Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

444

 

 

 

พักสั้นๆ รอ FUND FLOW ก้อนใหม่
ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานเช้านี้ ดูยังไม่เห็นเรื่องใหม่ที่มีน้ำหนักในการ ขับเคลื่อนตลาดฯ ส่วนใหญ่เป็นตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจ โดย OECD คาด WORLD GDP GROWTH ปี 2567 และ 2568 อยู่ที่ 3.2% ทั้ง 2 ปี ซึ่งน่าจะตีความได้ว่ามองความเสี่ยง RECESSION ค่อนข้างต่้ำ ส่วนใน บ้านเรา ADB มีการปรับลดคาดการณ์ GDP GROWTH ปี 2567 ลงมา อยู่ที่ 2.3% ซึ่งถือเป็นค่ายที่คาดการณ์ GDP GROWTH ต่้ำที่สุด แต่อย่างไรก็ตามหากมองค่าเฉลี่ยของหลายสำนักแล้วยังอยู่ในช่วง 2.6% ทั้งนี้ในมุมของเรายังเห็นว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงการฟื้นตัวชัดเจน ในช่วง 2H67 สำหรับสถานการณ์ FUND FLOW ยังเชื่อว่าเม็ดเงินจาก ต่างชาติยังไหลเข้าต่อเนื่องภายใต้ภาวะที่เงินบาทยังแข็งค่า ขณะที่เม็ดเงิน จากสถาบันในประเทศก็น่าจะเข้ามาชัดเจนในงวด 4Q67 ดีต่อตลาดฯ

 

ประเมินว่า SET INDEX น่าจะอยู่ในช่วงปรับฐานระยะสั้นๆ ส่วนหนึ่งอาจ เป็นเพราะรอปัจจัยใหม่ๆ เข้ามาหนุน วันนี้คาดกรอบ 1453 – 1470 จุด หุ้น TOP PICK วันนี้เลือก AP, HMPRO และTASCO

 

OECD ปรับประมาณการ GDP โลกขึ้นลดความกังวล RECESSION ส่วนไทย GDP ยังโตจากการเบิกจ่ายของภาครัฐฯ
องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ปรับการประมาณ การ GDP โลกขึ้นจาก 3.1%YOY เป็น 3.2%YOY ในปีนี้ ส่วนปีหน้าคงประมาณการ เดิมที่ 3.2%YOY โดยล้าดับถัดไปที่น่าสนใจ คือ สหรัฐฯ และยูโรโซนที่ OECD คง ประมาณการเดิมในปีนี้อยู่ที่ 2.6%YOY และ 0.7%YOY ตามลำดับ โดยให้เหตุผล สนับสนุนจากอัตาเงินเฟ้อที่น่าจะผ่อนคลายลงอย่างต่อเนื่อง และมีการผ่อนคลาย นโยบายทางการเงินคอยพยุงไว้ จึงทำให้นักลงทุนคลายความกังวลการเกิด RECESSION ลงไปบ้าง

 

ต่อมาที่ประเทศไทย แม้ ADB หั่นคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้เหลือ 2.3% จาก 2.6% แต่ มีความกังวลการเกิด RECEESION น้อยอยู่แล้ว (อ้างอิง BLOOMBERG CONSENSUS) และมีหลายสำนักเศรษฐกิจที่ปรับประมารการ GDP ขึ้นในช่วงไตร มาส 3 นี้เช่นกัน อาทิ กระทรวงการคลังปรับจาก 2.7% เป็น 3.0%, ม.หอการการค้า ปรับจาก 2.50% เป็น 2.75% และ IMF ปรับจาก 2.70% เป็น 2.90%

 

ซึ่งเหตุผลสนับสนุนคาดมาจากการมีเม็ดเงินที่สามารถนำมากระตุ้นช่วยเศรษฐกิจได้ทันที จากเม็ดเงินคงเหลือของงบประมาณปี 2567 + เม็ดเงินใหม่จากการอนุมัติ งบประมาณปี 2568 เพื่อทยอยขับเคลื่อน GDP GROWTH ไทยในช่วง 4Q67-2568 โดยเป้าหมายการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยของภาครัฐฯ ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การใช้จ่าย ภาครัฐ (G) และการบริโภคภาคครัวเรือน (C) เป็นหลัก

 

สรุป OECD ปรับประมาณการ GDP โลกขึ้น ลดความกังวล RECESSION ส่วนไทย GDP ยังโตจากการเบิกจ่ายของภาครัฐฯ คาดหวังการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ เศรษฐกิจ แม้ ADB จะหั่นคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้เหลือ 2.3% จาก 2.6%

 

คาดหวัง ธปท. – คลัง มองเศรษฐกิจไทยมุมเดียวกันได้เมื่อไหร่!! จะช่วยผลัก GDP ฟื้นตัวเร็วขึ้นเมื่อนั้น
ช่วงที่ผ่านมา ธปท. – คลัง มีมุมมองต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่แต่กต่างกันในหลาย ประเด็น ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ เงินฟ้อ รวมถึงดอกเบี้ย โดยรัฐบาลเร่งอัดเงินเข้าในระบบเต็มที่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ดอกเบี้ยกลับอยู่ใน ระดับสูง 2.5% ทำให้การเดินหน้านโยบายการเงินและการคลังดูไม่ค่อยสอดคล้องกัน

 

อีกทั้งล่าสุดยังมีประเด็นค่าเงินบาทที่เข็งค่าอย่างรวดเร็ว เสี่ยงกระทบเชิงลบต่อหลายๆ ภาคส่วนเฉพาะอย่างยิ่ง “การส่งออกไทย” ที่คิดเป็นสัดส่วน 69% ของ GDP ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในภูมิภาค (ประเทศอื่นๆ มีการพึ่งพาส่งออกไม่ถึง 40%)

 

นอกจากนี้เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น มักส่งผลให้กลุ่มธุรกิจส่งออกอัตราการทำกำไรที่ลดลงด้วย โดยผลการศึกษาของ ธปท. พบว่าอัตราการทำกำไรของธุรกิจส่งออกมี ความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับค่าเงินบาท ด้วยค่า CORREALTION = 0.7

 

แม้วานนี้กระทรวงพาณิชย์เผยส่งออกไทยเดือน ส.ค +7.0%YOY ขยายตัวสูงว่าคาดที่ +6.0%YOY แต่ต่ำกว่าเดือน ก.ค. ที่ 15.2% ทำให้การส่งออก 8M67 เพิ่มขึ้น +4.24%AOA สอดคล้องกับสมมติฐานของกระทรวงพาณิย์ ที่ให้เป้าหมายตลอดทั้งปี 2567 คาดว่าจะขยายตัว 2%

 

แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เหลือของปี ภาคการส่งออกไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงจาก “เงินบาท ที่แข็งค่าเร็ว” ทำให้การแลกเงิน USD THB มีผลกระทบต่อสภาพคล่องในช่วง 4Q67 (พ.ย. –ธ.ค.) ไปจนถึงช่วงต้น 1Q67

 

สรุป คาดหวังการเดินหน้านโยบายการเงินและการคลังไปในทิศทางเดียวกันโดยเร็ว จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่าง 3% ในปีนี้

 

หุ้นไทยขึ้น 12.3%QTD แต่ต่างชาติได้กำไร 26%QTD (ในสุกุล เงิน USD) สูงสุดอันดับ 2 ของโลก
แม้ในช่วง 1H67 ต่างชาติจะขายหุ้นไทย ตลาดสารหนี้ไทย และตลาด TFEX แต่ในช่วง ไตรมาสที่ 3 (1 ก.ค. –25 ก.ย. 67) เห็น FUND FLOW กลับมาไหลเข้าตลาดการเงิน ของไทยหนักในหลายช่องทาง คือ ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทย 5.6 หมื่นล้านบาท (ซื้อทางตรง 2.5 หมื่นล้านบาท และผ่าน NVDR อีก 3.1 หมื่นล้านบาท) และซื้อสุทธิ ตราสารหนี้ไทย 6.9 หมื่นล้านบาท อีกทั้งซื้อสุทธิ TFEX อีก 1.67 แสนสัญญา

 

หนุนให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นมา 10.8% (QTD) และ SET INDEX +12.3% (QTD) สูงสุด อันดับ 8 ของโลก และถ้าคิดเป็นสกุลเงิน USD +26.0% (QTD) สูงสุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากอันดับ 1 ตลาดหุ้นเลบานอน +26.2% (QTD) ส่วนกลุ่ม TIP อื่นๆ ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ +19.5% อันดับ 5 ของโลก และตลาดหุ้นอินโดนีเซีย +18.0% อันดับ 6 ของโลก

 

สรุป FUND FLOW หนุนตลาดหุ้นไทยให้ขึ้นแรงจนนักลงทุนไทยได้กำไร 12.3% แต่นักลงทุนต่างชาติได้กำไรสูงเกินกว่าเท่าตัวที่ 26.0% จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าเร็วในช่วงที่ผ่านมา

 

Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132

ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365

ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985

สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ประคับประคอง By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ บ่ายวันนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทย คงประคับ ประคอง แกว่งตัวไปมา ท่ามกลาง บริษัทจดทะเบียนไทย...

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้