ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook
แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ Recap มุมมองการลงทุนหลายสินทรัพย์ (กันอีกครั้ง)
1 ตลาดหุ้นโลกยังอยู่ในวงจรกระทิง โดยมี tailwinds หลักมาจาก (1) เซนติเม้นต์ของนักลงทุนที่อยู่ในเกณฑ์ดี (2) เศรษฐกิจโลกยังเติบโตทำให้หลายฝ่ายประเมินว่าปีหน้าจะเป็น soft landing (3) วงจรดอกเบี้ยของหลายๆประเทศกำลังจะเข้าสู่ขาลง ทำให้สภาพแวดล้อมทางการเงินดูผ่อนคลายขึ้น
2 อย่างไรก็ตามเรามองว่า Bull Market ของตลาดหุ้นโลกได้เข้าสู่ช่วงท้ายแล้ว จากภาพเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงเร็วขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะถดถอยในปี 2025 จึงแนะนำให้นักลงทุนค่อยๆปรับลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้วลง จากการมี valuation ที่แพง และความคาดหวังที่สูงเกินไปทั้งในเรื่องของผลประกอบการและตัวเลขเศรษฐกิจ
3 นักลงทุนอาจมีข้อสงสัยว่า recession จะเกิดขึ้นได้อย่างไร หากยังไม่เห็นเหตุการณ์วิกฤตรุนแรงเป็นตัวกระตุ้น
อันที่จริงแล้ว การเข้าสู่วงจรการถดถอยทางเศรษฐกิจ สามารถเกิดขึ้นไดัเป็นปกติ โดยไม่ต้องมีตัวกระตุ้นจากวิกฤตโรคระบาด หรือวิกฤตสถาบันการเงิน เนื่องจาก
ประการแรก: วัฏจักรเศรษฐกิจจะมีการเติบโตและหดตัวเป็นวงจรตามธรรมชาติ ซึ่งมักเกิดขึ้นโดยเฉลี่ยทุก 5-10 ปี โดย recession มักเกิดขึ้นในช่วงการปรับตัวของตลาด เช่น หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการลงทุนที่มากเกินไป หรือมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค เป็นต้น
ประการที่สอง: เกิดจากการดำเนินนโยบายการเงินหรือการคลังที่เข้มงวด ซึ่งอาจนำไปสู่การชะลอตัวและการถดถอยได้
สำหรับคำจำกัดความของภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจตามวิถีปกติในลักษณะนี้ เรียกว่า "Cyclical Recession" หรือ "ภาวะถดถอยตามวัฏจักร" ซึ่งมักกินเวลา ไม่ยาวนานนักราว 6-12 เดือน โดย Cyclical Recession นี้จะแตกต่างจาก "Structural Recession" ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในระบบเศรษฐกิจ หรือ "Event-Driven Recession" ที่เกิดจากวิกฤตหรือเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น โรคระบาดหรือวิกฤตการเงิน
3 ตัดกลับมาที่มุมมองต่อสินทรัพย์อื่นๆ แม้ว่าพันธบัตรระยะยาวจะให้ผลตอบแทนยังไม่ดีนักนับตั้งแต่ต้นปี จากแรงกดดันของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามเราเชื่อว่าเฟดมีโอกาสปรับเปลี่ยนท่าทีและลดดอกเบี้ยเร็วกว่าแผนเดิม โดยการทรุดตัวของเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น จะเป็นตัวเร่งให้เกิดแอคชั่นในลักษณะดังกล่าวขึ้น คล้ายกับวงจรการลดดอกเบี้ยปี 2019 ดังนั้นพันธบัตรระยะยาวจึงมีโอกาสกลับมา outperform ตลาดหุ้นโลกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยเราคาดว่ายีลด์พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี จะปรับตัวลงมาที่โซน 3.2%-3.5% ภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2025
4 ดอลลาร์สหรัฐมีโอกาสกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2024 จากวงจรการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินของเฟด อย่างไรก็ตาม ช่วงของการอ่อนค่าลงของ Dollar Index อาจไม่มากเท่ากับช่วงปี 2020 โดยวงจรการลดดอกเบี้ยปี 2024-2025 นี้ ดัชนีดอลลาร์อาจปรับตัวลงมาได้เพียงโซน 100-102 จุด
สรุปภาพตลาดวานนี้
วานนี้ SET ย่อหลังชนต้าน กดดันโดยแรงขายหุ้นใหญ่ตัวแทนกลุ่ม PTTEP KBANK BDMS GULF CPN TOP MINT และหุ้นลงแรง CCET EA ส่วนเม็ดเงินไหลไปพักไอซีที ทั้ง ADVANC INTUCH TRUE และเก็งหุ้นงบฯ ดี CPAXT CPALL TTB ส่วนหุ้นกลุ่มบวกแรงพร้อม Vol. เช่น CFARM KGEN BPS …
แนวโน้มตลาดวันนี้
ความกังวลการเมืองในประเทศจะเริ่มลดลงหลังจากวันนี้
วันนี้คาดการเมืองในประเทศจะเริ่มมีผลต่อตลาดหุ้นไทยลดลงหลังจาก ศาลฯนัดประชุม-คดีถอดถอนนายกฯวันนี้ ซึ่งเราเชื่อว่าการกำหนดวันประชุมครั้งถัดไปโดยยังไม่ได้นัดวันตัดสิน...จะทำให้ความกังวลทางการเมืองบรรเทาลง (เพราะดูเหมือนตลาดหุ้นไทยจะเคยลงสะท้อนข่าวนี้ไปแล้วครั้งหนึ่งในวันที่เลื่อนนัดวินิจฉัยเมื่อปลายเดือน มิ.ย. “นลท. เริ่มมีภูมิฯ)
บวกกับความคืบหน้า นโยบายรัฐ เช่น การเห็นชอบ พ.ร.บ. รายจ่ายเพิ่มเติม 1.22 แสนล้านบาท เท่ากับ เดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ตต่อ ชงสภาวาระแรก 17 ก.ค. และคาดประกาศใช้ปลาย ส.ค. ดิจิตอล ส่วนครั้งถัดๆ ไปติดตามประเด็นเดินหน้าโครงการหวยเกษียณ, ปรับเกณฑ์ลงทุน TESG แม้ตลาดอาจไม่ได้มองในแง่ของผลลัพธ์ต่อเศรษฐกิจ แต่เรามองในมุมของนโยบายที่สัญญาไว้ แล้วเดินหน้าได้ คาดเป็นการส่งสัญญาณความมีเสถียรภาพการเมืองในสายตาต่างชาติ อย่างน้อยช่วงที่รอความชัดเจน คดีถอดถอนนายกฯ ก็ยังมีการเดินหน้าทำงานต่อเนื่อง...
ส่วนปัจจัยหลักที่จะมีผลต่อราคาหุ้นจริงๆ เรายังคงโฟกัสไปที่ แนวโน้มผลการดำเนินงาน บจ.2Q ที่จะทยอยประกาศว่าจะดีกว่า 1Q ตามที่คาดหรือไม่
เราคงกลยุทธ์เลือกเล่นหุ้น 1.Global play เช่น พลังงาน สินค้าโภคภัณฑ์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างรอ ความคืบหน้าการเมืองในประเทศ 10 ก.ค. คดีถอดถอนนายกฯ และเมื่อพ้นช่วงดังกล่าวไปแล้ว แนะเลือก 2.หุ้นกลุ่มธนาคาร เพื่อดักแรงซื้อเก็งกำไรงบไตรมาส2 และ ความน่าจะเป็น cover short หากมีแรงผลักดันจากกำไรที่ดีเกินคาด ทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้น จนต้องเร่งซื้อคืน
กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์แนะนำ เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว เริ่มโฟกัสไปข้างหน้า เน้นไปที่แนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการณ์ หรือ มองเห็นปัจจัยหนุนชัดเจนที่จะเข้ามาเกื้อหนุนต่อผลการดำเนินงานหลังจากนี้
วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET ย่อนิดๆภายหลังทะลุเส้นกดบริเวณ 1,310 จุด สำเร็จ! นอกจากนี้โมเมนตัม MACD cross เส้น signa line สวยงาม... จับตา price pattern “W-shape” ผลลัพธ์แม่นยำ! หนุนภาวะกระทิง bull run อย่างไรก็ตามแนวโน้มระยะสันดัชนีอาจมีสลับพักตัวบ้างลักษณะ “throwback” ไม่น่ากังวล ยังคงลุ้นเป้าหมายดัชนี รายเดือน base case 1,340 จุด....มีเวลาให้ขึ้นได้อีก
Note: จับตา “จุดเปลี่ยนค่าเงินบาท & US bond yield” อาจบ่งชี้กระแสเงินโยกย้าย สลับขั้ว ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมในบทวิเคราะห์ World asset class วันนี้ครับ
What to watch
ไทม์ไลน์คดี การเมือง: กรณีร้องถอดถอน นายกฯ เศรษฐา ศาลฯนัดพิจารณาครั้งต่อไป 10 ก.ค. (คาดว่ายังไม่ได้มีการตัดสินในรอบนี้ หากอิงตามคำให้สัมภาษณ์ของประธานศาลรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้ ที่มองว่าจะอยู่ช่วง ก.ย.)
แนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐฯ คาดเงินเฟ้อทั่วไปปรับขึ้นเล็กน้อยเป็น 0.1% m-m จาก 0% // วานนี้ประธานเฟดแถลงต่อสภาคองเกรสว่า การที่เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงนานเกินไปอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
งบการเงินกลุ่มธนาคารวันศุกร์ คาด TISCO (ที่เหลือสัปดาห์หน้าทั้งหมด
การประชุม ครม. วานนี้ ประเด็นหลัก 1) เห็นชอบ พร.ร.บ. รายจ่ายเพิ่มเติม 1.22 แสนล้านบาท เท่ากับ เดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ตต่อ ชงสภาวาระแรก 17 ก.ค. และคาดประกาศใช้ปลาย ส.ค. และ 2) อนุมัติงบฯ ชดเชยมาตรการช่วยลดค่าไฟฟ้า (ในขณะที่ด้านการประชุม กกพ. อาจมีมติขึ้นค่า Ft เดือน ก.ย.-ธ.ค. ราว 0.2-0.4 บาท/หน่วย, บวกต่อกลุ่ม SPP)
ทั้งนี้ แม้ผลการประชุมต่างๆ ยังไม่เห็นวาระประเด็นพิจารณา TESG และหวยเกษียณในรอบนี้ (แต่คิดว่า 2 เรื่องนี้เดินหน้าต่ออยู่แล้ว)
ด้าน รมช. เผ่าภูมิ ยันวันที่ 15 ก.ค.เคาะทุกประเด็นดิจิทัลวอลเล็ต ก่อนส่งนายกแถลง 24 ก.ค.
จับตา ครม. เศรษฐกิจ (15 ก.ค.) แก้หนี้ครัวเรือน พ.ค.
ตลาดหลักทรัพย์ฯ-สำนักงานก.ล.ต. เร่งหารือเปิดเผยข้อมูลกรณีผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ถูกบังคับขายหุ้น (ฟอร์ซเซล) ให้ถี่ขึ้น จากปัจจุบันเดือนละครั้ง (หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น)
หุ้นแนะนำวันนี้
TTBเริ่มทยอยกลับมาโหลดหุ้น Domestic play ที่แนวโน้มกำไร 2Q24 จะดูดีเทียบกับกลุ่ม (เก็งงบฯ กลุ่มธนาคารมราประกาศงบฯ กลุ่มแรก)
(S 1.76 R 1.90 SL 1.70)
รายงานพื้นฐานวันนี้
Residential Property Sector
ใกล้จะผ่านจุดต่ำสุด แต่ยังรอชัดอีกสักนิด
ภาพรวมของกลุ่มอสังหาฯ หลังจากจบ 2Q24 เราเห็นถึงสัญญาณการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากฐานที่ต่ำใน 1Q24 โดยใน 2Q24 คาดยอด presales รวมที่ 4.6 หมื่นล้านบาท ลดลง 3% YoY แต่เพิ่มขึ้น 11% QoQ หลักๆ จะเป็นยอด presales ของคอนโดที่ทำได้ดีทั้ง YoY และ QoQ หากดูแยกรายตัวในไตรมาส 2 นี้ AP ทำยอด presales ได้ดีที่สุดที่ 1.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% YoY และ 49% QoQ ตามมาด้วย SIRI ที่ 1.1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% YoY และ 12% QoQ โดยยอด presales รวมที่เติบโต QoQ ทำให้เรามองภาพรวมกำไรของกลุ่มอสังหาฯ ในทิศทางเดียวกัน
เราประมาณการกำไรหลัก 2Q24 รวมที่ 5.4 พันล้านบาท ลดลง 23% YoY แต่เพิ่มขึ้น 22% QoQ
Fundamental View: เรายังให้น้ำหนักการลงทุน “น้อยกว่าตลาด” และแนะนำเก็งกำไร SIRI ส่วนที่เหลือยังแนะนำ wait-and-see
Construction Sector
เริ่มสร้างความหวังรอบใหม่
งาน BLS Thai Corporate Day ที่ผ่านมาสำหรับกลุ่มรับเหมาฯ ถือว่ามีความหวังอยู่บน 2 ประเด็น
1) การเดินหน้างานภาครัฐทั้งแบบปกติ และแบบ PPP แม้จะขยับช้ากว่าคาดเดิม แต่ก็ไม่ได้หยุดเดินหน้า โดยโครงการที่จะเห็นความคืบหน้าถัดไป คาดว่าจะเป็นรถไฟทางคู่ ขอนแก่น-หนองคาย มอเตอร์ M5 นอกจากนี้ จะมีความคืบหน้า 3 โครงการสำคัญ 1) รถไฟฟ้าสายสีส้ม (บวกต่อ CK), 2) รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (บวกต่อ ITD) และ 3) เมืองการบินอู่ตะเภา (บวกต่อ STEC) และตามข่าวล่าสุดยังมีความคืบหน้าการผลักดัน 2 โครงการ เร็วกว่าแผนเดิมรถไฟสายสีแดงต่อขยาย และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 2 (เส้นนี้ บวกกับ CIVIL มากสุด)
2) เห็นความคืบหน้าของธุรกิจกลุ่มสร้างรายได้ประจำ ที่มีการขยับตัวครั้งสำคัญ ทั้งของ CK (สายสีส้ม และ Double Desk) และ STEC (อู่ตะเภาฯ และ Data Center)
Fundamental View: เรายังคงแนะนำ CK สำหรับนักลงทุนเน้นปัจจัยพื้นฐาน และ STEC สำหรับสายเก็งกำไรตาม Event play ตามข่าวงานก่อสร้าง และโครงการ EEC นอกจากนี้ เราแนะนำให้เริ่มจับตามอง CIVIL ที่หาก Preview กำไร 2Q24 แล้วไม่ได้แย่ แสดงว่า earnings Downside จำกัดลง และเป็นจังหวะกลับมาเล่นดักข่าวการประมูลอีกครั้ง
CPALL
ซีพี ออลล์ คาดกำไร 2Q24 แข็งแกร่ง
เราประเมินกำไรสุทธิยังโตแข็งแกร่งต่อเนื่อง จากทั้งยอดขายสาขาเดิม (SSSG) และการขยายตัวของอัตรกำไร (GM) เราประเมินกำไรสุทธิที่ 6 พันล้านบาท เติบโต 31% YoY และทรงตัว QoQ (CPAXT ดึง QoQ) หากดึง CPAXT ออกเรามองยอดขายสาขาเดิมใน 2Q24 สำหรับ 7-11 ที่ 4.5% จากลูกค้าที่เพิ่มขึ้นและยอดขาย Ready to eat foods เครื่องดื่ม และ personal care ที่ยังดีต่อเนื่อง
สำหรับ 3Q24 ปัจจัยด้านฤดูกาลจะเข้ามากดดัน อย่างไรก็ตาม เดือน ก.ค. มี Paris Olympic และ ฟุตบอลยูโร เราก็หวังว่า 3Q24 จะไม่อ่อนแอเหมือนปีก่อนๆ ก่อนที่จะกลับมาเติบโตทั้ง YoY และ QoQ อีกครั้งใน 4Q24 ซึ่งยังทำให้แนวโน้มกำไร CPALL มี Upside ด้วย
Fundamental View: เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 71 บาท
SCGP
เอสซีจี แพคเกจจิ้ง
2Q24 อ่อนตัวตามฤดูกาล
เราประเมินกำไรหลัก 2Q24 ที่ 1.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% YoY แต่ลดลง 14% QoQ โดยคาดจะเห็นการฟื้นตัวของทั้งธุรกิจธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรและสายธุรกิจเยื่อและกระดาษ โดยอุปสงค์มีการฟื้นตัวทั้งในไทย เวียดนาม อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
เราประเมินกำไรหลัก 3Q24 เติบโต YoY และ QoQ หนุนโดยปริมาณขาย (อุปสงค์ฟื้นตัวทุกตลาดหลักและปัจจัยด้านฤดูกาล) รวมถึงราคาขายทั้งบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำและเยื่อ รวมถึงอัตรากำไรขั้นต้นที่ขยายตัว
Fundamental View: เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 58 บาท
สรุปประเด็นจาก Quick take
Utilities
แนวโน้มค่าไฟงวด ก.ย.-ธ.ค
ค่าไฟงวด ก.ย.-ธ.ค. 2024 อาจปรับขึ้น 20-40 สตางค์จาก 4.18 บาทในปัจจุบัน
View From Fundamental: เราคาดว่าข่าวดังกล่าวจะสร้าง sentiment เชิงบวกต่อ BGRIM ("ถือ" ราคาเป้าหมาย 28 บาท) และ GPSC ("ถือ" ราคาเป้าหมาย 51 บาท) อย่างไรก็ตาม หากราคาหุ้นปรับตัวขึ้นแล้วไม่มีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าตามในข่าวก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดแรงขายได้ในอนาคต
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน