หวังว่าจะเห็นจุดเปลี่ยนทางบวกใน 2H67
26 วันทำการที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นบ้านเราทุกวัน โดยมียอดขายสุทธิสะสม 4.9 หมื่นล้านบาท สถิติจำนวนวันการขายต่อเนื่องดังกล่าว เทียบเท่ากับช่วงที่เกิด HAMBURGER CRISIS ในปี2008 และเป็นรองเพียงปี 1994 ก่อนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ซึ่งต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่อง 27 วัน ภาวะการขายดังกล่าวถือเป็นแรงกดดันหลักของSET INDEX อย่างไรก็ตามเรายังมีความคาดหวังเชิงบวกต่อทิศทางของตลาดในช่วง 2H67 เนื่องจากเห็นแรงหนุนจากหลายกลไกเข้ามาทำงานพร้อมกัน เริ่มจากภาพเศรษฐกิจไทยที่เชื่อว่าจะฟื้นตัวเป็นขั้นบันได การเริ่มบังคับใช้กฎเกณฑ์ใหม่ๆ ของ SET เช่น UPTRICK RULE , การดูแลPROGRAM TRADING ฯลฯ และที่สำคัญคือการเกิดขึ้นของกองทุนที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย ทั้งTESG และ วายุภักษ์มองเห็นหลายกลไกที่น่าจะช่วยขับเคลื่อน SET INDEX ในช่วง 2H67เทียบกับช่วง 1H67 ที่ขาดปัจจัยหนุน วันนี้คาดกรอบ 1305 – 1317 จุดหุ้น TOP PICK เลือก ADVANC, BDMS และ CPN
เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง ยังมีความหวังจากหลายปัจจัยบวก
ภาพรวมเศรษฐกิจบ้านเราในช่วงปีที่ผ่านมา ถือว่าขยายตัวในระดับที่ค่อนข้างต่ำ โดยGDP ไทยงวด 1Q67 ออกมา +1.5%YOY เท่านั้น (GDP ไทยโตต่ำสุดใน ASEAN)อย่างไรก็ตามระยะถัดไปคาดหวังเศรษฐกิจไทยเติบโตแบบขั้นบันได โดยBLOOMBERGคาดการณ์ GDP GROWTH ใน 2Q67 +2.1%YOY, 3Q67 +2.6%YOY, 4Q67+3.8%YOY ขณะที่ตลอดปี 2567 สำนักเศรษฐกิจต่างๆ ที่คาด GDP GROWTHบ้านเราอาจเติบโตราว 2.4%YOY -2.7%YOY
สำหรับสาเหตุหลักมาจากบทบาทของนโยบายการคลัง ที่ทยอยเดินหน้าที่เป็นตัวขับเคลื่อน GDP GROWTH ไทย ซึ่งเชื่อว่าจะเริ่มเห็นความชัดเจนมากขึ้นในช่วง2Q67-4Q67 ขณะที่เป้าหมายการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยของภาครัฐฯ ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่3 เรื่อง หลักๆ ดังนี้
1. การใช้จ่ายภาครัฐ (G) ผ่านการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 วงเงิน 3.60ล้านล้านบาท เฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทุน และเห็นความต่อเนื่องของการใช้
จ่ายงบประมาณปี 2568 วงเงิน 3.75 ล้านล้านบาท
2. การบริโภคภาคครัวเรือน (C) ตั้งแต่รัฐบาลเตรียมปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400บาท/วัน(เริ่ม 1 ต.ค.67) และการมีโครงการ DIGITAL WALLET 10,000บาท/คน ที่จะเริ่มใช้ได้ในช่วงไตรมาส 4 อีกทั้งภาครัฐยังมีมาตรการส่งเสริมภาคท่องเที่ยวต่อเนื่อง
3. การลงทุนเอกชน (I) ยังมีแนวโน้มเติบโตเด่น หลังต่างชาติที่ได้รับการส่งเสริมลงทุน มีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในไทยช่วง 5M67 ทะลุ 7.1 หมื่นล้านบาท และ
ปรับตัวเพิ่มขึ้น 58%YOY
ส่วนในมุมของตลาดการเงินช่วงครึ่งปีหลัง ยังมีแรงบวกจากหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นมาตรการสร้างความเชื่อมั่นของ SET เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งการควบคุมSHORT SELL, UPTICK RULE ทุกบริษัท (การประกาศใช้กฎในวันที่ 1 ก.ค.67),DPB (DYNAMIC PRICE BAND) รวมไปถึงการออกกองทุน TESG และกองทุนวายุภักษ์ 3 ซึ่งน่าจะเห็นเม็ดเงินเข้ามาในระบบ ช่วยดัน SET INDEX ขยับขึ้นได้อีกครั้งสรุป ในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ ยังมีความหวังแรงบวกจากหลายๆ ภาคส่วน ตั้งแต่เศรษฐกิจไทยเติบโตแบบขั้นบันได มาตราการเรียกความเชื่อมั่นตลาดทุน และรอคอยเม็ดเงินไหลเข้าระบบจากกองทุน TESG และ กองทุนวายุภักษ์
