Today’s NEWS FEED

News Feed

SCB EIC Global treaty on plastic หรือสนธิสัญญาระดับโลกว่าด้วยพลาสติก กำลังได้รับการพัฒนาและคาดว่าจะมีบทบาทอย่างมากในอนาคต

231

 


สำนักข่าวหุ้นอินไซด์(24 มกราคม 2567)------KEY SUMMARY

Global treaty on plastic หรือสนธิสัญญาระดับโลกว่าด้วยพลาสติก กำลังได้รับการพัฒนาและคาดว่าจะมีบทบาทอย่างมากในอนาคต

Global treaty on plastic เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่นำเสนอเพื่อแก้ไขวิกฤตมลพิษจากพลาสติกทั่วโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อลดมลพิษพลาสติกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2040 ทั้งนี้สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับแรกที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แม้สนธิสัญญาจะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่มีการเริ่มร่างแผนงานเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายแล้ว โดยแผนการกำจัดขยะพลาสติกขององค์การสหประชาชาติ ที่เรียกว่า System change scenario กำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยขยะพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมลง 80% ภายในปี 2040 ผ่านการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1. การใช้ซ้ำ 2. รีไซเคิล
3. ปรับเปลี่ยนทิศทางและกระจายความเสี่ยง และ 4. การจัดการกับขยะพลาสติกที่ไม่สามารถใช้ซ้ำ (Reuse) หรือรีไซเคิล(Recycle) ได้

แผนงานตาม System change scenarios มีความท้าทายและมีข้อกังขาด้านความเป็นไปได้หลายด้าน การใช้ซ้ำเป็นกลยุทธ์ที่ดีสำหรับการลดมลพิษจากขยะพลาสติกเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายและทำได้ยาก เนื่องจากต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นหลัก การเร่งการรีไซเคิลให้เกิดขึ้นเป็นไปอย่างล่าช้า อันเนื่องมาจากปัญหาการจัดเก็บขยะรีไซเคิล เพื่อนำกลับเข้ามาเป็นวัตถุดิบสำหรับการรีไซเคิลใหม่ ในส่วนของ Chemical recycling ยังอยู่ในรับดับที่ต่ำมาก สาเหตุหลักนอกจากเป็นเรื่องของเทคโนโลยีแล้ว ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการลงทุนเนื่องจากต้นทุนที่ค่อนข้างสูง การจัดการกับขยะพลาสติกที่ไม่สามารถใช้ซ้ำ (Reuse) หรือ รีไซเคิล (Recycle) ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการร่วมกันกำหนดนโยบาย กฎระเบียบ และมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง


แม้ว่าสนธิสัญญาจะยังไม่บรรลุในเร็ววัน แต่ไทยควรเร่งปรับตัวและหาโอกาสเร่งปรับตัว เนื่องจากสนธิสัญญาส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของอุตสาหกรรมพลาสติก การปรับตัวของไทยอาจรวมถึงการลดการใช้พลาสติกและการใช้วัสดุชีวภาพแทน รวมทั้งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการรีไซเคิลและโครงการนำกลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้ ยังควรมีการปรับปรุงการจัดการขยะ สร้างระบบการเก็บขยะที่มีประสิทธิภาพและการคัดแยกและแปรรูปที่ดีขึ้น เพื่อลดการรั่วไหลของพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมโดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในเชิงบูรณาการ

******************
การผลิตพลาสติกของโลกในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมามีการเติบโตอย่างมาก โดยเพิ่มขึ้นจาก 2 ล้านตัน
ในปี 1950 เป็น 348 ล้านตันในปี 2017 และกลายเป็นอุตสาหกรรมระดับโลกที่มีมูลค่า 522,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และคาดว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็นสองเท่าภายในปี 2040 เมื่อเทียบกับปี 2017 ซึ่งการผลิตพลาสติกที่เพิ่มจำนวน
อย่างมากดังกล่าวได้ก่อให้เกิดวิกฤตต่อโลกในหลายด้าน ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมลภาวะ และการเผาพลาสติกในที่โล่งก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ทั้งนี้จากข้อมูลของ United Environment Programme (UNEP) คาดว่าภายในปี 2050 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การใช้ และการกำจัดพลาสติกจะคิดเป็น 15% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ภายใต้เป้าหมายในการจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5°C (34.7°F) สัตว์ทะเลและชายฝั่งมากกว่า 800 สายพันธุ์ได้รับผลกระทบจากมลภาวะนี้ จากการที่ขยะพลาสติกประมาณ 11 ล้านตันไหลลงสู่มหาสมุทรทุกปี และอาจเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าภายในปี 2040 เมื่อเทียบกับปี 2016 ดังนั้น ประชาคมโลกจึงหาวิธีการรับมือกับผลกระทบ
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต การร่างข้อตกลงร่วมกันเป็นสนธิสัญญาพลาสติก จึงได้ถือกำเนิดขึ้น

