AT THE OPEN (#ATO)
SET Index รีบาวน์ไปแถวๆ 1330
กลยุทธ์เลือกหุ้นกลุ่มที่มีปัจจัยบวกเฉพาะ
Market Strategy
SET Index คาดรีบาวน์ตามกรอบ 1310-1330 จุด ผลการประชุม FED วานนี้สาระสำคัญ 1) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยฯ 5.5% ตามคาด 2) มองเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการจ้างงานยังแข็งแกร่ง 3) เงินเฟ้อมีแนวโน้มค่อยๆ ลดสู่เป้าหมายที่ 2% แต่ช้ากว่าเดิมสะท้อนจากคาดการณ์เงินเฟ้อสิ้นปีอยู่ที่ 2.8%YoY (จากเดิม มี.ค. คาดอยู่ที่ 2.6%YoY) 4) มุมมองการปรับลดดอกเบี้ยฯ ผ่าน FOMC Dot Plot คาดจะลดดอกเบี้ยปีนี้ 1 ครั้ง (จากเดิม มี.ค.คาดลด 3 ครั้ง) โดยเรามองเป็นกลาง ต่อผลการประชุมดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อทั่วไป/พื้นฐานสหรัฐฯเดือน พ.ค. ขยายตัว 3.3%/3.4%YoY ต่ำกว่าคาด ทำให้ตลาดคาดว่า FED จะลดดอกเบี้ยปีนี้ 2 ครั้งเป็นปัจจัยหนุนสินทรัพย์เสี่ยงภูมิภาคเช้านี้
ส่วนปัจจัยในประเทศวานนี้การประชุม กนง. มีมติคงดอกเบี้ย 2.5% ตามคาด โดยมีมุมมองบวกต่อเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่กรอบของ กนง.ในช่วง 4Q67 ระยะถัดไปพิจารณานโยบายการเงินให้เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจ โดยเรามองผลประชุมข้างต้นไม่ได้เห็นสัญญาณการปรับลดดอกเบี้ยฯ ในอนาคต จึงไม่ได้เป็นแรงหนุนต่อตลาดหุ้นในภาพรวม แต่มองเป็นบวกต่อหุ้นกลุ่ม ธ.พ.ที่แรงกดดันจาก NIM ช้าลง โดยชอบ TTB KTB
ด้านประเด็นการเมืองวานนี้ศาลรัฐรรมนูญพิจารณาคดียุบพรรคก้าวไกลและคุณสมบัตินายกฯ ซึ่งได้มีการขอหลักฐานเพิ่มเติมและจะกลับมาพิจารณาทั้ง 2 คดีใหม่ในวันที่ 18 มิ.ย. ต่อไป ระยะสั้นไม่ได้สร้างแรงกดดันเพิ่มแต่จะเป็นการขยาย Overhang ออกไป กลยุทธ์เลือกหุ้นปัจจัยบวกเฉพาะ GULF TTB
Market Summary
SET Index บวก 0.6 จุด โดยหุ้นที่กลุ่มที่ Outperform ตลาดคือกลุ่มอิเล็คทรอนิกส์ 4.5% กลุ่ม ICT จาก TRUE 2.4% และ INTUCH 2% และกลุ่มขายสินค้า IT อย่าง COM7 +3% SYNEX +1.7% ได้ Sentiment บวกตามราคาหุ้น APPLE ที่ได้เตรียมนำ AI Function มาใช้ในมือถือรุ่นถัดไป ส่วนกลุ่มที่ Underperform คือกลุ่มไฟแนนซ์ -2.4% จากผลการประชุม กนง. ที่ไม่ส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงิน กดดัน MTC-2.3% TIDLOR -3% และกลุ่มปิโตรฯ -2.3%
ATO Daily Stock Picks
แนะนำ GULF TTB
TTB Earnings โตดี
มีปันผลสูงรองรับ
ทิศทางกำไร 2Q67 เราคาดว่ามีโอกาสที่จะขยายตัวได้ต่อ QoQ และ YoY ส่วนกำไรทั้งปีเราคาดเติบโต 11% สูงกว่ากลุ่มที่คาดโต 5.6% โดยจุดที่เป็นข้อได้เปรียบของ TTB เหนือกลุ่ม คือเรื่องผลประโยชน์ทางภาษี ที่จะเป็นตัวช่วยบริหารผลประกอบการในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษีปัจจุบันเหลืออยู่ราว 1.4 หมื่นล้านบาท
ในมุม Valuation ซื้อขายบน PBV67E ที่ 0.7 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี จึง ถือเป็นระดับที่ไม่แพง แถมยังจ่าย Dividend Yield สูงที่ 7.6% ต่อปี
