ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook
แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ อัพเดต Momentum Tracker แนวโน้มตลาดหุ้นโลกและทองคำ
“ไฮไลต์ในสัปดาห์ก่อน”
สัปดาห์ที่ผ่านมาสินทรัพย์ดั้งเดิม (Traditional Assets) ส่วนใหญ่ปรับตัวลงราว -0.2% ถึง -5.5% ในขณะที่สินทรัพย์ใหม่ (New Assets) ปรับตัวขึ้นได้ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Ethereum ที่ปรับตัวขึ้นถึง 20.5% WoW หลังจากบริษัทบริหารสินทรัพย์หลายแห่งในสหรัฐได้ยื่นขออนุมัติ Spot Ethereum ETF ต่อ ก.ล.ต. ซึ่งคาดว่าจะได้รับอนุมัติการจดทะเบียนกองทุนและเริ่มซื้อขายบนกระดานเทรดได้ก่อนสิ้นปีนี้ ทำให้ Ethereum กำลังเดินตามรอยคริปโตรุ่นพี่อย่าง Bitcoin มาติดๆ ของการเป็นสินทรัพย์ทางเลือกที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
“ปัจจัยเศษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่”
วันพฤหัสบดี: US 1Q24 GDP Growth 2nd estimate (consensus คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโต 1.5% QoQ ในไตรมาส 1)
วันศุกร์: (1) CN NBS Manufacturing PMI เดือน พ.ค. (consensus คาดขยายตัวที่ 50.5 ใกล้เคียงกับการขยายตัวที่ 50.4 ในเดือนก่อน) และ (2) US Core PCE (consensus คาดเงินเฟ้อ PCE พื้นฐานเดือน เม.ย. จะเพิ่มขึ้น 0.3% MoM ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับเดือนก่อน)
“แนวโน้มของราคาสินทรัพย์ต่างๆในสัปดาห์นี้”
1 การที่ดัชนี MSCI All-Country World Equity ปรับตัวลง -0.4% ในสัปดาห์ที่แล้ว เรามองว่าน่าจะเป็นการย่อต้วตามปกติ หลังจากที่ปรับตัวขึ้นมากถึง 7% ในช่วง 4 สัปดาห์ก่อนหน้า โดยดัชนียังมีโอกาสทำ higher high ได้ใน 1-2 เดือนข้างหน้านี้ แต่แนะนำให้ระมัดระวังกับความเสี่ยงของการกลับทิศที่อาจมากขึ้น เนื่องจากดัชนี Momentum Tracker เริ่มส่งสัญญาณ bearish divergence กับราคา คล้ายกับวงจรก่อนพีคในปี 2021
2 ราคาทองคำในสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับตัวลง 3.4% หลังจากที่ปรับตัวขึ้นแรงมาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามราคา gold spot ยังไม่หลุดแนวรับสำคัญที่ 2,300 เหรียญ จึงทำให้มีโอกาสสวิงกลับขึ้นไปอีกครั้ง โดยเราแนะนำให้ใช้จังหวะรีบาวด์ในการทยอยขายทำกำไร เนื่องจากคาดว่าราคาทองคำจะเข้าสู่วงจรของการปรับฐานลูกใหญ่ (major correction) ในช่วงครึ่งหลังของปี หลังจากที่ปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 100% นับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2018
