"Selective Play"
KSS Daily Strategy : : คาด SET วันนี้ "UP" ต้าน 1325/1330 จุด รับ 1305/1300 จุด ดัชนี S&P500 New High ต่อเนื่อง จากภาวะ US Soft Landing หนุนหุ้น Growth จากภาพ US Bond Yield อายุ 10 ปี -9 bps สู่ 4.28%(ต่ำ 4.3% สะท้อน Downtrend ระยะสั้นถึงกลาง) ตามภาคแรงงานสหรัฐที่ชะลอลง การจ้างงานนอกภาคเกษตร ยังสมดุล แม้สูงกว่าคาดเล็กๆที่ 2.06 แสนตำแหน่ง แต่อัตราว่างงานเพิ่มสู่ 4.1% จาก prev. 4.0%(Sahm Rule 0.43 ใกล้ 0.5 เพิ่มความเสี่ยงระยะกลาง) แต่ระยะสั้นตลาดให้น้ำหนักวงจรดอกเบี้ยขาลงปีนี้ที่ 2 ครั้งเพิ่มขึ้น และเริ่มปรับตั้งแต่ ก.ย. 24 หนุนภาวะ Search for Yield ขณะที่ SET ยังแกว่งที่ระดับ Equity Risk Premium Current และ Forward ERP ที่ 3.74% และ 4.2% เป็น Value Zone น่าจะหนุนการฟื้นตัวได้ ส่วน Upside ตลาดไทย 1) Digital Wallet ใกล้ชัดเจนปลาย ก.ค. (BOT คาดบวกเพิ่ม 0.6% GDP) 2) นักท่องเที่ยว 1-5 ก.ค. ขยับสู่ 92.4% ของ Pre-COVID จาก 1H24 ที่ 88.4% หลังมาตรการ ฟรีวีซ่ามีผล และ 3) TH Bond Yield ลงต่อเนื่องรับเงินเฟ้อต่ำ กลยุทธ์เน้นกลุ่ม Yield ลดลง, กลุ่ม Domestic (ค้าปลีก ท่องเที่ยว) วันนี้แนะ GULF, CPALL, BANPU เด่น
Daily outlook: "UP" ต้าน 1325/1330 จุด รับ 1305/1300 จุด
What happened around the world ?
•(*) US Stocks : ตลาดหุ้นสหรัฐ S&P500 และ Nasdaq ยังทำ All time high ต่อเนื่องแรงหนุนจากตัวเลขแรงงานชะลอสะท้อนผ่านอัตราการว่างงานปรับขึ้นมาที่ 4.1% สูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.21 Dow jones 0.17% S&P500 +0.54%, Nasdaq +0.9% โดยดัชนี S&P Sector ที่ปรับขึ้นหลักคือกลุ่ม ICT, Consumer staples , Consumer discretionary , Health care ฯลฯ โดย Sector ที่ปรับลงหลักๆ คือ Energy (Chevron -1.53%) , Industrials ฯลฯ โดยหุ้นที่ปรับขึ้น/ลงเด่นๆคือหุ้น Apple , Microsoft , Google , Amazon, Meta ปรับขึ้นและทำสถิติ All Time High ใหม่พร้อมกัน และกลุ่ม Semiconductor อาทิ AMD +4.88% ฯลฯ
• (*) US labour : 1.) ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตร(Nonfarm payrolls) เดือนมิ.ย. + 2.06 แสนราย สูงกว่าตลาดคาดเล็กน้อยที่ 2 แสนราย prev. 2.18 แสนราย แต่ตลาดไม่ได้ให้น้ำหนักกับประเด็นดังกล่าวเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานของภาครัฐ และตลาดเชื่อว่าตัวเลขดังกล่าวสูงเกินความเป็นจริงและจะมีการ Revised down ในอนาคต สอดคล้องกับเดือน พ.ค. ที่ผ่านซึ่งรัฐปรับตัวเลขใหม่เป็น 2.18 จาก 2.72 แสนตำแหน่ง 2.)อัตราการว่างงานในเดือน เดียวกัน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 4.1% (ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ เดือนมิ.