Today’s NEWS FEED

News Feed

บล.บัวหลวง : รอบด้านตลาดหุ้น

624


ภาพตลาดและแนวโน้ม
Market wrap & Outlook

แนวโน้มสินทรัพย์ต่างประเทศ อัพเดต Momentum Tracker แนวโน้มตลาดหุ้นโลกและทองคำ
“ไฮไลต์ในสัปดาห์ก่อน”
สัปดาห์ที่ผ่านมา เงิน (silver) ปรับตัวขึ้นถึง 11.7% โดดเด่นที่สุดในจำนวนสินทรัพย์ที่เราติดตาม รองลงมาได้แก่ Bitcoin (+10.3%) และทองแดง (+7.7%) ส่วนตลาดหุ้นโลกและทองคำปิดบวก 1.6% และ 2.3% ตามลำดับ โดย MSCI All-Country World Equity ได้ทำจุดสูงสุดใหม่อีกครั้ง ในขณะที่ราคาพันธบัตร 10 ปีสหรัฐก็ฟื้นตัวได้เช่นเดียวกันปิด +0.7% WoW ทำให้ภาพโดยรวมของสัปดาห์ที่แล้ว จึงเป็นสัปดาห์ที่ดีของหลายๆสินทรัพย์
“ปัจจัยเศษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่”
วันจันทร์: CN Loan Prime Rate 1Y และ 5Y (consensus คาดธนาคารกลางจีนจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 3.45% และ 3.95% ตามลำดับ)
วันพุธ: JP Balance of Trade เดือน เม.ย. (consensus คาดญี่ปุ่นจะเกินดุลการค้า 339.5 พันล้านเยน)
วันพฤหัสบดี: US FOMC Minutes หรือ รายงานการประชุมเฟด
“แนวโน้มของราคาสินทรัพย์ต่างๆในสัปดาห์นี้”
1 เราคาดว่าตลาดหุ้นโลกจะยังอยู่ในภาวะ risk-on sentiment ต่อไป โดยแม้ว่า MSCI All-Country World อาจมีจังหวะ pullback บ้างเป็นบางวัน เนื่องจากปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 7% ในช่วงสี่สัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเรามองว่า ภาพโดยรวม ดัชนีน่าจะยังทำ higher high ได้ จากการมี momentum breadth ที่ดีขึ้น เราคาดว่าในระยะสั้นดัชนี MSCI Asia ex Japan และ EM จะปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าดัชนี MSCI DM จากการมี relative valuation ที่ถูกกว่า และ Momentum Tracker ที่ตึงตัวน้อยกว่า
2 ดัชนี S&P500 ขึ้นทดสอบระดับ 5300 จุด ซึ่งเป็น base-case target ของเราได้แล้วในสัปดาห์ก่อน เราคาดว่าดัชนียังมีลุ้นขึ้นไปทดสอบเป้าหมาย best-case target ที่ 5500 จุด ได้ในช่วงที่เหลือของไตรมาส 2 ก่อนที่จะพีคในปีนี้ที่ระดับดังกล่าว
3 ราคาทองคำและเงิน (silver) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นอย่างแรง ทำให้สัปดาห์นี้ราคาอาจหยุดพักบ้างเป็นบางวัน แต่ภาพรวมน่าจะยังคงเป็นทิศทางขาขึ้น (uptrend)
เรามองว่าราคาทองคำตลาดโลก (Gold Spot) มีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นไปทดสอบเป้าหมายสูงสุด (best-case target) ที่ระดับ 2,500 เหรียญต่อออนซ์ อย่างไรก็ตาม การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในช่วงที่เหลือของไตรมาสที่ 2 นี้อาจมีความผันผวนและมีโอกาสที่จะกลับทิศทางได้ตลอดเวลา จึงแนะนำให้ใช้จังหวะนี้ในการทยอยขายทำกำไร (sell into strength) มากกว่าการซื้อเพิ่ม
ส่วนราคาเงินตลาดโลก (Silver Spot) เรามองว่าในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านี้จะยังคงมีแนวโน้มที่ดี โดยแม้ว่าราคาจะเพิ่งปรับตัวขึ้นไปทดสอบเป้าหมาย base-case target ของเราที่โซน 30-33 เหรียญแล้วก็ตาม แต่ราคายังมีโอกาสขึ้นไปทดสอบเป้าหมายถัดไปที่โซน best case 37.5-40 เหรียญ
4 สำหรับราคาพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะยังคงมีความผันผวนในสัปดาห์นี้ จากแรงกดดันของการเปิดเผยรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC Minutes) ซึ่งอาจมีเนื้อหาในโทนที่บ่งชี้ว่าเฟดยังคงมีความกังวลต่อระดับเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม เรามีมุมมองว่าความกังวลของตลาดต่อเรื่องเงินเฟ้อจะค่อยๆ ลดบทบาทลงในช่วงครึ่งหลังของปี และจะถูกแทนที่ด้วยความกังวลเกี่ยวกับตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มอ่อนแอลง ตามเหตุผลที่ให้ไปก่อนหน้านี้ ดังนั้น พันธบัตรจึงเป็นสินทรัพย์ที่ น่าทยอยสะสม มากกว่าที่จะขายออก ในช่วง 1-3 เดือนข้างหน้า ตามมุมมองของเรา