ส่วนเงิน (Silver) เป็นสินทรัพย์ที่เราชอบมากกว่าทองคำในระยะสั้น เนื่องจากคาดว่าราคามีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านี้ โดยเราคาดว่าราคาอาจขึ้นไปทดสอบ best-case target โซน 37.5-40 เหรียญในช่วงดังกล่าว
3 สำหรับราคาพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของสหรัฐ คาดว่าอาจยังคงผันผวนในสัปดาห์นี้ จากความกังวลเรื่องตัวเลขเงินเฟ้อ PCE ที่จะประกาศในท้ายสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม เรามีมุมมองว่าความกังวลของตลาดในเรื่องเงินเฟ้อจะค่อยๆ ลดบทบาทลงในช่วงครึ่งปีหลัง และจะถูกแทนที่ด้วยความกังวลเกี่ยวกับความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้จังหวะที่ราคาอ่อนตัวในช่วง 1-3 เดือนข้างหน้านี้ในการทยอยสะสม โดยเราคาดว่าราคาพันธบัตรมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ดีราวปลายไตรมาส 3 เป็นต้นไป จากการประเมินว่าเฟดน่าจะลดดอกเบี้ยลง 3 ครั้งในปีนี้
สรุปภาพตลาดวานนี้
สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา SET ยังย่อลงต่อ กดดันจาก NEX EA GULF GPSC BGRIM TRUE AOT DELTA TTB ส่วนกลุ่มใหญ่ที่ปรับตัวขึ้นชัด TU-ITC และที่บวกแรงอื่นๆ BSRC SCL NAT เป็นต้น
แนวโน้มตลาดวันนี้
MSCI Rebalance
SET ขึ้นไม่พ้นน้ำ “ผิดคาด” โดยเหตุผลหลักที่กดดันตลาดหุ้นโลก และหุ้นไทยตลอดสัปดาห์ที่แล้ว คือ รายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ ที่คณะกรรมการ เฟด ให้ความเห็นนโยบายการเงินแบบเข้มงวดขึ้น ทั้งการชะลอลด QT และ การลดดอกเบี้ยอาจต้องยื้อออกไปนานขึ้นกว่าคาดการณ์เดิม ส่งผลลบต่อทุกสินทรัพย์ ทั้งทองคำ น้ำมัน (สหรัฐฯเล็งระบายน้ำมันในคลังสำรองยุทธศาสตร์) แถมหุ้นกลาง เล็ก ในประเทศยังโดนแรงขายทุบหุ้นไม่เลิก เช่น NEX EA DITTO BBIK AWC BGRIM เป็นต้น กดดันบรรยากาศลงทุนหุ้นไทย.
ในเมื่อตลาดหุ้นไทย ไม่ยอมบวกรับข่าวดี แต่พร้อมลบเมื่อพบปัจจัยใหม่ ทำให้เราต้องปรับโทนมุมมองบวก ต่อหุ้นไทยลง คาดกรอบดัชนีฯ สัปดาห์สุดท้ายของเดือน พ.ค. เคลื่อนไหวในกรอบ 1,355-1,380 จุด ยังไม่พ้น 1,400 จุด และประเด็นที่ต่อติดตาม คาดมีผลต่อทิศทางดัชนีฯ ได้แก่
1.) การปรับหุ้นออกจาก MSCI Standard index BTS LH MTC มีผลสิ้นเดือนนี้ และอาจมีผลต่อน้ำหนักหุ้นตัวอื่นที่ถูกลดน้ำหนักลง
2.) ความผันผวนของราคาหุ้น กลาง เล็ก ยังคงสูงมาก เนื่องจากมาตรการควบคุมของ ตลท.ที่ยังรอวันมีผลบังคับใช้
และเมื่อตลาดหุ้นไทยลง ซึมซับข่าวร้ายไปในเดือน พ.ค.จบ เราคาดว่าจะเริ่มเห็นราคาหุ้นขยับขึ้นจากโซนแนวรับล่างได้อีกครั้ง ตามประเด็นการลงทุนที่เราคาดว่าจะเป็นบวกและรออยู่ในเดือนถัดไป เช่น ข่าวดีรื้อฟื้น LTF, แนวโน้มดอกเบี้ยนโยบาย ของไทย และ สหรัฐ, มาตรการกำกับดูแลการซื้อขายหุ้นที่ผิดปกติ เริ่มใช้งาน, การเบิกจ่ายงบ และประมูลงาน เป็นต้น
