"Selective Play"
KSS Daily Strategy : คาด SET วันนี้ "Rebound" ต้าน 1322/1325 จุด รับ 1311/1307 จุด ดัชนี S&P500 ทำจุดสูงสุดใหม่เป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน กลุ่มเทคฯ นำ แม้ Dot Plot การประชุม Fed เป็น "Neutral Hold" ปรับมุมมองลดดอกเบี้ยเหลือ 1 ครั้งในปี 2024 (เดิม 3 ครั้ง) แต่คะแนนเสียงไม่เป็นเอกฉันท์ (8 ท่านมองปรับลด 2 ครั้ง) ขณะที่ปรับเพิ่มระดับการลดในปี 2025 เป็น 4 จาก 3 ครั้ง ผสาน เงินเฟ้อ Core CPI +0.2%m-m ต่ำกว่าคาด หนุน Yield 10ปี ลดลงใกล้หลุด 4.3% จากจุดสูงสุดรอบนี้ที่ 4.73% ผสาน Fed คงมุมมองเศรษฐกิจ Soft landing KSS ประเมินเป็นบวกสินทรัพย์เสี่ยงระยะกลาง ส่วนภายใน กนง. มีมติ คงดอกเบี้ย+คาดการณ์ GDP ปี 24-25 ที่ 2.6% และ 3% เป็นภาพบวก สวน Consensus ที่ปรับ GDP ลงในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนความเชื่อมั่นของ BOT อย่างไรก็ตาม ตลาดยังฟื้นตัวได้จำกัด จนกว่าการเมืองภายในจะคลายลง วันนี้มองหุ้นเด่น คือ กลุ่ม Yield พีค รอบนี้หนุน หุ้นเกาะกระแส Direct PPA หุ้นโรงกลั่น (ค่าการกลั่นฟื้นสู่ 4 เหรียญฯ) วันนี้แนะนำ TOP, GULF, KLINIQ
Daily outlook: "Sideways" ต้าน 1325/1330 จุด รับ 1313/1307 จุด
What happened around the world ?
• (*) US Stocks : ตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นมีปัจจัยหนุนจากเงินเฟ้อสหรัฐออกมาดีกว่าคาด แม้ Dow jones -0.09% (หลักถูกกดดันจาก Chevron -1.45%, Nike -2.2%), S&P500 +0.85%ทำ All Time High Nasdaq +1.54%ทำ All Time High โดยดัชนี S&P Sector ที่ปรับขึ้นหลักคือกลุ่ม high growth กลุ่ม IT, Industrial, Consumer discretionary โดย Sector ที่ปรับลงหลักๆ คือ Value กลุ่ม Commodity หลักๆคือ กลุ่ม Energy(Valero Energy -3.4%) , Consumer staple ฯลฯ โดยหุ้นที่ปรับขึ้นเด่นๆคือ NVIDIA +3.5%, Oracle +13% Apple +2.86%
•(+) US CPI : เงินเฟ้อทั่วไป(CPI) สหรัฐฯเดือน พ.ค. เพิ่มในอัตราที่ชะลอลงติดต่อกัน 2 เดือน +3.3%y-y ดีกว่าคาดที่ +3.4%y-y (+0%m-m ดีกว่าตลาดคาด +0.1%) และเงินเฟ้อฟื้นฐาน(Core CPI) +3.4%y-yดีกว่าคาดที่ +3.5%y-y v (+0.2%m-m ดีกว่าตลาดคาด 0.3%) หลักๆเงินเฟ้อในเดือนนี้ หมวดที่ปรับตัวลงได้แก่ ค่าเดินทางเครื่องบิน รถยนต์มือหนึ่ง สื่อสาร เสื้อผ้า แต่ หมวดที่ปรับตัวขึ้นได้แก่ ที่อยู่อาศัย ค่ารักษาพยาบาล รถมือสอง และการศึกษา KSS ประเมิน Headline และ Core CPI ลดลงทั้ง y-y และ m-m เป็นสัญญาณบวกและเพิ่มโอกาสให้เฟดปรับลดดอกเบี้ยในช่วง 2H24
• (*) Fed Meeting Result : ผลประชุม Fed เป็นไปตามคาด(Inline) คือยังคงอัตราดอกเบี้ยฯที่ 5.25-5.5% ตามเดิม, สิ่งที่ตลาดให้น้ำหนักคือ 1.) Fed Dot Plot เปลี่ยนแปลง โดยมองเป็นโทน Neutral Hold กล่าวคือ ในปี 2024 เหลือลดดอกเบี้ย 1 ครั้ง(จากเดิมคาดลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง) KSS มอง Sligthly negative กว่าคาด แต่ตลาดไม่ได้ตอบรับเชิงลบมากเพราะ คณะกรรมการในการลดดอกเบี้ย 1 หรือ 2 ครั้งค่อนข้างสูสี มาก (2 ครั้งมีถึง 8 คน) และปี 2025 คาดลดดอกเบี้ยเป็น 4 ครั้ง ดีขึ้นจากคาดการณ์รอบก่อนที่คาดจะลด 3 ครั้ง) 2.) GDP คงคาดการณ์ ปี 2024-2026 เท่าเดิม 3.)อัตราการว่างงาน คาดปี 2024 ที่ 4% เท่าเดิม แต่ปรับปี 2025 และ 2026 ขึ้น 10 bps 3.)Core PCE คาดปี 2024 และ 2025 ขึ้น แต่มองว่าเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายที่ 2% ในปี 2026 ตามเดิม