สนธิสัญญาระดับโลกว่าด้วยพลาสติกเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่นำเสนอเพื่อแก้ไขวิกฤตมลพิษจากพลาสติกทั่วโลก และเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับแรกที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย สนธิสัญญาดังกล่าวกำลังได้รับการพัฒนาภายใต้โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ในเดือนมีนาคม 2022 โดยสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEA-5.2) ได้มีมติให้พัฒนาเครื่องมือที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับมลพิษจากพลาสติก รวมถึงในสภาพแวดล้อมทางทะเล โดย 193 ประเทศ สมาชิกของ UN ได้ตกลงที่จะพัฒนาข้อตกลงว่าด้วยมลพิษพลาสติกภายในปี 2024 ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิต การใช้ และการกำจัดขยะพลาสติก โดยสนธิสัญญาดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพัฒนา และอยู่ในระหว่างการทำข้อตกลงของเป้าหมายร่วมกัน
The zero draft plastic treaty เป็นสนธิสัญญาร่างพลาสติกฉบับแรกเป็นร่างของเครื่องมือผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยมลพิษจากพลาสติก โดยประเทศสมาชิกของสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ The United Nations Environment Assembly (UNEA) รวมถึงไทย ได้ตกลงกันในเดือนมีนาคม 2022 ที่จะพัฒนาสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษที่จะเริ่มภายในปี 2024 ทำให้เกิดก้าวสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิต การใช้ และการกำจัดพลาสติก โดยจุดมุ่งหมายที่สำคัญที่อยู่ในระหว่างตกลงกันคือ การลดมลพิษที่เกิดจากขยะพลาสติกให้เป็น 0 ภายในปี 2040 ทั้งนี้สนธิสัญญาร่างพลาสติกได้รับการเผยแพร่โดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ในเดือนกันยายน 2023 เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการเจรจาระหว่างประเทศในการพัฒนาสนธิสัญญาสำหรับการตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศในอนาคต
"Zero draft" ไม่ได้หมายถึงการเลิกใช้พลาสติกแต่อย่างใด แต่เป็นสัญลักษณ์ของเป้าหมายของสนธิสัญญา ซึ่งคือการลดมลพิษจากพลาสติกให้เป็นศูนย์และเป็นเครื่องเตือนใจถึงความเร่งด่วนของวิกฤตมลพิษจากพลาสติกและความจำเป็น
ในการแก้ปัญหา โดยร่างสนธิสัญญาดังกล่าว คาดว่าจะครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมลพิษจากพลาสติก ได้แก่
• การลดการผลิตและการบริโภคพลาสติก
• ส่งเสริมการใช้พลาสติกรีไซเคิลและความยั่งยืน
• ปรับปรุงระบบการจัดการขยะเพื่อป้องกันพลาสติกรั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำความสะอาดมลพิษพลาสติกที่มีอยู่


การมุ่งสู่เป้าหมายเพื่อลดมลพิษที่เกิดจากพลาสติกภายในปี 2040 นำไปสู่การนำเสนอ Frame work เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความต้องการและแนวทางการใช้พลาสติก ผสานไปกับการเปลี่ยนแปลงทางการผลิต และการใช้กฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ
ในสถานการณ์ทางธุรกิจตามปกติ (Business as usual) ตามข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ ขยะพลาสติกทั่วโลกอาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 408 ล้านเมตริกตันภายในปี 2040 แม้ Global plastic treaty จะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ UN ได้เริ่มสร้างแผนการกำจัดขยะพลาสติกโดยสร้าง Scenario เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย 80% ในการลดการปล่อยขยะพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมภายในปี 2040 โดยเป็น ฉากทัศน์ที่เรียกว่า Systematic change scenario ที่เสนอแนะแนวทางการลดจำนวนพลาสติกที่เป็นปัญหาและไม่จำเป็นและผลักดันการเปลี่ยนแปลงความต้องการและแนวทางการใช้พลาสติก 4 ประการ สู่ความเป็น Circular economy ได้แก่ 1) การใช้ซ้ำ 2) รีไซเคิล 3) ปรับเปลี่ยนทิศทางการใช้วัสดุและหาวัสดุทดแทนเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ที่มีความยั่งยืน และ 4) การจัดการกับขยะพลาสติกที่ไม่สามารถใช้ซ้ำ (Reuse) หรือรีไซเคิล (Recycle) ได้
โดยมีเป้าหมายตามแผนที่กำหนด แสดงในรูปภาพ และตารางดังนี้
รูปที่ 1 : เป้าหมายของ Systems change scenario ของ UNEP ในระยะ 5 ปีข้างหน้า และภายในปี 2040 ผ่านแผนงาน 4 ข้อ หลักคือ 1. ลดขนาดของปัญหาและเร่งให้เกิดการใช้ซ้ำ 2. เร่งการรีไซเคิล 3. ปรับเปลี่ยนทิศทางการใช้วัสดุและหาวัสดุทดแทนเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ที่มีความยั่งยืน 4. จัดการกับพลาสติกที่เหลือที่ไม่สามารถใช้ซ้ำ (Reuse) หรือรีไซเคิล (Recycle) ได้