ย.21 และสูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 4.0%) ส่วนอัตราการว่างงาน(U-6) อยู่ที่ 7.4% ทรงตัวอยู่ที่ระดับสูงสุดตั้งแต่ Dec 2021 (นับรวมผู้ที่ว่างงานมาเป็นเวลานานและผู้ที่ทำงาน Part-time เพราะหางาน Full-time ไม่ได้) โดยรวมทำให้ตัวเลขของ Sahm rule ปรับขึ้นแตะ 0.43% ใกล้กับค่า 0.5% ซึ่งเป็น Trigger Point ที่บอกว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ประเด็นนี้ทำให้ตลาดมั่นใจมากขึ้นว่าเฟดจะดำเนินการลดดอกเบี้ยลง 2 ครั้งในครึ่งปีหลัง 3.)ค่าจ้าง(Wage Growth) +3.86%y-y และ +0.29%m-m ชะลอตัวลงต่ำสุด มิ.ย. 2021 4.) ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ย 34.3 ชั่วโมงทรงตัว รายได้ต่อชั่วโมงชะลอตัวลงมาที่ +3.56%y-y ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน
• (*/+) Fed rate cut : ตลาดเพิ่มโอกาสที่สหรัฐมีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยปีนี้เพิ่มขึ้น คาดจะเห็นการลด 2 ครั้งปีนี้คือ รอบ ก.ย. และ ธ.ค. โดยเฉพาะรอบ ก.ย. อิง FedWatch Tool ของ CME ล่าสุดคาดโอกาสที่ Fed จะลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนก.ย.24 เพิ่มขึ้นเป็น 72.5% (จาก 66% ก่อนการเปิดเผยข้อมูลจ้างงาน)
• (*) US Bond Yields & Dollar : Bond yield สหรัฐปรับลงแรงและหลุดแนวรับหลัฃตัวเลขแรงงานออหมาชะลอ อิงอายุ 2 ปี - 11 bps อยู่ที่ 4.6% (หลุดแนวรับโซน 4.66%ลงมา บ่งชี้เป็นขาลง) เช่นเดียวกับ อายุ 10 ปี -9 bps อยู่ที่ 4.28% ระดับต่ำสุดในเดือน ก.ค.24 มองเป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มชิ้นส่วน อาทิ DELTA, KCE, HANA กลุ่มการเงิน MTC กลุ่มโรงไฟฟ้า อาทิ GULF, CKP กลุ่มหนี้สูง CPAXT MINT ส่วน Dollar Index ระยะสั้นแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง ล่าสุดบริเวณ 104.5 +/- จุด (อ่อนค่าต่ำสุดในรอบราว 1 เดือน)
• (*) To monitor : 9 ก.ค. ไต้หวัน Export และ Import เดือน มิ.ย. มีผลต่อจิตวิทยาการลงทุนของหุ้นกลุ่มอิเล็กฯ สหรัฐ-ประธานเฟดกล่าวสุนทรพจน์10 ก.ค. จีนรายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. 11 ก.ค. จีน- ยอดปล่อยสินเชื่อใหม่เดือน มิ.ย., สหรัฐ ตัวเลขเงินเฟ้อ CPI เดือน มิ.ย. 12 ก.ค.: จีนรายงาน Export/Import เดือน มิ.ย.
•(*) Oil : น้ำมันดิบ Brent +0.13%d-d ปิดที่ US$ 86.65/barrel. น้ำมันดิบ West Texas -0.86%d-d ปิดที่ US$ 83.16/barrel
•(+) Coal : ราคาถ่านหินล่วงหน้า Newcastle ยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้น +1.2%wtd ปิดที่ US$ 135.75/ตัน แต่ยัง laggard ราคาถ่านหินในออสเตรเลีย +12%wtd อยู่ที่ 261 $ต่อตัน แรงหนุนปลายสัปดาห์ที่แล้วความกังวล Supply Shortage จากข่าว Bloomberg เหตุเพลิงไหม้เหมือง Grosvenor ในรัฐควีนแลนด์ และเหมืองในรัฐ Virginia มองเป็นจิตวิทยาบวกในการเก็งกำไรต่อหุ้นในกลุ่มถ่านหิน อาทิ BANPU, LANNA แนะนำ Trading
What happened in Thailand ?
