TESG ไม่มาตามนัด ... กระทบ SENTIMENT
มติที่ประชุม ครม. วานนี้มีประเด็นสำคัญในเรื่องของการเดินหน้าDITIGAL WALLET โดยมีการเห็นขอบงบกลางปี 2567 มูลค่า 1.22 แสนล้านบาท พร้อมกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนขึ้น โดยวันนี้จะมีการประชุมเพื่อสรุปรายการสินค้าที่ไม่สามารถร่วมโครงการได้ (NEGATIVE LIST)ก่อนที่จะนำเข้าสู่คณะกรรมการชุดใหญ่ในวันที่ 15 ก.ค.67 ตามด้วยการแถลงรายละเอียดของโครงการโดยนายกฯ วันที่ 24 ก.ค.67 อย่างไรก็ตามรายการที่ยังไม่มาตามนัดซึ่งนักลงทุนรอคอยได้แก่ กองทุนประหยัดภาษีTESG เงื่อนไขใหม่ ซึ่งในส่วนนี้อาจทำให้ SENTIMENT ตลาดฯ เสียไปส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นประเด็นคือทิศทาง NPL ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การคัดสรรหุ้น BANK ต้องพิถีพิถันมากขึ้น โดยที่เราเห็นว่ามีเกราะป้องกันผลกระทบจาก NPL ที่ดีได้แก่ KBANK, BBLและTTBผลจากการที่ยังไม่เห็นกรอบเวลาที่ชัดเจนของ TESG VERSION ใหม่อาจสร้าง SENTIMENT เชิงลบต่อ SET INDEX วันนี้คาดกรอบ 1312 –1326 จุด หุ้น TOP PICK เลือก ADVANC, CPALLและ CPN
หลากหลายเหตุผล เอื้อเม็ดเงินไหลเข้าเอเชีย
FUND FLOW ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีแนวโน้มเอนเอียงมาที่ประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น หนุนผลตอบแทนตลาดหุ้นขยับขึ้น ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น +3.8%, เกาหลีใต้และฟิลิปปินส์+3.1% ส่วนบ้านเรา +2.4% ซึ่งสวนทางกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
สำหรับแรงหนุนที่เอื้อให้เม็ดเงินไหลเข้าเอเซียมากขึ้น มองว่ามาจากปัจจัยภายนอก 3ส่วนหลัก ดังนี้
• ความคาดหวัง FED ลดดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในเดือน ธ.ค. มีน้ำหนักมากขึ้น โดยผลการสำราจของ FED WATCH TOOL ล่าสุด คาดความน่าจะเป็น 49%(ช่วงต้นเดือน ก.ค.67 อยู่ที่ 40%) หลังวานนี้ (9 ก.ค. 67) ประธาน FED แถลงนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ รอบครึ่งปีต่อสภาบน โดยมองว่าเงินเฟ้อไม่ใช่ความเสี่ยงประการเดียวที่ FED พิจารณา แต่การตรึงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงและนานเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งอยู่ในโทนที่มีความ DOVISH มากขึ้น
• P/E ของ MSCI EMERGING MARKET ล่าสุด 16 เท่า ต่ำกว่า MSCIWORLD 22.5 เท่าซึ่งในอดีต ช่วงที่FED ใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย จะทำให้MSCI EM ค่อนข้ามากกว่า OUTPERFORM มากกว่า MSCI WORLD
• ความไม่แน่นอนทางการเมืองในยุโรป ที่เกิดสุญญากาศในฝรั่งเศส แม้จะผ่านพ้นการเลือกตั้งรอบสองในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้นำจากกลุ่มฝ่าย
ซ้ายที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในการเลือกตั้ง และกลุ่มสายกลางที่ได้คะแนนเสียงตามมาเป็นอันดับสองต่างก็พยายามที่จะเป็นกลุ่มแรกที่จะจัดตั้งรัฐบาลขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยหนุนให้เม็ดเงินหาหลุมหลบภัยมากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งตลาดการเงินในแถบเอเชีย
