สำนักข่าวหุ้นอินไซด์( 30 สิงหาคม 2567)---- บริษัท เอสซีไอ อีเลคตริค จำกัด (มหาชน)SCI เปิดเผยว่า ตามที่บริษัท เอสซีไอ อีเลคตริค จำกัด (มหาชน) ('บริษัทฯ") ได้เปิดเผยสารสนเทศเกี่ยวกับการผิดชำระหนี้ของบริษัท เอสซีไอ เมทัล เทค จำกัด (เมียนมาร์) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 96.19 ของหุ้นทั้งหมด ("บริษัทย่อย") ตามสัญญากู้ยืมเงิน ระหว่างบริษัทย่อย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ("ธนาคาร") ฉบับลงวันที่ 23 กันยายน 2559 และที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีบริษัทฯ เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ดังกล่าว ("สัญญากู้ยืมเงิน") โดยบริษัทฯ แจ้งว่าอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ของบริษัทย่อยกับธนาคารความโดยละเอียดปรากฏตามหนังสือที่อ้างถึง (1) - (3) นั้น
บริษัทฯ ขอเรียนให้ทราบว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 4/2567 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม2567 ได้มีมติอนุมัติการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ค้างช้างชำระของบริษัทย่อยโดยตกลงให้บริษัทฯ ในฐานะผู้ค้าประกันเข้าทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญากู้ยืมเงินครั้งที่ 5 (Fith Amendment Agreement to the Facilty Agreement) และ เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับบริษัทย่อยและธนาคาร ("สัญญาแก้ไขเพิ่มเติม") เพื่อขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงิน โดยร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีข้อกำหนดและเงื่อนไขที่สำคัญ ดังนี้

โดยในการเข้าทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวส่งผลให้มีการขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้และดอกเบี้ยออกไป รวมถึงลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากเดิม นอกจากนี้ บริษัทฯ จะได้รับยกเว้นดอกเบี้ยค้างจ่ายจำนวน92,934,687.44 บาท หรือเท่ากับ 2,733,373.16 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ หากบริษัทฯ ชำระหนี้คงค้างครบถ้วน จะไม่มีเหตุผิดนัดชำระตามที่ได้ระบุในสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมและเอกสารอื่นฯ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บริษัทฯ และบริษัทย่อย อีกทั้งการเข้าทำสัญญาดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับฐานะทางการเงินของบริษัทฯและบริษัทย่อยอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด เนื่องจากบริษัทฯ ยังมีสภาพคล่องทางเงินสดดงเหลือเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงพิจารณาแนวทางในการบริหารจัดการโรงงานในประเทศเมียนมาร์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับบริษัทฯ เพิ่มเติมต่อไป
ทั้งนี้ การเข้าทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมกับธนาคารข้างต้นนั้นจะส่งผลให้บริษัทย่อยพ้นสถานะการผิดนัดชำระหนีกับธนาคารซึ่งเป็นสถาบันการเงินอันมีมูลค่ามากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 5 ของสินทรัพย์รวมของบริษัทฯ