Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

513

 


ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook

แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
อัปเดต Momentum Tracker แนวโน้มตลาดหุ้นโลกและทองคำ
Key Takeaways:
 ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลง 3.7% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้น 5% จากปัจจัยบวกภายในประเทศ เช่น การตั้ง ครม. ใหม่ โครงการ Digital Wallet และวายุภักษ์
 ตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐออกมาต่ำกว่าคาด ทั้ง JOLTs Job Openings และ Nonfarm Payrolls สร้างความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจ
 ราคาทองคำมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันในระยะสั้น แม้จะมีปัจจัยสนับสนุนจากโอกาสการลดดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมเดือน ก.ย. นึ้ แต่ภาวะ overspeculation จะทำให้ราคาทองคำมีความผันผวนเพิ่มขึ้น
 ยีลด์พันธบัตร 10 ปีสหรัฐปรับตัวลง โดยคาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 3.0-3.2% ในครึ่งแรกของปีหน้า แนะนำให้เข้าซื้อสะสม จากโอกาสการได้กำไรจากส่วนต่างของราคา นอกเหนือจากผลตอบแทนของยีลด์
“ภาวะการลงทุนในสัปดาห์ก่อน”
สัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนี MSCI All-Country World Equity ปรับตัวลง 3.7% WoW ฉุดโดยแรงขายในตลาดหุ้นขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรป และจีน ในขณะที่ไทยปรับตัวขึ้นแรง 5% WoW สวนทางกับตลาดหุ้นโลก จากปัจจัยหนุนภายในประเทศ เช่น ข่าวการตั้ง ครม. ใหม่ การแจกเงินโครงการ Digital Wallet และการจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์
สำหรับพัฒนาการที่สำคัญอื่นๆในสัปดาห์ที่แล้วมีดังต่อไปนี้
1 สหรัฐรายงานตัวเลขเปิดรับสมัครงานใหม่ (JOLTs Job Openings) เดือน ก.ค. ที่ 7.67 ล้านตำแหน่ง น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 8.1 ล้านตำแหน่ง
2 ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm Payrolls) ของสหรัฐเดือน ส.ค. ออกมาที่ 142,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 160,000 ตำแหน่ง
“ปัจจัยเศษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่”
วันจันทร์: CN Inflation (consensus คาดอัตราเงินเฟ้อจีนเดือน ส.ค. ไว้ที่ 0.7% YoY เพิ่มขึ้นจาก 0.5% ในเดือนก่อนหน้า)
วันอังคาร: CN Exports (consensus คาดตัวเลขส่งออกจีนเดือน ส.ค. จะเติบโต 6.5% YoY ชะลอตัวลงจาก 7% ในเดือนก่อนหน้า)
วันพุธ: US Core CPI (consensus คาดอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสหรัฐ (Core CPI) เดือน ส.ค. จะเพิ่มขึ้น 0.2% MoM ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับเดือนก่อนหน้า)
วันศุกร์: US Michigan Consumer Sentiment (consensus คาดความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย. ไว้ที่ 68 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 67.9 ของเดือนก่อนหน้า)
“แนวโน้มของราคาสินทรัพย์ต่างๆ ในระยะสั้น”
1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ความกังวลเรื่องตัวเลขการจ้างงานที่อ่อนแอของสหรัฐไปกลบความคาดหวังเรื่องการลดดอกเบี้ยของเฟด ทำให้ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลงแรง เราแนะนำให้นักลงทุนระมัดระวังกับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นกับดัชนี MSCI All-Country World Equity ต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 4 เนื่องจากโอกาสเกิดเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และการแข็งค่าของเงินเยน ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้สัดส่วนบริษัทที่มีผลประกอบการดีกว่าคาดลดลงในฤดูกาลประกาศงบครั้งถัดไป จากการชะลอตัวของยอดขายและอัตรากำไร
2 Gold Spot สัปดาห์ที่แล้วปรับตัวลงเล็กน้อย 0.2% เราคาดว่าราคาทองคำจะเผชิญแรงกดดันมากขึ้นในระยะสั้น (แม้จะมีปัจจัยหนุนจากการลดดอกเบี้ยของเฟด) จากสัญญาณเชิงลบดังนี้ (1) เกิด bearish divergence ใน Momentum Tracker จากโซน extremely stretched level และ (2) มี net speculative long position ในระดับสูงเกินไปถึง 227,000 สัญญา เทียบกับค่าเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2006 ที่ 116,000 สัญญา แม้เรามีมุมมองดีต่อราคาทองคำในระยะกลางถึงยาว แต่ reward-to-risk ในระยะสั้นไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยง เนื่องจากราคามีโอกาสเข้าสู่วงจรปรับฐานจากภาวะ overspeculative ดังกล่าว เราจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการลงทุนในทองคำเพิ่มช่วงนี้
3 ราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวลง -7.7% ในสัปดาห์ที่แล้ว จากความกังวลเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยแม้ว่าสหรัฐจะรายงานตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบลดลงถึง 6.9 ล้านบาร์เรลก็ตามแต่ก็ไม่สามารถฟื้นความเชื่อมั่นให้กับเทรดเดอร์ได้ อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าสัปดาห์นี้ราคาน้ำมัน WTI จะสร้างฐานแถวกรอบ 65-68 เหรียญ ก่อนที่จะฟื้นตัวในสัปดาห์ถัดไป เนื่องจาห OPEC+ ได้ขยายระยะเวลาการลดกำลังการผลิตโดยสมัครใจจำนวน 2.2 ล้านบาร์เรลออกไปเป็นเดือน พ.ย. รวมถึงแรงขายที่น่าจะลดลง จากการที่ long-to-short ratio ได้ลดลงสู่ 3 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวตั้งแต่ปี 2006 ที่ 5.6 เท่า
4 ยีลด์พันธบัตร 10 ปีสหรัฐปรับตัวลง โดยปิดที่ระดับ 3.7% เทียบกับ 3.9% ในสัปดาห์ก่อนหน้า เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อพันธบัตรอายุ 10 ปึในช่วง 6-9 เดือนข้างหน้า จากวงจรการลดดอกเบี้ยของเฟดและเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง โดยยังคงคาดการณ์ว่า bond yield อายุ 10 ปีของสหรัฐจะปรับตัวลงสู่ระดับ 3.0-3.2% ภายในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า จึงแนะนำให้เข้าซื้อสะสม จากโอกาสการได้กำไรจากส่วนต่างของราคา (capital gain) นอกเหนือจากผลตอบแทนของยีลด์

สรุปภาพตลาดวานนี้
SET บวกต่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว นำโดยหุ้นใหญ่กลุ่มพลังงาน ธนาคาร คอมเมิร์ช ผสานแรงบวกกันถ้วนหน้า สู้กับแรงขายกลุ่มอิงการส่งออก (กระทบจากค่าเงิน) อย่างอิเล็กทรอนิกส์ เกษตรอาหาร ขณะที่หุ้นบวกแรง เห็นแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นที่หายไปนาน เช่น PSG HENG MTW ITEL SPA เป็นต้น

แนวโน้มตลาดวันนี้
หุ้นไทยนัมเบอร์วัน
หุ้นไทยสัปดาห์ที่แล้วบวกขึ้นเกินต้าน 1,370 จุด ได้สำเร็จ ทั้งจากแรงซื้อกองทุน ผสมโรงด้วยแรงซื้อคืนที่เข้ามาเป็นตัวเหยียบคันเร่ง
จากโมเมนตั้มที่เราพบว่าหุ้นกลางไปจนถึงหุ้นเล็กรอบนี้ ขึ้นแรงจากระดับต่ำสุดของดัชนี 1,270 จุด เช่น VGI EA SAWAD JMART PROEN ให้ผลตอบแทนตั้งแต่ 15%-100% ขณะที่หุ้นใหญ่นำตลาดรอบนี้ก็กดราคาไม่ลง และเดินหน้าบวกแรง เช่น ADVANC INTUCH GULF ทำให้เราคาดว่าหุ้นไทยมีโอกาสปรับขึ้นต่อได้ดีกว่าตลาดหุ้นภูมิภาคไปอีกระยะ ประเมินกรอบดัชนีฯระยะสัปดาห์นี้ 1,400-1,430 จุด
ส่วนตัวแปรสำคัญที่จะเร่งแรงซื้อบวกซื้อคืนหุ้นไทย จะมาจาก
(1) ความสำเร็จของการขายกองวายุภักษ์ในช่วง 16-20 กย.นี้ว่าจะจบที่ 1 แสนล้านบาทหรือ 1.5 แสนล้านบาท กอปรกับ ช่วงนี้ราคาหุ้นหลายตัวแสนถูก เป็นจังหวะที่หลายกองทุนทยอยออกขาย TESG ใหม่พอดี ช่วยยันราคาหุ้นไทย (2) การเร่งเบิกจ่ายงบปี 67/68 ตามกรอบระยะเวลาเดิม และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้เงินตามนโยบายเพื่อเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก เช่น แจกเงินหมื่น, แจกเงินเยียวยาหลังน้ำท่วม, ประมูลโครงการโครงสร้างพื้นฐานใหม่ คาดช่วยฟื้นความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยโตต่อเนื่องไตรมาส 3-4 และปีหน้า
ด้านปัจจัยต่างประเทศ เราเห็นว่าหลายประเด็นเป็นเรื่องที่ตลาดมองบวก และรู้อยู่แล้วว่าจะเกิดขึ้น คือ แนวโน้มดอกเบี้ยขาลงของ FED และ ECB ส่วนการปรับฐานของตลาดหุ้นสหรัฐฯ จากความกังวลผลการเลือกตั้ง และเศรษฐกิจถดถอย คาดไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยยะกับหุ้นไทย เหมือนเช่นที่ผ่านมา
ด้วยโมเมนตั้มแบบนี้กลยุทธ์จึงแนะนำ ธีมหุ้นแหกคุก จ่อเบรกแนวต้านเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน ตามที่ได้ออกรายงานไปก่อนหน้านี้ ผ่านการคัดสรรด้วยเกณฑ์ จ่อเบรกแนวต้าน และมีฐานกำไรโตดีรองรับ แต่ราคาหุ้นยังไม่ขึ้น

กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์แนะนำ เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว โฟกัสไปข้างหน้า เน้นไปที่แนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการณ์ หรือ มองเห็นปัจจัยหนุนชัดเจนที่จะเข้ามาเกื้อหนุนต่อผลการดำเนินงานหลังจากนี้

วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET ดุดัน! ทำจุดสูงสุดในรอบ 7 เดือน หนุนด้วย Fund flow เงินไหลเข้า volume ทะลุ 1 แสนล้านบาท “เดินหน้าเข้าสู่ภาวะกระทิง” Bull run! โมมนตัมระยะกลาง weekly chart ชี้ว่าเส้น EMA ส่งพลัง “Gloden cross” ยืนยันจุดกลับตัวของตลาด ผลลัพธ์ดัชนีปรับขึ้น +5% WoW เข้าใกล้จุดต้านตำแหน่ง 38.2% Fibonacci retracement มองไปถึงโซน 50% จะอยู่บริเวณ 1,480 จุด….แผนเทรด เล่นรอบหุ้นใหญ่มีอยู่แนะ run trend หรือแบ่งขายทำกำไรบางส่วนหากสัปดาห์นี้เริ่มปิดไม่สวย! อาจกลับมามองหาหุ้นแถวสอง หุ้น laggard play มีโอกาสขึ้นตามตลาด
สรุป: SET ไปต่อ! แนะจับตาหุ้นแถวสอง


What to watch
การเมืองในประเทศ ครม.ใหม่แถลงนโยบายต่อสภาฯ วันที่ 12-13 ก.ย.
เปิดขายกองทุนวายุภักษ์ 16-20 ก.ย.นี้
การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ วันที่ 19 ก.ย. คาดลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 5.25% ธนาคารกลางยุโรป 12 ก.ย. คาดลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 3.50%
การประชุม กนง. 16 ต.ค. ตลาดยังคงคาดว่าจะคงดอกเบี้ยฯที่ 2.5%
FTSE Rebalance: FTSE All World หุ้นออก BLA, และกลุ่มขยับจาก Large-Cap ไปเป็น Mid-Cap ได้แก่ OR MINT PTTGC EA CRC สำหรับกลุ่ม Small-Cap หุ้นเข้า BLA CPNREIT และหุ้นออก ITD NER ORI TPIPL (คาดมีผล 20 ก.ย.นี้)
ดีเดย์ขึ้นค่าแรง 400 บาท เดือน ต.ค.นี้
คลังเตรียมเก็บภาษีบุคคลที่มีรายได้ต่างประเทศพำนักในประเทศไทยเกิน 180 วัน แม้ไม่ได้นำกลับไทย

หุ้นแนะนำวันนี้
CBG เล่นหุ้นเชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานราก(S 71 R 75 SL 70)

 


