Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.เอเซีย พลัส : Market Talk

459

 

ยังอยู่ในกรอบ 1300 +/-10 จุด
ประเด็นที่อยู่ในความสนใจวันนี้น่าจะเป็นมุมมองเศรษฐกิจของ ธปท. ซึ่งยืนยันความเห็นเดิมว่า โครงสร้างเศรษฐกิจไทยมีข้อจำกัดในการเติบโตโดยศักยภาพการเติบโตของ GDP บนโครงสร้างปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ3% การอัดฉีดมาตรการ และ เม็ดเงิน เข้าสู่ระบบไม่สามารถทำให้เราเติบโตได้เกิน 3% ในระยะยาว ส่วนมุมมองเรื่องดอกเบี้ยนโยบายยังคงเห็นว่าที่รัดบ 2.5% มีความสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันสำหรับสถานการณ์ด้านเงินเฟ้อวันนี้จะมีการประกาศตัวเลขของเดือนมิ.ย.67 ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 1.1% YOY เราประเมินว่า SET INDEX ยังอยู่ในภาวะที่ขาดแรงขับเคลื่อนใหม่ๆ ทั้งในส่วนของปัจจัยพื้นฐาน และ เม็ดเงินลงทุน โดยมูลค่าการซื้อขายในปัจจุบันถื่อว่าอยู่ในระดับที่เบาบางมากขณะที่นักลงทุนต่างประเทศยังขายสุทธินักลงทุนต่างชาติกลับมาขายสุทธิอีกครั้ง ซึ่งภายใต้สภาวะที่มูลค่าการซื้อขายเบาบาง ทำให้การปรับตัวขึ้นของ SET INDEX ยังยาก วันนี้คาดกรอบ 1295 –1310 จุด TOP PICK เลือก BDMS, CPN และ KBANK

หาก NONFARM ออกมาแย่ จะกดดันดอกเบี้ยเข้าสู่ขาลงเร็วขึ้น
หลังตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจของสหรัฐส่งสัญญาณชะลอตัว (รายละเอียดเพิ่มเติมในบทวิเคราะห์ MARKET TALK ฉบับ 4 ก.ค.67) ส่งผลให้เพิ่มความความหวังการปรับลดดอกเบี้ยสหรัฐฯ ครั้งแรกในเดือน ก.ย. 67 โดยผลการสำรวจล่าสุดของ FEDWATCH TOOL ให้น้ำหนักมากขึ้นเป็น 66.5% (1 สัปดาห์ก่อนหน้า59%) นอกจากนี้ยังมีสัญญาณจาก BOND YIELD 10Y สหรัฐฯ ย่อตัวลงต่อเนื่องสู่ระดับ 4.3%ซึ่งคืนนี้ติดตามตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯอย่าง NONFARM-PAYROLL ที่ตลาดคาดว่าอยู่ระดับ 1.9 แสนตำแหน่ง ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 2.7 แสนตำแหน่ง ซึ่งหากผลลัพธ์ออกมาตามคาดจริง ยิ่งเป็นความหวังให้ดอกเบี้ยสหรัฐฯเข้าสู่ขาลงอย่างชัดเจนขึ้นตามลำดับ

ประเด็นดังกล่าวจึงทำให้เม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นได้ไม่ยาก และกระเซ็นเข้าสู่ตลาดน้ำมันดิบบ้าง ที่มีแรงเสริมจากสต็อกน้ำมันสหรัฐลดลงมากกว่าคาด จากแรงกระตุ้นในช่วงฤดูกาลขับขี่(DEMAND เพิ่มขึ้น) ซึ่งฝ่ายวิจัยฯคาดราคาน้ำมันดิบ BRENT จะทรงตัวระดับสูง 85-92 เหรียญฯ มองเป็น SETIMENT เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มน้ำมันและโรงกลั่น อาทิ PTTEP PTTGC TOP BCP เป็นต้น


สรุป ลุ้นตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯคืนนี้อย่าง NONFARM-PAYROLL แย่ตามคาดกดดันดอกเบี้ยสหรัฐฯเข้าสู่ขาลงเร็วขึ้น หนุนช่วงสั้นๆ เม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงและถือเป็นอีกหนึ่งแรงหนุนให้ราคาน้ำมันขยับขึ้น มองเป็น SETIMENT เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มน้ำมันและโรงกลั่น อาทิ PTTEP PTTGC TOP BCP เป็นต้น


ผู้ว่า ธปท. มองเศรษฐกิจไทยมีเหนื่อย หากยังไม่ปรับโครงสร้าง
วานนี้ในงาน “MEET THE PRESS ผู้ว่าการ พบสื่อมวลชน” ผู้ว่า ธปท. เผยว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา ฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้าเมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจโลกแต่ในภาพรวม GDP GROWTH ช่วงปี 2566-2571 ยังคงขยายตัวและทยอยกลับเข้าสู่ระดับศักยภาพราว 3% เนื่องจากเศรษฐกิจบ้านเราหลักๆ ยังขับเคลื่อนด้วยธุรกิจดังเดิม (OLD ECONOMY)

ขณะที่ความคาดหวังที่จะเห็น GDP GROWTH เติบโต 4-5% เหมือนในอดีต จำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ทั้งเพิ่มการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ แทนการอัดมาตรการกระตุ้นระยะสั้น

นอกจากนี้ ธปท. ยังคงแสดงจุดยืนเดิมในเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ 2.5%เป็นระดับที่เหมาะสมกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และเสถียรภาพการเงินของบ้านเราอีกทั้งเงินเฟ้อไทยยังค่อยๆ ทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 1-3% โดยในวันนี้ เวลา 13.30 น. รอติดตามตัวเลข CPI เดือน มิ.ย. 67 CONSENSUS คาด+1.1%YOY ซึ่งภาวะข้างต้นอาจจะยังไม่ต้องเป็นต้องลดดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม ธปท.ไม่ได้ปิดประตูการปรับลดดอกเบี้ย หาก OUTLOOK มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ


สรุป ธปท. ยังคงมุมมองบวกกับเศรษฐกิจไทยว่ามีแนวโน้มขยายตัวเข้าสู่ระดับศักยภาพ 3% สอดรับกับดอกเบี้ยปัจจุบันที่ 2.5% ขณะที่เงินกำลังเฟ้อค่อยๆ ทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 1-3% ซึ่งภาวะข้างต้นอาจไม่เห็นการปรับลดดอกเบี้ยบ้านเราในปีนี้

MARGIN CALL ความผันผวนที่เกิดขึ้นในช่วงนี้
ตลาดหุ้นไทยถูกกดดันมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2022 ถึงปัจจุบัน โดยมี FUND FLOWไหลออกไปถึง 3 แสนล้านบาท กดดัน SET INDEX ปรับตัวลงมาเร็วถึง -22% พอหุ้นตกลงมานานๆ ต่อเนื่อง ปัญหาที่ตามมา คือ การเกิด MARGIN CALL หรือการเรียกเงินที่วางหลักประกันคืน โดย ณ สิ้นปี 2022 มีเม็ดเงินที่วางหลักประกันในตลาดหุ้นไว้3.78 แสนล้านบาท แต่เดือน พ.ค. 2024 เหลือเม็ดเงินที่วางหลักประกันคงค้าง 2.69แสนล้านบาท หรือ มีสัดส่วนราว 1.68% ของมูลค่าตลาด

และหากลงรายละเอียดเป็นรายหุ้นจะเห็นได้ว่า มีหลายหุ้นที่ตกหนัก และถูกกดดันจนระดับ MARGIN คงค้างหายไปเยอะมาก ในช่วงปลายปี 2022 – ปลายเดือน พ.ค.2024 อาทิ PRIME, MORE, JKN, CV, CIG, TCC, STARK, META

ขณะที่ปัจจุบันยังมีหุ้นที่ระดับ MARGIN คงค้าง ณ พ.ค. 24 ยังอยู่ในระดับสูง แต่ราคาหุ้นในเดือน มิ.ย. – 4 ก.ค. 24 ถูกกดลงมามาก อย่าง YGG, NRF, III, APCS, ECL,SNNP, PLUS, TKC, NEX, DOD, FN, TCMC, TWZ, NCL, EA

แสดงว่าหุ้นดังกล่าวมีความเสี่ยง หรืออาจอยู่ในสถานะการณ์เผชิญปัญญาเรื่อง MAGIN CALL ดังนั้นนักลงทุนที่ตัดสินใจลงทุนจะต้องใช้ความระมัดระวัง และติดตามข่าวสารของบริษัทอย่างใกล้ชิด รวมถึงรอดูตัวเลข MARGIN CALL จากทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะอัพเดทใหม่ ถ้าหุ้นดังกล่าวมีสัดส่วน MARGIN คงค้างเหลือน้อยมากๆ ไม่ถึง 1% ความผันผวนในหุ้นดังกล่าวก็มีโอกาสลดลง หรือมีโอกาสรีบาวน์ได้บ้าง

 

Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

1200 แตก By: แม่มดน้อย

แม่ดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ และแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นไทย ก็แตก 1,200 จุด ด้วยพ่อใหญ่อย่าง DELTA แม่ใหญ่ AOT เป็นหัวหอก....

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

FTI จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติไฟเขียวทุกวาระ จ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้