Market Wrap-Up
- SET วันที่ 29 พ.ค.67 ปิด -12.87 จุด อยู่ที่ 1,349.83 จุด มูลค่าการซื้อขาย 44,138 ลบ.ต่างชาติขาย 3,562ลบ.สถาบันขาย 89 ลบ.รายย่อยซื้อ 3,375 ลบ. NVDR มียอดขายสุทธิรวม 1,305 ลบ. โดยมียอดซื้อสุทธิในหุ้น STA,TRUE,BTS,PTTEP,SCB และมียอดขายสุทธิ MINT,SCC,AOT,DELTA,BEM มูลค่า Short Sales อยู่ที่ 6,900 ลบ. หุ้นที่มี%ปริมาณ Short สูงคือ KKP,WP,SCC-R โดยนักลงทุนต่างประเทศมีสถานะ Short ใน Index Futures จำนวน 29,744 สัญญา ยอดสะสมตั้งแต่ต้นปีต่างชาติ Long สุทธิรวม 2,427 สัญญา นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรจำนวน 1,072 ลบ.
- ตลาดหุ้นสหรัฐ DJIA -1.06%, S&P500 -0.74%, Nasdaq -0.58% จากแรงขายกลุ่มพลังงาน -1.76%, อุตสาหกรรม -1.42% หลัง US Bond Yield 10 ปี ปรับขึ้นอยู่ที่ 4.6% และ VIX Index ปรับขึ้นอยู่ที่ระดับ 14.28 ตลาดหุ้นยุโรป Stoxx600 -1.08% หลังรายงาน CPI เยอรมัน พ.ค. สูงกว่าคาด
Market View
- ตลาดหุ้นสหรัฐวานนี้ปรับลดลง หลัง US Bond Yield 10 ปี ปรับขึ้นอยู่ที่ 4.6% จากผลการประมูลพันธบัตรสหรัฐอายุ 5 ปี มีอัตรา Bid to Cover Ratio อยู่ที่ 2.3X ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ 2.45X บ่งชี้อุปสงค์ที่ซบเซา ส่วน Fed Beige Book เผยเศรษฐกิจสหรัฐช่วงต้น เม.ย. – กลาง พ.ค. ขยายตัว แต่มีมุมมองลบมากขึ้นในอนาคต ขณะที่เงินเฟ้อลดลงเล็กน้อย โดยภาพรวมนักลงทุนเฟดอาจจำเป็นต้องตรึงดอกเบี้ยสูงนานกว่าคาด ซึ่งล่าสุด CME Fed Watch ชี้โอกาส 45.1% ที่เฟดจะลดดอกเบี้ย 0.25% ใน พ.ย.โดยค่ำวันนี้ ติดตาม GDP สหรัฐ Q1/67 ครั้งที่ 2 คาด +1.3% & ครั้ง 1 ที่ +1.6% QoQ และวันศุกร์รายงาน US Core PCE เม.ย. คาดที่ 2.8% YoY, 0.3% MoM ทรงตัวเมื่อเทียบกับ มี.ค. เพื่อประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐ
- ตลาดหุ้นยุโรปวานนี้ปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ หลังรายงาน CPI เยอรมัน พ.ค.ปรับขึ้นอยู่ที่ 2.8% สูงกว่าคาดที่ 2.7% YoY ส่งผลให้ German Bond Yield 10 ปี ปรับขึ้นอยู่ที่ 2.685% สูงสุดในรอบ 6 เดือน โดยวันศุกร์นี้ รอรายงาน Core CPI ยูโรโซน พ.ค. คาดทรงตัวที่ 2.7% YoY ซึ่งเป็นระดับเดียวกับ เม.ย. เพื่อประเมินโอกาสลดอกเบี้ยในการประชุม 6 มิ.ย.
- ตลาดหุ้นเอเชีย ดัชนีนิเกอิวานนี้ -0.77% ถูกกดดันจาก Japan Bond Yield 10 ปี ปรับขึ้นอยู่ที่ 1.075% สูงสุดในรอบ 12 ปี ระหว่างรอผลการประชุม BOJ 13 มิ.ย.ว่าจะตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ ส่วนดัชนีเซี่ยงไฮ้วานนี้ +0.05% หลัง IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP จีนปีนี้อยู่ที่ 5.0 % & เดิมคาดที่ 4.6% โดยวันพรุ่งนี้ติดตาม PMI ภาคผลิต & บริการจีน พ.ค. เพื่อประเมินการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน
- SET วานนี้ -0.94% ปริมาณการซื้อขาย 4 หมื่น ลบ. ต่างชาติขาย 3,562 ลบ.สถาบันขาย 89 ลบ. รายย่อยซื้อ 3,375 ลบ. พอร์ตโบรกซื้อ 276 ลบ. จากแรงขายกลุ่มท่องเที่ยว & ขนส่ง & รพ. แม้ว่า ครม.จะมีมติเห็นชอบให้นักท่องเที่ยว 93 ประเทศเดินทางเที่ยวไทย โดยไม่ต้องขอวีซ่า แต่สถานการณ์ท่องเที่ยวไทยปัจจุบันอยู่ในช่วง Low Season ขณะที่กลุ่มที่พึ่งพาอุปสงค์ในประเทศ เช่นค้าปลีกก็ปรับลดลง จากความเสี่ยงปัจจัยการเมืองในประเทศสูงขึ้น อาจผลกระทบด้านลบต่อการดำเนินการโครงการดิจิทัล วอลเล็ต ขณะที่กลุ่มที่ช่วยหนุนดัชนี คือ เกษตรจากแรงเก็งกำไรกลุ่มยางพารา โดยภาพรวมดัชนีถูกกดดันจาก Fund Flow ไหลออกจากกลุ่มอาเซียน หลัง US Bond Yield 10 ปี ปรับสูงขึ้น จากความกังวลเฟดอาจตรึงดอกเบี้ยสูงนานกว่าคาด ขณะที่วันพรุ่งนี้ MSCI จะทำการรีบาลานท์ ส่งผลให้ LH, BTS, MTC ถูกถอดจาก Global Standard Index และดัชนีมีโอกาสผันผวนสูงในช่วงปิดตลาด
Daily Strategy
- ประเมินดัชนี SET มีโอกาสปรับฐานลงสู่แนวรับ 1,335 – 1,340 จากแรงกดดัน ธ.กลางหลัก ๆ อาจตรึงดอกเบี้ยสูงนานกว่าคาด โดยมีแนวต้าน 1,360 แนะนำเก็งกำไรกลุ่มยางพารา STA,NER,TEGH ตามราคายางพาราที่ตลาดญี่ปุ่นเช้านี้ +3.6%/ กลุ่มเดินเรือ RCL, PSL ตามค่าระวางที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
- กลุ่มเดินเรือและโลจิสติกส์ มีปัจจัยหนุนจากแนวโน้มค่าระวางเรือ Container ที่ปรับตัวขึ้นในช่วง 2Q67 เนื่องจากความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง นอกจากนี้การขนส่งในภูมิภาคอยู่ในช่วงฟื้นตัวตามทิศทางเศรษฐกิจของจีน และเข้าสู่ manufacturing season ใน 3Q67 ประกอบกับความขัดแย้ง Trade war สหรัฐฯ จีน ในเรื่องกำแพงภาษีจะเป็นตัวกระตุ้นให้มีการเร่งส่งออกในระยะถัดไป ดังนั้นเลือกเก็งกำไรหุ้นที่ได้ประโยชน์ตรงอย่าง RCL และกลุ่ม freight forwarder ที่มีธุรกิจขนส่งทางเรือมากและอิงกับเส้นทางการขนส่งของจีนและสหรัฐ เช่น WICE, SINO
- ITC* (ซื้อเก็งกำไร / ราคาเป้าหมาย Bloomberg Consensus 24.60 บาท) กำไรสุทธิ 1Q67 อยู่ที่ 821 ลบ. +7%QoQ, +93%YoY เห็นการฟื้นตัวได้ดีYoY จากการที่คู่ค้ากลับมาสต็อกสินค้าอีกครั้ง/ QoQ จากผลบวกด้านราคาขาย ส่วนการดำเนินงานช่วงถัดไป 2Q67 เบื้องต้น คาดว่า YoY ในแง่ยอดขายจะเห็นการเติบโตได้จาก 2Q66 Inventory คู่ค้ายังอยู่ในระดับสูง ส่วนตัวเลขส่งออกอาหารสุนัขและแมวของไทย เม.ย.67 อยูที่ 7.52 พันลบ., +73%YoY นอกจากนี้ ในแง่ของมาร์จิ้น เราคาดว่าจะยังทำได้ดีต่อเนื่องจากต้นทุนราคาปลาทูน่าที่อยู่ในระดับไม่สูง ทั้งนี้ตลาดคาดว่าในปี67 และ68 กำไรสุทธิของ ITC* จะอยู่ที่ระดับ 3,033 ลบ.(+33%YoY) และ 3,442 ลบ.(+13%YoY)
Daily Key Factors
Oil Update(-) WTI ก.ค. -$0.60 อยู่ที่ $79.23 / บาร์เรล, Brent ก.ค. -$0.62 อยู่ที่ $83.60/บาร์เรล จากความกังวลเฟดอาจตรึงดอกเบี้ยสูงนานกว่าคาด อาจส่งผลลบต่ออุปสงค์น้ำมัน โดยค่ำวันนี้ติดตาม EIA จะรายงานสต็อคน้ำมันสหรัฐ