สรุปภาพตลาดวานนี้
ศุกร์ที่ผ่านมา SET ค่อยๆ ขยับขึ้นต่อ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กลับมาบวกพาตลาดเขียว DELTA HANA รวมทั้งหุ้นเชื่อมโยงเศรษฐกิจจีนอย่าง ปิโตรเคมี PTTGC TOP IVL แพ็คเกจจิ้ง SCGP เดินเรือ RCL TTA เป็นต้น และหุ้นกลุ่มบวกแรงๆ ที่ชื่อรีเทิร์นกลับมาอีกครั้ง เช่น SECURE SIS PIMO เป็นต้น

แนวโน้มตลาดวันนี้
ขึ้นพ้นน้ำ
ตามคาดตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยดัชนีตลาดหุ้นยังวนเวียนอยู่ในกรอบเดิมที่เราคาด 1,360-1,385 จุด เป็นการพักฐานต่อเนื่องสัปดาห์ที่ 2 แต่ราคาหุ้นตัวกลาง-เล็ก ยังคงผันผวนสูง ลงแรง แม้จะรีบาวด์ได้ แต่ก็ยังไม่พ้นราคาที่ปรับลง เช่น NEX EA PSP JMART KCE DELTA เป็นต้น สะท้อนภาวะราคาหุ้น กลาง เล็ก ที่ยังคงหนีไม่พ้นความผันผวนจาก โรบอทเทรด และ การถูก ชอร์ตเซล ซึ่งมาตรการที่ ตลท.ประกาศยังไม่ได้เริ่มใช้งาน
เราจึงยังคงใช้ความระมัดระวังในการเลือกหุ้นเล่น และเน้นไปที่หุ้นบูลชิพใหญ่-กำไรดี ไว้ก่อน ส่วนการเลือกเก็งกำไรหุ้น กลาง-เล็ก ยังคงต้องชะลอไว้ก่อน รอเดือนหน้ามาตรการกำกับฯ เริ่มใช้แล้วค่อยว่ากัน
ด้านประเด็นหนุนการลงทุนเรามองว่าโดยภาพรวมแล้วดูเป็นบวกมากขึ้น
1.) ทิศทางอัตราแลกเปลี่ยนเริ่มเห็นความผันผวนของค่าเงินบาท และค่าเงินภูมิภาคที่ลดลง จากก่อนหน้านี้ที่อ่อนค่ารวดเร็ว เริ่มเห็นสัญญาณของการกลับมาแข็งค่า
2.) ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ เริ่มลดลงแล้ว และมีแนวโน้มที่จะลดลงอีกโดยสหรัฐฯจะถอดราคาสินค้าโภคภัณฑ์บางอย่างออกจากตระกร้าเงินเฟ้อ เช่น เมล็ดกาแฟ กอปรกับทิศทางตลาดอสังหาฯสหรัฐฯที่เริ่มชะลอ
3.) จีนทยอยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ ทั้งการออกจำหน่ายพันธบัตรระยะยาวพิเศษกว่า 1 ล้านล้านหยวน, แนวทางออกมาตรการอุ้มภาคอสังหาฯ เป็นต้น
4.) ปัจจัยในประเทศ: กำไร บจ.ไทย ไตรมาสแรก จบลงไปด้วยกำไรที่ดีกว่าคาดไป 41%, รอติดตามข้อสรุป มาตรการสนับสนุนการออม เช่น การนำ LTF กลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการปรับเกณฑ์ TESG SSF, เดือนหน้า มาตรการ Uptick short sell, การคุมโรบอทเทรด ฯลฯ จะเริ่มใช้ เป็นต้น
กลยุทธ์แนะนำ เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว โฟกัสไปข้างหน้ามองหาปัจจัยหนุนแนวโน้มกำไรไตรมาส 2/24 และครึ่งปีหลัง ตลอดจนการเลือกหุ้นเล่นตามกระแส เช่น หุ้นรับอานิสงส์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนขนานใหญ่ เป็นต้น

คาดกรอบดัชนีหุ้นไทยสัปดาห์นี้ “ขึ้นพ้นน้ำ” 1,370-1,395/1,400 จุด

 

 

กลยุทธ์การลงทุน กลยุทธ์แนะนำ
เลือกหุ้นเล่นเป็นรายตัว เริ่มโฟกัสไปข้างหน้าหลังเห็นงบทั้งหมดในสัปดาห์นี้ เน้นไปที่แนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะมีโอกาสถูกปรับเพิ่มประมาณการณ์ หรือ มองเห็นปัจจัยหนุนชัดเจนที่จะเข้ามาเกื้อหนุนต่อผลการดำเนินงานหลังจากนี้ เช่น ฤดูกาลท่องเที่ยวของฝั่งตะวันตก (โอลิมปิกฝรั่งเศส, บอลยูโร เยอรมัน) MINT AOT อาหารส่งออก TU CPF เป็นต้น

วิเคราะห์ทางเทคนิค
SET ทะลุโซนต้าน 1,380 จุด...สำเร็จ! ผลลัพธ์ทำให้ภาพรายวัน daily - รายสัปดาห์ weekly ปิดสวยงาม จับตาโมเมนตัม MACD กำลังจะทะลุเส้น 0 บ่งชี้ภาวะกระทิงขาขึ้นกำลังมา…..นอกจากนี้เส้น EMA รวม 3 เส้นรวมตัวกัน “golden cross” หนุนสัญญาณกลับตัว....สัปดาห์นี้ภาวะตลาดอาจจะกลับมาคึกคัก วอลุ่มตลาดมีโอกาสเพิ่มขึ้นตามทิศทางดัชนี (คาดสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 หมื่นล้านบาท) ไฮไลน์วันนี้การประกาศตัวเลข GDP 1Q/24 by สภาพัฒน์ หากรายไตรมาสสามารถพลิกจากเดิมที่ -0,6% กลับเป็นบวกและรายปีเกิน 1.7% จะส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นแน่นอน!

What to watch
สว.ร้องศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ถือเป็นหน้าที่ "อ.เจษฎ์" ชี้โอกาสเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองสูง รอลุ้นคำสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ จับตาศาล รธน. นัดพิจารณา 23 พฤษภาคม
ประเด็นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท เดือน ต.ค. ยังไม่นิ่ง หลังมีองค์กรเอกชนเกือบ 200 องค์กร ค้านนโยบายรัฐบาลดังกล่าว ทั้งนี้ วันที่ 19 มิ.ย. คาดว่าจะมีการประชุมและหาทางออกอีกที
การประชุม FETCO วันที่ 21 พ.ค. เพื่อคลอดเกณฑ์ใหม่สำหรับ TESG, SSF รวมถึงการเสนอมาตรการสนับสนุนการออม เช่น นำ LTF กลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่เร็ว
รายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐวันพุธ


หุ้นแนนำวันนี้
IVLความได้เปรียบจากการที่มีโรงงานในพื้นที่ โซนทะเลแดง ซึ่งเส้นทางเดินเรือดังกล่าวเสี่ยงต่อภัยสงครามสูง กลายเป็นอุปสรรค์ต่อธุรกิจคู่แข่งที่ไม่สามารถขนส่งสินค้าฯ หนุนกำไรไตรมาส 2 ให้ดีขึ้นอีก นอกจากได้อานิสงส์ฤดูกาลและบอลยูโร บวกโอลิมปิก
(S 24.5, R 26.5, SL 24)