ระยะสั้นเราเชื่อว่าจะได้ Sentiment หลังผลการประชุม กนง. วานนี้ไม่ได้มีการส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ยฯ ทำให้ดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีสูงกว่า หลายฝ่ายคาดช่วยลดแรงกดดันจาก NIM ที่อ่อนตัว
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 2.00 บาท
GULF ถึงจุดสะสม
การเปิดรับฟังแผน PDP 2024 ฉบับใหม่โดยมีการเพิ่มกำลังการผลิต RE ในจำนวนมากถึง 68 GW หรือคิดเป็น 5.2 GW ต่อปี ส่งผลต่อการประมูลหรือจัดสรรกำลังการผลิตเป็นจำนวนมากต่อปีหากเริ่มมีการบังคับใช้
เรามองเป็นบวกต่อ GULF ที่มีโอกาสชนะประมูลเนื่องจากประวัติการประมูลที่ประสบความสำเร็จสูง และระยะสั้นได้ Sentiment บวกหนุนคือ เงินบาทที่กลับมาแข็งค่าและ U.S. Bond Yield ที่ปรับลง หลัง FED ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยฯ ในปีนี้และเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน พ.ค. ที่ปรับขึ้นต่ำกว่าตลาดคาด
ขณะที่การเติบโตกำไรบริษัทฯ ปี 67 เราคาดขยายตัว 13% เท่าขณะที่ในมุม Valuation ซื้อขายบน PER67E ที่ 26.9 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5ปี -1.5 S.D. จึงมองเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าสะสม
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 57.00 บาท
KEY FACTOR
เงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน พ.ค. +3.3% YoY และ ไม่เปลี่ยนแปลง MoM(ต่ำกว่าที่ Consensus คาดไว้ที่ +3.4%YoY และ +0.1%MoM) เช่นเดียวกับเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) +3.4% YoY และ +0.2% MoM (ต่ำกว่าคาดที่ +3.5%YoY และ +0.3%MoM) ถือเป็นสัญญาณบวกต่อมุมมองดอกเบี้ย
แต่อย่างไรก็ตามในการประชุม FOMC เดือน มิ.ย. Fed คงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25% - 5.50% ตามที่ตลาดคาด ในขณะที่การส่งสัญญาณนโยบายการเงินระยะยาวผ่าน Dot Plot บ่งชี้โอกาสการลดดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้ง ในปีนี้
ส่วนปัจจัยในประเทศ กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 คงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.5% ตามคาด แต่จำนวนเสียงเห็นควรว่าให้ลดดอกเบี้ยลดลงเหลือเพียง 1 เสียง ผสานกับการปรับคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจที่แม้จะคาด GDP เท่าเดิม แต่อุปสงค์ในประเทศ (การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาครัฐ) มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีขึ้น ยิ่งตอกย้ำโอกาสการคงดอกเบี้ยนานกว่าเดิม
Eyes on
13 มิ.ย. ดัชนี PPI ของสหรัฐฯ เดือน พ.ค., ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของ Eurozone
14 มิ.ย. ตัวเลขนำเข้าส่งออกของสหรัฐฯ เดือน พ.ค.
นักกลยุทธ์ : ธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์, ชาญชัย พันทาธนากิจ