SET Index ลุ้นรีบาวน์
กลยุทธ์เลือกหุ้นที่กำไรมีแนวโน้มเติบโต
Market Strategy
SET Index คาดลุ้นรีบาวน์ตามกรอบ 1270-1285 จุด การปรับลงแรงวานนี้น่าจะมาจาก Panic Sell ตามทิศทางตลาดหุ้นภูมิภาค จากความกังวล Recession ในสหรัฐฯ และความเสี่ยงตะวันออกกลางที่เพิ่มสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยแวดล้อมวันนี้พัฒนาการ 2 เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้แรงขึ้น ประกอบกับระดับ Valuation ของตลาดหุ้นบ้านเราที่ถือว่าอยู่โซนที่ต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานอยู่มากจาก PER67E 13.5 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี -1 S.D. และ PBV67E 1.25 เท่าต่ำใกล้เคียงช่วง COVID-19 กลยุทธ์การลงทุนเลือกหุ้น Defensive Growth อย่าง BH และหุ้นปันผลสูง INTUCH
การรายงาน ISM สหรัฐฯภาคบริการเดือน ก.ค. อยู่ที่ 51.4 ดีกว่าตลาดคาด 51.0 และดีกว่าเดือนก่อนที่ 48.8 สะท้อนภาคบริการกลับมาอยู่ในภาวะขยายตัว ขณะที่ความเห็นของกรรมการ FED ที่มีมุมมองต่อภาคแรงงานชะลอลงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ FED ลดดอกเบี้ยฯ ในไตรมาสข้างหน้า โดยล่าสุดอิง FED Watch Tool คาดปรับลดดอกเบี้ยฯ ในเดือน ก.ย. ที่ 0.5% และคาดดอกเบี้ยฯ ณ สิ้นปีอยู่ที่ 4.50% จากระดับปัจจุบันที่ 5.50% การตอบสนองของตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้ปรับลงต่อ โดยเฉพาะ NASDAQ ที่ลดลงแรง -3.4%
แต่อย่างไรก็ตามเรามองตลาดหุ้นบ้านเราตอบรับความกังวลต่อการปรับฐานของตลาดหุ้นสหรัฐฯไปมาก ขณะที่การรายงานตัวเลข ISM ภาคบริการที่ออกมาดีคาดจะช่วยลดความกังวลต่อ Recession ได้บ้างส่วน จึงไม่น่าจะเป็นแรงกดดันต่อ SET Index เพิ่มเติม ส่วนประเด็นตะวันออกลางล่าสุดอิสราเอลเตรียมพร้อมรับมือการตอบโต้จากฝั่งอิหร่านขณะที่ราคาน้ำมันดิบ Brent ยังแกว่งทรงตัวที่บริเวณ 77.21 เหรียญฯต่อบาร์เรล
ประเมินการปรับลงของ SET Index วานนี้จนปัจจุบันระดับ Valuation อยู่ในจุดที่ต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานอย่างมากสะท้อนจาก PER67E 13.5 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี -1 S.D. และ PBV67E 1.25 เท่าต่ำใกล้เคียงช่วง COVID-19 สวนทางกำไรบริษัทฯที่มีแนวโน้มเติบโต จึงยังมองการย่อตัวลงมาเป็นจังหวะสะสมสำหรับนักลงทุนระยะกลาง-ยาว
Market Summary
SET Index ปรับลง -2.93% แต่ถือว่าน้อยกว่า MSCI Asia Ex Japan ที่ปรับลง -4% จากความกังวล Recession ในสหรัฐฯ โดยกลุ่มที่กดดันตลาดมาจากอิเล็คทรอนิกส์ลดลง -5.8% กลุ่มพลังงานปรับลง -2.6% ตามราคาน้ำมันดิบ ส่วนหุ้นที่บวกสวนตลาด TRUE+2.7% จากงบ 2Q67 ดีกว่าคาด ADVANC +0.84% และกลุ่ม REIT ที่ปรับขึ้นจากประโยชน์จากดอกเบี้ยฯขาลง LPF +3.3% DIF +0.6%
ATO Daily Stock Picks
แนะนำ BH INTUCH
BH
หลุมหลบภัย
คาดกำไรหลัก 2Q67 อยู่ที่ 1.89 พันล้านบาท -4%QoQ ตามปัจจัยทางฤดูกาลแต่ +9%YoY แข็งแกร่งกว่ากลุ่มฯ จากรอมฎอนที่มาเร็วและทำให้จำนวนวันของเทศกาลใน 2Q67 น้อยกว่าปีที่แล้วราว 12 วัน
