รอดูดอกเบี้ย (ยุโรป) ลง
วันนี้จะมีการประชุม ECB ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาสู่ระดับ 4.25% เราประเมินว่าการขยับลงดอกเบี้ยของ ECB น่าจะมีโอกาสทำให้เห็นการปรับลดดอกเบี้ยของ FED เกิดได้เร็วขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำมาผสมรวมกับตัวเลขตลาดแรงงานที่ส่งสัญญาณอ่อนแอลงก็เป็นไปได้ที่จะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบเดือน ก.ย.67 สำหรับในบ้านเรา ประเมินจากท่าทีของ ธปท. ยังไม่เห็นสัญญาณของการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาส โดยจุดเปลี่ยนอาจมาจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือแม้กระทั่งภาวะการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกำลังเป็นกระแส สำหรับ SET INDEX หากดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางลงก็มีโอกาสที่จะเห็นเม็ดเงินไหลกลับเข้ามา กลยุทธ์ที่ใช้จึงเป็นการทยอยสะสมหุ้นถือลงทุนระยะยาวมูลค่าการซื้อขายที่เบาบางมีส่วนทำให้ SET INDEX ผันผวนได้ง่ายขึ้น แต่ก็ยังมีความหวังว่าจะรักษาฐานแนวรับ 1330 จุดไว้ได้ ส่วนแนวต้านวันนี้
กำหนดที่ 1347 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BEM, CPALLและTIDLOR
ถึงเวลาวัฏจักรดอกเบี้ยขาลง !!!
อัตราเงินเฟ้อของหลายๆ ประเทศ เฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ชะลอตัวลงด้วยอัตราเร่งที่ค่อนข้างชันในช่วง 8-9 เดือน และค่อยๆ ทยอยปรับตัวลดลงเข้าใกล้กรอบเป้าหมาย ถือเป็นปัจจัยสำคัญหนุนให้ธนาคารกลางต่างๆ มีแนวโน้มดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายมากขึ้น โดยล่าสุด วานนี้ธนาคารกลางแคนาดา (BOC)ประกาศปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกรอบ 4 ปีจากระดับ 5.0% เหลือ 4.75% หลังเงินเฟ้อชะลอตัว (เดือน เม.ย. +2.7%YOY)
ขณะที่การประชุมนโยบายการเงินยุโรปในวันนี้ (6 มิ.ย. 67) เวลา 19.15 น.CONSENSUS คาดว่าจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 4.25%
สอดคล้องกับการส่งสัญญาณจากสมาชิกคณะกรรมการ ECB หลายรายในช่วงที่ผ่านมา หากข้อมูลค่าจ้างและเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ในปัจจุบัน ส่วนธนาคารกลางอื่นๆ อาจจะยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในการประชุมรอบเดือน มิ.ย. 67จุดเริ่มต้องการลดดอกเบี้ยของ ECB แซงหน้า FED จะทำให้อัตราดอกเบี้ยที่จริงของสหรัฐฯ สูงกว่ายุโรป อาจมีผลต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
อย่างไรก็ตาม หาก FED เริ่มปรับลดดอกเบี้ยในช่วงเดือน ก.ย. หรือ พ.ย. 67 เชื่อว่าจะลดแรงกดดันจาก DOLLAR แข็งค่าขึ้นได้ ซึ่งน่าจะหนุนให้เงินบาทชะลอการอ่อนค่าและทำให้การตรึงดอกเบี้ยไทยไว้ที่ 2.5% อาจมีข้อจำกัดน้อยลง นอกจากนี้ทิศทางการปรับลดดอกเบี้ยไทยอาจมีโอกาสมากขึ้น หากมีมาตรการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งประธานบอร์ด ธปท. คนใหม่ แทนคุณปรเมธีที่จะหมดวาระ ก.ย. 67
