DE JAVU … MINI BLACK MONDAY (5 ส.ค.)
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อคืนปรับลดลงแรงหลังการประกาศตัวเลข PMI เดือนส.ค.67 ออกมาต่ำกว่าคาด ซึ่งลำดับเหตุการณ์ดูคล้ายๆ กับช่วงที่เกิดMINI BLACK MONDAY เมื่อ 5 ส.ค.67 โดยในรอบนั้นรายงาน PMI ต่ำกว่าคาด 1 ส.ค. ตามด้วย NONFARM PAYROLL และUNEMPLOYMENT RATE ที่แย่กว่าคาดในวันที่ 2 ส.ค.(วันศุกร์)หลังจากนั้นเปิดมาวันจันทร์ตลาดหุ้นก็ปรับลดลงมาแรง ส่วนในรอบนี้ก็จะรอตัวเลข NONFARM PAYROLL และ UNEMPLOYMENT RATE ในวันศุกร์นี้เช่นกัน หากสัญญาณไม่ดีก็จะสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นได้ ส่วนในบ้านเราความสนใจอยู่ที่การจัดตั้งรัฐบาล โดยวันนี้จะมีการนำรายชื่อครม. ขึ้นทูลเกล้าฯ เชื่อว่ารัฐบาลจะเริ่มปฎิบัติงานภายในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ก.ย.หลังจากนั้นก็คาดหวังจะเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอกมาจากปัจจัยแวดล้อมดังกล่าวข้างต้น คาด SET INDEX วันนี้ น่าจะปรับฐานจากแรงกดดันของตลาดต่างประเทศ แนวรับอยู่ที่บริเวณ 1345 – 1350จุด แนวต้าน 1366 จุด TOP PICK เลือก BEM, CPALLและ INTUCH
ความกลัว RECESSION ระลอกใหม่ กลับมากวนใจอีกแล้ว
วานนี้ตลาดหุ้นโลกพลักกลับมาร่วงลงแรง เฉพาะอย่างยิ่งในฝั่งสหรัฐฯ ปิดตัวในแดนลบราว -1.5% ถึง -3.3% โดยมีแรงกดดันหลักๆ มาจากความกลัวเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐฯ RECESSION กลับมาเป็นที่น่ากังวลอีกครั้ง หลัง ISM เผยตัวเลขMANIFACTURING PMI ส.ค. 67 ล่าสุด 47.2 จุด ซึ่งต่ำกว่าคาดและยังหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 (PMI < 50) โดยดัชนีนี้ถือเป็น LEADING INDICATOR สะท้อนกิจกรรมการผลิตที่อาจชะลอตัวลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
เหตุการณ์ข้างต้น มีความคลายคลึงกับ จุดตั้งต้นของการเกิด MINI BLACK MONEYเมื่อ 5 ส.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเริ่มมาจากตัวเลข MANIFACTURING PMI ก.ค. 67 ที่ออกมาต่ำกว่าคาดเช่นกัน และตามมาด้วยตลาดแรงงานที่ส่งสัญญาณอ่อนแอทำให้วันศุกร์นี้ (6 ก.ย. 67) จำเป็นจะต้องติดตามตัวเลขภาคแรงงานสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้หาก NONFARM PAYROLL ต่ำกว่าคาด และ UNEMPLOYMENTRATE สูงกว่าคาด อาจเพิ่มแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงได้อีกระลอกนอกจากนี้ยังต้องจับตาสัญญาณจาก SAHM RULE ที่มักเตือนว่าอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น 0.5% จากจุดต่ำสุดในรอบ 12 เดือน สถิติมีความแม่นยำสูงถึง 100% ในการทำนาย RECESSION ซึ่งกรณีที่อัตราการว่างงานในเดือน ส.ค. 67 สูงกว่าระดับ4.1% อาจจะทำให้ความกังวลเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มขึ้นได
สรุป ความกังวลเศรษฐกิจ RECESSION กลับมากวนใจอีกครั้ง หลังตัวเลข PMI ภาคการผลิตออกมาแย่กว่าคาด ซึ่งเหตุการณ์นี้คล้ายกับจุดเริ่มต้นของการเกิด MINI
BLACK MONEY เมื่อ 5 ส.ค. ที่ผ่านมา ทำให้วันศุกร์นี้ (6 ก.ย. 67) จำเป็นจะต้องติดตามตัวเลขภาคแรงงานสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิดอย่างไรก็ตาม ยังคาดหวังว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจในสหรัฐฯ จะเป็นแบบ SOFTLANDING เนื่องจาก FED มีเครื่องมือผ่านการปรับลดดอกเบี้ย ซึ่งน่าจะเพียงพอต่อการสกัดความเสี่ยง RECESSION ได้ในระดับหนึ่ง
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงแรงในช่วงนี้ ด้วยเหตุปัจจัยอะไรบ้าง ?
วานนี้ราคาน้ำมันดิบ BRENT/WTI ปรับตัวลงแรง -4.8% และ -4.3% ตามลำดับ ปิดที่ระดับ 73.7 เหรียญฯ/บาร์เรล และ 70.3 เหรียญฯ/บาร์เรล ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก
ความกังวลการฟื้นตัวของตัวเลขเศรษฐกิจในจีนและสหรัฐฯ (DEMAND ลดลง)ขณะที่ฝั่ง SUPPLY มีความกังวลว่าจะหายไปจาก 2 เหตุผล ดังนี้
1.สมาชิก OPEC+ จะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน 1.8 แสนบาร์เรล/วัน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 67 จากปัจจุบันที่มีการปรับลดกำลังการผลิตรวม 5.86 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งประกอบด้วยการปรับลดอย่างเป็นทางการของ OPEC+ 3.66 ล้านบาร์เรล/วัน และการปรับลดกำลังการผลิตโดยสมัครใจของสมาชิกกลุ่มฯ 2.2 ล้านบาร์เรล/วัน
2.ข้อพิพาทด้านการเมืองในลิเบียฝั่งตะวันตกและตะวันออกมีแนวโน้มคลี่คลายลงส่งผลให้ความกังวลว่าลิเบียจะระงับการผลิตมากถึง 1.0 ล้านบาร์เรล/วัน ที่ก่อนหน้านี้กังวลก็ได้คลี่คลายลงเช่นกัน
ซึ่งหากพิจารณาราคาน้ำมัน WTI เฉลี่ยเดือน ก.ย. 67 ล่าสุดอยู่ที่ 70.4 เหรียญฯ/บาร์เรล -6.6%MOM / -21.2%YOY จึงอาจเห็นอัตราเงินเฟ้อของประเทศต่างๆทยอยลดลงตามลำดับ ซึ่งจุดสังเกตคงหนีไม่พ้นสหรัฐฯ ที่ตัวเลข CPI เดือน ส.ค.67จะประกาศ 11 ก.ย.67 ซึ่งมีโอกาสลดลง MOM/YOY เช่นกัน ส่งผลให้การใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายของ FED มีโอกาสเกิดเร็วและแรงขึ้น โดยพิจารณาจากFED WATCH TOOL จะเห็นได้ว่าโอกาสที่ FED จะปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ก.ย.67 อยู่ที่ 100% แบ่งเป็น ปรับลด 25 BPS. 59% และปรับลด 50 BPS.41% ขณะที่ ณ สิ้นปีนี้คาดดอกเบี้ยสหรัฐฯที่ 4.50%
ส่วนหุ้นที่ได้ประโยชน์ในยามราคาน้ำมันดิบลดลง ได้แก่หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า, วัสดุก่อสร้าง,ขนส่ง, ผลิตสินค้าอุปโภค/บริโภค และเช่าซื้อ
Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์