระยะยาวราว 2-3% สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ และ 7-9% สำหรับพลังงานลม
4) พลังงานลมที่เกาหลี สร้างการเติบโตรอบถัดไป โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง โดยคาดว่าจะเริ่ม COD เฟสแรกได้ในช่วง 4Q25 และจะเป็น Catalysts ของหุ้นในปี 2025
Fundamental View: เราแนะนำซื้อเก็งกำไร ราคาเป้าหมาย 28 บาท
Commodities
ค่าการกลั่น และระวางเรือเทกองโดดเด่น
ในสัปดาห์ที่แล้วราคาน้ำมันดิบดูไบ ฟื้นตัวเล็กน้อย $0.18 WoW เป็น $73.82/บาร์เรล (บวกต่อ PTTEP เล็กน้อย)
ค่าการกลั่น (อิงสิงคโปร์) ขยายตัว $0.30 WoW เป็น $2.58/บาร์เรล จากกลุ่มดีเซล น้ำมันเครื่องบินเป็นหลัก (ในภาพรวมบวกต่อ SPRC และ TOP)
ส่วนต่างราคา (Spread) ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น WoW จากต้นทุน Naphtha และ Ethylene ลดลง ขณะที่ราคาสินค้าเคมีภัณฑ์เคลื่อนไหวหลากหลายทิศทาง (โดยรวมบวกต่อ PTTGC มากสุด)
ราคาถ่านหิน เพิ่มขึ้น 2% WoW อยู่ที่ $141.6/ตัน แรงกดดดันจากฝั่งเอเชียเบาลง (บวกต่อ BANPU)
ค่าระวางเรือเทกอง (BDI) เพิ่มขึ้น 6% WoW เป็น 2,046 จุด (Sentiment บวกต่อ PSL และ TTA) โดยเพิ่มในทุกกลุ่มย่อย
ส่วนค่าระวางเรือตู้คอนเทนเนอร์ (World Container Index) ลดลง 7% WoW เป็น 3,691 จุด (บวกต่อ RCL)
Fundamental View: เชิงพื้นฐานเราชอบ PTTEP และ TOP มากสุด และโอกาสเก็งกำไรเรือเทกองอย่าง PSL TTA
Quantitative Strategy
คาดดัชนี SET แตะ 1500 จุดได้ในเดือน ต.ค.
ตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวขึ้น 1.1% ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ฟื้นตัวขึ้น หลังจากมีข่าวดีทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เราคาดว่าตลาดหุ้นไทยจะยังคงปรับตัวขึ้นต่อไปได้ในเดือนตุลาคม แม้ว่าอาจมีการปรับฐานบ้าง เนื่องจากดัชนี Composite Short-term เข้าสู่ระดับตึงตัว แต่การย่อตัวนี้อาจไม่ได้ลงลึกนัก เนื่องจากดัชนี Composite Medium-term Indicator ยังมีแนวโน้มที่แข็งแกร่ง หนุนจากการปรับตัวดีขึ้นขององค์ประกอบทั้งสาม ได้แก่ ดัชนี Medium-term Bull-to-Bear ดัชนี Medium-term Momentum Strength และดัชนี Volume Flow นอกจากนี้ดัชนี Medium-term Market Breadth ยังส่งสัญญาณ Bullish Signal อีกด้วย โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 57% สู่ 74% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2021 จากแนวโน้มที่ดีดังกล่าว ส่งผลให้ดัชนี SET มีโอกาสปรับตัวขึ้นไปทดสอบระดับ 1500 จุด ในระยะถัดไปของเดือนตุลาคมนี้
สรุปประเด็นจาก Quick take
SCB
เอสซีบี เอกซ์
SCB แจ้งขายกิจการ Robinhood
SCB แจ้งขายบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด มูลค่ารวมไม่เกิน 2 พันล้านบาท
View From Fundamental: เรามีมุมมองเป็นกลางต่อการขาย PPV เพราะถึงแม้เราคาดว่า SCB จะบันทึกค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับ PPV เข้ามามากกว่าที่เราคาด 800 ล้านบาทใน 3Q24 (เดิมคาดจะบันทึกขาดทุนจาก PPV เข้ามา 1 เดือนราว 200 ล้านบาทในก.ค. 24) หรือคิดเป็น 2.0% ของประมาณการกำไรสุทธิปี 2024 แต่เราคาดว่า SCB จะไม่ต้องบันทึกผลขาดทุนจาก PPV เข้ามาอีกแล้วตั้งแต่ 4Q24 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เราประเมินว่าคุณภาพสินทรัพย์ของสินเชื่อบ้าน บัตรเครดิต เช่าซื้อรถยนต์และจำนำทะเบียนของ SCB ยังฟื้นตัวค่อนข้างช้า ทำให้เรายังแนะนำขาย