ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook
แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ
อัพเดตมุมมองตลาดหุ้นสหรัฐ
ในเดือน พ.ค. ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นทดสอบ base-case target ของเราที่ 5,300 จุด และเป็น all-time high หนุนโดย risk-on sentiment และผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2024 ของบริษัทที่ออกมาดี รวมถึงมี earnings downward revision ที่น้อยมากในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐยังติดอยู่ในกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนดีในปีนี้ แม้ว่าจะมี Forward PE แพงจนใกล้แตะระดับ +1SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปีแล้วก็ตาม เราคาดว่า tailwinds จากความคาดหวังเรื่องการลดดอกเบี้ยของเฟดและ earnings outlook ของ consensus ที่ยังเป็นบวกจะหนุนให้เกิด bullish sentiment ในระยะสั้นและทำให้ S&P 500 ขึ้นทดสอบ best case target ที่ 5,500 จุดในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ อย่างไรก็ตาม เราประเมินว่าตลาดหุ้นสหรัฐกำลังเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของวงจรขาขึ้นแล้วในเดือน มิ.ย. และมีโอกาสปรับฐาน (major correction) หลังจากนั้น จากสาเหตุดังต่อไปนี้
1 แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสชะลอตัวลงในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า จากสัญญาณเชิงลบของภาคแรงงานและผู้บริโภค ซึ่งแม้ว่าอัตราการว่างงานในปัจจุบันจะอยู่ในระดับต่ำเพียง 3.9% เทียบกับค่าเฉลี่ย 5.7% นับตั้งแต่ปี 1948 หรือ 76 ปีที่ผ่านมา แต่การติดตามเฉพาะตัวเลขของ lagging indicator ดังกล่าวโดยไม่พิจารณาแนวโน้มเชิงลบของมัน อาจทำให้เกิดการประเมินภาพเศรษฐกิจในอนาคตดีเกินไป จากการ overestimate กำลังซื้อในช่วงหลายเดือนข้างหน้า จากผลกระทบของแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงล่าสุดก็ได้สะท้อนสัญญาณเชิงลบนั้นแล้ว จากอัตราการว่างงานที่สูงขึ้นราว 0.5% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
นอกจากนี้ยังมีสัญญาณเชิงลบอื่นๆที่มีโอกาสส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อในอนาคตอีกด้วย เช่น (1) อัตราการออมของผู้บริโภคล่าสุดอยู่ในระดับที่ต่ำมากเพียง 3.2% ซึ่งใกล้เคียงระดับในปี 2022 ที่เศรษฐกิจสหรัฐเกิด technical recession อีกทั้งยังต่ำกว่าทุกช่วงเวลาระหว่างปี 2009-2019 (2) อัตราการค้างชำระหนี้ได้ปรับตัวขึ้นสู่ 3.16% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2012 และ (3) Citi Economic Surprise Index เริ่มมี negative surprise มากขึ้นจนทำให้เข้าสู่โซนติดลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2022 ซึ่งเป็นการสะท้อนว่า consensus กำลังประเมินทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐดีเกินไป ทำให้ประมาณการตัวเลขในอนาคตจึงมีความไม่แน่นอนมากขึ้น เนื่องจากผลลัพธ์ที่ออกมาต่ำกว่าตลาดคาดหวังบ่อยขึ้น ชี้ให้เห็นถึงรอยปริแตกหรือการทรุดตัวของเศรษฐกิจ
2 ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนสหรัฐกำลังเข้าสู่วงจร normalize (หลังจากที่ปรับตัวขึ้นมากทั้งในส่วนของ Net Profit Margin และ Operating Margin ระหว่างปี 2022-2023 อันเป็นผลมาจากการบูมของธุรกิจในกลุ่มเทคโนโลยีและการใช้จ่ายที่แข็งแกร่งของผู้บริโภค) โดยในปีนี้ Operating Margin ได้ปรับสู่ 13.5% ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับ pre-Covid แล้ว (จากพีค 16.1% ใน 1Q22) เราคาดว่าอัตรากำไรมีโอกาสปรับตัวลงไปต่ำกว่า 13% คล้ายกับปี 2015-2016 ที่เศรษฐกิจโลกมีการชะลอตัว ดังนั้น PE Multiple จึงมีโอกาสถูก derate มากกว่าการ rerate ในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า ส่งผลให้ดัชนี S&P500 มี downside risk เพิ่มขึ้นใน 2H24 และ 2025
สรุป เราอยู่ระหว่างการหาจังหวะในการปรับน้ำหนักการลงทุนสหรัฐลงจากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว อย่างไรก็ตามเนื่องจากในระยะสั้นยังมีปัจจัยหนุนจากความคาดหวังเรื่องการลดดอกเบี้ยของเฟด แนวโน้มเงินเฟ้อที่ลดลง และผลประกอบการไตรมาสล่าสุดที่ออกมาแข็งแกร่ง เราจึงยังคงน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐต่อไปอีก 1 เดือน ส่วนเรื่องการลดน้ำหนักการลงทุนลง เราวางแผนไว้เป็นช่วงต้นเดือน ก.ค. ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงฤดูกาลประกาศงบครั้งถัดไป
สรุปภาพตลาดวานนี้
SET บวกแค่นิดๆ จากแรงซื้อคืนในกลุ่มคอมเมิร์ช CPAXT CPALL CPN อาหาร-เครื่องดื่ม CPF OSP PLUS COCOCO เดินเรือ-ขนส่ง บวกแรงต่อ RCL PSL WICE ส่วนหุ้นกดดันดัชนี รพ. BH BDMS ธนาคาร KBANK BBL BAY SCB และโรงไฟฟ้า EA GULF
แนวโน้มตลาดวันนี้
SET Decoupling
จากภาพรวมตลาดหุ้นไทยที่ยังคงเห็นการเลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว “ดูชื่อหุ้นบวกตามที่เราสรุปภาพตลาด” ส่วนการปรับฐานของตลาดหุ้นสหรัฐฯและภูมิภาคระยะนี้ ตลาดหุ้นไทยอาจลงตาม แต่ % การลงก็ไม่ได้ลงแรงอย่างมีนัยยะ “ตามคาด”
ด้วยเศรษฐกิจสหรัฐที่เริ่มแผ่ว อ่านจากรายงาน FED Beige book ตัวเลข GDP สหรัฐฯ 1Q24 2nd ที่ 1.3% ทบทวนปรับลงจากครั้งแรก 1.6% และวันนี้ Core PCE คาดทรงตัว (หยุดเร่งตัวขึ้น)
ซึ่งเราเชื่อว่าจะหนุนให้บรรยากาศลงทุนตลาดหุ้นเกิดใหม่ รวมไทย ให้กลับมาสดใสกว่า ฝั่งตลาดหุ้นพัฒนา จากนโยบายการเงินเฟดที่จะผ่อนคลายขึ้นในระยะถัดไป ล่าสุดผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์เริ่มเปลี่ยนมุมองต่อการปรับเพิ่มโอกาส เฟดจะลดดอกเบี้ยในเดือน กย.
ดังนั้น สามารถเลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัวได้ตามกลยุทธ์หลักที่เราแนะนำ เลือกหุ้นตามแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในไตรมาสถัดๆไป
กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์ แนะนำ เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว เริ่มโฟกัสไปข้างหน้าหลังเห็นงบทั้งหมดในสัปดาห์นี้ เน้นไปที่แนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการณ์ หรือ มองเห็นปัจจัยหนุนชัดเจนที่จะเข้ามาเกื้อหนุนต่อผลการดำเนินงานหลังจากนี้ เช่น ฤดูกาลท่องเที่ยวของฝั่งตะวันตก (โอลิมปิกฝรั่งเศส, บอลยูโร เยอรมัน)
วิเคราะห์ทางเทคนิค
วันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ย่างเข้าสู่เดือนใหม่ เริ่มต้นไตรมาส 2/64 ภาพรายเดือน SET month ยังไม่ฟื้น ลักษณะซึมลง sideway down ขณะที่ RSI (month) ล่าสุด 35 เข้าใกล้เขต oversold ( RSI < 30 )……คงต้องย้อนกลับไปช่วง Covid ถึงจะเห็นภาวะดัชนีอยู่ในจุดต่ำสุด (เกิดขึ้นไม่บ่อย) แนวโน้มเดือนใหม่มิถุนายน ดัชนีจะมีโอกาสฟื้นตัวขึ้นได้หรือไม่! อาจต้องรอสัญญาณปิดวันนี้ครบ 1 เดือน ความคาดหวังปิดสวย ปิด high โอกาสริบหรี่ อย่างไรก็ตามเรายังคงให้น้ำหนักว่าดัชนีจะสู้ไม่หลุด low ที่ 1,330 Note: ศุกร์นี้มีตัวเลข Econ ที่สำคัญรออยู่ เช่น ตัวเลขเงินเฟ้อ PCE Price index ของ US & EU ขณะที่จีนจะประกาศตัวเลข PMI ภาคการผลิตและบริการ ส่วนบ้านเรา BOT รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือนเม.ย… สรุป: ตลาดรอความชัดเจนหลายเรื่องครับ
What to watch
โกลด์แมน แซคส์ ระบุในรายงาน "เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะขยายตัวเร็วขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2/2567 เนื่องจากรัฐบาลใช้จ่ายงบประมาณมากขึ้นและจะกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านโครงการดิจิทัลวอลเล็ตภายในปีนี้" โดยรัฐบาลไทยประมาณการว่ากรณีดังกล่าวจะทำให้ยอดขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นเป็น 4.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จากการประมาณการก่อนหน้านี้ที่ 3.7%
นั กเศรษฐศาสตร์ของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ ประเทศไทย คาดการณ์ว่าธปท.จะชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยคาดการณ์ว่าจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินในเดือน ธ.ค.ปีนี้ จากที่เคยคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเริ่มในเดือนมิ.ย.
วันศุกร์ เงินเฟ้อสหรัฐฯ PCE คาดทรงตัว 0.3% m-m
คลังเตรียมแก้กฎหมาย เครดิตบูโร ลดระยะเวลาติดบัญชีดำลงจากเดิม 8 ปี (หนุน Sentiment หุ้นสินเชื่อฯ)
SCB CIO หนุนลงทุนหุ้นไทย หากปัดฝุ่นLTFกลับมาให้นักลงทุนมีวินัยการออมระยะยาว คาดเม็ดเงินไหลเข้ากว่า 4 หมื่นล้านบาทต่อปี มองเศรษกิจไทยแข็งแกร่งขึ้นในครึ่งปีหลัง
MSCI ปรับหุ้น BTS MTC LH และอาจมีการลดน้ำหนักหุ้นรายตัว ช่วงนี้ก่อนจะถึงวันมีผลใช้สิ้นเดือนนี้
FTSE index มีหุ้นเพิ่มน้ำหนัก SAWAD BGRIM CPF MINT มีผล 21 มิ.ย.
FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 50.4% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 48.7% ในช่วงก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจ
หุ้นแนะนำวันนี้
STECรับธีมการใช้จ่ายภาครัฐ ฝั่งงานประมูลโครงสร้างพื้นฐาน ที่คาดเห็นข่าวการเตรียมประมูลโครงการใหญ่ที่พร้อมอยู่แล้ว ออกมาจากนี้ และ STEC มีศักยภาพเข้าร่วมแทบทุกงาน(S 9.5, R 10.5, SL 9.4)
รายงานพื้นฐานวันนี้
Residential Property Sector
ยังไม่ถึงจุดต่ำสุด
จากการรวบรวมมุมมองผู้บริหารกลุ่มอสังหาฯ ภาพรวม 2Q24 โดยเฉพาะยอดชมโครงการต่ำมากในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่ดูดีขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ทำให้คาดยอด Presales จะลดลง YoY แต่ปรับตัวดีขึ้น QoQ จาก low season ในช่วงไตรมาส 1
นอกจากนี้ กลุ่มอสังหาฯ จะมีการเปิดตัวโครงการใหม่รวม 7.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% YoY และ 64% QoQ ทำให้เราคาดว่ารายได้รวมที่อยู่อาศัยจะดีขึ้นใน 2Q24 ดังนั้น กำไรหลักโดยรวมสำหรับไตรมาสนี้จึงควรเพิ่มขึ้น QoQ แต่ลดลง YoY นอกจากนี้ ผู้บริหารหลายบริษัทยังคงให้ความหวังกับภาพครึ่งปีหลัง แต่เรามองว่ายังขาดปัจจัยสนับสนุน ทำให้เรามองว่ายังมีความเสี่ยงต่อกำไรที่ตลาดทำสูงกว่าเราถึง 5-10%
สถานการณ์อสังหาฯ ตอนนี้เรามองว่ายังไม่ถึงจุดต่ำสุด เนื่องจากกำลังซื้อส่วนใหญ่ยังคงอ่อนแอ จากภาพ Rejection rate ที่สูงถึง 50-60% ของกลุ่มระดับกลางล่าง และการแข่งขันทางด้านราคาที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน และดูแนวโน้มว่าจะยังคงรุนแรงขึ้นต่อเนื่องทั้งปี 2024 ซึ่งทำให้มีโอกาสเห็น Downside Surprise สำหรับกำไรช่วงที่เหลือของปี
Fundamental View: เรายังคงให้น้ำหนักการลงทุน “น้อยกว่าตลาด” สำหรับกลุ่มอสังหาฯ
Technology Sector
อินเทอร์เนตดาวเทียมจะเข้ามาดิสรัปอุตสาหกรรมอินเทอร์เนตไทยจริงหรือ?
หลังจากการไฟเขียวของ OneWeb เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีกระแสข่าวว่าเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาเขย่าอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตไทย
เรามีการศึกษาโดยเทียบระหว่างเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตดาวเทียม (เช่น OneWeb และ Starlink) กับเทคโนโลยีไฟเบอร์อ็อพติค พบว่าในพื้นที่เมืองเทคโนโลยีไฟเบอร์อ็อพติค ยังได้เปรียบทั้งด้านความเร็วและความเสถียรชองสัญญาน อีกทั้งในด้านราคาแพ็คเกจเริ่มต้นอยู่ที่ 500-700 บาท/เดือน เทียบกับ Starlink ที่ต่ำสุดที่ราว 2,000 บาท/เดือน
อีกทั้งยังต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณเริ่มต้นที่ 2.5 หมื่นบาท การเข้ามาของ OneWeb น่าจะเป็นบริการเสริมที่ตอบโจทย์เฉพาะในพื้นที่ห่างไกล เช่น การศึกษา การแพทย์ หรือการเดินเรือ เป็นต้น ซึ่งอาจจะออกมาเป็นบริการเสริมให้กับ NT แต่ไม่น่าจะสร้างผลกระทบต่อการแข่งขันในภาพรวม
ในด้านของผู้ประกอบการดาวเทียมอย่าง THCOM อาจจะเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น แต่ก็มีโอกาสสร้างความร่วมมือเช่นเดียวกัน และรายได้จากการให้บริการดังกล่าวก็มีสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย
CPN
เซ็นทรัลพัฒนา
หุ้น Value Play ที่มีปัจจัยบวกจากดอกเบี้ยลดด้วย
เรายังคงชอบ CPN ในแง่ความเป็นผู้นำตลาด (Market Leader) ที่เติบโตทั้งรายได้-กำไรที่ยังสูง ขณะที่ Valuation ยังต่ำด้วย นอกจากนี้ วันนี้มีอีก 3 มุมมอง วิเคราะห์เพิ่มเติม ดังนี้
1) ประโยชน์จากดอกเบี้ยลดลง ด้วยธุรกิจที่เน้นการลงทุนและมีต้นทุนคงที่สูง โดยจากการศึกษาความสัมพันธ์ในอดีตพบว่า Valuation ของทั้ง CPN และ CPNREIT จะถูก re-rate ขึ้นในช่วงดอกเบี้ยขาลงที่เด่นสุดในกลุ่มค้าปลีก นอกจากนี้ หากมีการขายสินทรัพย์เข้ากองฯ ช่วงดอกเบี้ยลง จะทำให้ Valuation ของสินทรัพย์ดูดีด้วย
2) ตลาดกังวลเรื่องการแข่งขันมากเกินไป โดยเฉพาะในส่วนของออฟฟิศให้เช่าพื้นที่ CBD เรามอง Business Model ของ CPN ที่กระจายตัวเป็นจุดที่ดี ทำให้รายได้จากออฟฟิศใน CBD อยู่แค่ 6-7% (หลักๆ จาก Central World) และหากรวม Dusit Central ที่จะเปิดก็น่าจะไม่เกิน 10%
3) การเติบโตชะลอลงใน 2H24 จากฐานสูง เป็นประเด็นชั่วคราว เพราะปีที่แล้วมีการโอนอสังหาฯ กับเรื่องค่าเสื่อมปิ่นเกล้าฯ ด้วย (กระทบกำไรปี 2024 ที่ 4-5%) อย่างไรก็ตาม เมื่อฐานกลับมาปกติ ปี 2025 จะกลับมาเติบโตระดับ 13% ได้
Fundamental View: เรายังแนะนำ ซื้อ CPN และให้ราคาเป้าหมาย 84 บาท ปัจจุบัน หุ้นซื้อขายบน PER ที่ 16.3 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ -2SD
สรุปประเด็นจาก Quick take
SAWAD
ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น สื่อออนไลน์และสื่อสิ่งพิมพ์รายงานว่าผู้บริหารของ SCAP ใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์
SAWAD แจ้ง SET ว่าตามที่สื่อออนไลน์และสื่อสิ่งพิมพ์รายงานว่าคุณวิชิต พยุหนาวีชัย กรรมการผู้จัดการของ SCAP (บริษัทย่อยของ SAWAD ซึ่ง SAWAD ถือหุ้น 72.05%) ใช้ที่ดิน ส.ป.ก. ที่จังหวัดสระบุรี ผิดวัตถุประสงค์ เป็นเรื่องส่วนบุคคลและจะต้องมีการตรวจสอบและพิสูจน์ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
View From Fundamental: เราประเมินว่าประเด็นข่าวดังกล่าวเป็น sentiment เชิงลบที่จะกดดันราคาหุ้นของ SCAP และ SAWAD ในระยะสั้นได้ อย่างไรก็ตาม เราประเมินผลกระทบต่อ SAWAD จำกัด และคาดทิศทางกำไรสุทธิของ SAWAD จะทยอยฟื้นตัวตั้งแต่ 2Q24 เป็นต้นไป จากแนวโน้มผลขาดทุนจากการขายรถยึดทยอยลดลง
Global Marco Update
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี พุ่งทะยาน
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี พุ่งทะยาน แตะระดับ 4.616% จาก 4.524% ในวันก่อนหน้า สะท้อนความคาดการณ์ของตลาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจคงดอกเบี้ยนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงลง
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน