AT THE OPEN (#ATO)
SET Index แกว่งผันผวน
กลยุทธ์เลือกหุ้นมีปัจจัยบวกเฉพาะ
Market Strategy
SET Index วันนี้พักตัวตามกรอบ 1355-1375 จุด การรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและบริการสหรัฐฯเดือน พ.ค. ออกมาดีกว่าคาด เพิ่มความกังวลต่อเงินเฟ้อลงช้าและส่งผลต่อการปรับลดดอกเบี้ยฯ ช้าลงตาม สะท้อนจาก FEDWATCH Tool ล่าสุดปรับมุมมองดอกเบี้ยสหรัฐฯจะลด 1 ครั้งปีนี้ในเดือน พ.ย. เทียบกับสัปดาห์ก่อนที่คาดจะปรับลดดอกเบี้ยฯ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเกิดในเดือน ก.ย. ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้ปรับลงในช่วง -0.4% ถึง -1.5% U.S. Bond Yield 10 ปีปรับขึ้น 5 bps และ Dollar Index แข็งค่า 0.6% สภาพแวดล้อมข้างต้นมอง Sentiment เชิงลบต่อตลาดหุ้นและ Fund Flow ในภูมิภาค
ส่งออกไทยเดือน เม.ย. มีมูลค่า 2.3 หมื่นล้านเหรียญฯ ปรับตัวขึ้น +6.8% ดีกว่าที่ Consensus คาด -0.2% YoY อย่างมีนัยสำคัญ หากประเมินเฉพาะ Real sector ไม่รวม ทองคำ น้ำมัน อาวุธ ขยายตัวสูงถึง +11.4%YoY ตัวเลขส่งออกที่ดีกว่าคาดข้างต้น ผสานกับรายงานตัวเลข GDP Growth 1Q67 และกำไรบริษัทจดทะเบียนที่ล้วนดีกว่าตลาดก่อนหน้า น่าจะเป็นสัญญาณชี้นำต่อภาพเศรษฐกิจที่อยู่โหมดผ่านจุด Bottom ไปแล้วซึ่งเชื่อว่าเป็นปัจจัยหนุนต่อราคาหุ้นต่อไป แต่อย่างไรก็ตามประเด็นความไม่แน่นอนทางการเมืองอาจยังสร้าง Overhang หลังศาลรัฐธรรมนูญศาล รธน. มีมติรับคำร้องชี้ขาดคุณสมบัตินายกฯ แต่มีมติไม่สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ โดยให้แจ้งข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน ส่วนกรณี คุณพิชิต ไม่รับคำร้องเพราะลาออกไปแล้ว ประเมินผลกระทบเป็นกลางต่อตลาดในระยะสั้นที่รัฐบาลยังสามารถเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ตามปกติ แต่ในระยะถัดไปเป็นปัจจัยที่กลับมาสร้างความผันผวนต่อตลาด โดยเฉพาะช่วงที่เข้าใกล้ศาลฯนัดฟังคำวินิจฉัย (ทั้งนี้อ้างอิงช่วงที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯ ของ พลเอก ประยุทธ์ ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน) กลยุทธ์การลงทุนเลือกหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะ ITC OSP
Market Summary
SET Index ปรับลง -3 จุด หลักๆ จากกลุ่มพลังงานที่ปรับลงตามราคาน้ำมันดิบกดดัน PTTEP -0 .7% TOP -1.8% ตามด้วยกลุ่มค้าปลีกแรงขายจาก CPALL -0.8% CPAXT -1.7% กลุ่มอสังหาฯ ปรับลง -1% ส่วนกลุ่มที่ปรับขึ้นกลุ่มอิเล็คทรอนิกส์ได้ 3.3% sentiment บวกจาก NVIDIA ที่รายงานงบดีกว่าคาด กลุ่มอาหารจาก CPF +3.1% TFG +7% ตามทิศทางราคาหมูไก่ที่ฟื้นตัว
ATO Daily Stock Picks
แนะนำ OSP ITC
ITC สัญญาณบวกจากภาคส่งออก
ITC ทิศทางผลประกอบการช่วง 2Q67 มีแนวโน้มโตดี YoY จากรายได้ที่เติบโต GPM ที่คาดดีต่อจากต้นทุนวัตถุดิบลดลงและผลบวกจาก Operating Leverage เนื่องจากการใช้อัตราการผลิตที่สูงขึ้น ด้านค่าใช้จ่ายค่าเสื่อมลดลงจากเดิมหลังมีการเลื่อนเปิดสายผลิตใหม่จากเดิม เม.ย. เป็น มิ.ย. 67