3 กลุ่มหุ้นไทยมักรีบาวน์รับกระแสดอกเบี้ยขาลง
ด้วยความคาดหวังของตลาดฯ ว่าดอกเบี้ยทั่วโลกเริ่มเข้าสู่ทิศทางขาลงอย่างแท้จริง(รายละเอียดเพิ่มอยู่ในหัวข้อข้างบน) ทั้ง ECB BOE และ FED ซึ่งสอดคล้องกับจึงทำให้วานนี้ BOND YIELD สหรัฐฯปรับตัวลงแรงทุกช่วงอายุ อาทิ ช่วงอายุ 2 ปี –1% อยู่ระดับ 4.72%,5 ปี-1.2% อยู่ระดับ 4.29%, 10 ปี-1.2% อยู่ระดับ 4.28%ขณะที่หากพิจารณาในมุมของค่าเงินบาท จะเห็นได้ว่าในภาวะปกติแล้ว ค่าเงินบาทมักจะแข็งค่าในช่วงที่ FED ทยอยลดดอกเบี้ย สังเกตได้จากช่วงปลายปี 2018 ถึงปลายปี 2020 FED ลดดอกเบี้ย จาก 2.5% เหลือ 0.25% ค่าเงินบาทก็แข็งค่าขึ้นจาก32.5 บาท/เหรียญ เหลือ 30.0 บาท/เหรียญ เป็นต้น
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ฝ่ายวิจัยฯ คาดการณ์ว่ามีอยู่ 3 กลุ่มที่มักรีบาวน์ประจำ และราคาหุ้นยัง LAGGARD SET อยู่มาก ดังนี้
▪ หุ้น TECH ในไทย(ฟื้นตัวตาม NASDAQ) และเช้านี้ตลาดหุ้นไต้หวัน +2%อาทิ DELTA KCE HANA
▪ หุ้นได้ประโยชน์บาทแข็งค่า GULF BGRIM GPSC
▪ หุ้นรับวัฎจักรดอกเบี้ยขาลง MTC SAWAD TIDLOR JMT
ดังนั้น ในยามที่ตลาดหุ้นทั่วโลกสดใสเช่นนี้ตามความคาดหวังว่าธนาคารกลางต่างๆจะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น คาดหวัง SET INDEX ได้รับSENTIMENT เชิงบวกเช่นกันในวันนี้ โดยคาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ระดับ 1330 -1347 จุด ส่วนกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ฝ่ายวิจัยฯ คาดการณ์ว่ามีอยู่ 3 กลุ่มที่มักรีบาวน์ประจำ คือ 1.หุ้น TECH ในไทย 2.หุ้นได้ประโยชน์บาทแข็ง 3.หุ้นรับวัฎจักรดอกเบี้ยขาลงเห็นสัญญาณเล็กๆ ว่า SET มีโอกาสรีบาวน์
SET INDEX ถูกต่างชาติขายมา 10 วันติด มูลค่ากว่า 1.9 หมื่นล้านบาท กดดันหุ้นย่อตัวลงมาแล้ว 41 จุด อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นสัญญาณว่ามีแรงขายออกมามากเกินไป (OVERSOLD) จากสัญญาณทางเทคนิคดังนี้
▪ SET INDEX ย่อตัวลงมาจนสัญญาณทางเทคนิค RSI ลดเหลือ 33 หรือเข้าใกล้เขต OVERSOLD (RSI < 30) และในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เคยเกิด
เหตุการณ์นี้ถึง 3 ครั้ง แล้ว SET INDEX มีการรีบาวน์กลับขึ้นมาทุกครั้ง โดยเฉลี่ยๆ ขึ้นได้ประมาณ 60 จุด
▪ ปัจจุบันหากเข้าไปดูสัญญาณ RSI รายตัว พบว่า มีจำนวนหุ้นทั้งหมดในตลาดเข้าเขต OVERSOLD (RSI < 30) สูงกว่า 13%และปกติเวลาจำนวนหุ้น
มี RSI เข้าเขต OVERSOLD เกิน 13% มักจะรีบาวน์กลับขึ้นมาบ้างในระยะถัดมา
นอกจากปัจจัยทางเทคนิคแล้ว ฝ่ายวิจัยฯ ยังเห็นแรงกดดันที่จะทำให้ FUND FLOWไหลออกลดลง ดังนี้
▪ ต่างชาติขายหุ้นไทยน้อยลง โดยวานนี้เหลือมูลค่าขายเพียง -121 ล้านบาท(ก่อนหน้าขายเกินวันละ 1 พันล้านบาท)
▪ แรงกดดันจากกาปรับพอร์ตตามดัชนี MSCI จบลง ในช่วงที่ผ่านมา MSCI มีการลดน้ำหนักหุ้นไทย โดยมีหุ้นใหญ่ที่หลุดจากดัชนี อย่าง BTS LH MTCเป็นต้น กดดัน FUND FLOW จากกองทุนต่างประเทศไหลออกต่อเนื่อง ถึงปลายเดือน พ.ค. และยังมีควันหลงปรับพอร์ตตามต่อในช่วงต้นเดือน มิ.ย.เล็กน้อย เนื่องด้วยมูลค่าซื้อขายหุ้นไทยค่อนข้างเบาบาง แต่การปรับพอร์ตน่าจะเสร็จสิ้นแล้ว สะท้อนได้จากทั้ง 3 หุ้น รีบาวน์กลับขึ้นมาในวานนี้ BTS+8.7%, LH +2.4%, MTC +3.5%
▪ BOND YIELD ในหลายๆ ประเทศช่วงนี้ลดลงเร็ว ปกติจะเห็นเม็ดเงินทยอยหนุนสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มเติม โดยเฉพาะหุ้นเทคฯ, หุ้นโรงไฟฟ้า และหุ้นการเงินเป็นต้นความคาดหวัง SET มีโอกาสรีบาวน์เล็กๆ หลังตอบรับแรงกดดันความไม่แน่นอนทางการเมืองมานานระดับหนึ่ง แนะนำทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานขนาดใหญ่ ADVANC,GULF, TU, MTC, BBL และหุ้นกำไรดี SNNP, SJWD
ถึงเวลาเข้าสะสมหุ้นกลุ่มอสังหาฯ แล้วหรือยัง ???
ท่ามกลางปัจจัยลบทั้งภาวะเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวไม่ทั่วถึง, อัตราดอกเบี้ยไทยและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ความสามารถของผู้กู้ซื้อที่อยู่อาศัยลดลง ประกอบกับการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ นำไปสู่อัตราการถูกปฏิเสธสินเชื่อสูงขึ้น ไม่เฉพาะในกลุ่มบ้านระดับกลาง-ล่าง ยังเริ่มลามไปถึงบ้านระดับกลางบน ส่งผลให้กำไรปกติของผู้ประกอบการ 15 รายในกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ฝ่ายวิจัยรวบรวมข้อมูลงวด 1Q67 ทำได้เพียง 5.65 พันล้านบาท ลดลงในอัตราเดียวกันเฉลี่ย34% YOY และ QOQ
จากภาพรวมที่ยังต้องเฝ้าระวังเรื่องสภาพเศรษฐกิจไทย และสถานการณ์ตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย อาจเห็นผู้ประกอบการบางรายปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง อาทิ ชะลอเปิดโครงการใหม่ ซึ่งไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงในการพัฒนาโครงการ แต่ยังจะช่วยลดปริมาณ SUPPLY และลดการแข่งขันในตลาดลงอีก ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้พัฒนาบางราย เฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายใหญ่อย่าง AP,SPALI, SIRI, SC และ ORI ที่ยังมีแผนเปิดตัวโครงการใหม่จำนวนมาก นอกจากนี้การโอนกรรมสิทธิ์คอนโดฯ ใหม่ที่มีกำหนดสร้างเสร็จพร้อมส่งมอบมากขึ้นตั้งแต่ 2Q67เป็นต้นไป คาดทำให้ทิศทางกำไรมีโอกาสฟื้นตัวขึ้นได้ใน 2Q67 และมากขึ้นงวด 2H67โดยให้น้ำหนักของช่วงครึ่งหลังจะดีกว่าครึ่งแรก เฉพาะอย่างยิ่งไตรมาสสุดท้ายของปีซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลของกลุ่มฯ นอกจากแรงหนุนเปิดโครงการใหม่ และส่งมอบคอนโดฯ ที่จะมีมากขึ้นแล้ว ยังคงคาดหวังการดำเนินงานนโยบายการเงินและการคลังที่จะเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น เพื่อผลักดันเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว โดยภาครัฐน่าจะเห็นการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ซึ่งในภาคอสังหาฯ ก่อนหน้านี้มีการออกมาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนฯ-จดจำนองให้กับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7ล้านบาท เริ่มตั้งแต่ เม.ย.-ธ.ค. 2567 และคงติดตามว่าจะมีมาตรการอสังหาฯ อื่นออกมาเพิ่มเติมอีกหรือไม่ เนื่องจากทางสมาคมอสังหาฯ เตรียมยื่นหนังสือแบงค์ชาติในการขอผ่อนปรน/ยกเลิกมาตรการ LTV รวมถึงขยายการถือครองสิทธิของต่างชาติในคอนโดฯ จากเดิม 49% เป็น 69% และลดขนาดที่ดินในการพัฒนาโครงการ ฯลฯ ขณะที่ฝั่งนโยบายการเงินในไทย คาดหวังจะเห็นการปรับลดดอกเบี้ย 1ครั้ง ภายในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ คาดเป็นอีกแรงกระตุ้นต่อภาคอสังหาฯ โดยเฉพาะกำลังซื้อในกลุ่มราคา 5-7 ล้านบาทลงมา น่าจะผ่อนคลายขึ้นแม้ช่วงสั้นการลงทุนในกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย ยังขาดปัจจัยเชิงบวกเข้ามากระตุ้นหลังผ่านพ้นงบ 1Q67 ที่อ่อนแอ ทำให้เพิ่ม DOWNSIDE ต่อประมาณการกำไรกลุ่มฯ (แม้มีการปรับลงของกำไรบางบริษัทแล้วก็ตาม) แต่การปรับตัวลงของราคาหุ้นหลายตัวช่วงที่ผ่านมา จนมีมูลค่าหุ้นที่ไม่แพง ด้วย PER ซื้อขายต่ำกว่า 6-8 เท่า และ DIVYIELD เฉลี่ยสูงเกิน 6% ต่อปี อาจสร้างโอกาสในการลงทุนสำหรับนักลงทุนระยะกลาง-ยาวในการเริ่มเข้าสะสม
คงแนะนำลงทุนเท่าตลาดสำหรับกลุ่ม โดยเลือกหุ้นเด่น คือ AP (FV@16.00) และSPALI (FV@25.40) จากการฟื้นตัวเด่นของผลประกอบการตั้งแต่ 2Q67 หนุนจากเปิดโครงการแนวราบใหม่จำนวนมาก และส่งมอบกรรมสิทธิ์คอนโดฯ ใหม่ นอกจากนี้การมีพอร์ตสินค้าหลากหลาย และส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มราคาต่ำกว่า 7 ล้านบาท โดยAP มีสัดส่วนเกือบ 50% และ SPALI สัดส่วนกว่า 70% ทำให้ได้รับประโยชน์พอสมควรจากมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ของภาครัฐ ขณะที่โครงสร้างการแข็งแกร่งด้วย NET GEARING ต่ำกว่า 1 เท่า, PER ซื้อขายเพียง 4-6 เท่า และปันผลสูงเกือบ8% ต่อปี
Research Division
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ภวัต ภัทราพงศ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 117985
สิริลักษณ์ พันธ์วงค์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์