รายงานพื้นฐานวันนี้

Thai Market Strategy
เปิดแนวโน้มภาพรวมกำไร 2Q24 ครั้งแรก
สรุปคาดการณ์กำไร 2Q24 จะเติบโตดีต่อ 22% YoY (แต่ทรงตัวที่ -2% QoQ) โดยกลุ่มที่คาดจะเติบโตดี YoY ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ (ราคาเนื้อสัตว์ขึ้น, ต้นทุนอาหารสัตว์ลง), กลุ่มน้ำดื่ม (อุปสงค์ยังดี ทั้ง Energy และ Functional drinks) กลุ่มอาหารสัตว์ (อุปสงค์ขยายตัว), กลุ่มขนส่ง (ปริมาณผู้โดยสารดีทั้งบนบก/ทางอากาศ), กลุ่มนิคมฯ (ยอดโอนที่ดิน และราคาที่ดินปรับตัวขึ้น), กลุ่มการแพทย์ (เน้นผู้ป่วยต่างชาติยังเติบโตดี หลังรอมฎอน) และกลุ่มค้าปลีก (จากกลุ่มของใช้จำเป็น)
ในทางตรงข้าม กลุ่มที่คาดกำไรยังชะลอตัว YoY ได้แก่ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง (SCC ยังโดนกดดันจากธุรกิจปิโตรฯ) กลุ่มอสังหาฯ (กำลังซื้อยังอ่อนแอ) กลุ่มยานยนต์ (กำลังซื้อยังอ่อนแอ)
ส่วนคัดหุ้นที่คาดจะเด่นแต่ละกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนิคมฯ (AMATA), กลุ่มโรงไฟฟ้า (GULF), กลุ่มอาหาร (ITC), กลุ่มรับเหมาฯ (STEC), กลุ่ม Consumer (CPN), กลุ่มการเงิน (MTC) และกลุ่มการแพทย์ (BH)

Retail Finance Sector
เลือกเล่นกลุ่มเห็นคุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้นในปี 2024
ภาพรวมกำไรสุทธิ 1Q24 ของกลุ่ม Retail Finance อยู่ที่ 5.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% YoY (สินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมเติบโต) และ 5% QoQ (credit cost ลดลง) นำโดย MTC, TIDLOR และ SAWAD
ผู้บริหารของกลุ่ม Retail Finance ยังมีมุมมองระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจในปีนี้ โดยส่วนใหญ่ยังคงเป้าหมายทางการเงินไว้เช่นเดิม อย่างไรก็ตาม เราเห็นสัญญาณบวกจากทิศทางคุณภาพสินทรัพย์ของ MTC, SAWAD และ TIDLOR ฟื้นตัวดีขึ้นใน 1Q24
Fundamental view: เราเลือก MTC และ TIDLOR เป็นหุ้น Top pick เพราะเราเห็นทิศทางคุณภาพสินทรัพย์ฟื้นตัวดีขึ้นและเห็น upside สำหรับกำไรปีนี้ราว 5%

BLA
(Visit Note)
กรุงเทพประกันชีวิต
ให้ความสำคัญด้านผลิตภัณฑ์และช่องทางการขาย
เรามีมุมมองเป็นกลางต่อกลยุทธ์ปี 2024 ของ BLA ที่จะเน้นขายผลิตภัณฑ์ที่มีกำไรสูงมากขึ้น และพัฒนาช่องทางการขายผ่านธนาคารและตัวแทน โดยตั้งเป้าหมายเบี้ยประกันภัยรับปีแรกเติบโตมากกว่า 10% YoY สำหรับปี 2024 และตั้งเป้าเบี้ยประกันภัยรับปีต่อทรงตัวจากปี 2023 นั่นคือส่วนที่เติบโตจะมาจากกลุ่มอัตรากำไรสูงดังกล่าว
BLA รายงานกำไรสุทธิ 1Q24 ที่ 1.2 พันล้านบาท (สูงกว่าที่ตลาดคาดมาก) เพิ่มขึ้นถึง 64% YoY และ 247% QoQ สาเหตุหลักมาจากค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัยลดลง เพราะมีกรมธรรม์ประกันชีวิตครบกำหนดเยอะใน 1Q24 อย่างไรก็ตาม เราประเมินว่าทิศทางกำไรของ BLA ได้ผ่านจุดสูงสุดของปีไปแล้วใน 1Q24 และราคาหุ้นได้สะท้อนผลบวกจากกำไร 1Q24 ที่ดีกว่าตลาดคาดมากไปในระดับนึงแล้ว
ทั้งนี้ Bloomberg consensus คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2024 ของ BLA ที่ 3.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 37% YoY จากแนวโน้มอัตราส่วนค่าใช้จ่ายประกันภัยต่อเบี้ยประกันภัยรับลดลง

