AT THE OPEN (#ATO)
SET Index พักแต่ Downside จำกัดกว่าต่างประเทศ
กลยุทธ์ Yield Play ที่กำไรมีแนวโน้มเติบโต
Market Strategy
SET Index พักตามกรอบ 1300 – 1315 จุด กดดันจากความกังวลต่อ Recession ในสหรัฐฯหลังตัวเลขภาคแรงงานออกมาแย่กว่าคาดที่ทำให้เม็ดเงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นไปหลบในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างตราสารหนี้ แต่อย่างไรก็ตามด้วยทิศทางเศรษฐกิจบ้านเราที่อยู่ในช่วงฟื้นตัวและกำไรบริษัทจดทะเบียนยังไม่มีสัญญาณปรับลดประมาณการทำให้ตลาดหุ้นไทยอยู่ในภาวะ Downside จำกัด กลยุทธ์เลือกหุ้นที่ได้ประโยชน์ Yield ขาลงที่กำไรมีแนวโน้มเติบโตชอบ TRUE และ SAK
การรายงานตัวเลขภาคแรงงานสหรัฐฯอ่อนแอ จากการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 1.14 แสนรายต่ำคาดที่ 1.76 แสนรายและตัวเลขการว่างงานเร่งตัวขึ้นมาที่ 4.3% มากกว่าคาดที่ 4.1% ทำให้เกิดความกังวลต่อเศรษฐกิจที่เข้าสู่ Recession และคาดว่า FED จะลดดอกเบี้ยฯเดือน ก.ย. ด้วยโอกาส 100% (แบ่งเป็นลดในอัตรา 0.25%ด้วยโอกาส 78% และเริ่มคาดว่าลดด้วยอัตรา 0.5% ด้วยโอกาส 22%) ตลาดหุ้นตอบรับเชิงลบ นำโดย NASDAQ -2.4% S&P500 -1.8% และ Dow Jones -1.5% และเม็ดเงินเคลื่อนย้ายสู่สินทรัพย์ปลอดภัยทำให้ U.S. Bond Yield 10 ปีลดลง 17.2 bps ทำจุดต่ำสุดของปีที่ 3.8% สภาพแวดล้อมข้างต้นเป็นลบต่อตลาดหุ้นภูมิภาคเช้านี้
สำหรับตลาดหุ้นไทยเรายังยืนยันมุมมองเดิมว่าการปรับฐานจะไม่แรงเท่าสหรัฐฯ เนื่องจากเศรษฐกิจบ้านเรากำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว โดยเราคาด GDP Growth ผ่านจุด Bottom ช่วง 1Q67 ที่ขยายตัว 1.5%YoY ไปแล้ว โดยปัจจัยหนุนจากการฟื้นของการลงทุนภาครัฐฯ และภาคการท่องเที่ยว โดยเราคาด GDP67 ขยายตัว 2.4%YoY ขณะที่กำไรบริษัทจดทะเบียนจากการรวบรวมข้อมูลถึงวันที่ 31 ก.ค. ยังสร้าง Positive Surprise ที่ 5% จึงยังไม่มีสัญญาณ Earnings Downgrade โดยเรายังคงการ EPS 67 ที่ 94.7 บาท/หุ้นขยายตัว 24% ทำให้การย่อตัวลงมาวันนี้เป็นโอกาสสะสม โดยหุ้นที่เราคาดว่า Outperform ตลาดวันนี้ คือ กลุ่มได้ประโยชน์จาก Yield ขาลง ICT ,ไฟแนนซ์,ปันผล
Market Summary
SET Index วันศุกร์ที่ผ่านมาปรับลง 9.67 จุด จากความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว กดดันกลุ่ม Global Play อย่างกลุ่มอิเล็คทรอนิกส์ DELTA -2.4% HANA -3.2% กลุ่มปิโตรฯ PTTGC -6.4% IVL -2.6% และกลุ่มบรรจุภัณฑ์ SCGP ปรับลง -2.6% ส่วนกลุ่มปรับขึ้นคือกลุ่ม ICT TRUE +2.7% ADVANC+2.2%กลุ่มโรงกลั่นฟื้น BCP +3.7% SPRC +1.3% จากรับเรื่อง Regulatory Risk ไปมาก
ATO Daily Stock Picks
แนะนำ TRUE SAK
SAK
Yield Play
เราคาดว่ากำไรสุทธิ 2Q67 อยู่ที่ 202 ล้านบาท เติบโต 13% YoY และ 4% QoQ เนื่องจากรายได้เติบโตแข็งแกร่งและการควบคุมต้นทุนที่ดี สินเชื่อมีแนวโน้มเติบโต 13% YoY และ 7% QoQ โดยได้แรงหนุนจากสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์และโฉนดที่ดิน ขณะที่ NIM น่าจะลดลง 20bps QoQ เนื่องจากอัตราผลตอบแทนสินเชื่อที่ลดลง ด้านคุณภาพสินทรัพย์อัตราส่วน NPL น่าจะทรงตัว QoQ ที่ 2.54% และ credit cost คาดเพิ่มขึ้นเป็น 1.45% ใน2Q67 จาก 1.31% ขณะที่ Coverage Ratio อยู่ที่ 100% ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน โดยจะรายงานงบในวันที่ 14 ส.ค.