รายงานพื้นฐานวันนี้

Tactical Theme Port.
ล็อคกำไร KTB CPALL เมื่อศุกร์ที่ผ่านมา
ความเคลื่อนไหวพอร์ตจำลองการลงทุนในธีม “Vision tailwinds” เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หุ้น KTB CPALL เคลื่อนไหวไปแตะที่ราคา 20 และ 65 บาท ตามลำดับ (ซึ่งเป็นราคา Take Profit ที่ตั้งไว้) จึงถูกล็อคกำไรบนราคาดังกล่าว ผลตอบแทน 8.1% และ 8.8% ตามลำดับ
ทำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยของพอร์ตฯ อยู่ที่ 7.0% สูงกว่า SET ในช่วงเวลาเดียวกันที่ 6.4% อยู่เล็กน้อยราว 0.5% (Alpha Return)
ปัจจุบันมีหุ้นที่ยังถืออยู่ 6 บริษัท (ผลตอบแทนเฉลี่ย Unrealized Return ที่ 5.1%) และรับรู้ผลตอบแทน (Realized Return) ไปแล้ว 4 บริษัท

Tactical Plays
Turning market lemons into lemonade
แม้ตลาดจะเก็งกำไรขึ้นมาจากการไล่ซื้อหุ้นกลุ่มคาดว่าจะเป็นเป้าหมายของกองทุนวายุภักษ์ และบวกขึ้นมาแล้วกว่า 60 ช่วง 5-6 ก.ย. ที่มีการประกาศความชัดเจนของการออกกองทุนดังกล่าว และหากอิงจากที่เราเคยประเมินไว้เมื่อ 24 ก.ค. (ตอนนั้น SET อยู่ราว 1300 จุด) ว่าเม็ดเงินจากวายุภักษ์จะบวกต่อหุ้นไทยราว 90-190 จุด และปัจจุบัน SET ขึ้นมาแล้ว 127 จุดจากตรงนั้น ซึ่งก็ยังเหลือ Room ในการไปต่อราวๆ 60 จุด และเราได้ Screen เพื่อหาหุ้นที่จะถูกเก็งกำไรไปต่อในช่วงที่เหลือนี้ โดยอิงจาก 3 เงื่อนไขสำคัญ คือ 1) อยู่ใน SET100 และมี ESG Score อิงตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มากกว่า AA, 2) ผลตอบแทน YTD ยังติดลบ และ 3) เป็นหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง การวิเคราะห์เชิงปริมาณดูดีขึ้น และมี Risk/rewards เชิงเทคนิคน่าสนใจ โดยได้คัดเลือกมา 3 หุ้นเด่น ได้แก่
SCGP: หลังจากออก Idea call ไปเมื่อ 5 ก.ย. โดยประเด็นหลักมองกำไรที่เติบโตใน 3Q24 และธุรกิจในอินโดฯ แนวโน้มฉุดกำไรน้อยลง หุ้นตอบรับเชิงบวกดีกว่า 10% ก็จริง แต่ YTD ยังลบ 21% จึงยังมีความน่าสนใจ และเราก็ได้เตรียมจัดงาน Virtual Conference call วันที่ 17 ก.ย. เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นด้วย
AMATA: คาดหวังการฟื้นตัวใน 2H24 จาก Backlog ที่แข็งแกร่ง และยอดโอนแนวโน้มเพิ่มขึ้น QoQ ต่อเนื่องใน 3Q-4Q24 อีกทั้งยัง Laggard หุ้น WHA
ERW (Bonus track): แม้จะอยู่ Rating A แต่มองความกังวลประเป็นต่ออายุฯ e Grand Hyatt Erawan ได้กดดันราคาหุ้นก่อนหน้าไปแล้ว ขณะที่ระยะถัดไปเรามองว่ากระบวนการจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และหุ้นกลุ่มมารีบาวน์ได้
(รายละเอียดการ Screen และรายชื่อ-ข้อมูลบริษัทอื่นๆ ดูในรายงานวันนี้)

 

Construction Material
ใกล้ถึงเวลาของกลุ่มการฟื้นตัว?
เรากำลังจะจัดงาน BLS Investment & Construction Day วันที่ 9-12 ก.ย. นี้ เราได้เชิญผู้เกี่ยวข้องกับการลงทุนและการก่อสร้าง มาให้ข้อมูล ได้แก่ SCC (วันที่ 9 ก.ย.) กระทรวงคมนาคม (10 ก.ย.) สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (11 ก.ย.) สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย (12 ก.ย.) CIVIL (12 ก.ย.) และ SPALI (12 ก.ย.)
ในส่วนความน่าสนใจที่จัดธีมงานนี้ขึ้นช่วงนี้ เพราะเรามองว่าหลังจากได้รัฐบาลใหม่ ซึ่งจะมาประจวบเหมาะกับการผ่านงบประมาณปี 2568 เราน่าจะได้เห็นโครงการลงทุนจากภาครัฐออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ และมีความเป็นไปได้ว่าเมื่อมีความเชื่อมั่นจะมีการลงทุนภาคเอกชนตามออกมา หลังจากอุตสาหกรรมนี้ผ่านแรงกดดันมาตลอด 1H24 ซึ่งมีตัวเลขของความต้องการใช้ซีเมนต์ที่ลดลง 10% YoY จากภาคอสังหาฯ ลดลง 8% การพาณิชย์ลดลง 6% และโครงสร้างพื้นฐานลดลง 12%
ทำให้ช่วงเวลาจากนี้ที่จะมีปัจจัยบวกที่กล่าวมา มีโอกาสที่จะเห็นการฟื้นตัวกลับ จึงต้องการใหนักลงทุนเห็นภาพที่รอบด้านแบบ 360 องศา จากหลายภาคส่วน ทั้งธุรกิจซีเมนต์ รับเหมาฯ อสังหาฯ และหน่วยงานกลาง-หน่วยงานรัฐ เพื่อใช้ให้เกิดความมั่นใจในการลงทุน นอกจากนี้ เรายังมองถึงระยะยาวที่จะได้เห็นแนวทางการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจเหล่านี้เพิ่มขึ้นและชัดเจนขึ้นด้วย

GPSC
โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่
แนวโน้มกำไรแกร่ง พร้อมเล่นรับการประมูลพลังงานหมุนเวียนได้
เราประเมินว่าจะเห็นแนวโน้มกำไรหลักของ GPSC ที่แข็งแกร่ง โดยใน 3Q24 คาดกำไรหลักที่เป็น High season เติบโตทั้ง YoY (จากอัตรากำไรที่ดีขึ้น) และ QoQ (ตามฤดูกาลที่วันหยุดน้อยกว่าไตรมาสก่อน และโรงไฟฟ้าเขื่อนดีขึ้นจากน้ำมาก) หลังจากนั้นใน 4Q24 คาดจะเห็นการเติบโตแบบ YoY ต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากกลุ่มเขื่อน (XPCL) ที่ได้รับอานิสงค์จาก La Nina ทำให้กำไรใน 4Q24 จะสูงมากกว่าช่วงเวลาปกติ จากน้ำในเขื่อนจะมากกว่าฤดูกาลปกติของช่วงไตรมาส 4 หลังจากนั้นในปี 2025-26 จะมีปัจจัยบวกจากการ COD โรงไฟฟ้าใหม่เข้ามา นอกจากนี้ ยังมีโอกาสเห็นการประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนใหม่ ที่คาดว่านอกจาก 3.6GW ที่จะประมูลเป็น 2 รอบ (2.2GW ภายในปีนี้ และที่เหลือปี 2025) ยังมองว่ายังมีโครงการใหม่อีกจากแผน PDP ฉบับใหม่ ที่น่าจะจบได้ในปี 2025
ทั้งนี้ เราประเมินเบื้องต้นว่าทุกๆ 100MW ที่เพิ่มเข้ามา หากเป็นโครงการแสงอาทิตย์เป็น Upside กำไรในระยะยาวราว 1% และเพิ่มมูลค่าพื้นฐานราว 0.05 บาท/หุ้น แต่หากเป็นโครงการพลังงานลดเป็น Upside กำไรระยะยาว 4% และราคาเป้าหมายราว 0.46 บาท/หุ้น
Fundamental View: เราคงคำแนะนำซื้อเก็งกำไร ราคาเป้าหมาย 51 บาท


สรุปประเด็นจาก Quick take

KBANK-BAM
ธนาคารกสิกรไทย-บริหาร
สินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์
KBANK ประกาศจัดตั้ง JV AMC ร่วมกับ BAM
KBANK อนุมัติจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับ BAM เพื่อประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
View From Fundamental: เรามีมุมมองเป็นกลาง เพราะเราประเมินว่าจะยังไม่เห็นผลบวกมากนักในระยะสั้น โดยประเมินว่า KBANK จะมีช่องทางในการบริหารจัดการ NPLs มากขึ้น ส่วน BAM ก็จะมีสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมาบริหารมากขึ้นในอนาคต โดยเราแนะนำซื้อ KBANK จากแนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ทยอยฟื้นตัว ส่วน BAM เราแนะนำขาย เพราะแนวโน้มการจัดเก็บเงินสดยังฟื้นตัวค่อนข้างช้า


วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

ประคับประคอง By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ บ่ายวันนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทย คงประคับ ประคอง แกว่งตัวไปมา ท่ามกลาง บริษัทจดทะเบียนไทย...

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้