ระยะสั้นเราเห็น 3 สัญญาณบวกที่จะเป็นแรงหนุนต่อราคาหุ้น 1) ทิศทางเงินบาทเทียบ USD พลิกอ่อนค่าหลังรายงานตัวเลข PMI ภาคการผลิตเดือน พ.ค. แข็งแกร่งกว่าคาด 2) การรายงานส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงเดือน เม.ย. ที่มีสัญญาณบวกจากอาหารสัตว์เลี้ยงที่ขยายตัว 53%YoY และ 3) เราคาด ITC มีโอกาสคัดเลือกเข้าคำนวณใน SET50 Index รอบ 2H67
ในมุม Valuation อิง BB Consensus ซื้อขายบน PER67E ที่ 21.2 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 22.3 เท่าจึงมองระดับราคาปัจจุบันไม่แพง
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 22.20 บาท
OSP Earnings โตเด่น
OSP คาดกำไร 2Q67E มีแนวโน้มเติบโตYoY ได้ต่อเนื่อง สนับสนุนจากยอดขายในประเทศที่มีแนวโน้มฟื้นตัวจากฤดูร้อน และแนวโน้มอัตรากำไรที่ดีจากต้นทุนเชื่อก๊าซธรรมชาติที่ต่ำลง
คาดการณ์เติบโตของกำไรปกติในปี 67 ที่ 21% YoY จากการเติบโตยอดขายในประเทศได้แรงหนุนจากส่วนแบ่งตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลังที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยอดขายเครื่องดื่มฟังก์ชันนอลเพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่ำและการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้านยอดขายในต่างประเทศเติบโตเช่นกัน ทั้งในเมียนมาร์และการออกเครื่องดื่มชูกำลังรสชาติใหม่ และอัตรากำไรขั้นต้นจะจากการประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น ต้นทุนพลังงานลดลง
ราคาปัจจุบันซื้อขายบน PER67E ที่ 23 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย -1.5 S.D. ถือเป็นระดับไม่แพง แถมมี Dividend Yield 67Eคาดสูงที่ 4.8% ช่วยจำกัด Downside
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 23.20 บาท
KEY FACTOR
ปัจจัยภายในประเทศผสมผสาน 1) ได้แรงหนุนจากตัวเลขส่งออกไทย เดือน เม.ย. +6.8% YoY ที่ดีกว่าคาดมาก โดยสินค้าอุตสาหกรรม แล อุตสาหกรรมเกษตร ปรับตัวขึ้นเด่น ผสานกับฐานที่ต่ำในช่วงปีที่ผ่านมา (สินค้าเด่น อาหารทะเลกระป๋อง ยางพารา อาหารสัตว์เลี้ยง เครื่องปรุงรส ไก่แปรรูป) อย่างไรก็ตาม 2) บทสรุปคำพิจารณาของศาล รธน. ที่รับคำร้องกรณีถอดถอนนายกฯ แต่ไม่สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ แม้ว่าระยะสั้นจะทำให้การเดินหน้าขับเคลื่อนงบโครงการและงบฯ รัฐสามารถทำได้ต่อเนื่อง แต่ในระยะกลางยังถือเป็นปัจจัยที่สร้างความไม่แน่นอนต่อตลาดไปอีกประมาณ 1 เดือนข้างหน้า
ภาพรวมการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจ ถือว่าภาคการผลิตสะท้อนการฟื้นตัวที่ดีกว่าคาด 1) S&P Global PMI ภาคการผลิตและบริการของสหรัฐฯอยู่ที่ระดับ 50.9 และ 54.8 (Consensus คาด 49.9 และ 51.2 ตามลำดับ) 2) HCOB PMI ภาคการผลิตและบริการของ Eurozone อยู่ที่ระดับ 47.4 และ 53.3 (Consensus คาด 46.1 และ 53.6 ตามลำดับ)
EYES ON
24 พ.ค. ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน
นักกลยุทธ์ : ธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์, ชาญชัย พันทาธนากิจ