ที่มา : การวิเคราะห์โดย SCB EIC จากข้อมูลของ UN Environment Program


ตารางที่ 1 : รายละเอียดของแผนงานตาม System change scenario (อย่างไรก็ตาม แผนดังกล่าว ยังอยู่ในระหว่างการจัดทำ และตัวเลขยังคงต้องมีการเจรจาตกลงกันระหว่างประเทศ)
ขนาดของการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการในอีก 5 ปีข้างหน้า ผลลัพธ์และขนาดของการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการภายในปี 2040
1. ลดขนาดของปัญหาและเร่งให้เกิดการใช้ซ้ำ ลดการใช้พลาสติกที่มีอายุการใช้งานสั้นลง 10% เทียบกับ BAU รวมถึงอย่างน้อย 20% ผ่านการใช้ซ้ำ และปรับรูปแบบการจัดส่งใหม่สำหรับขวด และแก้วเครื่องดื่ม ลดการเติบโตของการบริโภคพลาสติกในระยะสั้นประมาณ 30% คาดการณ์ไว้ในปี 2040 ผ่านการกำจัด การใช้ซ้ำ และปรับโมเดลการส่งมอบใหม่ รวมถึง
อย่างน้อย 50% ผ่านการนำมาใช้ซ้ำและปรับรูปแบบการจัดส่งใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์บรรจุขวดและถ้วยเครื่องดื่ม
2.เร่งการรีไซเคิล ออกแบบ วัสดุที่มี Design หลายชั้นใหม่ โดยปรับให้เป็นวัสดุแบบชั้นเดียว เพื่อให้ง่ายต่อการรีไซเคิล ออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อขยายส่วนแบ่งของพลาสติก
รีไซเคิลได้ในเชิงเศรษฐกิจ เช่น ปรับวัสดุที่มี Design หลายชั้น ไปเป็นวัสดุที่มี Design ชั้นเดียว
เพิ่มปริมาณเนื้อวัสดุรีไซเคิลในผลิตภัณฑ์ใหม่
ให้มากขึ้น (Post-consumer recycled content) จากในปี 2020 ที่กำหนดไว้ประมาณ 6% ของ
เนื้อวัสดุทั้งหมด ให้เป็น 14% ของเนื้อวัสดุทั้งหมด เพิ่มปริมาณเนื้อวัสดุรีไซเคิลในผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มากขึ้น (Post-consumer recycled content) ให้ถึง 35% ของผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีอายุสั้น และเพิ่มวัสดุรีไซเคิลให้ถึง 6% ของผลิตภัณฑ์พลาสติกคงทน
บรรลุอัตราการเก็บขยะให้ได้ 70% (เทียบกับ 50% ในปี 2016) เพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหลของขยะพลาสติก ในเขตเมืองของประเทศที่มีรายได้น้อยในและสนับสนุนผู้จัดเก็บขยะรีไซเคิล เพิ่มอัตราการจัดเก็บขยะรีไซเคิลในเขตเมืองของประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อย ให้ได้ถึง 90% ในเขตเมือง และถึง 50% เมื่อเทียบกับปี 2016
ในเขตชนบท และส่งเสริม ภาคการจัดเก็บขยะรีไซเคิล
เพิ่มกำลังการผลิต Mechanical recycling
เทียบกับปี 2016 จาก ~43 MMt เป็น ~65 MMt
เพิ่มกำลังการผลิตของ Mechanical recycling ปีละ 2 เท่าทั่วโลกตั้งแต่ 43 MMt เป็น 86 MMt เพิ่มเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตของ Mechanical recycling
ให้ได้ สามเท่า หรือ 129 ล้านตัน*
พัฒนาการแปลงพลาสติกเป็นพลาสติกที่ยั่งยืน (Plastic-to-plactic) โดยเทคโนโลยี Chemical recycling ให้มีกำลังการผลิตทั่วโลก 13 MMt ต่อปี

 



ขนาดของการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการในอีก 5 ปีข้างหน้า
ผลลัพธ์และขนาดของการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการภายในปี 2040
3. ปรับเปลี่ยนทิศทางการใช้วัสดุและหาวัสดุทดแทนเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ที่มีความยั่งยืน ใช้วัสดุทดแทนที่มีความยั่งยืนมากขึ้น ~7% แทนพลาสติกที่มีอายุการใช้งานสั้น ใช้วัสดุทดแทนพลาสติกที่มีอายุสั้นด้วยทางเลือกอื่นที่มีความยั่งยืนมากขึ้น ~17% ของขยะพลาสติกที่คาดการณ์ไว้ในปี 2040
4. จัดการกับพลาสติกที่เหลือที่ไม่สามารถใช้ซ้ำ (Reuse) หรือ
รีไซเคิล (Recycle) ได้ ประกาศแผนการเพื่อป้องกันมลพิษจากไมโครพลาสติกภายในปี 2040 (ลดลงประมาณ 50% หรือ ประมาณ 5.7 ล้านตันต่อปีเมื่อเทียบกับปี 2016)
เพิ่มกำลังการผลิตปีละ 6 ล้านตันสำหรับควบคุมการกำจัดขยะในประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลาง สร้างโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Facility ที่จะรองรับการกำจัดขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ที่มีกำลังการผลิตประมาณ 42 MMt
ลดการรั่วไหลของพลาสติก 3.5 MMt สู่สิ่งแวดล้อม ลดการรั่วไหลของพลาสติกได้ถึง 7 MMt สู่สิ่งแวดล้อม
ลดขยะที่ได้รับการจัดการผิดพลาดทั่วโลกจาก
40% ในปี 2016 เป็น 27% ในปี 2028 ลดขยะที่ได้รับการจัดการผิดพลาดทั่วโลกลงเหลือ 10% ในปี 2040
ลดการส่งออกขยะพลาสติกไปยังประเทศที่มีอัตราการจัดเก็บต่ำ และมีอัตราการรั่วไหลสูง
ให้ได้ 50% เมื่อเทียบกับการค้าขยะพลาสติกในปี 2020 กำจัดขยะพลาสติกส่งออกไปโดยสิ้นเชิงไปยังประเทศ
ที่มีอัตราการจัดเก็บต่ำ