คาด BH เป็นหุ้นที่มีโอกาสจะเห็นตลาดปรับประมาณการเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยประมาณการกำไรของเรานั้นสูงกว่าที่ตลาดคาดอยู่ 5-7% สาเหตุมาจากความสามารถในปรับราคาที่แข็งแกร่งและการบริหารต้นทุนที่ดีเยี่ยม ในขณะที่จำนวนเตียงที่ให้บริการคาดเพิ่มขึ้นอีก 10% ในปี 67-68 ซึ่งจะช่วยบรรเทาความกังวลเกี่ยวกับอัตราการครองเตียงที่สูงในปัจจุบันได้
ด้าน Valuation ซื้อขายที่ PER67 เพียง 24 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนเทียบช่วงก่อน Covid-19 ที่ 37 เท่าอยู่ 1.4SD สุดท้ายเราเชื่อว่า BH จะมีอัพไซด์สูงสุดในกลุ่มหากผู้ป่วยชาวซาอุดิอาระเบียเพิ่มขึ้นหลังลงนาม MOU ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบียด้านสาธารณสุข
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 310 บาท
INTUCH
มี Yield สูง 10% ค้ำราคาอยู่
คาดกำไรหลัก 2Q67 ที่ 3.5 พันล้านบาท (+21% YoY, +4% QoQ) ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์กำไรหลักของ ADVANC 2Q67 โดยการเติบโตของกำไร YoY ของ ADVANC แรงหนุนจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น 17% และอัตรากำไรจากการขายโทรศัพท์เพิ่มขึ้น 3.8% pt ในส่วนของแนวโน้ม QoQ เราคาดว่าการเติบโตของกำไรหลักของ INTUCH จะดีกว่า ADVANC เนื่องจากฐานกำไรต่ำในไตรมาส 1Q67 ซึ่งได้รับผลกระทบจากการขาดทุน 127 ล้านบาทจากการประเมินมูลค่ายุติธรรมของพอร์ตการลงทุน
INTUCH มีแผนในการจ่าย DPS พิเศษ 4.50 บาท หากผู้ถือหุ้นของ GULF และ INTUCH อนุมัติการควบรวมกิจการ โดยมีแผนจะใน 1Q68 ซึ่งการจ่ายเงินปันผลพิเศษทำให้เราปรับเพิ่มประมาณการ DPS สำหรับปีงบ 67 จาก 3.81 บาทเป็น 8.31 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนเงินปันผล11% ช่วยจำกัด Downside ราคาหุ้น
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 87.30 บาท
KEY FACTOR
สัญญาณตลาดการเงินโลกบ่งชี้การเลี่ยงความเสี่ยง และให้น้ำหนักเศรษฐกิจถดถอย
ตลาดการเงินโลกยังอยู่ในภาวะ Risk off ต่อเนื่อง เป็นวันที่สองติดต่อกัน บนความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย 1) หุ้นสหรัฐฯ สะสม MTD ดัชนี S&P500 -6.08% DJIA -5.24% และ Nasdaq และ -7.95% 2) หุ้นเอเชีย MTD ญี่ปุ่น -19.55% เกาหลีฯ -11.88% ไต้หวัน -10.67% ส่วนตลาดหุ้นจีน-ฮ่องกง และ ASEAN ปรับฐานในช่วง -3.73% ถึง -2.66% 3) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 2 ปี ปรับตัวลงแตะระดับ 3.8%
ในระยะสั้นตลาดน่าจะรอปัจจัยที่จะมาช่วยพลิกฟื้น Sentiment โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวเปรที่บ่งชี้สัญญาณทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น หรือ การส่งสัญญาณใช้มาตรการทางด้านการเงินเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา Fed เคยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายฉุกเฉิน -0.5% ในวันที่ 17 ส.ค. 2550 ก่อนเกิดวิกฤต Hamburger และ -0.5% ในวันที่ 3 มี.ค. 2563 หลังเกิดวิกฤต COVID-19
EYES ON
7 ส.ค. CPI เดือน ก.ค. ของไทย, ศาล รธน. นัดฟังคำวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล, ส่งออก-นำเข้า เดือน ก.ค. ของจีน
8 ส.ค. ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. ของ Eurozone
9 ส.ค. CPI และ PPI เดือน ก.ค. ของจีน
นักกลยุทธ์ : ธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์, ชาญชัย พันทาธนากิจ