กลยุทธ์ แนะนำ เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว โฟกัสไปข้างหน้ามองหาปัจจัยหนุนแนวโน้มกำไรไตรมาส 2/24 และครึ่งปีหลัง ตลอดจนการเลือกหุ้นเล่นตามกระแสการลงทุนที่จะหนุนแนวโน้มกำไร
กลยุทธ์การลงทุน
กลยุทธ์ แนะนำ เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว เริ่มโฟกัสไปข้างหน้าหลังเห็นงบทั้งหมดในสัปดาห์นี้ เน้นไปที่แนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการณ์ หรือ มองเห็นปัจจัยหนุนชัดเจนที่จะเข้ามาเกื้อหนุนต่อผลการดำเนินงานหลังจากนี้ เช่น ฤดูกาลท่องเที่ยวของฝั่งตะวันตก (โอลิมปิกฝรั่งเศส, บอลยูโร เยอรมัน)
วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET ปรับฐานเข้าสู่ lower band สถิติ YoY 4 ครั้งล่าสุด มีเพียงแค่ 1 ครั้งลงลึกถึงกรอบล่าง (RSI เข้าเขต oversold) ส่วน 3 ครั้งที่เหลือลงแล้วรีบดึงกลับทันที ประเมินสถานการณ์รอบนี้คาดว่าจะคล้ายสถิติ 3/4 ครั้ง ลงไม่ลึก...โครงสร้างดัชนีจะแกว่งออกข้าง sideway อยู่ในกรอบใหญ่ 1,350-1,400 จุด แนะเลือก กลยุทธ์การเทรดเน้นๆ เลือกเล่นรายกลุ่ม + ใช้ technical ช่วย!จับจังหวะซื้อขาย จับตาหุ้นเด่น (เพิ่มเติม) กลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มซ่อมแซมบ้าน ส่วนหุ้นแนะนำว่ากันตามแผน (อ่านต่อหน้า 11)
What to watch
MSCI ปรับหุ้น BTS MTC LH และอาจมีการลดน้ำหนักหุ้นรายตัว ช่วงนี้ก่อนจะถึงวันมีผลใช้สิ้นเดือนนี้ (กดดันภาพรวมการลงทุน)
รายงานดุล บช.เดินสะพัด และตัวเลขเศรษฐกิจไทย สิ้นเดือน คาดยังสะท้อนภาวะชะลอตัว
เงินเฟ้อสหรัฐฯ PCE คาดทรงตัว 0.3% m-m
ถ้อยแถลงเฟดผ่าน FED Beige book (รายงานภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ) วันพุธ
มีเสียวหลุดหุ้นคลังถือ: BCP OR DMT TFFIF และ TTB หลัง เผ่าภูมิ รมช.คลัง สั่ง สคร.ขายหุ้นไม่จำเป็นต้องถือ
หุ้นแนะนำวันนี้
CK(หุ้นแนะนำประจำสัปดาห์) คาดได้ Sentiment บวกจากการขับเคลื่อนโครงการภาครัฐ และการเดินหน้าโครงการสัมปทานทางด่วน Double Desk - รถไฟฟ้าฯ ของ BEM(S 22.75, R 24, SL 21)
รายงานพื้นฐานวันนี้
CPF
เจริญโภคภัณฑ์อาหาร
ราคาเนื้อสัตว์ที่ปรับตัวขึ้น เป็นสัญญาณกำไรกลับมา
ผู้บริหาร CPF เข้าร่วม Virtual Conference Call กับเรา โดยสารสำคัญออกมาในทิศทางบวก โดยภาพรวมราคาหมูไก่จะช่วยผลักดันกำไรปี 2024 แต่ปัจจัยที่ทำให้พลิกเป็นกำไรใน 1Q24 ยิ่งแข็งแกร่งขึ้นใน 2Q24 นั่นคือ 1) ราคาไก่จาก 41.7 บาท เป็น 43.5 บาท ซึ่งเป็นระดับที่กำไรตั้งแต่ 1Q24, 2) ราคาหมูจาก 62.8 บาท เป็น 71.5 บาท ซึ่งเพิ่งจะมีกำไรในเดือนเมษายนที่ผ่านมา, 3) ราคาหมูเวียดนามขึ้นไม่หยุดจาก 53 พันดอง เป็น 66 พันดอง ทำกำไรดีมากจากต้นทุนแค่ 45 พันดอง เนื่องจากโรค ASF ทำให้ supply หายไป 20%, 4) ต้นทุนวัตถุดิบลงต่อ ทั้งปีผู้บริหารคาดลง 5-7% 5) ตัดขาดทุนบางส่วนจากการขายฟาร์มไก่หมูที่ขาดทุนที่จีนไปแล้ว โดยผู้บริหารคาดหมูจีนจะพลิกเป็นกำไรใน 4Q24 แต่ข่าวดีที่เราเห็นก่อน คือ ราคาหมูจีนขยับขึ้นเป็น 16 หยวน ซึ่งใกล้แตะ breakeven แล้ว