•(+) Prob rate cute: CME Fed watch tool ตลาดกลับมาคาดปี 2024 Fed จะลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง โดยคาดโอกาสลดครั้งแรกคือ การประชุม รอบ ก.ย. ด้วยโอกาส 56.5% และ รอบที่ 2 คือรอบ ธ.ค.24 ด้วยโอกาส 42.3%
•(-) Trade war: EU จะเรียกเก็บภาษีนำเข้า EV จากจีนเป็นการชั่วคราว สูงสุด 25% จากเดิม 10% เริ่ม ก.ค. 2024 KSS ประเมินหาก EU เก็บภาษีจีนฝ่ายเดียวจะเป็นบวกต่อกลุ่ม อิเล็กฯไทยแต่หากจีนตอบโต้คล้ายข่าวเดิมที่เกิดขึ้น 22 พ.ค. 2024 คือขึ้นภาษีรถยนต์ที่มี cc >2500 จาก EU, US และ Japan จะกระทบ Sentiment กลุ่มอิเล็กฯ ของไทยโดยเฉพาะ KCE ซึ่งมีลูกค้า End user เป็นกลุ่ม Auto ในยุโรป และสหรัฐในสัดส่วนสูง แต่จะเป็นจิตวิทยาบวกต่อหุ้นในกลุ่มนิคมฯ จากการย้ายฐานการผลิตเพื่อหลีกเลี่ยง Trade war ที่จะรุนแรงขึ้นในอนาคต Top Pick เน้น WHA
*(-) China Econ : เงินเฟ้อจีนเดือน พ.ค. ทรงตัวที่ระดับ 0.3%y-y ต่ำกว่าที่ Consensus คาดที่ 0.4% และ -0.1%m-m ต่ำคาดที่ 0%สะท้อนการบริโภคในประเทศของจีนยังไม่ฟื้นตัวทั่วถึง แต่แนวโน้มคาดจะดีขึ้นและคาดเศรษฐกิจจีนผ่านจุดต่ำสุด KSS คงมุมมองบวกต่อตลาดหุ้นจีน คำแนะนำ "Slightly Overweight " โดยยังคาดหวังเชิงบวกจากการประชุม Politburo) จะเกิดขึ้นช่วง ก.ค.24 (คาดจะมีปัจจัยบวก 3 เรื่อง 1.) การผ่อนคลายความเข้มงวดกฎระเบียบจากรัฐบาล 2.) มาตรการ Stimulus สินค้าคงทุน อุปโภคบริโภค ฯลฯ 3.)การผ่อนคลายภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม มองเป็นจิตวิทยาบวกต่อหุ้นอิงเศรษฐกิจจีน เน้น HANA, SCGP
• (*) To monitor : ติดตาม14 มิ.ย: ญี่ปุ่น BoJ Meeting คาดคงดอกเบี้ยแต่จะปรับลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรจาก 6 ล้านล้านเยน เหลือ 5 ล้านล้านเยน
• (*) US Bond & Dollar : แนวโน้มระยะสั้นปรับลงแรงรับตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐที่ออกมาดีกว่าคาด และผลประชุม Fed อายุ 10 ปี ปรับลง -7 bps อยู่ที่ 4.31% เช่นเดียวกับ 2 ปี ปรับลง -8 bps อยู่ที่ 4.75% มองเป็นจิตวิทยายขณะที่บวกต่อหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง อาทิ กลุ่มชิ้นส่วน กลุ่มการเงิน กลุ่มโรงไฟฟ้า ขณะที่ Dollar Index อ่อนค่าแรงลงมา 104.2+/- จุด
• (*/+) Oil : ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวต่อ Brent +0.83%d-d ปิดที่ US$ 82.6/barrel น้ำมันดิบ West Texas +0.77%d-d ปิดที่ US$ 78.5/barrelแรงหนุนจาก Dollar ที่อ่อนค่าแรงจากเงินมองเฟ้อที่ดีกว่าคาด มองเป็นจิตวิทยาบวกต่อ SET และหุ้นพลังงานต้นน้ำ อาทิ PTT, PTTEP
What happened in Thailand ?
• (*/-) SET: ตลาดหุ้นไทยวันทำการล่าสุด เคลื่อนไหวกรอบแคบ ก่อนปิดบวกได้ +0.59 จุด หรือ +0.04% ปิดที่ 1316 จุด ส่วนประเด็นภายในคดีการเมืองความเสี่ยงการเมืองยังมีความไม่แน่นอนไปถึงปลายเดือน มิ.ย. กลุ่มหนุน คือ ชิ้นส่วน (HANA, KCE) โมเมนตัมบวกหนุนต่อเนื่อง ทั้งจิตวิทยาบวก Apple ปรับตัวขึ้นเด่น ขณะที่ช่วงบ่าย BOT ยังตอกย้ำเป็นอุตสาหกรรมในภาคผลิตที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีกว่าที่มองไว้เดิม กลุ่มธนาคาร (BBL, KBANK) หนุนจาก BOT คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% ลดความกังวล Downside ประมาณการตลาด กลุ่มถ่วง คือ กลุ่มขนส่ง (AOT, BTS) AOT เป็นแรงกดดันกรณีที่มีกระแสข่าวอาจต้องรับโอนสนามบินภูมิภาครัฐฯทั้งกลุ่มที่มีกำไรและขาดทุน ซึ่งอาจสร้าง Downside กำไรระยะสั้น BTS จิตวิทยากรณีคดีศาลปกครองสูงสุดยกฟ้องรถไฟฟ้าสายสีส้ม กลุ่มโรงไฟฟ้า (EA) Tris ปรับลดความน่าเชื่อถือลงหุ้นกู้สู่ A- จากเดิม BBB+• (*) Flow : เงินทุนต่างประเทศไหลออก ขายหุ้น -49.5 ล้านเหรียญฯ ขายพันธบัตร -36.67 ล้านเหรียญฯ TFEX Net Long 1,612 สัญญา เงินบาทแข็งค่าเล็กน้อย 36.65+/- บาท
• (*/+) MPC Meeting: เรามองเป็นกลางถึงบวกเล็กน้อยต่อผลประชุม กนง.
แม้คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% โดยมองเงินเฟ้อช่วงที่เหลือมีโอกาสเร่งสู่เป้าหมายช่วง 4Q24 แต่ทั้งนี้ เราประเมินน่าจะอยู่บนสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบ BOT กำหนดในปี 2024F ที่ 84 เหรียญฯ หากเทียบราคาน้ำมันดิบระยะหลังที่อ่อนตัวลง และ YTD อยู่ที่ระดับ 81.8 เหรียญฯ กับปัจจุบันที่ 81 เหรียญฯ เท่ากับ ราคาน้ำมันช่วงที่เหลือของปีจะต้องเร่งขึ้น ซึ่งท้าทายจากภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เริ่มอ่อนลง เชิงกลยุทธ์ เราจึงแนะนำจับตาทิศทางเงินเฟ้อช่วงที่เหลือของปี หากเร่งน้อยกว่า BOT ประเมิน มองจะสร้าง Upside การปรับลดดอกเบี้ยราว 1 ครั้ง
คงเป้าหมาย GDP ปี 24-25 ที่ 2.6% และ 3.0% บ่งชี้ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดและฟื้นตัวเร่งกว่าตลาดส่วนใหญ่ประเมินในปัจจุบัน โดย BOT มองแรงขับเคลื่อนทางบวกจาก
ภาคท่องเที่ยว+บริการ บวกต่อ AOT, MINT, CPALL
ภาคผลิตที่เดินหน้าได้เด่นกว่าคาดในกลุ่มชิ้นส่วน บวกต่อ KCE, HANA
กลุ่มงบลงทุนรัฐฯจะเบิกจ่ายเร่งมากในช่วงที่เหลือของปี บวกต่อ CK, INSET, BE8
กลุ่มสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ขยายตัวเด่น BBL, KTB
ภายใต้กรอบ SET ที่ถูกกดดันจากความไม่ชัดเจนการเมืองในปัจจุบัน และสะท้อนมาพอสมควรจนอยู่ในโซนลงทุน เชื่อว่าหากเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น โดยเชื่อว่าหุ้นในกลุ่ม BOT มองบวกแรงขับเคลื่อนการฟื้นตัวของ GDP โดยเฉพาหุ้นที่กลุ่ม Domestic Plays ดังกล่าว จะเป็นหุ้นชุดแรกๆ ที่ตลาดพร้อมกลับสถานะ หากสถานการณ์การเมืองชัดเจน
• (*/+) PDP: วานนี้มีการประชุม public hearing แผน PDP 2024โดย สัดส่วนเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ประกอบด้วย พลังงานสะอาด 51% ประกอบด้วย พลังงานแสงอาทิตย์ 16% พลังงานหมุนเวียนอื่นๆ 16% พลังน้ำต่างประเทศ 15% และอื่นๆ ส่วนก๊าซธรรมชาติ 41% ขณะที่ถ่านหินและลิกไนต์ 7% มองจิตวิทยาบวกต่อกลุ่มโรงไฟฟ้าจากโอกาสเพิ่มกำลังผลิตในอนาคต เน้น GULF ที่มีศักยภาพขยายตัว ทั้งนี้ เชิงพื้นฐานเรามองเป็นกลาง เนื่องจาก กำลังการผลิตใหม่ จะเริ่มขึ้นส่วนใหญ่ในปี 2574 จึงไม่มีความจำเป็นต้องรีบเปิดประมูล และผลตอบแทนโครงการ Renewable มีแนวโน้มลดลงในระยะยาว โดยให้น้ำหนักระยะสั้นที่จะมีการประมูลพลังงานหมุนเวียนรอบ 2 (3.7GW) อีกครั้งในช่วง 4Q24-1Q25 หากศาลปกครองมีคำตัดสินคดี พลังงานลม เสร็จสิ้น
• (*/+) Direct PPA: กระทรวงพลังงานเตรียมนำเสนอรายละเอียดโครงการ Direct PPA หรือ โครงการเอกชนซื้อไฟฟ้าสะอาดจากผู้ผลิตโดยตรง สัปดาห์หน้า มองรองรับการขยายตัว Data Center ต่างประเทศ เรามองโอกาสโรงไฟฟ้าโซล่าร์เกิดขึ้นง่ายกว่ารูปแบบอื่น บวกต่อหุ้นที่มีศักยภาพขยายตัวในส่วนดังกล่าวได้ อาทิ GULF GUNKUL นอกจากนี้ หุ้นอิงกระแส Data Center คาดได้ประโยชน์ภาพลงทุนจากต่างประเทศที่ราบรื่นขึ้น เน้น WHA, TRUE, INSET
• (*) TH Politic: สถานการณ์การเมืองในประเทศยังมีแนวโน้มเป็น Overhang ต่อตลาด จากความไม่แน่นอนที่ยังน่าจะลากยาวไปถึงปลายเดือน มิ.ย. 24 หลังข้อสรุปคดีสำคัญๆ การเมืองยังไม่มีความชัดเจนจากศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ
ศาลรัฐธรรมนูญ สั่ง กกต. ยื่นพยานหลักฐานคดียุบ "พรรคก้าวไกล" ภายใน 17 มิ.ย. และนัดพิจารณาครั้งต่อไป 18 มิ.ย.
ศาลรัฐธรรมนูญ สั่ง 40 ส.ว. และนายกฯ ยื่นบัญชีพยานหลักฐานปมแต่งตั้ง "พิชิต" ภายใน 17 มิ.ย. และนัดพิจารณาครั้งต่อไป 18 มิ.ย.
อย่างไรก็ดี เชิงกลยุทธ์ เราประเมินตลาดหุ้นไทย ได้ตอบรับความเสี่ยงนี้มาพอสมควร คาดกรอบ 1350-1300จุด ERP 3.55%-4%(+1SD) ยังเป็นกรอบ Value สำหรับซื้อลงทุน
Daily Strategy : TOP, GULF, KLINIQ เด่น
ระยะสั้น วันนี้มองภาพตลาด "Rebound" ประเด็นที่ตลาดรอหลักๆวานนี้ อาทิ ผลประชุม FOMC, เงินเฟ้อ CPI รวมถึงภายใน ผลประชุม กนง. และความคืบหน้าการเมือง (ไม่มีเพิ่มเติม) ไม่มีภาพสร้าง Downside เพิ่มเติม มองมีโอกาสตลาดจะรีบาวน์ได้บ้าง มองหุ้นนำ 1) กลุ่ม Peak Yield หนุน อาทิ เช่าซื้อ, High Growth, หนี้สูง, กลุ่มเทคโนโลยี (ชิ้นส่วน, Tech) 2) หุ้นเกาะกระแสรัฐฯผลักดัน Direct PPA หนุนการลงทุน Data Center ต่างประเทศเร่งขึ้น อาทิ GULF, GUNKUL, INSET, WHA, TRUE 3) หุ้น Defensive สื่อสาร, ร.พ.
หุ้นได้ประโยชน์ภาคผลิตโลกผ่านจุดต่ำสุด + เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวหนุนอุตสาหกรรมทยอยเข้าสู่ Upgrade Cycle (HANA, SCGP, IVL, GLOBAL, DOHOME)
กลุ่มภาคผลิตไทยฟื้นตัว y-y ครั้งแรกในรอบ 19 เดือนหนุน (GFPT, TU, OSP, CBG, SCGP, IVL, STA, NER)
หุ้นภาคบริการได้ประโยชน์มาตรการท่องเที่ยวชุดใหญ่ของรัฐฯ หนุน บริโภค ท่องเที่ยว โรงแรม ร.พ. (CPALL, BJC, ICHI, AOT, MINT, ERW)
กลุ่มได้ประโยชน์ที่วงจรดอกเบี้ยพลิกเป็นขาลงนับจากปี 2024 (GULF, GPSC, CPALL, TRUE, MINT, WARRIX, MTC, KLINIQ)
กลุ่มได้ประโยชน์ Microsoft ลงทุน Data Center ในไทย (ADVANC, TRUE, INSET, WHA)
กลุ่มได้ประโยชน์เทศกาลฟุตบอลยูโร 2024 (CPALL ADVANC TRUE MINT BJC HMPRO GLOBAL SAPPPE DOHOME OSP ICHI)
• JUNE24 Best Picks: MINT, GFPT, HANA, ICHI, OSP, BJC, MTC
• 2Q24Stock Picks : AOT, BJC, HANA, HMPRO, IVL, MINT, MTC, SCGP, TU Mid-Small Cap Play : OSP, WARRIX, SJWD, STEC
Tactical & Investment Idea
Research Highlight
• Strategy Update : SET50/100 Last Update
ทีมกลยุทธ์ได้คำนวณหุ้นเข้า/ออก SET50-SET100 สำหรับรอบ 2H24 ก่อนที่ตลาดจะประกาศการคัดเลือกหุ้นเข้าออกรอบนี้ในช่วงกลางเดือน มิ.ย. 2024 และมีผลเริ่มใช้ 1 ก.ค. 2024 ด้วยเกณฑ์การคัดเลือกล่าสุด โดยสำหรับผลการคำนวนครั้งนี้ใช้ข้อมูลตั้งแต่ 1 พ.ค. 2023 – 31 พ.ค. 2024 (ข้อมูลครบตามเกณฑ์คำนวณของตลาดฯ) ผลของการคาดการณ์น่าจะมีความใกล้เคียงสูง เราหวังว่าบทวิเคราะห์ฉบับนี้จะช่วยให้นักลงทุนเตรียมตัวสำหรับการลงทุนในดัชนี SET50 และ SET100 ล่วงหน้าได้ หุ้นเข้าและออกมีรายละเอียดดังนี้
• หุ้นที่คาดว่าจะเข้า SET50 รอบนี้มี 4 บริษัท คือ BJC (โอกาสเข้า 100%), BCP (โอกาสเข้า 90%), TIDLOR (โอกาสเข้า 90%) และ ITC (โอกาสเข้า 90%)
• หุ้นคาดว่าจะหลุด SET50 รอบนี้ 4 บริษัท คือ BANPU, (โอกาสหลุด 90%), SAWAD (โอกาสหลุด 90%), KCE (โอกาสหลุด 100%) และ COM7 (โอกาสหลุด 100%)
• หุ้นที่คาดเข้า SET100 รอบนี้มี 9 บริษัท คือ BJC, BA, MBK, CKP, JAS, QH, SKY, PRM, TIPH
• หุ้นที่คาดว่าจะหลุด SET100 รอบนี้ 9 บริษัท คือ AURA, BYD, FORTH, MOSHI, NEX, ORI, SNNP, THG, TKN
กลยุทธ์ แนะนำ เก็งกำไร BJC, BCP, ITC ที่จะเข้า SET50 ส่วน SET100 แนะนำเก็งกำไร BA, CKP
• Strategy Update : EURO 2024 Plays
Fact : มหกรรมฟุตบอลยูโร หนึ่งในรายการฟุตบอลนานาชาติที่จุดทุกๆ 4 ปี ที่ชาวไทยเฝ้าติดตามสูงสุด จะเริ่มต้นอีกครั้ง กลาง มิ.ย. 2024 นี้ โดยทุกๆทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลระดับโลก เม็ดเงินจับจ่ายใช้สอยจะเร่งขึ้นสูงถึงระดับ 1.5-1.8 หมื่นล้านบาท นับว่ามีนัยสำคัญ เทียบกับช่วงเวลามหกรรมที่สั้นราว 1 เดือน โดยมีสินค้าหลักที่ความต้องการพุ่งสูงขึ้นช่วงเวลา ได้แก่ อาหาร+เครื่องดื่ม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์กีฬา
Analysis จากการผลการศึกษาผลการเคลิ่นไหวอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกลุ่มสินค้าดังกล่าวในช่วงเวลาที่มีเทศกาลเกิดขึ้นย้อนหลัง 5 ครั้ง กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากกำลังซื้ออุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นในช่วงมหกรรมดังกล่าว อาทิ สื่อสาร โรงแรม ค้าปลีก และอาหาร ให้ผลตอบแทน 7.2% 6.3% 4.5% และ 1.8% ในช่วงฟุตบอลยูโร 3 รอบ (ไม่รวมรอบที่มี Market Risk ในปี 2008 (Subprime Crisis) และ 2021 (COVID-19)) ขณะที่พบว่ากลุ่มอาหารระยะหลังที่ทยอยมีหุ้นเครื่องดื่มเข้ามาจดทะเบียนมากขึ้น แม้ในช่วงปี 2021 ที่ตลาดมีปัจจัยเสี่ยง Market Risk ยังสามารถให้ผลตอบแทนชนะตลาดได้ที่ +1.0% vs SET -5.3%
Strategy : เชิงกลยุทธ์ พบว่า หุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวที่มักให้ผลตอบแทนเด่นชนะตลาดในช่วงเวลาที่มีเทศกาลฟุตบอลยูโรเฉลี่ย 15.3%-2.7% ถือเป็นชุดหุ้นที่มีความน่าสนใจและเหมาะกับการเก็งกำไรในรอบตลาดปัจจุบันที่กำลังตั้งฐานฟื้นตัว ได้แก่ CPALL(TP-80) ADVANC(TP-275) TRUE (TP-10.3) MINT (TP-42) BJC (TP-33) HMPRO (TP-15) GLOBAL (TP-17.6) SAPPPE(TP-125) DOHOME (TP-12.3) OSP(TP-26) ICHI(TP-22)
• Strategy Update : FTSE Rebalance
FTSE ประกาศรายชื่อหุ้นชุดใหม่จะมีผล Rebalance ในราคาปิด วันที่ 21 มิ.ย.2024FTSE ALL World Index(Large + Mid Cap) วัน Rebalance เป็นการเพิ่มน้ำหนักหุ้นไทย คิดเป็นเม็ดเงินราว +50 ล้านเหรียญฯโดยหลักๆ เป็นการเพิ่มน้ำหนัก SAWAD BGRIM, CPF ,MINT เฉลี่ยราว +20 ถึง +10 ล้านเหรียญฯ ขณะที่หุ้นเข้า – ออก ในส่วนต่างๆ ดัชนี สรุปได้ดังนี้
o FTSE Large Cap : ไม่มีหุ้นเข้าและหุ้นออก
o FTSE Mid Cap : ไม่มีหุ้นเข้าและหุ้นออก
o FTSE Small Cap : ไม่มีหุ้นเข้าและหุ้นออก
o FTSE Micro Cap : หุ้นเข้า SAFE, TAN หุ้นออก : ไม่มี
• Strategy Update : Data Center
• กระแสลงทุน Data Center ในไทยกำลังเร่งขึ้น อย่างเป็นรูปธรรม มีสัญญาณบ่งชี้จาก 1) WHA มีโอกาสสูงเซ็นสัญญาขายที่ดินขนาด 400-500 ไร่ให้กับผู้ประกอบการ Data Center ระดับโลกกลางปี 2024 นี้ 2) เริ่มผู้ประกอบการ Data Center ที่เคยลงทุนในประเทศไทยไปแล้วติดต่อผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า วางแผนร่วมกันถึงกำลังผลิตไฟฟ้าที่ต้องการสำหรับแผนขยายการลงทุนเพิ่มเติมระดับ 100+ MW
• การลงทุนดังกล่าว เรามองบวกต่อการสร้าง S Curve ใหม่ๆต่อเศรษฐกิจไทยที่ชัดเจนขึ้น อิงขนาดที่ดินที่มีโอกาสขายขนาดใหญ่ WHA บ่งชี้ทิศทางผู้ประกอบการต่างชาติน่าจะมองไทยหนึ่งในศูนย์กลางData Center ของภูมิภาค
• KSS ประเมินทิศทางจะเปิด Upside ของหุ้นกลุ่มต่างๆ ดังนี้ 1) กลุ่มนิคม จากโอกาสขายที่ดิน 2) กลุ่มโรงไฟฟ้า จากโอกาสต่อยอด Upside กำลังผลิตเพิ่มเติม โดยเฉพาะกลุ่มที่เน้นพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น 3) กลุ่มผู้ให้บริการโทรคมนาคม ที่มักเป็นกลุ่มช่วยให้ผู้ประกอบการระดับโลกเช่าใช้ Data Center ที่มีเพื่ออำนวยความสะดวกธุรกิจช่วงเริ่มต้น + โอกาสเติบโตจากการผลักดันมีการใช้งานข้อมูลเพิ่มขึ้นระยะกลาง-ยาว 4) กลุ่มผู้รับเหมา ICT ที่มีศักยภาพสร้าง Data Center 5) กลุ่ม Digital Tech จากมุมมองเชิงบวกต่อภาพ Digital Transformation ระยะยาว เชิงกลยุทธ์หากประกอบภาพพื้นฐานหุ้นระยะสั้น ให้เน้น WHA(TP-6) GULF(TP-45.5) TRUE(TP-10.3) INSET(TP-3.2)
• KLINIQ (Buy, TP24-49, TP25-60): KLINIQ ประกอบธุรกิจให้บริการด้านผิวหนัง ศัลยกรรมตกแต่งความงาม และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม 1Q24 มีสาขาทั้งหมด 65 สาขา ทั่วประเทศไทย แบ่งเป็น แบรนด์ "THE KLINIQUE" 43 สาขา "L.A.B. X" 19 สาขา "L'CLINIC" 1 สาขา "THE KLINIQUE SURGERY CENTER" 1 สาขา "KLINIQ Medspa" 1 สาขา โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านความงามและศัลยกรรมตกแต่ง และวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ทันสมัย ซึ่งการที่เครือ KLINIQ มีแบรนด์ที่หลากหลาย ก่อให้เกิดประโยชน์ในหลายมิติ ทั้งทางตรงจากการขยายฐานลูกค้า และทางอ้อมจาก synergy ต่างๆ เช่น การ cross sell ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น แม้ธุรกิจความงามจะเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันที่สูง แต่เครือ KLINIQ ถือเป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง ด้วยอัตราการเติบโตในปี 2023 ที่ 40% สูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มคลินิกเวชกรรมที่มีหลายสาขา ด้านอัตรากำไรขั้นต้นที่ 54% ทำได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มฯที่ 46% ด้วยเช่นกัน ขณะที่ตลาดความงามยังเป็นตลาด fragmented โดยเบื้องต้นเราประเมินว่าส่วนแบ่งการตลาดของ KLINIQ อยู่เพียง 4% มีโอกาสเติบโตได้อีกในอนาคต อีกจุดเด่นของ KLINIQ เทียบกับบริษัทความงามอื่นๆที่จดทะเบียนในตลาด คือ มีการประกอบธุรกิจทั้งด้านคลินิกความงามและประสบความสำเร็จในการต่อยอดธุรกิจไปด้านศัลยกรรม (สัดส่วนรายได้ 14%) โดยรวมเราประเมินกำไรสุทธิปี 2024-26F เติบโตเฉลี่ย CAGR 22% ที่ 362 ลบ. (+25%y-y), 438 ลบ. (+21%y-y), และ 522 ลบ. (+19%y-y) ตามลำดับ ปัจจัยสนับสนุนหลักจาก i) จำนวนสาขาที่มากขึ้นคาดว่าจะเปิด 19/11/11 สาขา ตามลำดับ, SSSG ที่ 9%/5%/5% ตามลำดับ, และบริการใหม่ๆ ii) อัตราการเติบโตที่สูงของผู้ใช้บริการคลินิกศัลยกรรม THE KLINIQUE SURGERY CENTER อีกทั้งยังมี upside risk ที่ไม่รวมในประมาณการจากธุรกิจที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นอย่าง L'Clinic, KLINIQ Medspa ประกอบกับโอกาสลงทุนในธุรกิจด้านสุขภาพอื่นเพิ่มเติมในอนาคต ประเมินมูลค่าพื้นฐานของ KLINIQ ที TP24F 49 บาท อ้างอิง PER24F 30 เท่า แนะนำ "Buy" เรามองธุรกิจเวชกรรมความงามและศัลยกรรมมีความน่าสนใจจากอัตราการเติบโตที่อยู่ในระดับสูง อีกทั้งประเทศไทยยังมีความได้เปรียบจากการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ประกอบกับ KLINIQ เองยังมีการลงทุนขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องผ่านการขยายแบรนด์, เปิดสาขา, และแผนการสร้างโรงพยาบาลศัลยกรรม โดยเราคาดกำไรสุทธิ 2024-26F เติบโตเฉลี่ย 22% CAGR
• Property (Neutral): เราคาดประเด็น demand ของ Myanmar ที่อาจชะลอตัวในตลาด condo (ภายหลังที่รัฐบาลพม่าเข้ามาควบคุมการไหลออกของเงิน) น่าจะเป็น overhang ต่อกลุ่ม property ในระยะสั้น-กลาง อย่างไรก็ตามด้าน downside ต่อการโอน และประมาณการกำไรสุทธิกลุ่มฯ ปี 2024F คาดไม่มีนัยสำคัญ เพราะ backlog condo ที่ขายในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะโอนในปี 2025-26F เป็นต้นไป ทั้งนี้บริษัทที่มีสัดส่วนการขายให้ Myanmar สูงสุด 3 อันดับแรก คาดเป็น AP, ANAN และ SC ตามลำดับ จึงอาจมีแรงกดดันต่อราคาหุ้นในระยะสั้น ทั้งนี้เราคง Neutral sector rating โดยคาดกำไรปกติ 2024F กลุ่มฯ โตต่ำ y-y ในขณะที่ outlook 2Q-4Q24F ที่ไม่สดใส กดดันให้มีโอกาส downside ของ Norm. profit ได้อีก ทั้งมีแนะนำเพียง selective Buy ใน AP และ SIRI ตามลำดับ แต่อาจพิจาณาซื้อเมื่ออ่อนตัว เพราะระยะสั้นยังมีประเด็นเรื่อง demand ของ Myanmar ที่อาจชะลอตัวเป็นปัจจัยกดดัน
• AEONTS (Buy, TP180): เรามีมุมมอง Neutral ต่อกำไรสุทธิ 1Q25F คาดที่ 840 ลบ. เพิ่มขึ้น +36% y-y ลดลง -23% q-q ตามทิศทางของค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) จาก 4Q24 มีการปรับเปลี่ยนจำนวนวัน days past due เป็น 30 วัน จาก 28 วัน สำหรับสินเชื่อรวมลดลง -4.1% y-y และ -1.5% q-q คิดเป็น -1.5% YTD จากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ด้านคุณภาพสินทรัพย์ NPL Ratio คาดเพิ่มขึ้นที่ 5.30% จาก 4Q24 ที่ 4.97% ผลจากการปรับเพิ่มการจ่ายขั้นต่ำของบัตรเครดิตจาก 5% เป็น 8% ภาพรวม AEONTS i) เราคาดกำไรสุทธิปี FY2025F กลับมาเติบโต +20% y-y ii) ราคาหุ้น AEONTS ปรับลงมากประมาณ -15% YTD เรามองว่าสะท้อนปัจจัยเชิงลบด้านคุณภาพสินทรัพย์ไปมากแล้ว ดังนั้นเราปรับคำแนะนำเป็น BUY
• GFC (Buy, TP12.5): เราคงมุมมองบวกต่อ GFC หลังได้ update ข้อมูลกับบริษัท โดยผู้บริหารยังคงเป้าหมายรายได้ปี 24F และเปิด 2 สาขาใหม่ตามแผนต้น 3Q24F ส่วนประเด็นนโยบายจีนส่งเสริมมีบุตรกับรพ.รัฐบาล ไม่น่ากระทบกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัท ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อและไม่ต้องการรอคิวเพื่อเข้ารับบริการกับ รพ.รัฐบาล เราคงมุมมองบวกต่อปัจจัยพื้นฐาน GFC และไม่เห็นปัจจัยลบใหม่ โดยปีนี้คาดกำไรสุทธิ (35%y-y) เติบโตตามการใช้บริการเพิ่มขึ้นจากการขยายสาขา 2 แห่ง และมีโอกาสขยายตลาดลูกค้าต่างชาติ คงคำแนะนำ Buy สำหรับ GFC (TP24F ที่ 12.50)
2Q24F Equity Outlook : Entering into "Search of Yield", Standby for Asia & Thailand Recovery
Stock Best Picks : AOT, BJC, HANA, HMPRO, IVL, MINT, MTC, SCGP, TU
Mid-Small Cap Play : OSP, WARRIX, SJWD, STEC