หากมีการปรับลดดอกเบี้ยฯ เรามอง SAK จะได้ประโยชน์เป็นอย่างมากเนื่องจาก 95% ของเงินกู้มาจากการกู้ยืมธนาคารซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ทำให้ต้นทุนทางการเงินจะลดได้ทันที โดยทุกๆ 0.25% ที่ปรับลดดอกเบี้ยฯ จะเป็น Upside ต่อประมาณการ 2% ในปี 67/68
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 6.50 บาท
TRUE Earnings Upgrade Cycle
รายงานกำไรหลัก 2Q67 ที่ 2.1 พันล้านบาท ดีกว่าเราและตลาดคาด 40%/698% หนุนจากขาดทุน Handset , ค่าเสื่อมและดอกเบี้ยจ่ายที่ออกมาต่ำกว่าคาด ขณะที่รายได้ค่าบริการขยายตัวตามคาดหนุนจาก ARPU ธุรกิจมือถือและ FBB ที่ขยายตัว 4%YoY และ 6%YoY
เราปรับประมาณการกำไรหลัก 67/68E ขึ้น 41%/24% เป็น 8.3 พันล้านบาท/1.5 หมื่นล้านบาท จากรายได้เพิ่มขึ้น 1-2% และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยฯลดลง 10-12% ขณะที่กำไรหลัก 3Q67 เบื้องต้นคาดขยายตัว 26%QoQ จากรายได้ที่ยังเติบโตและการลดลงของ OPEX และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ทั้งนี้เราปรับไปใช้ราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 68 ที่ 11.60 บาท จากเดิมปี 67 อยู่ที่ 9.6 บาท โดยเชื่อว่าราคาหุ้นจะตอบรับเชิงบวกจากโอกาสที่ Consensus ปรับประมาณการกำไรขึ้นตาม เนื่องจากผลประกอบการ 2Q67 ที่ดีกว่าคาดมาก
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 11.60 บาท
KEY FACTOR
ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นเพียง +1.14 แสนตำแหน่ง ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ ???? ต่ำกว่าที่ Consensus คาดการณ์ไว้ +1.75 แสนตำแหน่ง อย่างมีนัยสำคัญ เช่นเดียวกับอัตราการว่างงานที่เร่งตัวสู่ระดับ 4.3% สูงกว่าที่ Consensus คาด 4.1% สะท้อนภาพภาคแรงงงานที่อ่อนแอกว่าคาดค่อนข้างมาก สอดคล้องกับข้อมูลที่รายงานในสัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งหมด
ตลาดการเงินโลกสะท้อนภาวะ Risk off กลับกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย 1.) ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับฐานแรงต่อเนื่องในช่วง -1.49% ถึง -2.29% 2.) ราคาน้ำมันดิบ Brent -3.41%, WTI -3.66% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล อายุ 2 และ 10 ปี ร่วงลงแรง แตะระดับ 3.88% และ 3.79% ตามลำดับ สะท้อนแรงซื้อในสินทรัพย์ปลอดภัยและการให้น้ำหนักโอกาส Fed ลดดอกเบี้ยมีมากขึ้น
ในสัปดาห์นี้ยังคงต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศที่ต้องลุ้นให้เห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้นกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนปัจจัยภายในประเทศ 1.) ลุ้นกระแสเงินทุนต่างชาติที่มีความเสี่ยงพลิกมาขาย ตาม Risk sentiment ทั่วโลก 2.) CPI เดือน ก.ค. 3.) ศาล รธน. วินิจฉัยคดียุบพรรคก้าวไกล
Eyes on
5 ส.ค. ดัชนี ISM ภาคบริการ เดือน ก.ค.
7 ส.ค. CPI เดือน ก.ค. ของไทย, ศาล รธน. นัดฟังคำวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล, ส่งออก-นำเข้า เดือน ก.ค. ของจีน
8 ส.ค. ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. ของ Eurozone
9 ส.ค. CPI
นักกลยุทธ์ : ธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์, ชาญชัย พันทาธนากิจ