ที่มา : การวิเคราะห์โดย SCB EIC จากข้อมูลของ UN Environment Program และ BNEF
ความท้าทายสำคัญของแผน System change scenarios ที่จะช่วยบรรลุเป้าหมายตาม Global treaty on plastic ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค เงินลงทุน และบูรณาการ Ecosystem
1. Reuse การใช้ซ้ำ เป็นกลยุทธ์ที่ดีสำหรับการลดมลพิษจากขยะพลาสติกเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายและทำได้ยาก เนื่องจากต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นหลัก ซึ่งรวมถึงการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมของการนำกลับมาใช้ใหม่ การแก้ไขข้อกังวลเรื่องความสะดวก และการขจัดความกังวลด้านสุขอนามัย นอกจากนี้ การปนเปื้อนและความปลอดภัยของพลาสติกที่นำกลับมาใช้ใหม่เป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นต้องกำหนดและปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ (Protocol) การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของแบคทีเรียและสารปนเปื้อนอื่น ๆ รวมถึงการกำหนดมาตรฐานและกฎระเบียบที่สอดคล้องกันสำหรับผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ซ้ำ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างความมั่นใจในด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และความเข้ากันได้ในระบบต่าง ๆ
2. Accelerate recycling เร่งการรีไซเคิลให้เกิดขึ้น แต่กำลังการผลิต ยังคงห่างไกลกับเป้าหมาย ในปัจจุบันกำลังการผลิตของโรง Recycle plastic ของโลกอยู่ที่ 50 ล้านตันต่อปี ประกอบด้วย Polyethylene terephthalate (PET), Polypropylene (PP) , Polystyrene (PS) และ Polyethylene (PE) เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้ 65 ล้านตันในปี 2028 และ 86 ล้านตันในปี 2040 ซึ่งหมายความว่ากำลังการผลิตต้องเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 7% ต่อปีจากปัจจุบัน เพื่อให้ถึงเป้าหมาย
ในปี 2040 แต่เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของกำลังการผลิตในปัจจุบันนี้ มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 1% ต่อปี ซึ่งนับว่ายังเป็นอัตราการเติบโตที่ช้ามาก ซึ่งปัญหาคอขวดที่พบปัจจุบันที่ทำให้การเติบโตของกำลังการผลิตโรง Mechanical recycling เป็นไปอย่างล่าช้า (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน Box : Mechanical recycling และ Chemical recycling คืออะไร? หน้าที่ 9) เป็นผลมาจากปัญหาการจัดเก็บขยะรีไซเคิล เพื่อนำกลับเข้ามาเป็นวัตถุดิบสำหรับการรีไซเคิลใหม่
สำหรับประเทศไทยจากข้อมูลของสถาบันพลาสติกในปี 2021 ประชากรของประเทศไทยกว่า 66.17 ล้านคน
มีการสร้างขยะมูลฝอยรวมทั้งหมดกว่า 24.98 ล้านตัน ซึ่งเป็นขยะพลาสติกถึง 2.76 ล้านต้น โดยสถานการณ์ขยะพลาสติกในปัจจุบัน สามารถรีไซเคิลได้เพียง 0.5 ล้านต้น หรือเพียง 18.12% ของขยะพลาสติกเท่านั้น นอกจากนี้ ไทยยังมีปัญหาขยะพลาสติก อันดับ 12 ของโลก และทิ้งลงทะเลมากที่สุด อันดับ 10 ของโลก แต่กำลังการผลิตของโรงรีไซเคิลของไทย
ในปัจจุบันยังมีขนาดไม่ถึง 1% ของกำลังการผลิตของโลก ดังนั้น ในอนาคตข้างหน้าหากสนธิสัญญาพลาสติก
มีการตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องไปกับ System change scenario จึงเป็นโอกาสสำคัญในการเพิ่มกำลังการผลิตของโรง Mechanical recycling เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายต่อไปในอนาคต
สำหรับกำลังการผลิตในปัจจุบันของโลก Chemical recycling ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมากเช่นกัน เมื่อเทียบกับเป้าหมาย โดยกำลังการผลิตของโลกคาดว่าจะอยู่ที่ราว 4 ล้านตัน ในปี 2030 โดยในปัจจุบันไทยมีแผนเริ่มลงทุนเกี่ยวกับ Chemical recycling ในปี 2023 อยู่ที่ประมาณ 4,000 ตันต่อปีเท่านั้น สาเหตุหลักที่ทำให้กำลังการผลิตของ Chemical recycling เพิ่มขึ้นได้ช้ากว่า Mechanical recycling นอกจากประเด็นด้านเทคโนโลยีแล้ว ยังมีข้อจำกัดเรื่องการลงทุนเนื่องจากมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง โดย UNEP คาดว่า ต้นทุนการผลิต Chemical recycling จะอยู่ที่ราว 2,327 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน อย่างไรก็ตาม Chemical recycling จัดว่าเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ และ Commissioning ในขนาดที่ใหญ่ไม่มากนัก
ซึ่ง Bloomberg ได้คาดการณ์ว่า หากเทคโนโลยีมี Learning rate ประมาณ 25% จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดต่ำลงเหลือ
ที่ประมาณ 949 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน

 

Box : Mechanical recycling และ Chemical recycling คืออะไร?
Mechanical recycling กระบวนการนำของเสียพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ โดยอาศัยการบดและหลอมพลาสติกแบบ
ไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมี ถือเป็นวิธีการรีไซเคิลพลาสติกที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะระบบการทำงานมีความคล่องตัว
ราคาไม่สูง และยังแพร่หลาย โดยมีขั้นตอนการรีไซเคิลดังนี้คือ
1. การรวบรวม : เก็บรวบรวมของเสียพลาสติกจากแหล่งต่าง ๆ เช่น บ้านเรือน ร้านค้า และสถานีรีไซเคิล
2. การคัดแยก : แยกประเภทพลาสติกตามชนิด (เช่น PET, HDPE และ PVC) และสี เนื่องจากพลาสติกแต่ละชนิด
มีกระบวนการรีไซเคิลที่แตกต่างกัน
3. การทำความสะอาด : ล้างทำความสะอาดพลาสติกที่คัดแยกแล้ว เพื่อกำจัดสิ่งสกปรก เศษอาหาร และฉลาก
4. การลดขนาด : บดหรือฉีกพลาสติกที่สะอาดให้เล็กลง เพื่อให้สะดวกต่อการจัดการและแปรรูป
5. การหลอมและการขึ้นรูปเม็ด : นำพลาสติกที่บดมาหลอมเป็นของเหลว แล้วจึงขึ้นรูปเป็นเม็ดหรือเกล็ดพลาสติก
เม็ดพลาสติกรีไซเคิลสามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกใหม่ เช่น ขวด บรรจุภัณฑ์ และเส้นใยเสื้อผ้า

ข้อดีของการรีไซเคิลแบบเชิงกล :
• สามารถใช้กับพลาสติกที่เป็นพลาสติกหลักอย่าง PET และ HDPE ที่เป็นพลาสติกที่ใช้อย่างแพร่หลาย
• ต้นทุนต่ำ : ราคาค่อนข้างประหยัดเมื่อเทียบกับวิธีรีไซเคิลอื่น ๆ และมีต้นทุนค่อนข้างต่ำ
• เทคโนโลยีที่มีความพร้อม : เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร่หลาย มีระบบสาธารณูปโภคพร้อมรองรับ
• ลดการใช้ทรัพยากรใหม่ : ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้พลาสติกรีไซเคิลแทนการผลิตพลาสติกใหม่
ข้อจำกัดของการรีไซเคิลแบบเชิงกล :
• คุณภาพลดลง : พลาสติกรีไซเคิลบางครั้งอาจมีคุณภาพต่ำกว่าพลาสติกใหม่ ทำให้เหมาะกับการใช้งาน
ในบางประเภทเท่านั้น
• การปนเปื้อน : สิ่งสกปรกที่ปนเปื้อนมาอาจทำให้พลาสติกรีไซเคิลทั้งล็อตไม่สามารถนำไปใช้ได้
• ข้อจำกัดในการรีไซเคิล : พลาสติกบางชนิดไม่สามารถรีไซเคิลแบบเชิงกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น Flexible packaging
• ต้องการกระบวนการคัดแยกที่แม่นยำ เช่น ประมวลประเภท เกรด และสีต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจถึงคุณภาพของผลผลิตที่ได้จากการรีไซเคิล
• Downstream product หรือสินค้าที่จะนำพลาสติกที่ได้จากกระบวนการ Mechanical recycling ยังมีข้อจำกัดในการนำไปใช้ เช่น ในสินค้า Food-grade บางชนิด

Monomer recycling/ Chemical recycling การรีไซเคิลแบบโมโนเมอร์ หรือที่เรียกว่าการรีไซเคิลทางเคมี
เป็นเทคโนโลยีการรีไซเคิลขั้นสูงที่สามารถแยกขยะพลาสติกกลับไปเป็นหน่วยพื้นฐานของพลาสติก นั่นคือ "โมโนเมอร์" โมโนเมอร์เหล่านี้สามารถนำไปผลิตเป็นพลาสติกคุณภาพสูงชนิดใหม่ได้ ช่วยลดการใช้ทรัพยากรและปิดวงจรชีวิตพลาสติกได้อย่างแท้จริง
ขั้นตอนการรีไซเคิลแบบโมโนเมอร์มีดังนี้


Box : Mechanical recycling และ Chemical recycling คืออะไร (ต่อ)
1. การคัดแยกและเตรียมการ : ขยะพลาสติกจะถูกคัดแยกตามชนิดและทำความสะอาดเพื่อขจัดสิ่งปนเปื้อน
2. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี : ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่เลือกใช้ พลาสติกที่คัดแยกแล้วจะผ่านกระบวนการทางเคมี เช่น การ Pyrolysis การ Gasification หรือการสลายโพลีเมอร์ เพื่อแตกโมเลกุลโพลีเมอร์เป็นโมโนเมอร์
3. การปรับปรุงและทำให้บริสุทธิ์ : โมโนเมอร์ที่สกัดได้จะผ่านการทำความสะอาดเพิ่มเติม และหากจำเป็นอาจต้องปรับปรุงคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐานการผลิตพลาสติกชนิดใหม่
4. การสังเคราะห์โพลีเมอร์ใหม่ : โมโนเมอร์ที่ผ่านการทำความสะอาดแล้วจะถูกนำไปสังเคราะห์เป็นพลาสติกชนิดใหม่ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับพลาสติกใหม่เอี่ยม
ข้อดีของการรีไซเคิลแบบโมโนเมอร์ :
• ผลลัพธ์คุณภาพสูง : พลาสติกที่ได้จากการรีไซเคิลแบบโมโนเมอร์จะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับพลาสติก
ใหม่เอี่ยม เหมาะสำหรับการใช้งานหลากหลาย
• ความยืดหยุ่น : พลาสติกประเภทต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนเป็นโมโนเมอร์ประเภทต่าง ๆ ได้ ช่วยให้สามารถ
รีไซเคิลพลาสติกที่ผสมหรือปนเปื้อนได้
• เศรษฐกิจแบบหมุนเวียน : การรีไซเคิลแบบโมโนเมอร์ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนสำหรับพลาสติก ลดการพึ่งพาพลาสติกใหม่จากฟอสซิล
• ลดมลพิษ : การนำขยะพลาสติกออกจากหลุมฝังกลบและการเผาไหม้ ช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและการเกิดไมโครพลาสติก
ข้อจำกัดของการรีไซเคิลแบบโมโนเมอร์ :
• ความซับซ้อนทางเทคโนโลยี : เทคโนโลยีการรีไซเคิลแบบโมโนเมอร์ยังอยู่ในช่วงพัฒนา ต้องอาศัยการลงทุนวิจัยและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก
• ต้นทุน : เมื่อเทียบกับการรีไซเคิลแบบเชิงกลแบบดั้งเดิม การรีไซเคิลแบบโมโนเมอร์ยังมีราคาสูงกว่า อย่างไรก็ตาม คาดว่าต้นทุนจะลดลงตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

 

สำหรับแผนการสนับสนุนให้เกิดการเพิ่มกำลังการผลิตของพลาสติกรีไซเคิล คือ เพิ่มปริมาณเนื้อวัสดุรีไซเคิลในผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มากขึ้น (Post-Consumer Recycled content หรือ PCR) โดยเป้าหมายคือเพิ่มปริมาณเนื้อวัสดุรีไซเคิลในผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ได้ถึง 35% ของผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีอายุสั้น และ 6% ของผลิตภัณฑ์พลาสติกคงทน แม้ว่าเป้าหมายร่างสำหรับ Plastic treaty นี้จะเป็นเป้าหมายที่ไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตาม สหภาพยุโรป ได้มีการกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายยิ่งกว่า โดยทางรัฐบาล ได้เริ่มการกำหนด Mandates ในบรรจุภัณฑ์พลาสติกแล้ว และกำลังจะเพิ่มสัดส่วน PCR content ให้ถึง 50% สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด นอกจากนี้ ทางสหราชอาณาจักร ยังได้กำหนด Plastic tax ซึ่งมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2022 ที่กำหนดให้ PCR content จะต้องได้อย่างน้อย 30% ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณให้การค้าระหว่างประเทศและผู้ประกอบการไทยที่มีการส่งออกบรรจุภัณฑ์พลาสติกต้องเริ่มปรับตัวในการเพิ่ม PCR ให้ได้สัดส่วนตามที่กำหนดต่อในอนาคต

3. การใช้วัสดุทดแทนพลาสติกที่เป็นวัสดุแบบยั่งยืนเบื้องต้น ได้มีการกำหนดเป้าหมายที่ 22 ล้านตันในอีก 5 ปีข้างหน้า (ราวปี 2027) หรือประมาณ 70 ล้านตันในปี 2040 กำลังการผลิตพลาสติกชีวภาพทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้นเพื่อใช้สำหรับทดแทนพลาสติก โดยมีการประเมินว่าปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.22 ล้านเมตริกตัน ณ ปี 2023 Europeanbioplastics ได้ประเมินว่า กำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสามเท่าภายในห้าปีข้างหน้า สู่ระดับ 7.5 ล้านตันภายในปี 2028 โดยเอเชียเป็นผู้ที่มีกำลังการผลิตมากที่สุดที่ 41.4% ของกำลังการผลิตทั้งหมด โดยมีจีนเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด เนื่องจากจีนต้องการใช้ทดแทนมาตรการ single-used plastic ban ของจีน สำหรับยุโรปมีสัดส่วน 25.9% ของกำลังการผลิตของโลก โดยมีเยอรมนีและอิตาลีเป็นผู้นำ, อเมริกาเหนือ : 18.5% ของกำลังการผลิต โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ, อเมริกาใต้ : 7.5% ของกำลังการผลิต โดยมีบราซิลเป็นผู้นำ และแอฟริกาและโอเชียเนีย : ภูมิภาคเหล่านี้รวมกันคิดเป็นน้อยกว่า 1%
ของกำลังการผลิตทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากเป้าหมายแล้ว ปัจจุบันการใช้พลาสติกของโลกอยู่ที่ราว 400 ล้านตันต่อปี ถูกนำไปผลิตเป็น Single-used plastic ที่ราว 40-50% หรือที่ประมาณ 200 ล้านตันต่อปี กำลังการผลิต Bioplastics ในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 0.5% ของการผลิตพลาสติกของโลก หรือที่ราว 1 ล้านตัน ดังนั้น เป้าหมายที่จะใช้วัสดุทดแทนพลาสติกที่ 22 ล้านตันในอีก 5 ปีข้างหน้า สำหรับการใช้ Bioplastic จึงยังมีความห่างไกลอยู่มาก และอาจต้องใช้วัสดุทดแทนอื่น ๆ เพื่อให้เข้าสู่เป้าหมายตาม System change scenario ทั้งนี้สาเหตุสำคัญที่การผลิต Bioplastic ยังเติบโตได้ช้านั้นเนื่องจากยังมีอุปสรรคบางประการที่สำคัญดังนี้
3.1 ต้นทุน : พลาสติกชีวภาพโดยทั่วไปมีราคาแพงกว่าพลาสติกแบบดั้งเดิมเนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น วัตถุดิบแป้งข้าวโพดหรือกากน้ำตาลจากอ้อยอาจมีราคาแพงกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ใช้สำหรับพลาสติกแบบดั้งเดิม
3.2 กระบวนการผลิต : การผลิตพลาสติกชีวภาพมักเกี่ยวข้องกับกระบวนการหมักหรือเคมีที่ซับซ้อน
3.3 โครงสร้างพื้นฐาน : การผลิตพลาสติกแบบดั้งเดิมได้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงและมีบทบาทสำคัญต่อภาคการผลิตของประเทศมายาวนานหลายทศวรรษ ทำให้ผลิตได้ราคาถูกกว่า
3.4 ประสิทธิภาพและการทำงาน : แม้ว่าพลาสติกชีวภาพจะพัฒนาไปมากในแง่ของประสิทธิภาพ แต่ก็ยังมีข้อด้อยกว่าพลาสติกแบบดั้งเดิมในบางชนิด เช่น พลาสติกชีวภาพบางชนิดอาจมีความทนทานน้อยกว่าและทนต่อความร้อนได้น้อยกว่าพลาสติกแบบดั้งเดิม หรือพลาสติกชีวภาพบางชนิดอาจไม่ทนต่อความชื้น ออกซิเจน หรือน้ำมัน ได้เท่ากับพลาสติกแบบดั้งเดิม ทำให้ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานบรรจุภัณฑ์บางประเภท
3.5 การแข่งขันและความยั่งยืนของวัตถุดิบ : การใช้วัตถุดิบพลาสติกชีวภาพบางชนิด เช่น ข้าวโพด อาจทำให้เกิดข้อกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ความต้องการวัตถุดิบพลาสติกชีวภาพเพิ่มขึ้นอาจนำไปสู่การตัดไม้ทำลายป่าหรือเปลี่ยนที่ดินเกษตรกรรมเพื่อการผลิตที่ไม่ใช่อาหาร หรือการใช้พืชไปสู่การผลิตพลาสติกชีวภาพอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารในบางภูมิภาคได้
ความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ รัฐบาล ภาคธุรกิจ และสถาบันวิจัยจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างระบบนิเวศที่สนับสนุนให้พลาสติกชีวภาพเติบโต โดยการแก้ไขปัญหาเหล่านี้และส่งเสริมนวัตกรรม อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพมีศักยภาพที่จะปฏิวัติวิธีที่เราผลิตและใช้พลาสติก นำไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นวัฏจักรมากขึ้น ซึ่งความท้าทายของ Bioplastic จะมีความสอดคล้องกับความท้าทาย ของการผลิต Renewable diesel เนื่องจากใช้ Feedstock ประเภทเดียวกัน

นอกจากความท้าทายในเรื่องแผนและความเป็นไปได้เรื่องการบรรลุเป้าหมายแล้ว ยังมีความท้าทายจากการนำเอา Plastic treaty มาบังคับใช้
ข้อตกลงพลาสติก (Plastic treaty) ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาภายใต้สมัชชานโยบายสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์มลพิษพลาสติกทั่วโลก แม้จะมีผลประโยชน์ที่สำคัญหลายประการ แต่ก็มีอุปสรรคสำคัญหลายประการหลัก ๆ ที่เห็นได้ชัด 3 ประการคือ
1. การประสานผลประโยชน์ของแต่ละประเทศกับเป้าหมายระดับโลก : ประเทศต่าง ๆ มีระดับการพึ่งพา
การผลิตพลาสติกและโครงสร้างพื้นฐานการจัดการขยะที่แตกต่างกัน การเจรจาต่อรองเพื่อสร้างข้อตกลงที่เกี่ยวกับปัญหาขยะพลาสติกระดับโลก ซึ่งมีหลายประเทศที่มีสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ ประเด็นทางการเมือง และระดับการผลิตและการบริโภคพลาสติกที่แตกต่างกัน ทำให้การกำหนดเป้าหมาย กฎหมาย และกลไกการดำเนินการระหว่างผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายเป็นเรื่องที่ซับซ้อน การสร้างสมดุลระหว่างเป้าหมายระดับโลกและความต้องการเฉพาะของแต่ละประเทศจะเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างฉันทามติเกี่ยวกับสนธิสัญญา เพื่อเป็นการรับประกันในเบื้องต้นว่า แต่ละประเทศจะปฏิบัติตามสนธิสัญญาได้
2. ขอบเขตและการมุ่งไปสู่เป้าหมาย : ขอบเขตและการมุ่งไปสู่เป้าหมายของสนธิสัญญายังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ บางประเทศสนับสนุนให้มีข้อตกลงที่ครอบคลุมวัฏจักรชีวิตของพลาสติกทั้งหมด ตั้งแต่การผลิตและการออกแบบ
ไปจนถึงการจัดการขยะและการรีไซเคิล ในขณะที่บางประเทศสนับสนุนแนวทางที่เน้นมุ่งเป้าไปที่ประเภทพลาสติกเฉพาะหรือจุดที่สร้างมลพิษ
3. การจัดหาเงินทุนและการดำเนินการ : แม้ว่าจะมีสนธิสัญญาที่แข็งแกร่ง การดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องใช้เงินทุนและการสนับสนุนด้านเทคนิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศกำลังพัฒนา การจัดหาเงินทุนและกลไกสร้างศักยภาพที่เพียงพอจะเป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนเป้าหมายของสนธิสัญญาให้เป็นจริง

ทั้งนี้แม้จะมีความท้าทายดังกล่าว แต่ข้อตกลงพลาสติกยังจะเป็นโอกาสสำคัญในการแก้ไขวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมระดับโลก ด้วยการเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้และสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ

 

ไทยจะเตรียมรับมือ และหาโอกาสได้อย่างไรได้บ้างจากสนธิสัญญาระดับโลกนี้?
ในปี 2022 ไทยอยู่อันดับที่ 5 ของกลุ่มประเทศที่มีมลพิษพลาสติกรั่วไหลลงสู่ทะเลมากที่สุดในโลก สะท้อนให้เห็นว่าไทยยังต้องมีการปรับตัวอีกมากเพื่อเตรียมความพร้อมต่อสนธิสัญญานี้ บริษัทต่าง ๆ อาจต้องหันไปใช้วัสดุชีวภาพและย่อยสลายได้ ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการรีไซเคิล และส่งเสริมโครงการนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการปรับปรุงการจัดการขยะ สร้างระบบการเก็บขยะ ปรับปรุงศักยภาพการคัดแยกและแปรรูป และลดการรั่วไหลของพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อม
เป็นสิ่งสำคัญที่จะบรรลุเป้าหมายของสนธิสัญญา
ภาครัฐเองก็เช่นเดียวกัน ไทยอาจต้องออกนโยบายและกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นเกี่ยวกับการผลิต การใช้ และการกำจัดพลาสติก ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของสนธิสัญญา ซึ่งจะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลาสติกที่ยั่งยืนต้องอาศัยต้นทุนสำหรับการวิจัย พัฒนา และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ธุรกิจอาจต้องเผชิญกับ
ความผันผวนของราคาสำหรับวัตถุดิบและการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ควรมีการบูรณาการให้สอดรับกันทั้ง Ecosystem ดังนี้
1. Polymer and chemical producer การผลิตพลาสติกโดยรวมอาจทรงตัว/ไม่เติบโตมากเท่าที่คาดการณ์
ส่วนการผลิตโพลีเมอร์สำหรับพลาสติกอายุสั้นจะลดลง และอาจได้รับผลกระทบไปถึงการพิจารณาชะลอ
การขยายโรงงานผลิตใหม่ หรือการลงทุน อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับ Trend และ Regulation
ในอนาคต เช่น ปรับเปลี่ยนไปผลิตพลาสติกที่เป็น HVA มากขึ้น ต้องพิจารณาการลงทุนด้านการรีไซเคิล โดยเฉพาะเทคโนโลยีการรีไซเคิลสารเคมีที่อาจมีความใกล้เคียงกับรูปแบบธุรกิจ/เทคโนโลยีในปัจจุบัน (Mechanical Recycling) หรือ พิจารณาลงทุนในพลาสติกหมุนเวียน/พลาสติกชีวภาพหรือวัสดุทดแทน มิฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงของตลาดนี้จะลดส่วนแบ่งการตลาดของผู้ผลิตโพลีเมอร์
2. Plastic converters อาจต้องมีการปรับเครื่องจักรและการออกแบบเครื่องจักรให้มีความเหมาะสม ใช้งานได้ และสอดคล้องไปกับวัตถุดิบทดแทน ทั้ง Food grade และ Non-food grade
3. Brand/ Manufacturers สามารถมีส่วนในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการรีไซเคิล : ลดความซับซ้อนของประเภทโพลีเมอร์ เช่น การลดความซับซ้อนของ Polymer หรือการไม่ใช้สีย้อมต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการรีไซเคิล หรือเพิ่มการใส่ใจต่อการรับรู้ด้านสิ่งแวดล้อมต่อผู้บริโภค Extended Producer Responsibility หรือเรียกสั้น ๆ ว่า EPR เป็นการขยายความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตให้ครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต ไปจนถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วให้ถูกต้องตามหลักการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังสามารถให้ข้อมูลผู้บริโภคเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจัดการผลิตภัณฑ์ หลังจากใช้งานแล้ว
สำหรับในเชิงกฎระเบียบข้อบังคับที่เพิ่มขึ้น อาจต้องมีใบอนุญาต ที่เกี่ยวข้องกับ บรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่จะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น สำหรับผลกระทบด้านต้นทุนที่สำคัญในการเปลี่ยนไปใช้วัสดุทางเลือกที่ยั่งยืน อาจมีผล
ในระยะแรก แต่คาดว่าต้นทุนอาจมีแนวโน้มลดลง จากกระแสความนิยมของผู้บริโภคและต้นทุนการผลิต
ที่ลดลง
4. รัฐบาล รัฐบาลอาจต้องจัดสรรทรัพยากรที่สำคัญเพื่อให้แน่ใจว่ามีโครงสร้างพื้นฐานในการรวบรวม การคัดแยก และการรีไซเคิล เพื่อให้เกิดการบูรณาการ และ Recycle rate เพิ่มขึ้น เช่น
- เตรียมพร้อมรับกับกฎหมาย หรือผลกระทบกับการค้าระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากการเริ่มใช้นโยบายพลาสติก และ Recycle content ในอนาคต โดยอาจทบทวนกฎหมายภายในประเทศ หรือ ให้สิทธิพิเศษกับผู้ประกอบการที่มีการใช้วัสดุรีไซเคิลในผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
- ส่งเสริมนวัตกรรมด้านการรีไซเคิลและการวิจัยต่าง ๆ ที่จะช่วยให้พลาสติกรีไซเคิลมีต้นทุนที่แข่งขันได้กับพลาสติก Virgin แบบดั้งเดิม
- การจัดทำเป้าหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการเติบโตของก๊าซเรือนกระจกและการปล่อยสารพิษที่เชื่อมโยงกับการผลิตพลาสติก เช่น การส่งเสริมการผลิตที่เป็นรีไซเคิล และการส่งเสริม Bioplastic ให้มีความสอดคล้องกัน
5. ผู้บริโภค ทำความเข้าใจกับข้อมูลผู้บริโภคที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่ามีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการจัดการผลิตภัณฑ์เมื่อสิ้นสุดการใช้งานและจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความสะดวกสบายจากพลาสติกหรือ
โพลิเมอร์แบบใช้แล้วทิ้ง
6. บริษัทจัดการขยะ/ บริษัทรีไซเคิล เป็นโอกาสสำคัญในการขยายธุรกิจเนื่องจาก มีความต้องการ Recycle content แล้วจากผู้บริโภค และได้รับแรงหนุนจากเป้าหมายทางกฎหมาย ส่วนกระบวนการแยกอินทรียวัตถุและวัสดุที่ย่อยสลายได้จากขยะรีไซเคิลอื่น ๆ (เช่น พลาสติก) จะเพิ่มมูลค่าของการจัดการขยะทั่วโลก


แม้ว่าพลวัตของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะทำให้อุตสาหกรรมพลาสติก เปลี่ยนโฉมหน้าไป แต่ก็เป็นโอกาสสำคัญที่ไทยจะมีการนำเทคโนโลยีและโซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้อย่างรวดเร็ว สามารถสร้างให้บริษัทไทย
เป็นผู้นำในตลาดพลาสติกยั่งยืนระดับโลก และอาจเปิดโอกาสการส่งออกใหม่และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนสำหรับการรีไซเคิลและนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ สามารถอนุรักษ์ทรัพยากร ลดการพึ่งพา Virgin materials และสร้างงานสีเขียว ที่จะช่วยส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจได้ต่อไปในอนาคต

อณุภา ศิริรวง

: รายงาน/เรียบเรียง โทร 02-276-5976 อีเมล์: reporter@hooninside.com ที่มา: สำนักข่าวหุ้นอินไซด์

บทความล่าสุด

NER พบนักลงทุนในงาน Opportunity Day ประจำไตรมาส 1/2567

NER พบนักลงทุนในงาน Opportunity Day ประจำไตรมาส 1/2567

ไต่ขึ้น By: แม่มดน้อย

แม่มดน้อย ขี่ไม้กวาดวิเศษ เช้านี้ หุ้นอิงการบริโภคในประเทศ โดยเฉพาะ CPF รับบทเป็นพระเอกดันSET ไต่ขึ้น ส่วนหุ้นแบงก์....

มัลติมีเดีย

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

APO มาเหนือเฆม - สายตรงอินไซด์ - 2 เม.ย.67

สามารถติดตามหน้าเพจของ หุ้นอินไซด์ เพื่อรับข่าวเด่นและประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดได้ตามขั้นตอนนี้