• (+) SET: SET Index ปรับตัวขึ้น +10.95 จุด หรือ +0.84% ปิดที่ 1311.99 จุด ภาพเทคนิคกลับมายืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 5 และ 10 วันในรอบ 1 สัปดาห์ กลุ่มหนุน คือ กลุ่มพลังงาน (PTT, PTTEP) ตามราคาน้ำมันที่ระยะหลังยืนเหนือ 85 เหรียญฯ สูงกว่าสมมติฐานราคาน้ำมันที่ตลาดกำหนดราว 75-80 เหรียญฯ กลุ่มค้าปลีก (CPALL, CPAXT) ยอดขายสาขาเดิมเริ่มฟื้นตัวช่วง มิ.ย. หลังอ่อนตัวช่วงสั้นต้นงวด 2Q24 และพัฒนาการในส่วนนโยบาย Digital Wallet ที่เตรียมเปิดให้ลงทะเบียนภายใน ก.ค. กลุ่มถ่วง คือ กลุ่มขนส่ง (AOT) มองยังมาจากแรงกดดันเฉพาะตัวกรณีถูกเรียกคืนพื้นที่เชิงพาณิชย์ แต่เรามองเป็นจังหวะทยอยสะสมลงทุนระยะกลาง-ยาว
• (+) Flow : เงินทุนต่างประเทศไหลเข้า ซื้อหุ้น +46.2 ล้านเหรียญฯ ซื้อพันธบัตร 44.1 ล้านเหรียญฯ TFEX Net Long 6,720 สัญญา เงินบาทแข็งค่าสู่ 36.45 +/- บาท
•(*/+) TH CPI: เงินเฟ้อ CPI มิ.ย. 24 ปรับขึ้น +0.62%y-y ต่ำกว่าตลาดคาด และลดลงจาก prev. ที่ +1.54%y-y ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน CPI มิ.ย. 24 +0.36%y-y ทรงตัวจาก prev. ที่ +0.39%y-y ขณะที่ลดลง -0.01%m-m หลักๆมาจากฐานที่สูงขึ้นของค่าไฟฟ้าช่วงเดียวกันของปีก่อน และราคาอาหารที่สูงเริ่มชะลอตัวลง หลังผ่านช่วงร้อนจัด ทำให้ผลผลิตออกมาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เงินเฟ้ออ่อนตัวลง KSS มองจิตวิทยาบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง ทำให้ตลาดกลับมาประเมินโอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง บ่งชี้จากทิศทาง Bond Yield ไทยล่าสุด อายุ 2ปี ที่ระดับ 2.45% เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ ขณะที่vอายุ 10ปี ปรับตัวลดลงเหลือ 2.66% ต่ำสุดตั้งแต่ เม.ย. 24 มองจิตวิทยาบวกต่อหุ้นได้ประโยชน์ Yield ปรับตัวลดลง อาทิ โรงไฟฟ้า เน้น GULF GPSC ชิ้นส่วนฯ เน้น KCE HANA เช่าซื้อ เน้น MTC หนี้สูง MINT, TRUE, CPALL, CPAXT
•(*/+) Digital Wallet: รมช. คลัง กล่าวว่าในช่วงสืนเดือน ก.ค. 24 นายกรัฐมนตรีจะแกลงข่าวอย่างเป็นทางการในส่วนรายละเอียดนโยบาย Digital Wallet ทั้งเรื่องของวันลงทะเบียน รวมถึงรายละเอียดต่างๆของโครงการ เรามองบวกต่อ SET และหุ้น Domestic Plays จากพัฒนาการโครงการดังกล่าว เนื่องจากถือเป็น Upside ของทั้ง GDP และ ประมาณการกำไรที่ตลาดยังไม่รวมในประมาณการ โดยกลุ่ม Domestic Plays ที่เรามองได้ประโยชน์ อาทิ ค้าปลีก เน้น CPALL, CPAXT, DOHOME, TNP กลุ่มเครื่องดื่ม เน้น OSP, ICHI กลุ่มเช่าซื้อ เน้น MTC กลุ่มธนาคาร อาทิ KBANK, KTB