ส่วนความเสี่ยงสูงสุดที่ผู้บริหารพูดถึง คือ การเมืองระหว่างประเทศ
Fundamental View: เราคงคำแนะนำซื้อเก็งกำไร ราคาเป้าหมาย 25 บาท
HANA
ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส
ฟื้นตัวใน 2Q24
เราประเมินรายได้ของแต่ละสินค้าจะยังคงฟื้นตัวแบบผสมผสานนำโดยกลุ่มที่ฟื้นตัวแข็งแกร่งอย่าง EMS ทั้งในส่วนของยานยนต์ สินค้าอุตสาหกรรมและ RF รวมถึง PMS ที่มีเครื่องจักรใหม่เข้ามา
แต่คาดธุรกิจ OSAT ทั้งในไทยและจีนยังคงอ่อนแอจากอุปสงค์ที่อ่อนตัวรวมถึงลูกค้า US ในจีนที่มีการยุติคำสั่งซื้อ
ภาพรวมเราประเมินยอดขายใน 2Q24 ที่ 186 ล้านเหรียญ ลดลง 7% YoY แต่เพิ่มขึ้น 4% QoQ และประเมินกำไรหลักเบื้องต้นที่ 590 ล้านบาท ลดลง 20% YoY แต่ฟื้นตัว 60% QoQ
Fundamental View: เรายังคงแนะนำ ถือ รอการฟื้นตัวกลับมาเติบโต YoY ใน 2H24
TOA
(Visit Note)
ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย)
แนวโน้มยังดูแผ่ว
ใน 1Q24 TOA รายงานกำไรหลักอยู่ที่ 654 ล้านบาท เติบโตเล็กน้อย 1% YoY แต่ลดลง 4% QoQ โดยแม้ TOA จะรายงานการปรับตัวขึ้นของอัตรากำไรขั้นต้นจากต้นทุนวัตถุดิบ (TIO2) ที่ลดลง แต่กำไรโตน้อยเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายด้านการตลาดสูงขึ้น
หากมองไปที่ 2Q24 เราคาดการเติบโตก็อาจจะยังไม่กลับมาน่าตื่นเต้น เนื่องจากดีมานด์เป็นหลัก โดยผู้บริหารมองว่ายอดขายในช่วง 2Q24 อาจไม่น่าตื่นเต้น โดยงบประมาณรัฐบาลไทยที่เบิกจ่ายช้า โครงการก่อสร้างบ้านที่ชะลอลง และดีมานด์ที่ชะลอลงในเวียดนาม (จากการปรับราคา) อาจจะยังส่งผลต่อกำไร
ขณะที่ด้านต้นทุนผู้บริหารก็มองผ่านจุดถูกสุดไปแล้ว ผู้ผลิตจีนเองก็มีกำไรน้อยมากแล้ว ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีการปรับราคาลงไปกว่านี้ (ถ้าราคาลงต่ำกว่านี้ ผู้ผลิตจีนก็อาจจะต้องปิดโรงงาน) นอกจากนี้หากยุโรปมีการใช้ Anti-Dumping กับ TIO2 จากจีนจริง ราคาของ TIO2 ในยุโรปก็อาจจะสูงขึ้นด้วย ส่วนประเด็นค่าแรง 400 บาท คาดส่งผลกระทบราวๆ 100 ล้านบาท/เดือน
Bloomberg consensus: คาดการณ์กำไร TOA เติบโต 4% ในปี 2024 (บนรายได้ที่โต 5% ในปี 2024) ปัจจุบัน TOA เทรดบน PER ที่ 17.9 เท่า
TASCO
(Visit Note)
ทิปโก้แอสฟัลท์
ภาพ 2Q24 ดีขึ้น
เรามีมุมมอง “Neutral” ต่อทิศทางผลประกอบการ โดยเฉพาะในช่วง 1H24 ที่อุปสงค์ในประเทศจากงบประมาณภาครัฐยังไม่เข้ามา (เร็วสุดน่าจะปลาย 2Q24) โดยแนวโน้ม 2Q24 ดีขึ้น QoQ จากงบประมาณรัฐบาลแต่เจอฐานสูง YoY ส่วน theme การลงทุนหลักคือ recovery และ unlock งบของภาครัฐใน 2H24