 

TVO
(Visit Note)
น้ำมันพืชไทย
ต้นทุนถั่วเหลืองต่ำ หนุนมาร์จิ้นโตต่อใน 2Q24
TVO รายงานกำไรสุทธิ 1Q24 ที่ 308 ล้านบาท เติบโต 141% YoY จาก 128 ล้านบาท หนุนจากอัตรากำไรขั้นต้นฟื้นตัวเป็นปัจจัยสำคัญ
บริษัทคาดราคาถั่วเหลืองโลกจะยังคงทรงตัว จากตัวเลขคาดการณ์สต๊อคถั่วเหลืองของโลกฤดูกาล 2024/25 จะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นของ TVO จะขยายต่อเนื่องจาก 1Q24 ไปยัง 2Q24 ผู้บริหารคาดปริมาณการขาย 2Q24 จะสูงขึ้น YoY และ QoQ จากการขายกากถั่วเหลืองและน้ำมันถั่วเหลือง
Settrade consensus คาดกำไร TVO ปี 2024 อยู่ที่ 1,295 ล้านบาท จาก 730 ล้านบาท ปี 2023 และ Dividend yield 4.9% ต่อปี (ปัจจุบัน TVO เทรด PE2024 ที่ 14 เท่า หรือ เท่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลัง)

KCG
(Visit Note)
เคซีจี คอร์ปอเรชั่น
แนวโน้มกำไร 2Q24 เติบโต YoY
KCG รายงานกำไรหลัก 1Q24 อยู่ที่ 86 ล้านบาท เติบโต 64% YoY แต่ลดลง 38% QoQ (ตามฤดูกาล) เราคาดการณ์กำไร 2Q24 จะยังเติบโต YoY และทรงตัว QoQ ผลักดันโดย 3 ปัจจัยสำคัญ คือ การเติบโตของยอดขาย อัตรากำไรขั้นต้น (GM) และสัดส่วนค่าใช้จ่ายขายและบริหารต่อยอดขาย
อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญ คือ การปรับขึ้นของราคาวัตถุดิบ (วัตถุดิบการผลิตหลักของ KCG คือ Butter oil, Cheese, และน้ำมันปาล์ม ซึ่งคิดเป็น 1/3 ของต้นทุนวัตถุดิบ) เป็นปัจจัยเฝ้าระวังใน 2H24 ซึ่งขึ้นกับความสามารถในการจัดการบริหารพอร์ตสินค้าและการผลิต จะช่วยลดผลกระทบดังกล่าวหรือไม่
Our view: KCG เป็นหุ้นที่ valuation ไม่แพงที่ PER ปี 2024 ที่ 15.4 เท่า (เทียบ peers ที่ 21 เท่า)

 