Gold Update(-) Comex Gold มิ.ย. -$15.30 อยู่ที่ $2,341.20/ออนซ์ ถูกกดดันจาก Dollar Index แข็งค่า +0.46% อยู่ที่ 105.098 และ US Bond Yield 10 ปี ปรับขึ้นอยู่ที่ 4.6% ก่อนรายงาน US PCE เม.ย. ในวันศุกร์นี้
Fund Flow(-) Fund Flow ต่างชาติในตลาด TIP วานนี้ ขายสุทธิ -212.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขายหุ้นไทย -96.79 ล.ดอลลาร์สหรัฐ ขายหุ้นอินโดฯ -102.44 ล.ดอลลาร์สหรัฐ และขายหุ้นฟิลิปปินส์ -13.03 ล.ดอลลาร์สหรัฐ
(0) ค่าเงินบาทเช้านีอ่อนค่าอยู่ที่ 36.90 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
(0) ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ปรับขึ้นอยู่ที่ 4.625 %
(+) ดัชนี BDI วานนี้ +6 จุด อยู่ที่ 1,790
(-) BitCoinเช้านี้ -1.30% อยู่ที่ 67,585 ดอลลาร์สหรัฐ
(+) API เผยสต็อคน้ำมันดิบสหรัฐสัปดาห์ที่ผ่านมาลดลง -6.49 ล.บาร์เรล ลดลงมากกว่าคาดที่ -1.9 ล.บาร์เรล
Economic Calendar
ในประเทศ
27 พ.ค. สภาพัฒน์ รายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาส 1/67
31 พ.ค. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
สัปดาห์ที5 สศอ.แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
สศค.รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค,ดัชนี
ความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
ต่างประเทศ
27 พ.ค. US วันระลึกถึงทหารที่จากไป
28 พ.ค. USรายงานความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากซี ( พ.ค.)
30 พ.ค. US ดัชนีจีดีพี (ไตรมาสต่อไตรมาส) (ไตรมาส 1)
US สินค้าคงคลังน้ำมันดิบ
US จำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก
31 พ.ค. CN ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีน ( พ.ค.)
EU ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) (ปีต่อปี) ( พ.ค.)
US ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE Price Index) (เม.ย.)
Theme Strategy
Theme หุ้นเด่นปี 2567 รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อ ด้านส่งออกมีโอกาสกลับมาขยายตัว ท่องเที่ยวฟื้นตามจำนวนนักท่องเที่ยว คาดหวัง Flow ไหลกลับหลังธนาคารกลางหลักมีโอกาสเริ่มปรับลดดอกเบี้ย
(1) กลุ่มการอุปโภคบริโภค ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ CPALL, CPAXT*, CPN*, CRC, ICHI*, NSL*
(2) กลุ่มส่งออก ได้ประโยชน์จากตัวเลขส่งออกที่คาดฟื้นตัว AAI*, ITC*, TU, COCOCO*, PLUS*, OSP*, SAPPE*, KCE*
(3) กลุ่มท่องเที่ยว ได้ประโยชน์จากมาตรการ Free Visa AOT*, CENTEL*, ERW*, SPA*, SISB*, WPH*
(4) กลุ่ม Leasing ได้ประโยชน์จากการยุติวงจรดอกเบี้ยขาขึ้น MTC*, TIDLOR*
(5) กลุ่มโรงไฟฟ้า ได้ประโยชน์จากต้นทุนก๊าซฯ ลดลง BGRIM*, GPSC*
(6) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม/ EV ได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต สงครามการค้า AMATA, WHA
**หุ้นแนะนำเชิงกลยุทธ์ที่ยังไม่อยู่ใน Coverage ของฝ่ายวิจัย
Asset Allocation: Equity 50% Fixed Income 30% Alternative Investment etc. Gold 10% Cash 10%
Today Fundamental Research: -
Monthly Portfolio May 2024: GFPT*, SAPPE*, ITC*, BTG*, CPALL, KLINIQ
Analysts
Apichai Raomanachai
Fundamental and Technical Investment Analysis ID No. 002939
Tel 02-829-6999 Ext 2200
Email : apichai.ra@kfsec.co.th
Nopporn Chaykaew
Fundamental Analysis ID No. 043964
Tel 02-829-6999 Ext 2203
Email : noppoen.ch@kfsec.co.th
Nattawat Poosunthornsri
Fundamental Analysis ID No. 087077
Tel 02-829-6999 Ext 2204
Email : nattawat.po@kfsec.co.th