สรุป เม็ดเงินมีแนวโน้มเอนเอียงมาที่ประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น จากแรงหนุนปัจจัยภายนอก ตั้งแต่ความคาดหวัง FED ลดดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในเดือน ธ.ค. มีน้ำหนักมากขึ้น บวกกับความไม่แน่นอนทางการเมืองในยุโรปจะช่วยหนุนให้เม็ดเงินหาหลุมหลบภัยมากขึ้น ขณะที่ P/E ของ MSCI EMERGING MARKET ที่ยังต่ำกว่า MSCI WORLDภาพเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัว(G,C) หุ้นกลุ่มไหนได้ประโยชน์บ้างการใช้จ่ายภาครัฐ (G) ผ่านการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 วงเงิน 3.60 ล้านล้านบาท เฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทุน หลังการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 มีความล่าช้าไปกว่า 7 เดือน และหลังจากงบปี 2567 อนุมัติเรียบร้อย ก็ทำให้เราเห็นการเร่งเบิกจ่ายที่มากขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งการเบิกจ่ายที่เกิดขึ้น ก่อนที่จะมีการอนุมัติเบิกจ่ายอยู่ที่ประมาณ 14.6% ของงบทั้งหมด แต่ข้อมูลล่าสุด ช่วงต้นเดือน ก.ค.67 พบว่ามีการเบิกจ่ายไปแล้ว ราว 37.8% ซึ่งค่อยๆ ขยับขึ้นใกล้สัดส่วนของปี 2566ซึ่งน่าจะเห็น
การเร่งเบิกจ่ายที่เร่งตัวขึ้นในช่วงที่เหลือของปีถือเป็น SENTIMENT เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มรับเหมาและวัสดุก่อสร้าง อาทิ SCC, SCCC TASCO, STEC, CK เป็นต้น
ขณะที่วานนี้ ครม. เคาะงบโครงการ DIGITAL WALLET 1.22 แสนล้านบาท คาดเข้าสภาฯ 17 ก.ค.67 ซึ่งแหล่งที่มาของเงินทุน คือ 1) ภาษีและรายได้อื่น 10,000 ล้านบาทและ 2) เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 112,000 ล้านบาท โดย TIMELINEของกระบวนการถัดไปมีรายละเอียด ดังนี้
➢ 10 ก.ค. 67 การประชุมบอร์ดชุดเล็ก เพื่อสรุปรายละเอียดในโครงการDIGITAL WALLET รวมทั้งในเรื่องการทบทวนรายการสินค้าที่ไม่สามารถ
เข้าร่วมโครงการได้ (NEGATIVE LIST)
➢ 15 ก.ค. 67 นำรายละเอียดโครงการ DIGITAL WALLET เข้าสู่การประชุมบอร์ดชุดใหญ่
➢ 24 ก.ค. 67 นายกฯ แถลงรายละเอียดทั้งหมดของโครงการ DIGITALWALLET
➢ 30 ก.ค. 67 คณะกรรมการนำเสนอโครงการ DIGITAL WALLET ให้ที่ประชุมครม. รับทราบรายละเอียดโครงการถือเป็น SENTIMENT เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มอาหาร-ค้าปลีก/ค้าส่ง อาทิ CPALL, CBG,ICHI, OSP, TFG, BTG,CPAXT, BJC เป็นต้น
ซึ่งหุ้นทั้ง2 กลุ่มที่ได้ประโยชน์ข้างต้น ยังมีปัจจัยอื่นบวกหนุน นั้นก็คือ กำไรงวด 2Q67ที่ BLOOMBERG CONSENSUS คาดว่าจะเติบโตทั้ง QOQ และ YOY โดย CONS+446%QOQ/+13%YOY, FOOD +75%QOQ/+416%YOY, COMM+1%QOQ/+28%YOY(อ้างอิงจากหุ้นเพียง 99 บริษัทที่มีข้อมูลเท่านั้น) ถือเป็นโอกาสสะสมเพื่อคาดหวังผลกำไรระยะสั้น-กลางได้
สรุป ความคืบหน้าของการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐฯ และโครงการ DIGITAL WALLET ทำให้ภาพเศรษฐกิจไทยมีโอกาสฟื้นตัวเด่นชัดเจนดังที่ตลาดหวังไว้ โดยหุ้นกลุ่มที่คาดได้ประโยชน์ คือ หุ้นกลุ่ม CONS FOOD COMM ซึ่งกำไรงวด 2Q67BLOOMBERG CONSENSUS คาดว่าจะเติบโตทั้ง QOQ และ YOY แนะนำทยอยสะสมหุ้นในกลุ่มดังกล่าว
วัฎจักร NPL ขาขึ้น และการบริหารจัดการของกลุ่มธนาคาร
ภายใต้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระดับต่ำ ประกอบกับปัจจัยเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้การฟื้นตัวของรายได้ลูกหนี้เป็นไปอย่างไม่เท่าเทียมกันโดยเฉพาะกลุ่มรายย่อย อย่าง เช่าซื้อรถยนต์, บัตรเครดิต&สินเชื่อบุคคล รวมถึงSME ที่อ่อนแอมาตั้งแต่ก่อนเกิด COVID-19และรายใหญ่ในบางกลุ่มอุตสาหกรรมภาพดังกล่าวทำให้วัฎจักร NPL ไทย แนวโน้มยังเป็นขาขึ้น สะท้อนผ่านสัดส่วนNPL/LOAN กลุ่มฯ (8ธนาคาร) ณ สิ้นงวด 1Q67 อยู่ที่ 3.6% จาก 3.5% ณ สิ้นงวด4Q66 (1Q66 ที่ 3.6%) แม้ต่ำกว่าสิ้นปี 2562 ที่ 3.7% แต่มาจากฐานสินเชื่อที่ขยับขึ้นมาจากสิ้นปี 2562 (BAY และ BBL มีการควบรวมกิจการในต่างประเทศในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา) ประกอบกับการบริหารจัดการเชิงรุก ผ่านการ WRITE-OFF และขาย NPLเป็นอีกปัจจัยช่วยลดระดับ NPL ในงบดุลของแต่ละธนาคารโดยรวม ธ.พ. จึงดำเนินนโยบายสินเชื่ออย่างระมัดระวัง เพื่อลดความเสี่ยงจาก NPLระยะข้างหน้า ผ่านการลดขนาดงบดุล ดังจะเห็นได้จากสินเชื่อสุทธิ ณ สิ้น พ.ค. 67 ติดลบ 0.4% จากสิ้นปี 2566 หลักๆ มาจาก BAY (-2.1% YTD), KKP (-1.8% YTD แต่ช่วงก่อนหน้าขยายตัวเชิงรุกกว่ากลุ่มฯ), TTB (-1.6% YTD) และ KBANK (-1.4%YTD) ในขณะที่ ธ.พ. ที่เหลือขยายตัวในระดับไม่เกิน 1% YTDทั้งนี้ กลุ่มฯ จะเริ่มรายงานงบ 2Q67 ด้วย TISCO วันที่ 12 ก.ค. 67 มองว่าตลาดให้ความสนใจกับประเด็นคุณภาพสินทรัพย์เป็นหลัก โดยฝ่ายวิจัยคาดกำไรกลุ่มฯ (8
ธนาคาร) งวด 2Q67 ที่ 6 หมื่นล้านบาท ลดลง 2% QOQ (ทรงตัว YOY) เพราะ NIIชะลอตัวตามสินเชื่อ, การปรับลดอัตราดอกเบี้ยช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางของ ธ.พ.ใหญ่ และการ REPRICING เงินฝากประจำ ขณะที่ CREDIT COST คาดไม่เปลี่ยนแปลงจากงวดก่อน และทิศทาง NPL/ LOAN กลุ่มฯ เพิ่มมาที่ 3.7%สำหรับการลงทุนหุ้นในกลุ่มฯ VALUATION กลุ่มฯ ซื้อขายเฉลี่ย 0.8 เท่า ถูกลดทอนจากมูลค่าทางบัญชี ตามทิศทาง ROE ต่ำลง และปัจจัยด้าน NPL บางส่วน เลือก ธ.พ.ที่มีการบริหารจัดการ NPL เชิงรุก มาก่อนหน้า อย่าง KBANK (OUTPERFORM :FV@B148) คาด CREDIT COST ปี 2567 ยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย KBANK (1Q67ที่ 1.89% VS เป้าหมายทั้งปีที่ 1.75% - 1.95% และสมมติฐานฝ่ายวิจัย 2%) ในเชิงPBV ซื้อขาย 0.56 เท่า และให้ DIV YIELD 5.1% ต่อปี ตามด้วย BBL(OUTPERFORM : FV@B175) ราคาหุ้นซื้อขายบน PBV 0.46 เท่า ต่ำกว่าช่วงเกิดCOVID ที่ 0.5 เท่า ทั้งที่ปัจจุบันทิศทาง ROE สูงกว่า ประกอบกับ COVERAGERATIO ที่ 292% (ค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ที่ 179%) ประเมินประคอง CREDIT COST ไม่ให้กระตุกตัวมากเกินไป และสุดท้าย TTB (OUTPERFORM : FV@B1.98) จากการชะลอการปล่อยสินเชื่อช่วงที่ผ่านมา และมี TAX SHIELD ช่วยลด DOWNSIDE ต่อประมาณการ เมื่อเทียบกับกลุ่มฯ ส่วน ธ.พ. ที่เหลือเรียงตามความชอบดังนี้ KTB(NEUTRAL : FV@B19) > TISCO (NEUTRAL : FV@B106) > SCB (NEUTRAL :FV@B111) > KKP (UNDERPERFORM FV@B49)
Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์