VRANDA
(Visit Note)
วีรันดา รีสอร์ท
เห็นแสงสว่างรอบใหม่ ที่รอเวลาสาดส่อง
VRANDA รายงานกำไรสุทธิ 1Q24 ที่ 36 ล้านบาท เติบโต 413% YoY (จากกำไรเพียง 7 ล้านบาท ใน 1Q23) และพลิกจากขาดทุน 113 ล้านบาท ใน 4Q23 (Turnaround QoQ) มาจากทั้งโรงแรมและอสังหาฯ โดยโรงแรมเห็น RevPar เติบโต 11% YoY, 14% QoQ (ทิศทางเดียวกับอุตสาหกรรม) ส่วนแนวโน้ม 2Q24 แม้เป็น Low Season แต่คาดไม่กลับไปขาดทุน เพราะมีการโอนอสังหาฯ ที่หัวหิน-ชะอำช่วย และไม่โดนธุรกิจคาเฟ่ฉุดเหมือนปีก่อน (สาขาสุดท้ายจะปิดเดือนนี้)
แต่ Highlight ที่เราคิดว่าน่าสนใจ คือ ปัจจัยบวกใหม่จากโครงการที่จะเสร็จใน 4Q24 ที่ภูเก็ต (รวมทั้งการขยายตึกใหม่ที่สมุย) จะเพิ่มห้องไปราว 15% จากเดิม และ Room Rate เฉลี่ยเพิ่ม รวมทั้งมีการโอนโครงการอสังหาฯ บนทำเลเดียวกันไปในตัว หนุนการเติบโตรายได้ปี 2025 ราว 30% อย่างไรก็ตาม เรามองว่าตลาดยังรอความชัดเจนมากกว่านี้จาก 1) ผลประกอบการ 2Q24 ที่จะเป็นฐานใหม่ 2) แนวโน้มการจองห้องของโรงแรมใหม่ที่ภูเก็ต ว่าจะ Cover ต้นทุน-ค่าใช้จ่ายในช่วยเริ่มต้น หรือจะเป็นตัวฉุดกำไร
ขณะที่ Valuation อิง PBV ตามจริงอยู่ที่ 0.96 เท่า ต่ำกว่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 14% (กลุ่ม รร. เราอยู่ที่ 8%) แต่หากพิสูจน์ประเด็นบวกข้างต้นให้ตลาดเห็นความชัดเจนได้ (น่าจะเป็นช่วง Preview ไตรมาส 2 เป็นต้นไป) เชื่อว่าตลาดจะให้มูลค่าเพิ่ม และ Re-rate valuation หลังจากนั้น

 

 

ASW
(Visit Note)
แอสเซทไวส์
ม้ามืด เติบโตท่ามกลางตลาดอสังหาฯ อันดุเดือด
ASW รายงานกำไรหลัก 1Q24 ที่ 256 ล้านบาท ลดลง 9% YoY และ 49% QoQ ตามฤดูกาล ถือว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทอสังหาฯ ที่เติบโตได้ในสถานการณ์การแข่งขันอันดุเดือด มาจากการโอนต่อเนื่องที่สร้างเสร็จใน 4Q23 และ 1Q24
นอกจากนี้แนวโน้ม 2Q24 ผู้บริหารมีความมั่นใจต่อมาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนและจดจํานองเหลือ 0.01% ในราคาตํ่ากว่า 7 ล้านบาท ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ของ ASW และมีโครงการแนวราบเด่นๆ เพิ่มเติม
Bloomberg consensus คาดการณ์กำไร ASW ที่ 1,121 ล้านบาท เติบโต 28% ในปี 2024 กำหนดราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 9.50 บาท (ช่วง 9.50-9.80 บาท) และให้คำแนะนำซื้อทุกราย

 

สรุปประเด็นจาก Quick take

AMATA
อมตะ คอร์ปอเรชัน
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
เราเข้าร่วมการประชุมนักวิเคราะห์กับ AMATA โดยเรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มยอดจองซื้อที่ดินและยอดโอนในปี 2024
View From Fundamental: แนวโน้มการย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศจีนจะช่วยหนุนยอดขายที่ดินของ AMATA ต่อไป เรายังคงคำแนะนำ "ซื้อ" ต่อ AMATA ด้วยราคาเป้าหมาย 29 บาท

OR
ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
เราเข้าร่วมการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ผู้บริหารมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มการเติบโตของผลการดำเนินงานในปี 2024 และในระยะยาว
View From Fundamental: คาดการณ์การเติบโต YoY ของกำไรในปี 2024 น่าจะเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้นได้ต่อไป นอกจากนี้ยังมีอัพไซต์ต่อประมาณการกำไรของเราจากการลงทุนใหม่ๆ เราจึงคงคำแนะนำ “ซื้อ” (ราคาเป้าหมาย 22 บาท)

BEC
บีอีซี เวิลด์
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
เราเข้าร่วมการประชุมนักวิเคราะห์ช่วงบ่ายวันนี้มุมมองออกมาเป็นกลาง
View From Fundamental: ภาพรวมเรายังไม่เห็นทิศทางการฟื้นตัวที่ชัดเจน ยังแนะนำ wait-and-see "

SAWAD
ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
SAWAD จะเน้นเติบโตสินเชื่อจำนำทะเบียนเป็นหลัก เพื่อควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ให้ดีขึ้น ขณะที่แนวโน้มขาดทุนจากการขายรถยึดจะทยอยลดลงตั้งแต่ 2Q24 หนุนแนวโน้มกำไรฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปีนี้
View From Fundamental: เรามีมุมมองเป็นกลาง โดยคาดแนวโน้มกำไรจะทยอยฟื้นตัวตั้งแต่ 2Q24 จากผลขาดทุนจากการขายรถยึดทยอยลดลง แนะนำซื้อ

 

TOP
ไทยออยล์
ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์
เราเข้าร่วมการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ผู้บริหารมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมใน 2H24 และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของบริษัทในระยะยาว
View From Fundamental: แนวโน้มการฟื้นตัวของค่าการกลั่นใน 2H24 น่าจะเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้นได้ต่อไป มูลค่าหุ้นยังคงอยู่ในระดับที่น่าสนใจ โดยซื้อขายที่ PBV ณ สิ้นปี 2024 ที่เพียง 0.7 เท่า (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 1.4 เท่าอยู่ 1.3SD) เราจึงคงคำแนะนำ “ซื้อ” (ราคาเป้าหมาย 68 บาท)

BJC
เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ยังรอ catalyst ด้านการเติบโต
เช้าวันนี้ผู้บริหาร BJC พบนักลงทุนหลัง หลังจากบริษัทประกาศงบ 1Q24 เมื่อกลางอาทิตย์ โดยรวมแม้ผู้บริหารยังคงเชื่อมั่นในการเติบโตทั้งในแง่รายได้และกำไรในปีนี้ แต่ตัวเลข 2Q24 ยังดูแผ่ว
View From Fundamental: ราคาหุ้น BJC ยังขาดปัจจัยหนุน (นอกจาก เรื่องภาษีที่น่าจะสูงขึ้นและ SSSG ที่แผ่วลง BJC กำลังจะเข้า low season ใน 2Q-3Q ด้วย) เรายัง prefer CPALL และ CPAXT มากกว่า

BAM
บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์
เตรียมจัดตั้ง JV AMC ร่วมกับธนาคารออมสิน
BAM เตรียมจัดตั้ง JV AMC ร่วมกับธนาคารออมสิน ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 25 ล้านบาท
View From Fundamental: เรามีมุมมองเป็นกลางต่อการจัดตั้ง JV AMC เพราะประเมินว่าการบริหารหนี้แบบมีหลักประกันจะใช้เวลานานในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ นอกจากนี้ เราประเมินว่า BAM ยังไม่ชำนาญในธุรกิจบริหารหนี้แบบไม่มีหลักประกัน จึงคาดว่ายังไม่เห็นผลบวกต่อกำไรของ BAM ในปีนี้หรือต้นปี 2025 ขณะที่เราคาดธุรกิจบริหารสินทรัพย์ของ BAM จะฟื้นตัวค่อนข้างช้าในปีนี้ ผลกระทบจากเศรษฐกิจฟื้นตัวไม่ทั่วถึง จึงยังแนะนำขาย

 


วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
นภนต์ ใจแสน นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
ภูวดล ภูสอดเงิน, AISA นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน

 

 

 

 

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

หมดแรง By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ เห็นหลายตลาด หมดแรง อ่อนตัวลง แต่หุ้นไทย วูบไป 1.44% ในเช้าวันนี้ ด้วยใช้ข่าวดี .....

ออมแรง ออกแรง By : เจ๊มดแดง

เจ๊มดแดง ไต่กิ่งมะม่วง ยามนี้ ต้อง ออมแรง ออกแรง พลิกแพลงตามสถานการณ์ ด้วยการเมืองในประเทศ มีหลายกระแส ทั้งปรับครม.....

มัลติมีเดีย

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

NER บนสงครามการค้าโลก - สายตรงอินไซด์ - 24 เม.ย.68

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้