การลดดอกเบี้ยในไทย อาจไม่เกิดขึ้นในปีนี้ หนุนค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้นหลังอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือน พ.ค. +1.54%YOY (สูงกว่าคาด 1.2%) ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ +0.19%MOM ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงมีแน้วโน้มปรับตัวลดต่อเนื่อง จนล่าสุดอยู่ที่ 0.96% (ดอกเบี้ย 2.5% - เงินเฟ้อ 1.54%) ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าหลายๆ ประเทศ อาทิ อังกฤษ 3.25% , สหรัฐฯ 2.20%, ยุโรป 1.65%เป็นต้น ซึ่งประเด็นดังกล่าว อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ FUND FLOW ชะลอการไหลออกได้ และหนุนให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้นในอนาคต
ขณะที่ระยะถัดไป BLOOMBERG คาดการณ์เงินเฟ้อไทยใน 2Q67 จะขยับขึ้นเป็น+0.6%YOY และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นใน 3Q67-4Q67 ที่ระดับ 1.1%YOY – 2.0%YOYประเด็นดังกล่าว สอดคล้องกับมุมของของ ธปท.ที่คาดกรอบเงินเฟ้อไทยในปีนี้จะอยู่ในช่วง 1%YOY -3%YOY ซึ่ง กนง.มองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.5% อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจเข้าสู่ศักยภาพและเงินเฟ้อที่ปรับดีขึ้นรวมทั้งเอื้อต่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงินในระยะยาวแล้ว ทำให้เราอาจไม่เห็นการลดดอกเบี้ยของ กนง. ในปีน
สรุป หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดีขึ้นทั้ง GDP GROWTH และ CPI จึงทำให้กนง.ยังไม่ส่งสัญญาณ DOVISH ในปีนี้ ประเด็นดังกล่าว จึงทำให้ค่าเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าระยะถัดไป และลุ้น FLOW ต่างชาติไม่ไหลออกจากบ้านเราไปมากกว่านี้
ต่างชาติขายหุ้นติดต่อกันนาน 26 วันทำการ นานสุดเป็นอันดับ2 ในประวัติศาสตร์
ตลอดช่วง 1 เดือนกว่าๆ (21 พ.ค. – 27 มิ.ย. 67) หรือราว 26 วันทำการ ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยติดต่อกันทุกวัน และเป็นการขายสุทธิติดต่อกันนานสุดเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ ด้วยมูลค่ารวมเกือบ 5 หมื่นล้านบาท กด SET INDEX ปรับตัวลงมา -5%
สะท้อนได้จาก ข้อมูลที่ฝ่ายวิจัยฯ ทำการศึกษา FUND FLOW ย้อนหลังทั้งหมดที่ทางตลาดหลักทรัพย์เปิดเผยข้อมูลตั้งแต่ปี 2535 ถึงปัจจุบัน โดยการหาช่วงเวลาและเหตุการณ์ต่างๆ ที่ต่างชาติขายสุทธิติดต่อกันนานสุด 10 อันดับแรก พบว่า อันดับที่1 คือ ที่ต่างชาติขายสุทธิติดต่อกันสูงสุดเป็นประวัติการณ์ คือ 27 วันทำการ เกิดขึ้นในช่วงปี 2537 เป็นช่วงก่อนเกิดวิฤตต้มยำกุ้ง ต่างชาติขายสุทธิไป 2.3 หมื่นล้านบาทและอันดับอื่นๆ จะสังเกตได้ว่าเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นไทยได้เผชิญกับวิกฤตต่างๆ เช่น ช่วงวิกฤตซับไพร์ม, วิกฤตดอทคอม, สงครามการค้าจีน สหรัฐ, ช่วงพฤษภาทมิฬ และวิกฤตโควิด เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม VALUATION อยู่ในระดับที่น่าสนใจมาก ณ SET INDEX ที่ 1300 จุด มีP/E67F ที่ต่ำเพียง 14.2 เท่า (ต่ำกว่า -1SD), PBV 1.22 เท่า (ต่ำกว่า -2SD) และDIVIDEND YIELD สูงถึง 3.5% (สูงกว่า+1SD) บวกกับความคืบหน้าการเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ, รอรับเม็ดเงินจากกองทุน THAIESG ใหม่เข้ามาหนุนและเริ่มเพิ่มเสถียรภาพจากตลาดหลักทรัพย์ อย่าง UPTICK คาดจะช่วยหนุนให้ดัชนีค่อยๆ ทยอยฟื้น รวมถึงต่างชาติอาจจะค่อยๆ ขายสุทธิเบาลงได้
Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์