กังวล RECESSION (USA) กลับมากดดัน
ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจหลายตัวในสหรัฐฯ ส่งสัญญาณว่าความเสียงที่อาจจะ เกิด RECESSION ในอนาคตมีสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขในตลาดแรงงาน, PMI , ตัวเลขที่แสดงถึงกำลังซื้อ ทั้งนี้รวมถึงดัชนีที่วัดจากหัวข้อข่าวที่ กล่าวถึง RECESSION ก็ปรับตัวขึ้นมาอยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับ ช่วงเวลาที่ UK และญี่ปุ่น เข้าสู่TECHNICAL RECESSION ในช่วง2H66 ที่ผ่านมา ภาวะดังกล่าวสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นทั่วโลกให้ปรับตัว ลดลง ซึ่งรวมถึง SET INDEX ก็น่าจะได้รับแรงกดดันเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในอีกมุมหนึ่ง เรามองเห็นเครื่องมือในการที่จะต่อต้านการเกิด RECESSION ที่มีความพร้อมมากเช่นกัน ซึ่งได้แก่ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED ที่ยังสูงถึง 5.50% เป็นไปได้ว่าอาจเห็นการปรับลด ดอกเบี้ยที่มากกว่า 2 ครั้งในปีนี้ ขณะที่เริ่มมีการคาดหมายว่า การปรับลดดอกเบี้ยบางครั้งอาจอยู่ที่ระดับ 0.5%
ประเมินว่า SET INDEX น่าจะผันผวน จากความกังวลเรื่อง RECESSION ที่กลับมา วันนี้ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1300 – 1320 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BDMS, BEM และ CPN
ความกังวล RECESSISON กดดันสินทรัพย์เสี่ยง
กระแสความกังวลเศรษฐกิจ RECESSION กลับมาอีกครั้ง หลังตลาดแรงงานสหรัฐฯ ส่งสัญญาณอ่อนแอต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุในเดือน ก.ค. 67 ส่วนหนึ่งคาดได้รับผลกระทบ จากพายุเฮอริเคน บวกกับมีคนกลับมาทำงานเยอะขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขต่างๆ ออกมา ต่ำกว่าคาดการณ์ ไม่ว่าจะเป็น
• การจ้างงานนอกภาคการเกษตร ชะลอตัวลง 2 เดือนติดต่อกันและต่ำสุด ในรอบ 31 เดือน
• อัตราการว่างงาน สูงสุดในรอบ 33 เดือน โดยสัญญาณจาก SAHM RULE เตือนว่าอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น 0.5% จากจุดต่ำสุดในรอบ 12 เดือน ซึ่งจากสถิติมีความแม่นยำสูงถึง 100% ในการทำนาย RECESSION
• ค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมง YOY ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 24 เดือน
นอกจากนี้4 สัญญาณบ่งบอกเศรษฐกิจ RECESSION ใน US (เกณฑ์ของ NBER) ยังมีแนวโน้มชะลอตัวลง เฉพาะอย่างยิ่งยอดค้าปลีก และการจ้างงาน ซึ่งหากภาคส่วน ต่างๆ เข้าสู่ภาวะหดตัว (GROWTH < 0%) อาจมีความเสี่ยงต่อเกิดเศรษฐกิจถดถอย
ประเด็นดังกล่าวกดดันสินทรัพย์ต่างๆ ร่วงลงหนัก ทำให้ศุกร์ที่ผ่านมายังคงเห็นภาพ ตลาดหุ้นโลกพากันดิ่งต่อเนื่อง โดยในฝั่งสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงราว -1.5% ถึง -2.4% ส่วนฝั่งยุโรปปิดตัวในแดนลบราว -1.3% ถึง -2.7% ขณะที่ BOND YIELD สหรัฐอายุ 2Y ร่วงลงเร็วราว 28 BPS. (MTD) สู่ 3.88% ซึ่งใกล้นำหน้าอายุ10Y ที่ระดับ 3.79% ทำให้ INVERTED YIELD CURVE ล่าสุด -0.08%
ขณะเดียวกันความกังวล DEMAND ชะลอตัว ยังสร้างราคาน้ำมันดิบโลกร่วงลงราว 3% แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ยังมี โอกาสผลักให้ราคาน้ำมันขยับขึ้นได้ ซึ่งต้องติดตาสถานการรือย่างใกล้ชิด
สรุป ความกังวลเศรษฐกิจ RECESSION ได้สร้างแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงผัน ผวนในช่วงนี้ แต่อย่างไรก็ตาม FED ยังมีเครื่องมือสำรองในการต่อต้านกับ RECESSION คือ การปรับลดดอกเบี้ย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับสูง
ปัจจัยภายนอกที่ผันผวน หนุนค่าเงินบาทแข็ง ลุ้น FLOW เข้า ไทยระยะถัดไป
ปัจจัยผันผวนภายนอกประเทศ ทั้งฝั่งสหรัฐฯ และญี่ปุ่น(รายละเอียด ดังหัวข้อด้านบน) กดดันสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวลงแรงทั่วโลกตั้งแต่ต้นเดือน(MTD) เปิดทำการมา 2 วัน อาทิ ญี่ปุ่น -8.2% สหรัฐฯ(NASDAQ) -4.7% เยอรมนี -4.6% ฝรั่งเศส -3.7% เกาหลี ใต้ -3.4% ส่วนดัชนีตลาดหุ้นโลก(MXWO) -3.3% อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ผันผวนน้อยกว่าตลาดฯ อินโดนีเซีย +0.7% ฟิลิปปินส์ -0.2% และไทย -0.6% ส่วน หนึ่งมาจาก FLOW ต่างชาติที่ขายสุทธิ(MTD) ในกลุ่ม TIP น้อยกว่าประเทศอื่นๆ
อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นเม็ดเงินต่างชาติไหลเข้ามาในไทยบ้างแล้ว สังเกตได้จากการซื้อ สุทธิตลาดตราสารหนี้ไทย ตั้งแต่ต้นเดือนกว่า 1.47 หมื่นล้านบาท กดดันให้ BOND YIELD 10 ปีของไทยลดลงจาก 2.59% สู่ระดับ 2.56% ในปัจจุบัน และถือเป็นความ คาดหวังเล็กๆของนักลงทุนต่อการลดดอกเบี้ยของ กนง.ในอนาคต
ประเด็นดังกล่าว ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่า 0.83%(MTD) ซึ่งถือว่าเป็นการแข็งค่า ลำดับต้นๆในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (EMERGING MARKET) ดังรูปด้านล่าง ด้วย กลไกจึงเป็นปัจจัยหนุนของการไหลเข้า FLOW ต่างชาติต่อตลาดหุ้นไทยในอนาคต
ส่วนกลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้นได้ประโยชน์บาทแข็งค่า อาทิ กลุ่มที่มีต้นทุน หรือหนี้สกุล ต่างประเทศ GULF BGRIM GPSC กลุ่มเน้นการนำเข้า TFG TVO และกลุ่มเป้าหมาย FLOW ไหลเข้า BDMS, KBANK, TISCO, IVL, SCC, CPN, CPALL, ADVANC เป็น ต้น
สรุป ประเด็นความไม่แน่นอนในต่างประเทศ กดดันให้เม็ดเงินไหลออกจากตลาดหุ้น พัฒนาแล้ว ส่วนตลาดหุ้นกลุ่มกำลังพัฒนาโดนผลกระทบดังกล่าวไม่มากนัก จาก ค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น ตาม DOLLAR INDEX ที่อ่อนค่า กลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้นได้ ประโยชน์บาทแข็งค่า อาทิ กลุ่มที่มีต้นทุน หรือหนี้สกุลต่างประเทศ GULF BGRIM GPSC กลุ่มเน้นการนำเข้า TFG TVO และกลุ่มเป้าหมาย FLOW ไหลเข้า BDMS, KBANK, TISCO, IVL, SCC, CPN, CPALL, ADVANC เป็นต้น
ส่วน TOPPICK เลือก BDMS CPN จากกลุ่มด้านบน และ BEM ที่มีปัจจัยหนุน เฉพาะตัว
ธปท. คงการจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต 8% ต่อในปี 2568 พร้อม มุมมองต่อกลุ่ม
เย็นวันศุกร์ที่ผ่านมา ทาง ธปท. มีการปรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ แบ่งเป็น
1.) บัตรเครดิต ดังนี้ 1.1 คงอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำปี 2568 ที่ 8% (เดิมต้องกลับสู่ ปกติที่ 10%) 1.2 ลูกหนี้ที่จ่ายตามขั้นต่ำหรือมากกว่าในปี 2568 จะได้รับเครดิตเงิน คืนของยอดค้างชำระอัตรา 0.5% ช่วง 1H68 และ 0.25% ช่วง 2H68 และ 1.3 การปรับ โครงสร้างหนี้ก่อนเป็น NPL ให้เป็นวงเงินระยะยาว โดยลูกหนี้จะยังมีโอกาสได้สภาพ คล่องจากวงเงินส่วนที่เหลือ
2.) การรวมหนี้ ระหว่างสินเชื่อบ้านและสินเชื่อรายย่อย (DEBT CONSOLIDATION) ผ่านการผ่อนปรนเงื่อนไข LTV ในทุกลำดับสัญญา เฉพาะกรณีรวมหนี้ (ไม่เกี่ยวกับ การซื้อบ้านใหม่) ให้สามารถเกินกว่าเพดานที่กำหนด สิ้นสุดปี 2568
3.) การช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรัง (PERSISTENT DEBT) ภายใต้หลักการ ให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (RESPONSIBLE LENDING) ขยายระยะเวลา ปิดจบหนี้จาก 5 ปี เป็น 7 ปี (อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี ตามเดิม)
โดยการคงอัตราจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตในปี 2568 จะช่วยเลื่อนการไหลตกชั้นเป็น NPL ของลูกหนี้บางส่วนออกไป และต่อเนื่องให้การบริหารจัดการ CREDIT COST ปี หน้ามีความยืดหยุ่นขึ้น ซึ่งคาดพอบรรเทาได้กับ YIELD ON LOAN ที่ประเมินลดลง 0.38% หรือรายได้ดอกเบี้ยจากธุรกิจบัตรเครดิตต่ำลงราว 2% - 3% (ก่อนภาษี) นอกจากนี้การคงอัตราการจ่ายขั้นต่ำ ไม่ซ้ำเติมปัญหาหนี้ครัวเรือนให้เลวร้ายไป กว่าเดิม เมื่อเทียบกับกระแสข่าวก่อนหน้าที่จะให้ลดอัตราการจ่ายขั้นต่ำเหลือ 5%
ขณะที่ DEBT CONSOLIDATION เป็นการรวมหนี้ (ทั้งธนาคารเดียวกันและต่าง ธนาคาร) ผ่านการใช้สินเชื่อบ้านซึ่งมีหลักประกันมาเป็นสัญญาหลัก รวมกับสินเชื่อไม่ มีหลักประกัน เพื่อช่วยลดอัตราดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้ โดยมาตรการนี้มีมาตั้งแต่ช่วง COVID การผ่อน LTV เฉพาะกรณีรวมหนี้ครั้งนี้ (ค่าเฉลี่ย LTV ทั้งระบบสถาบัน การเงิน ณ สิ้นงวด 1Q67 รวมสินเชื่อ TOP-UP อยู่ที่ 90.4%) เปิดทางให้ ธ.พ. สามารถดึงดูดมูลหนี้สินเชื่อไม่มีหลักประกันจากบริษัทอื่น ได้คล่องตัวขึ้น ทั้งนี้ ธ.พ. ที่ มีสัดส่วนสินเชื่อบ้าน 3 อันดับแรก ได้แก่ SCB, TTB และ KTB
สำหรับการลงทุนกลุ่ม NON – BANK แม้ฝ่ายวิจัยไม่ได้ให้ FV ต่อ AEONTS และ KTC แต่มีมุมมองเป็นกลาง เหตุเพราะแรงกดดันด้าน NPL บางส่วนซึ่งถูกเลื่อนออกไป ชดเชย YIELD ON LOAN ที่มีโอกาสต่ำลงจากสมมติฐานของ CONSENSUS โดยใน กลุ่ม NON – BANK เลือก MTC (OUTPERFORM) เพราะการคุม NPL ทำได้ดีกว่า กลุ่มฯ ตามด้วย TIDLOR (OUTPERFORM) และชอบน้อยสุดในกลุ่มฯ คือ SAWAD (NEUTRAL)
ด้านกลุ่มธนาคาร ด้วยสัดส่วนสินเชื่อบัตรเครดิตเมื่อเทียบกับพอร์ตสินเชื่อแต่ละ ธนาคารไม่สูง ภาพรวมจึงประเมินผลกระทบต่อประมาณการปี 2568 จำกัด คงน้ำหนัก เท่าตลาด จาก VALUATION ไม่แพง และ DIV YIELD ระดับ 5% - 9% ถือว่า น่าสนใจ เลือก ธ.พ. ที่การควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ทำได้ดีต่อเนื่อง เรียงตาม ความชอบดังนี้ KBANK (OUTPERFORM) คู่กับ KTB (OUTPERFORM) > TTB (OUTPERFORM) > BBL (OUTPERFORM) > TISCO (NEUTRAL) > SCB (NEUTRAL) > KKP (UNDERPERFORM)
Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์