•(*/+) Tris Rating: Tris Rating ปรับเพิ่มอันดับเครดิตหุ้น CPALL, CPAXT และ Lotus's (บ.ย่อยของ CPAXT) ขึ้นจากระดับ A+ เป็น AA- แนวโน้มคงที่ ผสาน แนวโน้มวงจรดอกเบี้ยโลกที่กำลังเข้าสู่ขาลง ทีมกลยุทธ์ KSS มองมีโอกาสเห็น Upside ต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่าเดิมเปิดกว้างขึ้นสำหรับ CPALL และ CPAXT ขณะที่ดีขึ้นต่อ SET จากมุมมองบวกมากขึ้นในกลุ่มหุ้น Big Cap
• (+) TH Tourism: แนวโน้มภาคท่องเที่ยวไทย หลังมาตรการฟรี วีซ่ามีผลครอบคลุมหลายประเทศ (ราวๆ 40% ของนักท่องเที่ยว) มีผล 1 ก.ค. 24 มีสัญญาณดีขึ้น อิงข้อมูลสำนักตรวจคนเข้าเมือง นักท่องเที่ยว YTD ถึง 5 ก.ค. สูง 17.98 ล้านคน หากหักนักท่องเที่ยว 1H24 ที่ 17.5 ล้านคนออก จะเท่ากับนักท่องเที่ยว 1-5 ก.ค. สูง 4.98 แสนคน เฉลี่ยวันละ 9.96 หมื่นคน (92.4% ของ Pre COVID) ขณะที่ค่าเฉลี่ยรายวันช่วง 1H24 ที่อยู่ราว 9.62 หมื่นคน หรือราว 88.4% ของ Pre-COVID
เรามองทิศทางที่ดีขึ้นดังกล่าวยังไม่สะท้อนในราคาหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวที่นับจากเข้าสู่ช่วง Low Season (สิ้นเดือน มี.ค. 24) ถึงปัจจุบัน ราคาหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวยัง -8.2% กลุ่มการบิน (AOT, AAV) ยังปรับลงเฉลี่ย -14.9% มีเพียง BA ที่ +31% vs SET ที่ -4.3% มองเป็นโอกาสสะสมเน้น AOT, ERW, MINT
• (-) Mass Transit: รมว. คมนาคมสั่งการให้ รฟม. ส่งหนังสือถึงผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีชมพู จ่อดำเนินการตามบทลงโทษขั้นสูงสุด หลังเกิดเหตุประตูขบวนรถเปิดระหว่างทางของการให้บริการ โดยบทลงโทษดังกล่าวจะครอบคลุมตัดถึงการตัดคะแนน และห้ามเข้าร่วมประมูลงานของกระทรวงฯ และจะมีการลดลำดับชั้นผู้รับเหมาฯ** โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู กลุ่ม NBM (BTS75%, STEC15%, RATCH10%) เป็นผู้ได้รับสัมปทานประเด็นข่าวดังกล่าวจึงเป็นจิตวิทยาลบต่อทั้ง 3 บริษัท โดยเฉพาะ BTS ที่มีสัดส่วนการถือหุ้นมากสุดและ STEC ซึ่งเป็นผู้รับเหมาฯ
• (*/+) Short Sales: หลังจากมาตรการ Uptick Rule มีผลวันที่ 5 วานนี้ในส่วนจำนวนหุ้นที่มียอด Short คงค้างอยู่ที่ 405 บริษัท (vs วานนี้ 407 บริษัท) พบว่า ส่วนใหญ่ยอด Short คงที่จากวันทำการก่อนหน้าที่ 261 บริษัท (วานนี้ 269 บริษัท) ส่วนหุ้นที่ Short น้อยลงอยู่ที่ 80 บริษัท (วานนี้ 74บริษัท) ขณะที่หุ้นที่ Short เพิ่มขึ้นมี 64 บริษัท (วานนี้ 64 บริษัท) จิตวิทยาบวกต่อ SET
• (*) To Monitor: 1.) 8 ก.ค. ประชุม ครม. เศรษฐกิจ 2.) 9ก.ค. ติดตามการประชุม ครม. คาดมีโอกาสที่กระทรวงการคลังนำกองทุน ThaiESG เข้าพิจารณา หลัง รมว. คลังส่งสัญญาณช่วงปลายสัปดาห์ก่อน 3.) 10 ก.ค. การพิจารณาคดีคุณสมบัตินายกฯ คาดว่าศาลยังไม่น่าจะมีการวินิจฉัย ทำให้ไม่มีน่าจะมีประเด็นที่สร้างแรงกดดันต่อตลาดเพิ่มเติม ขณะที่หากกำหนดวันวินิจฉัย ถ้าเร็วกว่า ก.ย. 24 ที่เป็นช่วงเวลาตลาดคาดหวังล่าสุดจะเป็นบวก จากความชัดเจนที่จะเกิดขึ้นเร็ว 4.) การพิจารณานำกองทุนวายุภักษ์กลับมาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือช่วยขับเคลื่อนตลาดหุ้น มองจิตวิทยาบวกต่อหุ้นที่กองทุนถือสัดส่วนสูงในปัจจุบัน อาทิ PTT, AOT, SCB, KTB, TTB, ADVANC, BSRC 4.) การทยอย Preview กำไรงวด 2Q24F กลุ่ม Real Sector จะออกมาเพิ่มขึ้น มองกลุ่มกำไรเด่น y-y, q-q อาทิ สื่อสาร (ADVANC, TRUE) ค้าปลีก (CPALL, CPAXT) เครื่องดื่ม (ICHI, OSP, SAPPE) ชิ้นส่วน (KCE) เกษตร (GFPT, CPF) ท่องเที่ยว (MINT) โรงไฟฟ้า (CKP, GULF, GPSC) ความงาม (MASTER, KLINIQ)
Daily Strategy : GULF, CPALL, BANPU เด่น
ระยะสั้น วันนี้มองภาพตลาด "UP" มองแรงหนุนต่างประเทศเป็นบวก โดยเฉพาะสัญญาณภาคแรงงานอ่อนตัวลง ทำให้แรงขับเคลื่อนสินทรัพย์เสี่ยงจะมาจากความเชื่อมั่นวงจรดอกเบี้ยที่ใกล้เข้าสู่ขาลง บ่งชี้จาก US Bond Yield 10 ปีดิ่งลง -9 bps เชื่อว่ามีกาวะการลงทุนมีโอกาสเข้าสู่ Search for Yield โดย SET น่าจะเป็นหนึ่งในเป้าหมาย จากโอกาสเห็น Equity Risk Premium (ERP) ที่มีสัญญาณถ่างกว้างขึ้น ทั้งจาก Upside กำไรตลาดจากพัฒนาการนโยบาย Digital Wallet ผสาน สัญญาณท่องเที่ยวหลังมาตรการ ฟรีวีซ่ามีผล 1 ก.ค. เป็นบวก และ Bond Yield ที่ตอบรับเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวต่ำ มองหุ้นนำวันนี้ 1) หุ้นได้ประโยชน์ Yield พีค อาทิ โรงไฟฟ้า หนี้สูง เช่าซื้อ และ High Growth 2) หุ้นอิง Domestic อาทิ ค้าปลีก ท่องเที่ยว
หุ้นได้ประโยชน์ภาคผลิตโลกผ่านจุดต่ำสุด + เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวหนุนอุตสาหกรรมทยอยเข้าสู่ Upgrade Cycle (HANA, KCE)
กลุ่มภาคผลิตไทย PMI ภาคผลิตไทยอยู่ในระดับขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือนหนุน (GFPT, TU, CBG, OSP, ICHI, SAPPE IVL, STA, NER)
หุ้นภาคบริการได้ประโยชน์มาตรการท่องเที่ยวชุดใหญ่ของรัฐฯ หนุน บริโภค ท่องเที่ยว โรงแรม ร.พ. (CPALL, ICHI, AOT, MINT, ERW)
กลุ่มได้ประโยชน์ที่วงจรดอกเบี้ยพลิกเป็นขาลงนับจากปี 2024 (GULF, GPSC, CPALL, TRUE, MINT, WARRIX, MTC, MOSHI, KLINIQ)
กลุ่มได้ประโยชน์ Microsoft ลงทุน Data Center ในไทย (ADVANC, TRUE, INSET, GULF, WHA)
• JULY24 Best Picks: TRUE, CPAXT, GULF, KCE, WHA, MINT, OSP
• 3Q24Stock Picks : CPALL, GFPT, HANA, KCE, MINT, MTC, OSP, TRUE, TU, WHA Mid-Small Cap Play : CKP, DOHOME, INSET, TNP
Tactical & Investment Idea
Research Highlight
• Strategy Update : US Election (The first debate)
Debate รอบแรก Biden และ Trump ประเด็นที่หยิบยกขึ้นมา คือ ประเด็นการทำแท้ง, ผู้อพยพต่างชาติและผู้ก่อการร้าย และชายแดนสหรัฐ-เม็กซิโก US-Mexico Broader ฯลฯ ทั้งนี้ ประเด็นทางเศรษฐกิจสำคัญไม่ได้ลงรายละเอียดมาก Trump พูดเน้นเดินหน้าไปที่การลดการขาดดุลค้าและเน้นการขึ้นภาษีกับประเทศอื่นๆ ฯลฯ Biden เน้นประเด็นการขึ้นภาษีผู้ที่มีรายได้สูงและมหาเศรษฐี
กลยุทธ์ KSS ประเมินแนวโนบายคล้ายกับในอดีตยังไม่มีประเด็นใหม่ และยังเหลือระยะเวลาพอสมควรก่อนการ Debate รอบถัดไป 10 ก.ย. 24 รายละเอียดนโยบายต่างๆหรือนโยบายสร้างจุดเปลี่ยนจึงยังสามารถเกิดขึ้นได้เพิ่มเติม ทำให้ยังมีความไม่แน่นอนจากประเด็นการเลือกตั้งใหญ่สหรัฐฯ กอปรกับ เศรษฐกิจสหรัฐฯที่เริ่มอ่อนลง และ Valuation สหรัฐฯที่ตึงตัว ประเมินงวด 3Q24 ก่อนเลือกตั้งตลาดหุ้นสหรัฐฯมีโอกาสเคลื่อนไหวในกรอบรอความชัดเจน
ส่วนกระแสเชิงบวกต่อหุ้นต่างๆ เราคาดตลาดให้น้ำหนัก ดังนี้ การเดินหน้าสงครามการค้าและเทคโนโลยีกับจีน ทำให้ยังคงมุมมองบวกกระแสในประเด็นดังกล่าวก่อนการเลือกตั้ง จะหนุนตลาดเก็งหุ้นกลุ่มนิคมในระยะกลาง – ยาว เน้น WHA กลุ่มส่งออกชิ้นส่วน เน้น KCE, HANA อาหาร เน้น CPF, GFPT ทั้งนี้ หาก Trump ชนะการเลือกตั้งมองหุ้นที่ได้ผลประโยชน์บวกจากเศรษฐกิจสหรัฐดีขึ้น อาทิ จากมาตรการลด Corporate Tax บวกต่อ IVL PTTGC ระยะสั้นก่อนจะเห็นภาพว่าผู้สมัครจะมีโอกาสชนะเลือกตั้งสูง ยังให้เน้นกลุ่มที่เกาะกระแสนโยบายทั้งสองฝ่ายในส่วนสงครามการค้าและเทคโนโลยี เน้น WHA, KCE, HANA, CPF, GFPT
• Strategy Update : ThaiESG 2024 ต่อ SET Index
รัฐบาลมีแผนปรับเงื่อนไขสิทธิประโยชน์จากกองทุนลดหย่อนภาษี ThaiESG ใหม่ โดยปรับเงื่อนไขให้สิทธิซื้อเพิ่มลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้นทั้งเม็ดเงิน และสัดส่วนเทียบกับฐานรายได้ ผสาน ระยะเวลาลงทุนสั้นลง KSS คาดว่าฐานเม็ดเงินที่เข้าสู่กองทุน ThaiESG รอบนี้ จะสูงราว 7.8 หมื่นล้านบาทต่อปี ขณะที่ SET ณ ปัจจุบัน ยังอยู่ใน Value Zone น่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนเชิงบวกตลาดหุ้นไทยนับจากนี้.
เชิงกลยุทธ์ : โดยรวม KSS ประเมินเป็น "บวก" ต่อตลาดหุ้นไทยคล้ายสมัยมาตรการลดหย่อนภาษีผ่านกองทุน LTF ในอดีต เนื่องจากเป็นการเสริมสภาพคล่องของเงินลงทุนระยะยาวในประเทศให้กลับมาแข็งแรงขึ้น กลยุทธ์แนะลงทุนในหุ้นใน SETESG ที่มีคุณสมบัติราคาลงแรงกว่า SET -6.6%YTD ได้แก่ BTS SCC, CRC, IVL, PTTGC, CPN, BBL, HMPRO และกลุ่มที่มีน้ำหนัก (Weight) ใน ESG สูง ได้แก่ GULF AOT, MTC, CPALL, GPSC
• Strategy Update : Time to Invest
ทีมกลยุทธ์ออกรายงาน Strategy Update "Time to invest" มอง SET Index โซนปัจจุบันให้ Current ERP ที่ 3.6% เป็นโซนลงทุน และมองใกล้ระดับจุดกลับตัว มองหุ้นน่าลงทุน 1) กลุ่มให้ Dividend สูง 2) กลุ่มที่ Underperform และมีส่วนลดทางพื้นฐานสูง
Key Ideas:
• SET Index ในปี 2024 ยัง "Underperform" ตลาดหุ้นโลกต่อเนื่องจากปี 2023 โดย YTD ปรับตัวลดลง -8.6% โดยการปรับตัวลดลงเร่งขึ้นในระยะหลังจากปัญหาความไม่ชัดเจนการเมือง
• อิงกลไก Equity Risk Premium (ERP) คือ ส่วนต่างผลตอบแทนระหว่าง Earnings Yield และ Bond Yield อิงระดับ Current EPS ปัจจุบันที่ราว 83 บาทต่อหุ้น และ Forward EPS ที่ 92 บาท ที่ระดับ Index โซน 1350-1300 จุด ถือเป็นจุดน่าสนใจสำหรับการวางสถานะลงทุนระยะกลาง-ยาว อิงระดับดัชนีปัจจุบัน Current และ Forward ERP นั้นสูงในระดับ 3.6%-4.22% สูงกว่า Avg 3.09% ขณะที่หาก Current ERP สูงเกินกว่าระดับ + 1 S.D. (4.09%) vs ปัจจุบันอยู่ที่ 3.6% ใกล้ระดับ +1 S.D. ที่เป็นจุดกลับตัวของตลาด
• จากการศึกษา Back test ย้อนหลัง 20 ปี พบว่า Current ERP แตะระดับดังกล่าว 7 ครั้งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา พบว่า SET จะกลับมาให้ผลตอบแทนเป็นบวกเฉลี่ยทุกครั้งในระยะกลาง กล่าวคือ จากนั้น 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 1 ปี SET ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 0.7%, 4.4% 9.9% และ 20.6% ด้วยความน่าจะเป็น 57%, 43%, 72% และ 86% ตามลำดับ
• มุมมองเม็ดเงินลงทุนระยะสั้นนักลงทุนต่างชาติ รอบล่าสุดที่เข้ามาคือ เริ่มตั้งแต่ช่วง เม.ย. 21 ซึ่งซื้อสะสมรวมถึงจุดสูงสุดช่วงราว มี.ค. 23 ด้วยเม็ดเงินรวม 2.85 แสนล้านบาท ขณะที่หลังจากนั้นเป็นการขายต่อเนื่องถึงปัจจุบัน นับถึงวานนี้ พบว่า เม็ดเงินดังกล่าวไหลออกจาก SET ไปกว่า 3แสนล้านบาทแล้ว บ่งชี้แรงขาย ของนักลงทุนต่างชาติจากจุดนี้น่าจะลดลงเป็นลำดับ
• มาตรการ Uptick ใกล้มีผล เดือน กค 2024 น่าจะลดความผันผวนฝั่ง "Short Sell" ได้บ้าง
กลยุทธ์ คำแนะนำสำหรับผู้ลงทุนระยะกลาง-ยาว ทยอยสะสมหุ้นในจุดที่มี Margin of Safety สูง ใน 2 Theme เด่น
1.) Dividend Plays ที่ธุรกิจมีความมั่นคง ให้ผลตอบแทน Div. Yield มากกว่าปีละ 4% (vs Policy Rate 2.5%) ได้แก่ SCB AP ICHI PTT BBL INTUCH ADVANC HMPRO BJC WHA TU
2.) หุ้นในกลุ่มที่ Underperform กว่าตลาด (SET YTD ปรับตัวลดลง -8.6%) แต่พื้นฐานระยะกลาง-ยาวยังแข็งแกร่ง Valuation มีส่วนลด PBV24F ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย >20% ได้แก่ BTS IVL LH HMPRO KCE PTTGC GPSC HANA GULF
•CPF (Trading Buy, TP23.6): มุมมอง "Positive" ต่อแนวโน้มกำไรปกติ 2Q24F คาดที่ 3,497 ลบ. (vs. ขาดทุน -3,827 ลบ.ใน 2Q23, +878%q-q) คาดบันทึกมูลค่าสินทรัพย์ชีวภาพเพิ่มขึ้นราว +1,000ลบ. จึงคาดกำไรสุทธิ 4,577 ลบ. (vs. ขาดทุน – 792ลบ. ใน 2Q23, +331%q-q) ผลักดันหลักจากราคาหมูจีนและหมูเวียดนามเพิ่มขึ้น y-y, q-q ประกอบกับต้นทุนอาหารสัตว์ลดลง y-y และส่วนแบ่งกำไร CTI ฟื้นจากขาดทุน เพราะราคาหมูจีนฟื้นตัวโดดเด่นสูงกว่าต้นทุนการเลี้ยงเร็วกว่าคาด สำหรับโมเมนตั้ม 3Q24F คาดกำไรปกติโตต่อเนื่อง y-y, q-q เข้าสู่ช่วง High season ของการส่งออก แนวโน้มราคาหมูจีน/เวียดนามเพิ่มขึ้นต่อ ทั้งนี้ กำไรปกติ 1H24F ที่ 3,855 ลบ. คิดเป็น 60% ของประมาณการกำไรปกติทั้งปี 24F ที่ 6,488 ลบ. จึงมีแนวโน้มปรับประมาณการเพิ่มขึ้นหลังการประชุมนักวิเคราะห์ ปัจจุบันคงคำแนะนำ Trading buy TP24F 22.00บ./ TP25F 25.50บ.
• PTTEP (Trading Buy, TP178.5): เรามอง Neutral ต่อกำไรสุทธิ 2Q24F ราว 21,902 ลบ. (+4% y-y, +17% q-q) ดีกว่าที่เคยประเมินจากเงินบาทที่อ่อนค่ากว่าคาด และรายได้อื่นสูงกว่าคาด ชดเชยกับความเสี่ยงด้อยค่าฯแหล่งโมซัมบิกที่อาจเข้ามาในระยะถัดไป โดยกำไรที่โต y-y q-q เพราะปริมาณขายสัมปทานใหม่หนุนเป็นหลัก ทั้งนี้เราปรับลดกำไรสุทธิ 2024F ลง -3% สะท้อนค่าใช้จ่ายด้อยค่าฯ และปรับ TP24F ลงเป็น 178.50 บาท/หุ้น โดยคงคำแนะนำ Trading Buy มองยังเก็งกำไรได้ในระยะสั้นที่มีปัจจัยบวกจากกำไรที่อยู่ในระดับสูง และเป็นช่วงที่ต้น 3Q24F ราคาน้ำมันดิบยังมีแรงหนุนจากมรสุมใน U.S. และความตึงเครียดของสงครามฯ รวมถึงกำไรระยะยาวยังอยู่สูงกว่าระดับ pre-COVID (ราว 4 หมื่นลบ.)
•AEONTS (Reduce, TP120): เรามีมุมมอง Negative ต่อกำไรสุทธิ 1Q25 ที่ 524 ลบ. ต่ำกว่าเราและตลาดคาดมาก เพราะค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) สูงกว่าคาด จากคุณภาพสินทรัพย์อ่อนแอ NPL Ratio เพิ่มขึ้นเป็น 5.39% จาก 4Q24 ที่ 4.97% ผลจากการปรับเพิ่มการจ่ายขั้นต่ำของบัตรเครดิตจาก 5% เป็น 8% กำไรลดลงแรง -15% y-y และ -52% q-q เพราะสินเชื่อรวมหดตัว y-y นอกจากนั้นค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) และค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) จากงบ 1Q25 ออกมาอ่อนแอมาก ดังนั้นเราปรับกำไรสุทธิ 2025-27F ลงปีละ –(23-31)% ส่งผลต่อ TP25F ปรับลงเหลือ 120 บ. และปรับคำแนะนำเป็น REDUCE
•AUTO (Negative): We maintain a bearish outlook on the automotive sector for the rest of this year. Our projected car production of 1.65m units for 2024 faces more downside risks than upside potential. In a severe downturn, vehicle production could plummet to 1.6m units, further diminishing the attractiveness of automotive sector equities. Maintain NEGATIVE view on sector. No top pick.
3Q24F Equity Outlook : The strong get stronger, the weak get less weak
Stock Best Picks : CPALL, GFPT, HANA, KCE, MINT, MTC, OSP, TRUE, TU, WHA
Mid-Small Cap Play : CKP, DOHOME, INSET, TNP