อย่างไรตาม ยังคงมีความไม่แน่นอนในด้านอัตรากำไรขั้นต้นจาก 1) ปัญหาการหาน้ำมันดิบ(เวเนซุเอลายังคงไม่มีความคืบหน้าหลังจากหมดช่วงผ่อนผันไปตั้งแต่ เม.ย. 2024 และ บริษัทคาดว่าน้ำมันดิบลำเรือแรกจะเข้ามาช่วงเดือน ส.ค.) เราคาดว่า GM อาจฟื้นตัวได้ไม่เยอะมากจากการมีสัดส่วนการซื้อ ยางมะตอยจากโรงกลั่นในภูมิภาคมาขายต่อมากขึ้น และ 2) ใน 3Q24 จะเข้าช่วงหน้าฝน (low-season สำหรับการทำถนนในประเทศ)
Valuation: ปัจจุบัน Bloomberg consensus ประเมินกำไรหลักปี 2024 ที่ 2.4 พันล้านบาทเติบโต 4% จากปี 2023 ปรับลงมาจากช่วงต้นปีที่ 2.8 พันล้านบาท ณ ระดับราคาปัจจุบันหุ้นเทรดที่ระดับ Forward PER ที่ 11 เท่า -1SD จากค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 12 เท่า แต่หากอิง Trailing PER อยู่ในระดับสูงที่ 22 เท่า
สรุปประเด็นจาก Quick take
BEM
ทางด่วนและ รถไฟฟ้ากรุงเทพ
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
เราเข้าร่วมการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา โดยผู้บริหารมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจรถไฟฟ้าในระยะสั้นและแนวโน้มการเติบโตของบริษัทในระยะยาว
View From Fundamental: แนวโน้มการเติบโตของกำไรสุทธิปี 2024 น่าจะเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้นได้ต่อไป นอกจากนั้นเรามองเห็นโอกาสของ BEM ในการพัฒนาธุรกิจผ่านการขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในประเทศไทยอีกมาก เราจึงคงคำแนะนำ “ซื้อ” (ราคาเป้าหมาย 12.40 บาท)
COM7
คอมเซเว่น
ผู้บริหารยังมีมุมมองค่อนข้างระมัดระวังต่อแนวโน้มในอนาคต
เราเข้าฟัง Opportunity Day ของ COM7 เมื่อช่วงบ่าย โดยผู้บริหารยังมีมุมมองค่อนข้างระมัดระวังต่อแนวโน้มในอนาคต โดยเฉพาะใน 2Q24
View From Fundamental: หลังจากฟังผู้บริหาร เรายังมีมุมมองที่คล้ายเดิมกับ COM7 ในแง่การเติบโตด้วย seasonality และฐาน COM7 ก็อาจจะยังเห็นการฟื้นตัวของการเติบโตบ้างใน 2H24 แต่เรายังมองการเติบโตปีนี้ถึงระยะยาวของกำไร YoY อาจจะไม่เหมือนที่เคยเห็นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จาก purchasing power ของ consumer ที่เปลี่ยนไป (household debt ยังอยู่ในระดับสูง) และการแข่งขันที่สูง การปรับโครงสร้างเรื่องค่าใช้จ่ายในการขยายสาขา อาจจะยังต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผล เรายัง prefer discretionary retail ตัวอื่นๆ เช่น CPN, ILM, และ TAN มากกว่า (ทั้งในแง่ Valuation และการเติบโต)
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน